เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว หากเอ่ยชื่ออนิเมะและมังงะชื่อดังอย่าง คินนิคุแมน คนในวัยที่เติบโตมาในยุค 80s-90s ต่างก็คิดถึงแต่การ์ตูนมวยปล้ำตลก ๆ เบาสมอง ที่ครองความนิยมด้วยมุกตลกและเพลงประจำตัวอย่าง “ข้าวหน้าเนื้อเจ้าเก่า 300 ปี อะโจ๊ะ โจ๊ะ” ร้องโดยน้าต๋อยเซมเบ้ จนติดปากของเด็กในยุคนั้น กาลเวลาผ่านไป จากเด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ ใครเลยจะรู้ว่าการ์ตูนที่ดูเหมือนจะไร้สาระเรื่องนั้น จะมีอายุยืนยาวจวบจนปัจจุบัน เพราะอะไรการ์ตูนที่เหมือนจะล้มเหลวในตอนต้น ถึงกลายร่างเป็นการ์ตูนยอดนิยมที่ไม่ใช่เพียงแค่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังดังไปทั่วทั้งโลกมาอย่างยาวนานขนาดนี้ รวมถึงความเป็นลูกผู้ชายที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากชายคนนี้ เรามาถอดหน้ากากตัวตนที่แท้จริงของมังงะอมตะนิรันดร์กาลเรื่องนี้ไปพร้อมๆกัน Kinnikuman ถือกำเนิดจากคู่หูนักเขียนที่เรียกตัวเองว่า Yudetamago หรือ คู่หูไข่ต้ม นามปากกาของ 2 นักเขียนดาวรุ่ง Yoshinori Nakai และ Takashi Shimada เพื่อนซี้จากโอซาก้า ที่มาตามฝันในเมืองโตเกียวด้วยการเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์ชูเอะฉะ ท่ามกลางการห้ามปรามของพ่อแม่ เพราะอาชีพศิลปินวาดการ์ตูนในช่วงปลายยุค 70s นั้นยังไม่ใช่อาชีพที่สามารถทำเงินทำทองได้มากนักในสายตาของพ่อแม่ยุคนั้น แต่เด็กหนุ่มทั้ง 2 ก็รั้นที่จะเขียนส่งประกวดรางวัล Akatsuka Award แม้จะไม่ได้รางวัล แต่การ์ตูนสั้นเรื่อง Kinnikuman
นับเป็นปีแห่งสีสัน, ความหลากหลาย และความเรียบง่าย สำหรับการแจกรางวัล 93rd Academy Awards หรือ Oscars ประจำปี 2021 ท่ามกลางความเงียบเหงาของวงการภาพยนตร์ที่ซบเซาจากวิกฤตไวรัสโคโรนาที่เข้ามาทำให้โปรแกรมใหญ่ ๆ ต้องลี้หนีไป แถมล่าสุดบ้านเราเองที่โดนวิกฤตระลอกใหม่จนทำให้ต้องปิดโรงหนังอีกรอบ แต่ใช่ว่าปีนี้ Oscars ครั้งที่ 93 จะไม่น่าสนใจ ตรงกันข้ามภาพยนตร์สะท้อนสังคมในยุคโควิดกลับเฉิดฉายในงานอย่างสมศักดิ์ศรี และเป็นปีที่นักดูหนังทั้งหลายต่างไม่กังขากับผลรางวัลที่ออกมา เรามาดูกันว่าปีนี้ไฮไลท์สำคัญและสถิติที่สร้างขึ้นประจำปีนี้มีอะไรกันบ้าง เหมือนดังเช่นทุกการแจกรางวัลในทุกเทศกาลที่มีการจำกัดรูปแบบของผู้เข้าชม โดยครั้งนี้รางวัลออสการ์แจกเลทกว่าปกติถึง 2 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้หนังที่ฉายปลายปีได้มีโอกาสเฉิดฉายให้คนดูหนังและคณะกรรมการที่ช่วงเวลาปลายปียังไม่ได้รับวัคซีนทั่วถึงได้รับวัคซีนกัน ซึ่งปีนี้หนังหลายเรื่องก็ตัดสินใจฉายในระบบสตรีมมิ่งที่สามารถรับชมทางบ้านได้พร้อมกับการฉายผ่านโรงหนัง ส่วนพิธีการแจกรางวัลจากปกติที่จะจัดกันอย่างใหญ่โตอลังการ ปีนี้ก็งดยิ่งใหญ่ จำกัดจำนวนคนที่มาร่วมงาน เว้นระยะห่างและจัดกัน 2 ที่ นั่นก็คือ Dolby Theatre และ Union Station ด้วยความที่งานจัดไม่ได้เลิศหรูอลังการเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ปีนี้การแจกรางวัลคือการแจกจริง ๆ ไม่ต้องอิงพิธีรีตรอง การเดินบนพรมแดง หรือแสดงโชว์ให้มากความ หลายคนจึงรู้สึกดีที่การแจกรางวัลแบบ New Normal นี้ได้ให้ความสำคัญกับรางวัลมากกว่าโชว์ที่ไม่จำเป็น เราจึงได้เห็นผู้รับรางวัลที่มาในชุดทะมัดทะแมงมากกว่าจะมาแบบหรูอลังการเหมือนในปีก่อน ๆ อาทิ Chloe
แน่นอนว่าช่วงเวลานี้ สำหรับนักดูหนังแล้ว ไม่มีอะไรจะน่าตื่นเต้นไปกว่าการมาของหนังตัวอย่างและโปสเตอร์ของหนังฮีโร่เรื่องใหม่ของ Marvel Studio เรื่อง Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings นั่นเอง แต่ที่น่าจะตื่นเต้นปนฉงนยิ่งกว่า นั่นก็คือผู้ที่มารับบทบาทนี้กลับเป็นคนโนเนมที่มีชื่อเสียงระดับปานกลางอย่าง Simu Liu ซึ่งเมื่อประกาศชื่อชายคนนี้มา ก็มีทั้งกระแสแง่บวกและแง่ลบเกี่ยวกับผู้ชายคนนี้สนั่นโลกโซเชียล แต่เราไม่อยากให้คุณตีตนไปก่อนไข้ และลองเปิดใจมาทำความรู้จักผู้ชายคนนี้กันให้ลึกซึ้งก่อนที่จะตัดสินเขากันดีกว่า ว่าสรุปแล้วเขาเหมาะหรือไม่สำหรับการแบกรับบทบาทซูเปอร์ฮีโร่ที่ไม่เพียงเป็นบทบาทในโลกภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังแบกศักดิ์ศรีของชาวเอเชียให้โลกได้ประจักษ์อีกด้วย Simu Liu ชีวิตที่ลิขิตในวงการบันเทิง Simu Liu เกิดที่เมือง ฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง ก่อนจะย้ายถิ่นฐานตามพ่อและแม่มาอยู่ที่ประเทศแคนาดาตอนอายุ 5 ขวบ แรกเริ่มเดิมทีเขามีความใฝ่ฝันในอาชีพนักแสดง แต่ก็ไกลเกินเอื้อมคว้าสำหรับชายหนุ่มหน้าตี๋ที่พร้อมจะถูกรังแกจากฝรั่งตาน้ำข้าวง่ายๆ เขาร่ำเรียนธุรกิจตามความคาดหวังของครอบครัวจนจบปริญญาตรีและทำงานเป็นมนุษย์กินเงินเดือนในฐานะนักบัญชี แต่ก็ทำได้เพียงปีเดียวเขาก็ออกจากงานเพื่อตามล่าความฝันอย่างจริงจัง โดย Simu ได้กล่าวถึงการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวครั้งนี้ในงาน Comic Con ว่า “สิ่งที่ผมอยากทำเมื่อโตขึ้นคือทำให้พ่อและแม่ภาคภูมิใจ มากกว่าจะเจ้ากี้เจ้าการให้ทำอะไรที่ไม่ชอบ มันมีความสุขมากนะที่พ่อและแม่ไม่ได้คาดหวังให้ผมเป็นในสิ่งที่ผมไม่อยากจะเป็น…เช่นหมอเป็นต้น” Simu Liu เริ่มต้นด้วยการเป็นตัวประกอบในหนังหุ่นยนต์สู้กับสัตว์ประหลาดไคจู ในหนัง Pacific Rim
หากพูดถึงอนิเมะยุคนี้ หลายคนคงจะนึกถึงอนิเมะสุดฮิตอย่าง “ดาบพิฆาตอสูร” หรือ อนิเมะสุดเก๋อย่าง “โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ” ถ้าเน้นการต่อสู้ที่กำลังเข้มข้นก็คงไม่พ้น “ผ่าพิภพไททัน” หรือถ้าสายกีฬาก็ไม่น่าพลาด “โอตาคุน่องเหล็ก” แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ที่อื่นคงจะมีการแนะนำไปจนปรุแล้ว UNLOCKMEN เข้าใจว่าช่วงเวลาที่ต้องอยู่กับวิกฤตโควิดแบบไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดตรงไหน จึงอยากใช้ช่วงเวลานี้ให้ผ่อนคลายด้วยการหาอนิเมะสายฮาให้คุณได้ผ่อนคลายความเครียดดีกว่า ไม่ใช่แค่ฮาอย่างเดียว แต่ยังไอเดียแหล่มจนต้องเผลออุทานว่า “คิดได้ยังไงวะ” อีกด้วย อย่าเสียเวลา เรามาดูกันว่า อนิเมะสายฮาเหล่านี้ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร เตรียมขากรรไกรเอาไว้ขำกันได้เลย The Way of the Househusband พ่อบ้านสุดเก๋า อนิเมะเรื่องแรก ไม่แนะนำก็คงไม่ได้ เพราะตอนนี้ฮิตติดลมบนจนติดอันดับต้น ๆ ของ Netflix ไปเรียบร้อยแล้ว เรื่องของอดีตยากูซ่าในตำนาน ที่วางอาวุธมาจับมีดทำครัว ล้างมือจากวงการมาล้างจานหั่นผัก เลิกแย่งชิงความเป็นหนึ่งในภูมิภาคมาแย่งสินค้าลดราคาในห้างแทน จากมังงะชื่อกระฉ่อนจากปลายปากกาของอาจารย์ Kousuke Oono ที่เล่าเรื่องของ ทัตซึ ยากุซ่าหน้าบากในตำนาน ผู้วางมือจากวงการอาชญากรรมที่ทำให้เขาขึ้นชื่อกระฉ่อนไปทั่วโตเกียว เพื่อเลี้ยวมาใช้ชีวิตในฐานะพ่อบ้านที่ทุกวันจะดูแลบ้าน ทำอาหารกล่อง และใช้ชีวิตพ่อบ้านแบบฟูลไทม์ เพื่อปล่อยให้แฟนสาวไปทำงานอย่างไม่ติดขัด มังงะแก๊กชุดได้รับความนิยมทันทีเมื่อออกตีพิมพ์จนบัดนี้ได้ดำเนินเรื่องมาถึงเล่ม 7
เป็นธรรมเนียมไปแล้วในทุก ๆ ปี สำหรับรายการวิทยุที่ทรงอิทธิพลแห่งเกาะอังกฤษ ที่จะเผยลิสต์ 100 อันดับเพลงสหราชอาณาจักรยอดเยี่ยมตลอดกาล โดยการโหวตจากผู้ฟังกว่า 20,000 คน ซึ่งปีนี้บทเพลงวัยรุ่นตลอดกาล Live Forever ของพี่น้องปากมันแห่งยุค 90s ได้กลับมาขึ้นแท่นอันดับ 1 อีกครั้ง หลังจากเสียแชมป์ให้กับ Bohemian Rhapsody ของวงราชันย์แห่งราชินีไป 2 ปีซ้อน Radio X คลื่นวิทยุชื่อดัง ที่ก่อตั้ง ณ กรุงลอนดอนมาตั้งแต่ปี 1992 ในชื่อ XFM ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามเป็น Radio X เมื่อปี 2015 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดนับตั้งแต่ยุค Britpop เรืองรอง โดยปัจจุบันปรับเปลี่ยนรูปแบบนำเสนอแนวทางดนตรีที่หลากหลาย ตามการเปลี่ยนแปลงของแนวดนตรี ถึงแม้การเข้ามาแทนที่ของสตรีมมิ่งดนตรีจะมีบทบาทเหนือรายการวิทยุไปแล้ว แต่ Radio X ก็ยังยืนหยัดที่จะต่อลมหายใจของดนตรีแห่งสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะการจัดอันดับความนิยมของดนตรีจากฟากฝั่งยูเค ที่จัดประจำทุก ๆ ปีมาตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา เพื่อแสดงให้เห็นความยืนยงของซีนดนตรี
หลังจาก การประกาศแยกตัวอย่างเป็นทางการของคู่หูดนตรีล้ำอนาคตที่อยู่ภายใต้หน้ากากสุดไฮเทค Daft Punk ในที่สุดทั้งคู่ก็ประกาศข่าวดีแล้ว แม้จะไม่ใช่ในนาม Daft Punk และเป็นงานแยกกันทำเดี่ยวก็ตาม หลังจากทั้ง 2 ศิลปิน Thomas Bangalter และ Guy-Manuel de Homem-Christo ได้ระเบิดตัวตนของ Daft Punk จนไม่เหลือซากไปแล้ว ผ่านคลิปที่ชื่อ Epilogue เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพียงเดือนเดียว ทั้งคู่ก็ออกแถลงการณ์ถึงโปรเจกต์ใหม่ของตนทันทีผ่าน Mixmag แมกกาซีนดนตรีสังเคราะห์ชื่อดังของชาวดีเจ โดยกล่าวกับแฟน ๆ ว่า สบายใจได้ แม้โลกใบนี้จะไม่มีชื่อ Daft Punk เหลืออยู่แล้ว แต่พวกเขาทั้ง 2 ยังคงเดินหน้าทำงานต่อไป ภายใต้โปรเจกต์ใหม่ที่ทั้งคู่ต่างแยกกันทำของใครของมัน 2 แบบ 2 สไตล์ โดยแยกกันสร้างโปรเจกต์ดังต่อไปนี้ “ผมอยากกลับไปเป็นตัวจริง” คือคำกล่าวที่ Thomas Bangalter ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Mixmag เมื่อถามถึงบทบาทต่อไปของเขา
ช่วงนี้อากาศร้อนจนแทบคลั่ง เวลาร้อนทีไรก็ค่อยจะมีใจตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที แต่วิกฤตธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นทุกวัน ดังนั้นเราอย่ารอให้อุณหภูมิสูงแล้วค่อยจะมาตระหนักถึงอันตราย เราจึงขอเสนอสารคดีจาก Netflix ที่จะช่วยให้คุณตระหนักรู้ว่าวิกฤตธรรมชาตินั้นอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด มาดูและช่วยคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้โลกใบนี้คงสภาพชั่วลูกหลานกัน David Attenborough: A Life on Our Planet ทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อผลิตสารคดีรักษ์โลก หากเอ่ยถึง David Attenborough ผู้ชมชาวไทยอาจจะรู้จักกันไม่แพร่หลาย แต่หากถามชาวอังกฤษ ชื่อของ David Attenborough คือบุคลลผู้ทรงอิทธิพลและเป็นที่รักของชาว UK กันมายาวนานกว่า 70 ปี ชายหนุ่มผู้ริเริ่มในการทำสารคดีเกี่ยวกับความน่าทึ่งบนโลกใบนี้ให้กับ BBC มาตั้งแต่อายุ 20 ปี จวบจนตอนนี้เขาอายุ 93 ปี แต่ก็ยังคงไม่หยุดที่จะสำรวจความน่าทึ่งของโลกใบนี้ ด้วยความเป็นมิตรทั้งกับคนดูที่ติดตามการถ่ายทำสารคดีมาอย่างยาวนาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่นำพาเขาได้เข้าใกล้ชิดธรรมชาติ ผ่านการสำรวจทุกซอกทุกมุมของโลกใบนี้ด้วยการทำสารคดี ทำให้เขาพบว่าโลกกำลังค่อยป่วยไข้จากการทำลายและยึดพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและธรรมชาติตั้งแต่ยุคที่ยังไม่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมกันเลย David จึงใช้ประสบการณ์และมุมมองที่มีต่อโลกใบนี้มาอย่างยาวนานกว่า 7 ทศวรรษ บอกเล่าผ่านสารคดีเพื่อเผยชีวิตอันน่าทึ่งของเขา รวมไปถึงการแนะแนวทางของการแก้ไขและดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยกันพลิกฟื้นและยืดอายุโลกใบนี้ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ผ่านฟุตเตจอันทรงพลัง นี่จึงเป็นเสมือนพินัยกรรมเพื่อส่งมอบให้มนุษย์รุ่นหลังได้สานต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และส่งต่อความหวังดีที่มีต่อโลกใบนี้ให้คงอยู่ไปอีกนานเท่านาน
หากคุณเกิดมาในช่วงที่เมืองกำลังอยู่ในยุคสงคราม ทุกอย่างกระจัดกระจายมั่วซั่ว แต่หากคุณฉลาดมากพอ เก่งมากพอ และมั่นใจในฝีมือกับมันสมองของตัวเองมากพอ คุณจะอยากทำให้เมืองกลับมาสงบสุขด้วยการรวบความแตกแยกให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกันไหม ถึงอย่างนั้น การจะรวบรวมชาวญี่ปุ่นตั้งแต่เหนือจรดใต้ รวมหมู่บ้านน้อยใหญ่ที่อยู่กันแบบนี้มานานหลายร้อยปี ให้ขึ้นตรงต่ออำนาจหนึ่งเดียวที่จะแผ่ขยายอำนาจปกครองทั่วญี่ปุ่น ให้อยู่ภายใต้ธงผืนเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครคิดจะทำก็ทำได้ โดยเฉพาะการพยายามในช่วง ค.ศ. 1500 ที่ญี่ปุ่นกลายเป็นก๊กเป็นเหล่า จมดิ่งอยู่กับการต่อสู้แบบไม่รู้จบมานานนับร้อยปี ทว่าการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ที่แสนยากก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ NIHON STORIES ใคร่แนะนำให้ใครก็ตามที่เริ่มให้ความสนใจกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โดยเฉพาะยุคที่ซามูไรต่างวิ่งเข้าใส่กันแล้วห้ำหั่นแบบไม่กลัวตายอย่างยุค ‘เซ็นโกคุ’ ได้ลองเปิดสารคดีเรื่อง Age of Samurai: Battle for Japan แล้วใช้เวลากับสิ่งนี้ให้เต็มที่ เพื่อทำความเข้าใจถึงอำนาจ ศักดิ์ศรี เล่ห์เหลี่ยม และมุมมองความคิดของชาวญี่ปุ่น ผ่านการต่อสู้ของสามนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ว่าพวกเขาเกิดมาเพื่อเป็นนักรบอย่างแท้จริง องก์ 1: โอดะ โนบุนากะ ชายที่ไม่มีใครยอมรับแสดงให้เห็นว่าบุคลิกห่าม ๆ ออกไปทางไม่น่าคบ กลับเต็มไปด้วยความเฉลียวฉลาด กล้าได้กล้าเสีย เขาสามารถชนะศึกในตระกูลและขึ้นเป็นผู้นำของจังหวัดอย่างแท้จริง ซ้ำยังต้านกองทัพของไดเมียวเมืองอื่นที่มีคนมากกว่าถึงสามเท่าได้ การก้าวสู่อำนาจอย่างเป็นทางการครั้งแรก ทำให้บุรุษผู้บ้าคลั่งในสนามรบ คิดว่าตนก็อาจจะสามารถรวมญี่ปุ่นที่กำลังแตกกระจายให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้การปกครองของเขาได้เช่นกัน หากมองแค่ในสารคดีเรื่องนี้ หลายคนอาจรู้สึกไม่ชอบใจการกระทำหลายอย่างของ โอดะ
แม้กาลเวลาจะผันผ่านไปกว่า 40 ปีแล้ว แต่บทเพลงยิ่งใหญ่อย่าง “Bohemian Rhapsody” ก็ยังสร้างสถิติใหม่ไม่หยุดยั้ง ล่าสุดข้ามน้ำข้ามเกาะอังกฤษ ไปสร้างสถิติที่อเมริกาด้วยการสร้างยอดขายและสตรีมระดับ Diamond Single ได้สำเร็จเป็นวงแรกของสหราชอาณาจักร โดยการรับรองจาก RIAA หรือ Recording Industry Association of America ด้วยยอดจำหน่ายและการดาวน์โหลดรวมกันได้ถึง 10 ล้านหน่วย “นี่เป็นข่าวที่น่าเหลือเชื่อ ในบางครั้งเช่นนี้ฉันต้องหยิกตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่ามันเป็นของจริง” Brian May มือกีตาร์ระดับตำนานแสดงออกถึงความดีใจที่บทเพลงที่อายุอานามกว่า 4 ทศวรรษรวมไปถึงเจ้าของบทเพลงอย่าง Freddie Mercury ก็จากโลกใบนี้ไปครบ 30 ปีแล้ว UNLOCKMEN จึงขอพาคุณย้อนไปสู่การเดินทางอันแสนอหังการ์ และมาวิเคราะห์กันว่า เพราะอะไรบทเพลงนี้กลายเป็นบทเพลงอมตะจวบจนปัจจุบันกัน หลังจากที่ Queen ประสบความสำเร็จจากอัลบั้ม Sheer Heart Attack อัลบั้มชุดที่ 3 ของพวกเขา Freddie Mercury ก็เริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายกับภาพลักษณ์ของวงร็อคที่ซ้ำซากจำเจในยุคนั้น ที่เต็มไปด้วยความแข็งแกร่งแข็งกร้าวบึกบึน แต่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ Freddie รู้สึกว่าเพลงร็อคควรไปไกลกว่านั้น
นับตั้งแต่การมาของประดิษฐกรรมที่ชื่อว่า Compact Disc หรือ CD ตั้งแต่ยุค 80s นับแต่นั้นสิ่งๆนี้ก็ได้ทำลายฟอร์แมทการฟังเพลงเก่าๆไปอย่างราบคาบ ด้วยทั้งความสะดวกสบาย คุณภาพเสียงที่ชัดใส ไปจนถึงราคาที่ถูกกว่า ทำให้ฟอร์แมท CD อยู่คู่กับคนฟังเพลงมานานนับ 4 ทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1987 ที่เป็นครั้งแรกที่ยอดขายซีดีนำหน้าฟอร์แมทอื่นๆไม่ว่าจะเป็นคาสเซ็ทท์ หรือแผ่นเสียงไวนิล แต่บัลลังก์แชมป์กำลังถูกสั่นคลอนในอีกไม่ช้า เมื่อผู้สันทัดกรณีของประเทศอังกฤษได้กล่าวว่า “ปี 2021 นี้ CD จะมีแนวโน้มถูกโค่นแชมป์ ซึ่งสิ่งที่มาสั่นคลอนนั้นไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่อะไร แต่เป็นแผ่นไวนิล หรือแผ่นเสียงนั่นเอง” Geoff Taylor ผู้บริหารระดับสูงของ British Phonographic Industry (BPI) ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์อันน่าสนใจนี้กับ The Guardian ว่า “เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่แนวโน้มของแผ่นเสียงจะกลับมาชนะ CD ในปลายปีนี้ เนื่องจากพฤติกรรมการฟังเพลงของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไป จากยอดขายโดยรวมที่ปีที่แล้วที่ไวนิลได้ทำไว้คือ 86.5 ล้านปอนด์ ซึ่งนับเป็นยอดขายที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมา ซึ่งถือได้ว่าทำยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 30% เลยทีเดียว” ซึ่งเหตุผลสำคัญของการกลับมาของไวนิลนั้นมีนัยยะสำคัญอยู่