หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วเราได้พาทุกคนไปรู้จัก “Bosozoku Bike Siam” กลุ่มคนผู้นำการแต่งรถอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นเข้ามาโลดแล่นในบ้านเรา และในวันนั้นเองทำให้เราได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าในประเทศไทยก็มีอู่แต่งรถ Bosozoku เกิดขึ้นมาแล้วเช่นกัน ซึ่งเจ้าของอู่ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เขาคือ คุณแพท สมาชิกกลุ่ม Bosozoku Bike Siam ที่อยู่กับเราในบทความที่แล้วนั่นเอง ในปัจจุยังเป็นเจ้าของอู่แต่งรถที่ชื่อว่า “KU Garage” หรือ “กู การาจ” ตั้งอยู่ย่านคลอง 2 ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพ ที่นี่สามารถเนรมิตรถสไตล์ Bosozoku ได้ทุกรูปแบบตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับคนที่สนใจ เรามาเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการจากคุณแพทไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ จุดเริ่มต้นของ KU GARAGE จุดเริ่มต้นมาจากการทำ Custom รถชอปเปอร์ ซึ่งคุณแพทเองก็เคยขี่รถชอปเปอร์มาก่อนด้วยเช่นกัน เขาได้นำความรู้ที่สั่งสมประสบการณ์มาบรรจงสร้างรถจักรยานยนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมไปถึงการสร้างเฟรมและตัวถังขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง และด้วยการศึกษาหาความรู้อย่างไม่หยุดหย่อน ก็พาคุณแพทให้ได้มาเจอการแต่งรถสไตล์ Boso มันคือความแปลกใหม่ที่ปลุกความท้าทายในฐานะคนแต่งรถให้ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากนั้นคุณแพทก็เริ่มติตต่อไปทางคุณนนท์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่เอาจริงจังในวัฒนธรรม Bosozoku แถมยังมีประสบการณ์การไปเยือนแก๊งรถดังกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว จึงได้คำปรึกษาและคำแนะนำดี ๆ มามากมาย ได้รู้จักรุ่นพี่ที่ขี่รถสไตล์นี้
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงมีชีวิตดี ทำธุรกิจอะไรก็ประสบความสำเร็จ ในขณะที่บางคนทำอะไรก็ให้ผลตอบแทนไม่งอกเงยเท่าที่ควร มีผลวิจัยทำสถิติระบุว่า เรื่องนี้อาจอยู่ที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและมุมมองวิธีคิดของแต่ละคน เช่นคนที่มักจะรายล้อมตัวเองด้วยคน Toxic หรือมองความท้าทายเป็นปัญหาที่ไม่กล้าจะก้าวเท้าออกไปเผชิญหน้ากับมัน วันนี้ UNLOCKMEN จึงอยากมาแนะนำพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยน เพื่อที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิตในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น คบคนพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตพาไปหาผล ดูเหมือนว่าคนรอบตัวจะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จมากกว่าที่เราคิด ถ้าเราอยู่ร่วมกับคนเก่ง เราจะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้น ถ้าเราอยู่กับคนขี้แพ้ เราอาจกลายเป็นคนขี้แพ้ไปด้วย งานวิจัยที่ใช้เวลากว่า 25 ปีของ Dr. David McClelland อาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเราได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ กลุ่มอ้างอิง (reference group) หรือกลุ่มคนที่เราใช้ชีวิตอยู่ด้วย พูดคุยด้วย หรือ ทำงานร่วมกันเป็นประจำ คนกลุ่มนี้ส่งผลต่อตัวเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนที่เราเลือกคบนั้นจะมีอิทธิพลต่อเราในทุกด้าน Warren Buffet เคยพูดว่าความสำเร็จเกิดขึ้นจากการใช้เวลาร่วมกับคนที่ดีกว่าตัวเอง เลือกเพื่อนที่มีพฤติกรรมดีกว่าเรา เราจะอยากผลักดันตัวเองให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นไปด้วย ดังนั้น เราควรมีเพื่อนเก่ง ๆ อย่างน้อยสักหนึ่งคนที่สามารถขอคำแนะนำหรือคำปรึกษาในยามที่เกิดปัญหา ในขณะเดียวกัน ตัวเราเองก็ต้องมีความพร้อมในการมองเห็นและยอมรับปัญหาของตัวเอง เพื่อที่จะได้พัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้แบบ inside-out เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ คนที่ประสบความสำเร็จมักจะหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีและความรู้ในโลกเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อคุณหลงใหลและชื่นชอบอะไรบางอย่างมาก ๆ มันจะมีพลังที่จะทำให้คุณยอมทุ่มสุดตัวเพื่อแลกกับสิ่งเหล่านั้นให้ได้มาครอบครอง ประโยคนี้สามารถเห็นภาพได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งกับกลุ่ม Bosozoku Bike Siam กลุ่มผู้นำวัฒนธรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของประเทศญี่ปุ่นข้ามน้ำข้ามทะเลมาสู่ท้องถนนในประเทศไทย พวกเขามาพร้อมสไตล์การแต่งรถที่ถอดแบบจากแดนปลาดิบมาทุกตารางนิ้ว ทุกเอกลักษณ์ถูกถ่ายทอดมาจากความรักและแพชชั่นที่มีต่อ Bozosoku Bosozoku Bike Siam ได้ส่ง นนท์ (Kawasaki zephyr 400), โน (Kawasaki zephyr 750), จักร (Honda cb650 Custom) และแพท (Kawasaki zephyr 400) 4 ตัวแทนมาร่วมถ่ายทอดความสุดให้ชาว UNLOCKMEN ได้ทำความรู้จักพวกเขากับบทสัมภาษณ์ในครั้งนี้ครับ จุดเริ่มต้นความชื่นชอบ BOSOZOKU นนท์ : เริ่มแรกมาจากการอ่านการ์ตูน แล้วแบบเฮ้ยมันมีหรอวะ มันมีจริง ๆ หรือเปล่า พอโตขึ้นมาก็เลยศึกษาดู และเห็นรุ่นพี่ที่สุพรรณทำก็เลยติดต่อเขาไป เริ่มคุยกัน จนสุดท้ายได้ไปซื้อจากทางที่ญี่ปุ่นกลับมาทำที่ไทย โน: จุดเริ่มต้นแรกมาจากการบ้ามอเตอร์ไซค์ญี่ปุ่น เมื่อก่อนจะบ้ารถโกดัง รถสี่สูบเรียง, Superfour พอมาวันหนึ่งเราอ่านการ์ตูนมาก ๆ
เวลาขับเครื่องบิน นักบินอาจเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิดได้ เช่น เจอเครื่องบินอีกลำหนึ่งบินสวนมา หรือ อากาศแปรปวนกระทันหัน ถ้านักบินตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านี้ช้าเกินไป อาจทำให้เกิดการสูญเสียได้ พวกเขาจึงต้องมีสกิลในการตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากพอสมควร UNLOCKMEN อยากมาแนะนำเทคนิคที่ชื่อว่า OODA Loop ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทหารอากาศใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจอตอนขับเครื่องบิน แต่เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้กับเรื่องอื่นได้เช่นกันอย่างการแก้ปัญหาในที่ทำงาน OODA Loop เป็นเทคนิคในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วของ John Boyd พันเอกประจำกองทัพอากาศสหรัฐในตำนานที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1927 – 1997 และได้ผลิตผลงานชิ้นโบว์แดงออกมามากมาย เช่น การสร้างทฤษฎี Energy-Maneuverability (EM) ที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องบินรบ F15 และ F16 หรือ การเขียนผลงาน Aerial Attack Study ที่นับว่าเป็น ไบเบิ้ลของการต่อสู้ทางอากาศที่ปฎิวัติวงการกองทัพอากาศทั่วโลก เป็นต้น เทคนิคนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรับมือกับ ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของโลก เพราะมนุษย์ไร้ความสามารถในการเข้าใจข้อมูลทุกอย่างอย่างสมบูรณ์แบบ เราจึงต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน หรือ ตัดสินใจด้วยข้อมูลที่มีความกำกวมอยู่เสมอ OODA Loop จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการก้าวข้ามเรื่องเหล่านี้ ทุกวันนี้ OODA Loop ถูกนำไปใช้ในหลายด้าน
หากจะย้อนไปพูดถึงวงร็อกที่ได้รับความนิยมในช่วงยุค 2000’s ที่โดดเด่นมากมายหลายสิบวง หนึ่งในวงเหล่านั้นต้องยกให้ Ebola วงที่นำเสนอความหนักหน่วงที่ติดพ่วงมาตั้งแต่สมัยอันเดอร์กราวน์ ก่อนจะปรับเปลี่ยนซาวด์เพื่อการเติบโตในวงการดนตรีไทย และอีกสิ่งที่ทุกคนต่างพูดถึง ก็คือเสียงสำรอกสุดทรงพลังของชายที่ชื่อว่า “เอ๋ กิตติศักดิ์ บัวพันธุ์” หรือ “เอ๋ Ebola” ชายผู้ไล่ตามความฝันบนเส้นทางสุดเกรี้ยวกราดของดนตรีมาโดยตลอด ชายผู้ตัดสินใจไปทำงานร้านขายซีดีตามไอดอล และยังเป็นชายที่รวบรวมสมาชิกวงร็อกชื่อดังให้เกิดขึ้นมาจนโด่งดังไปทั่วประเทศ เรามาทำความรู้จักผู้ชายคนนี้ให้มากขึ้น กับมุมมองที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้สัมผัสมาก่อนกันครับ กลับสู่จุดเริ่มต้นกับชีวิตวัยเยาว์ “เท่าที่จำได้เป็นเด็กทั่ว ๆ ไป ครับ เรียนหนังสือใช้ชีวิตปกติ เราจะใช้ชีวิตเรียบง่าย คุณพ่อผมชอบร้องเพลงมาก เขาจะมีวงที่โรงพยาบาลของเขา ชอบซ้อมดนตรีกัน ผมก็ได้ไปกับพ่อบ่อย ๆ ก็อาจจะได้ซึมซับการเป็นนักร้องจากคุณพ่อมาก็ได้ แล้วคุณพ่อชอบเก็บแผ่นเสียง เช่นพวกวง The Beatles, Led Zeppelin วงสมัยก่อนที่เขาฟังกัน ส่วนวงไทยก็เยอะหน่อยพวกเทปคาสเซตเช่น บรั่นดี, คีรีบูน แต่คุณพ่อจะชอบร้องเสียงแบบ คุณลุงธานินทร์ อินทรเทพ มันก็อาจจะกลายเป็นความชอบติดตัวมาในความเป็นนักร้องครับ” “ส่วนช่วงเรียนที่ผมชอบที่สุดคือการเป็นนักฟุตบอล ผมชอบการ์ตูนเรื่องซึบาสะมาก อินจนแบบว่าทุกเช้าวันเสาร์อาทิตย์ผมกับน้องชาย (โอ๋ มือกีตาร์ Ebola)
แม้จะเป็นสัปดาห์แห่งวันหยุดแล้ว แต่หลายคนอาจกำลังอยู่หน้าจอคอมหรือมือถือตรวจสอบ Inbox จากอีเมล์ที่ทำงานอยู่ บางคนอาจกังวลว่าจะมีงานด่วนเข้ามารึเปล่า หรือ กลัวว่าจะพลาดการตอบอีเมล์สำคัญไป ส่งผลให้พวกเขาต้องหมั่นเช็คอีเมล์อยู่ตลอดเวลา อาการนี้มีชื่อเล่นว่า Email Anxiety และเป็นอาการที่ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด มันจะทำให้เราเครียดแม้ในวันหยุด และขัดขวางการพักผ่อนของเรา UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีรับมือกับอาการนี้ให้อยู่หมัด Email Anxiety เกิดขึ้นได้อย่างไร ในช่วงที่เราต้องทำงานอยู่บ้าน เราอาจซัฟเฟอร์กับ Email Anxiety ได้ง่ายขึ้น เพราะการเปลี่ยนวิธีทำงาน มาทำงานที่บ้าน อาจทำให้หลายบริษัทเริ่มจู้จี้กับพนักงานมากขึ้น จนหลายคนเริ่มมีเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน และสูญเสียความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต (work-life balance) ไป สุดท้ายสภาพจิตใจของพวกเขาก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อเราไม่รู้ว่าเวลาไหนควรหยุดดูอีเมล์จากที่ทำงาน เราจะไม่สามารถคลายความเครียดและความกังวลเรื่องงานไปได้ เพราะเราจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้สนใจเรื่องงานตลอดเวลา จนใกล้จะถึงเวลานอนแล้ว เราอาจกำลังดูอีเมล์อยู่ก็เป็นได้ นอกจากนี้ Email Anxiety สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานของสมอง เช่น ความต้องการอยากทำงานให้สำเร็จ พอเราตรวจสอบอีเมล์จากที่ทำงานเสร็จ สมองจะหลั่งฮอร์โมนโดปามีนซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกดี เราจึงอยากดูอีเมล์ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง อีเมล์อาจไม่ได้เข้ามาในเวลางานเสมอไป หรือ บางวันอีเมล์งานอาจเยอะมากเกินเราจะเช็คหมดในวันเดียว เพราะฉะนั้น การไล่ตามอีเมล์ตลอดเวลา จึงมีแต่ทำให้เรารู้สึกเครียดกังวล
แม้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับใครหลายต่อหลายคน แต่ต้องยอมรับเลยว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เมื่อท้ายที่สุดแล้วพวกเราก็ยังอยู่รอดมาจนถึงปฏิทินหน้าสุดท้ายของปี 2021 แถมยังมีเรี่ยวแรงพอที่จะท่องโลกอินเตอร์เน็ตจนมาเจอกับบทความนี้ และสำหรับใครที่ฝ่าฟันปีแห่งความหนักหนาสาหัสซึ่งยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่ จนพลังเริ่มหดหาย ไฟในหัวใจเริ่มมอดดับ วันนี้เราจะขอนำเสนอเรื่องราวที่คัดมาเน้น ๆ จาก 5 คนบันดาลใจ ซึ่ง UNLOCKMEN มีโอกาสได้ไปพูดคุยมาตลอดปี 2021 ด้วยความหวังที่ว่าสักเสี้ยวหนึ่งในแง่มุมชีวิตของเขาและเธอเหล่านี้ จะสามารถปลุกไฟให้ท่านผู้อ่านได้เตรียมพร้อมลุกขึ้นมาสู้ต่อในปี 2022 กันอีกสักตั้ง ‘เต๋า SWEET MULLET’ เส้นทางชีวิตและความฝันที่ไม่ได้เป็นแค่เพียงนิทานหลอกเด็ก ดุลยเกียรติ เลิศสุวรรณกุล หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ “เต๋า” นักร้องนำวง Sweet Mullet ศิลปินที่มีเอกลักษณ์ชัดเจนมากที่สุดวงหนึ่งของวงการดนตรีไทย ฝากผลงานเพลงดังเอาไว้มากมายไม่วาจะเป็น ‘ตอบ’, ‘เพลงของคนโง่’, ‘หลับข้ามวัน’, ‘สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน’, ‘ภาพติดตา’ และ ‘พลังแสงอาทิตย์’ รวมไปถึงผ่านการขึ้นเวทีในราชมังคลากีฬาสถานกับเทศกาลดนตรี G19 ท่ามกลางคนดูนับหมื่นมาแล้ว แต่ภาพของความสำเร็จที่ดูสวยงาม แท้จริงแล้วกว่าที่จะออกมาให้ทุกคนได้เห็น มันต้องผ่านทั้งความอดทน การต่อสู้ และความเหน็ดเหนื่อยมาอย่างมากมาย ทำให้ชีวิตต้องเจอกับความท้าทายไต่เย้ยนรกที่แวะเข้ามาทักทายตลอดไม่เว้นแต่ละวัน ชีวิตของเต๋าต้องเผชิญกับอะไรบ้าง
แม้ว่าทีม Barcelona จะอยู่ในสภาพทีมที่ไม่สามารถลุ้นแชมป์ได้สนุกเหมือนอย่างในอดีตที่ผ่านมาเนื่องจากสภาวะทางการเงินที่มีปัญหาอย่างหนัก จนทำให้ทีมต้องยอมขาย Lionel Messi ออกจากทีมไป แถมนักเตะใหม่ที่เข้ามาก็ยังทำผลงานได้ไม่โดดเด่นเท่าที่ควร ที่เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้น Luuk De Jong กองหน้าชาวดัตช์ที่โชว์ฟอร์มได้ไม่ดีเอาซะเลย รวมไปถึงนักเตะซีเนียร์ในทีมอีกหลาย ๆ คนก็เริ่มโรยรา ไม่ว่าจะเป็น Gerard Pique, Jordi Alba และ Sergio Busquets เป็นต้น แต่ถ้าจะให้มองอีกหนึ่งมุมสโมสรแห่งนี้กำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผันจากยุคเก่าไปสู่ยุคใหม่ ผลผลิตนักตะจากแคมป์ลา มาเซีย กำลังค่อย ๆ ออกดอกออกผลมาให้ได้ยมโชมกัน ซึ่งแต่ละคนก็เริ่มฉายแววกับทีมชุดใหญ่ทั้ง ๆ ที่อายุอานามยังไม่ถึง 20 ปีกันเลยด้วยซ้ำ หนึ่งในดาวจรัสแสงเหล่านั้นคือ Pablo Martín Páez Gavira หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Gavi” มิดฟิลด์วัย 17 ปี สัญชาติสเปนที่ก้าวข้ามกับทีมชุดบีขึ้นมาเป็นตัวหลักของชุดใหญ่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมไปถึงถูกเรียกไปติดทีมชาติสเปนชุดใหญ่แล้วเช่นเดียวกัน Gavi เริ่มเตะฟุตบอลตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 10 ขวบกับสโมสรในท้องถิ่นที่ชื่อว่า Liara Balompie และสามารถโชว์ฟอร์มได้ดีจนถูกแมวมองของทีม Real
เหล้ากับบุหรี่นับเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันเสมอในร้านเหล้า บางคนอยู่ข้างนอกไม่แตะบุหรี่เลย แต่พอเข้าร้านเหล้ากลับกลายเป็นสิงห์อมควันไปซะงั้นก็มี UNLOCKMEN อยากมาอธิบายว่าทำไมเวลาดื่ม เราถึงรู้สึกอยากดูดบุหรี่ ทำไมคนถึงอยากสูบบุหรี่ตอนดื่ม ความต้องการอยากสูบบุหรี่เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย โดยปัจจัยแรก ได้แก่ ความสามารถของนิโคตินที่มีผลต่อความทรงจำของเรา ส่วนปัจจัยที่สอง คือ ความสามารถของนิโคตินในการทำงานร่วมกับแอลกอฮอล์เพื่อลดระดับโดปามีนในร่างกาย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Baylor College of Medicine ได้ทำการศึกษาสมองของหนูทดลองที่ได้รับ ‘นิโคติน’ สารเสพติดที่อยู่ในบุหรี่ โดยพวกเขาปล่อยให้หนูใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมจำลองที่มีลักษณะเป็นสองห้องแยกกัน โดยห้องแรกหนูจะได้รับนิโคติน ส่วนอีกห้องหนูจะได้รับน้ำเกลือ และหลังจากนั้นนักวิจัยจะทำการศึกษากิจกรรมที่เกิดขึ้นใน hippocampus หรือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความทรงจำของหนู ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเทียบกับน้ำเกลือ การได้รับนิโคตินจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างความทรงจำที่แข็งแรง เพราะสารเคมีได้ทำให้การเชื่อมต่อของเส้นประสาทมีความแข็งแกร่งขึ้นมากถึง 2 เท่า ซึ่งปรากฎการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการสร้างความทรงจำที่แข็งแกร่งด้วย หนูทดลองยังเรียนรู้ที่จะใช้เวลาในห้องนิโคตินมากกว่าส่วนอื่นด้วย เพราะเวลาได้รับนิโคติน การเชื่อมต่อของเส้นประสาทไซแนปส์ติกมีความแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะในเวลาที่ศูนย์การให้รางวัลของสมองส่งสัญญาณโดปามีน (สารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกดี) กล่าวคือ สมองสร้างความทรงจำที่จับคู่นิโคตินกับความรู้สึกดี (หรือ การทำงานของโดปามีน) หนูจึงรู้สึกชอบห้องที่มีนิโคตินมากกว่าห้องอื่น นอกจากนี้ทีมวิจัยยังทดสอบสมมติฐานที่ว่า การรับนิโคตินและแอลกอฮอล์พร้อมกันจะช่วยให้ระดับของโดปามีนสูงขึ้นด้วย แต่ผลที่ออกมากลับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ แม้หนูที่ได้รับนิโคตินจะบริโภคแอลกอฮอล์มากขึ้น แต่ระดับโดปามีนของพวกมันกลับไม่เพิ่มขึ้นเลย หลังจากทดลองซ้ำหลายครั้งผลก็ออกมาเป็นเหมือนเดิม
การจบบทสนทนานับเป็นสกิลที่ผู้ชายทุกคนควรมี เพราะผู้ชายอย่างเราต้องเข้าสังคม และทักษะการจบบทสนทนาจะช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่นได้ แต่หลายคนคงพบว่าการจบบทสนทนาเป็นเรื่องยากมาก เพราะไม่รู้ว่าควรจะตัดจบยังไงให้ดูไม่น่าเกลียด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคการจบบทสนทนาอย่างสมูท โดยไม่ทำให้อีกฝ่ายต้องเสียความรู้สึก มีเป้าหมายที่ชัดเจน เวลาจะไปพบใครก็ตาม เราควรจำไว้เสมอว่าเราไปพบกับเขาเพื่ออะไร เช่น ต้องการหาคู่ หรือ ต้องการเจรจาทางธุรกิจ การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เรารู้ว่าควรพูดคุยกับอีกฝ่ายประมาณไหน ป้องกันการพูดหรือฟังมากเกินไป จนจบบทสนทนาได้ยาก แถมยังช่วยให้เรากล้าตัดสินใจมากขึ้นด้วย ถ้าเราเจอกับสถานการณ์ที่ต้องทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รอจนบทสนทนาเริ่มสงบ รอสัญญาณจากอีกฝ่ายที่แสดงให้เห็นว่าบทสนทนากำลังจะจบลงแล้ว ซึ่งสัญญาณมักมาในรูปแบบของคำพูด เช่น “อืม” “โอเค” หรือ “เออ” เป็นต้น คำเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายเริ่มหมดเรื่องที่จะพูดกับเราแล้ว และเราสามารถใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนเรื่องคุย หรือ ตัดจบบทสนทนาที่กำลังเกิดขึ้นได้ จบด้วยเป้าหมายในการสนทนา เราควรยึดเป้าหมายในการสนทนาตั้งแต่ต้นจนจบบทสนทนา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตอนแรกเราขอคำแนะนำจากเพื่อนเรื่องคลาสที่น่าเข้าเรียน เราอาจออกจากบทสนทนาโดยใช้ประโยคจบที่เชื่อมกับเป้าหมายในตอนแรก เช่น “ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ เราจะลงเรียนวิชานี้ให้ทันในเทอมหน้า” เป็นต้น จบด้วยการขอบคุณ ไม่ว่าคุณจะสนทนากับใคร หากต้องการจบบทสนทนาอย่างสุภาพ ควรจบด้วยการขอบคุณเสมอ เช่น ขอบคุณที่อีกฝ่ายสละเวลามาคุยกับเรา หรือ บอกกับอีกฝ่ายว่าการพูดคุยในครั้งนั้นสนุกมากแค่ไหน เป็นต้น