มาทำความรู้จักกับ Alex Turner หัวหอกวงลิงซน ที่เขาว่ากันว่าเป็นอัจฉริยะของการเขียนเพลง
หลายคนรู้สึกผูกพันกับคนที่อยู่ด้วยกันมานานและทำอะไรหลายอย่างร่วมกันมามากมาย โดยไม่ได้เผื่อใจว่าสักวันหนึ่งเขาอาจเปลี่ยนไปจากคนดีกลายเป็นคนที่ทำร้ายเราตลอดเวลา และในเวลานั้น การเดินออกจากความสัมพันธ์จะกลายเป็นเรื่องยาก เพราะอีกฝ่ายอยู่ในชีวิตของเรามานานเกินไปแล้ว เพราะเวลาทำให้ความสัมพันธ์มันแข็งแรง ต่อให้เราโดนทำร้ายมากแค่ไหนก็ตาม เราก็ยังรู้สึกสงสารหรือความหลงใหลแบบหน้ามืดตามัว จนยอมอดทนให้เขาทำร้าย และไม่เดินออกจากความสัมพันธ์เสียที หรือ พอตัดสินใจว่าจะเลิกกับเขาแล้ว พอได้ยินว่าอีกฝ่ายจะเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ (ซึ่งอีกฝ่ายมักพูดไม่จริง) เราก็เกิดอาการใจอ่อน และไม่มูฟออนอยู่เหมือนเดิม เราเรียกความสัมพันธ์แบบนี้ว่าเป็น Trauma Bonding ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อใจของเราเลย เพราะมันทำให้เกิดความเครียด และความทรมานทางจิตขั้นสูง ถ้าเป็นไปได้ เราควรหันหลังให้ความสัมพันธ์แบบนี้ และเดินออกมาให้เร็วที่สุด Trauma Bonding เกิดขึ้นอย่างไร ความสัมพันธ์ประเภทนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มันอาจเกิดขึ้นเพราะเราเข้าใจเหตุผลของผู้ทำร้ายและเกิดความรู้สึกสงสารขึ้นมา หรือ เรากลัวการถูกทำร้ายอีกในอนาคต และรู้สึกว่าการหนีออกมาไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัย จึงเลือกที่จะทำให้สิ่งที่จะหนีจากสิ่งที่ตัวเองเผชิญหน้าอยู่ โดยการมองหาข้ออ้างให้การกระทำของพวกเขาถูกต้อง และทำให้การอยู่ในความสัมพันธ์เป็นเรื่องสมเหตุสมผลมากขึ้น นอกจากนเรื่องของจิตใจแล้ว ฮอร์โมนบางตัวก็ทำให้เราเสพติดการอยู่กับคนที่ทำร้ายเราได้เหมือนกัน เช่น ‘โดปามีน’ ที่มักหลั่งออกมาหลังจากที่เราคืนดีกันแล้ว หรือ ‘ออกซิโทซิน’ ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสคนที่ทำร้ายเรา ฮอร์โมนเหล่านี้อาจทำให้เราเสพติดการอยู่อีกฝ่าย จนไม่ยอมถอยออกมาจากความสัมพันธ์สักที สัญญาณว่าเรากำลังอยู่ใน Trauma Bonding คนที่กำลังอยู่ใน Trauma Bonding มักจะรู้สึกผูกพันหรือรักอีกฝ่ายมาก จนเชื่อว่าพฤติกรรมรุนแรงของอีกฝ่ายเป็นเรื่องที่มีเหตุผล
ความสัมพันธ์มักเป็นสิ่งที่รักษาเอาไว้ได้ยาก หากเราหรือคนที่เรารักไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ และแสดงพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยากอยู่ตลอดเวลา อาการนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคไบโพลาร์ การอยู่ร่วมกับพวกเขาจึงต้องใช้ความรู้และความเข้าใจในอาการป่วยมากพอสมควร ถึงจะรับมือกับพฤติกรรมที่เกิดจากความแปรปวนทางอารมณ์ของพวกเขาได้อย่างอยู่หมัด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการรักษาความสัมพันธ์ให้อยู่ได้ยาวนาน เมื่อเราหรือแฟนเป็นโรคไบโพลาร์ ความหมายของโรคไบโพลาร์ โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือ Manic Depression คือ อาการเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดขึ้นได้จากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองอันมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนหรือกรรมพันธ์ุ ส่งผลให้คนมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หรือที่เรียกกันว่ามี ‘อารมณ์สองขั้ว’ โดยช่วงหนึ่งผู้ป่วยจะมีความสุขมากและเปี่ยมไปด้วยความกระกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ แต่อีกช่วงหนึ่งพวกเขาจะรู้สึกแย่ เสียใจ สิ้นหวัง ท้อแท้ ช่วงที่ผู้ป่วยมีความสุขมักจะเรียกกันว่า แมเนีย (Mania) ผู้ป่วยจะรู้สึกตื่นเต้น มีความหวัง รู้สึกกระฉับกระเฉง และมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก จนพวกเขาสามารถตัดสินใจทำเรื่องต่าง ๆ ได้โดยไม่ยั้งคิด นอกจากนี้พวกเขาอาจมองเห็นภาพหลอน หรือ ได้ยินเสียงที่ไม่มีจริงอีกด้วย ถ้าเป็นอาการเมเนียแบบไม่รุนแรงมาก เรามักเรียกกันว่าเป็น ไฮโปแมเนีย (Hypomania) โดยผู้ป่วยจะไม่มองเห็นภาพหลอนหรือได้หูแว่ว และอาการป่วยไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ส่วนช่วงเวลาแห่งความทุกข์ เราจะเรียกว่า ซึมเศร้า (Depressive) โดยผู้ป่วยจะรู้สึกซึมเศร้าหรือโศกเศร้าอย่างหนัก
นักเตะที่เก่งกาจ อาจจะไม่ใช่ผู้จัดการทีมที่เก่งกาจข้างสนาม คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่ไม่เกินเลยความจริง มีนักเตะระดับตำนานหลาย ๆ คนที่ล้มเหลวไม่เป็นท่ากับตำแหน่งนี้ แต่ก็มีไม่น้อยที่ก้าวข้ามขีดจำกัดด้วยสมองอันปราดเปรื่องจนสามารถประสบความสำเร็จในตำแหน่งผู้จัดการทีมได้ หนึ่งในนั้นคือ “อันโตนิโอ คอนเต้” แม้จะประสบความสำเร็จในฐานะนักเตะกับทีมยูเวนตุสอย่างยิ่งใหญ่ พาทีมกวาดแชมป์ได้ถึง 14 รายการตลอดระยะเวลาที่รับใช้ทีมม้าลาย 13 ปีเต็ม ๆ แต่เส้นทางการเป็นผู้จัดการทีมของคอนเต้กลับไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะมันเลวร้ายย่ำแย่ถึงขนาดทำทีมตกชั้นก็เคยมาแล้ว แต่ทุกอุปสรรคทุกย่างก้าว ล้วนเป็นประสบการณ์ให้คอนเต้ได้ขัดเกลาฝีมือของตัวเองให้กลายมาเป็นผู้จัดการทีมที่ยิ่งใหญ่ในโลกของฟุตบอล ล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น คอนเต้ได้รับโอกาสชิมลางในการเป็นผู้จัดการทีมด้วยตำแหน่งผู้ช่วยกับทีมเซียน่าในฤดูกาล 2005-2006 ซึ่งเขาทำงานร่วมกับ ลุยจิ ดิ คานิโอ ที่เป็นเฮดโค้ช ณ เวลานั้น แต่การเลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นผู้จัดการทีมของคอนเต้กลับมาไวเกินคาด ในเดือนกรกฎาคมปี 2006 เขาได้รับโอกาสคุมทีมอเรซโซ่ ในซีเรียบี แต่การเริ่มต้นกลับต้องเจอความล้มเหลวอย่างรวดเร็วเช่นกัน เขาใช้เวลาคุมทีมเพียงแค่ 3 เดือนอก็ถูกไล่ออกจากผลงานทำทีมชนะได้เพียง 1 นัดจาก 12 เกมส์ แม้สุดท้าย อเรซโซ่ จะตัดสินใจดึงคอนเต้กลับมาคุมทีมอีกครั้งเพื่อกู้วิกฤติหนีตายจากโซนตกชั้น แต่เรื่องจริงก็ไม่เหมือนนิยาย เพราะคอนเต้ทำภารกิจไม่สำเร็จ ทีมของเขาต้องหล่นไปสู่ซีเรียซี 1 (ระดับดิวิชั่น 3) นับเป็นการเริ่มต้นที่น่าวิตกกังวลมากเลยทีเดียว ความสำเร็จแรกในฐานะผู้จัดการทีม
หลังจากที่เราเรียนจบมหาวิทยาลัย และกำลังเข้าสู่วัยทำงาน หลายคนคงเคยเจอกับสถานการณ์ที่ต้องเลือกระหว่าง “งานที่เงินดีแต่ไม่มีเวลาทำอย่างอื่น” หรือ “งานที่เงินอาจจะให้เงินไม่ดีมากเมื่อเทียบกับงานแรก แต่ก็ทำให้เรามีเวลาไปใช้ชีวิตมากกว่า” แต่ละคนคงมีเหตุผลในการเลือกงานที่แตกต่างกันไป บางคนกำลังเจอกับปัญหาเรื่องการเงินก็เลยเลือกงานที่มีเวลาว่างน้อย หรือ บางคนที่ไม่มีความเครียดเรื่องเงินก็อาจเลือกงานที่ได้เงินเดือนคุ้มค่ากับเวลา แต่ไม่ว่าคุณเลือกงานแบบไหน อาจต้องคิดถึง ‘ความสุข’ ของตัวเองด้วย เพราะงานวิจัยบอกเราว่าคนที่ให้ความสำคัญกับเงินอาจไม่ใช่คนที่มีความสุขมากเท่าไหร่ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง (2019) ได้ขอให้นักศึกษาที่กำลังเรียนจบจาก University of British Columbia จำนวนกว่า 1,000 คน ทำแบบประเมินที่วัดว่าพวกเขามีแนวโน้มจะให้คุณค่ากับเวลามากกว่าเงิน หรือ เงินมากกว่าเวลา ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูล นักวิจัย พบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ (61.7 %) ให้ความสำคัญกับเวลามากกว่าเงิน ในขณะที่เด็กนักเรียนเกือบ 40% ให้ความสำคัญกับเงินมากกว่า นอกจากนี้นักวิจัยยังขอให้พวกเขารายงานระดับความ พึงพอใจในชีวิตของตัวเอง (life satisfaction) โดยการตอบคำถามเช่น “Taking all things together, how happy would you say you are?”
ดุลยเกียรติ เลิศสุวรรณกุล หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ “เต๋า” นักร้องนำวง Sweet Mullet ศิลปินที่มีเอกลักษณ์ชัดเจนมากที่สุดวงหนึ่งของวงการดนตรีไทย ฝากผลงานเพลงดังเอาไว้มากมายไม่วาจะเป็น ‘ตอบ’, ‘เพลงของคนโง่’, ‘หลับข้ามวัน’, ‘สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน’, ‘ภาพติดตา’ และ ‘พลังแสงอาทิตย์’ รวมไปถึงผ่านการขึ้นเวทีในราชมังคลากีฬาสถานกับเทศกาลดนตรี G19 ท่ามกลางคนดูนับหมื่นมาแล้ว แต่ภาพของความสำเร็จที่ดูสวยงาม แท้จริงแล้วกว่าที่จะออกมาให้ทุกคนได้เห็น มันต้องผ่านทั้งความอดทน การต่อสู้ และความเหน็ดเหนื่อยมาอย่างมากมาย ทำให้ชีวิตต้องเจอกับความท้าทายไต่เย้ยนรกที่แวะเข้ามาทักทายตลอดไม่เว้นแต่ละวัน ชีวิตของเต๋าต้องเผชิญกับอะไรบ้าง Unlockmen มีคำตอบให้กับบทสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ชีวิตวัยเด็ก เน้นเล่นไม่เน้นเรียน “ผมก็เป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่สนใจเรียน วัน ๆ เอาแต่สนใจเรื่องเล่นมากกว่า เช่น พวกการ์ตูน เกม จำได้ว่าเคยสอบได้ที่โหล่ของห้องด้วย เคยโดนเชิญผู้ปกครองมาคุยว่าทำไมถึงไม่ตั้งใจเรียน ผมชอบนั่งคุยกับเพื่อนครับ ไม่ได้สนใจคุณครูที่อยู่ตรงหน้าเลย หรือต่อให้นั่งฟัง ผมก็จะไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเท่าไหร่ พอว่างก็วาดรูปในสมุดเล่น ตอนมัธยมเกือบเรียนไม่จบ ผ่านไปด้วยคะแนนที่แบบ คือถ้าเปิดสมุดพกมาจะเห็นชัดเลย แต่พอช่วงที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัย มันตรงกับช่วงที่บ้านมีปัญหาทางการเงิน ผมก็เลยเริ่มรู้สึกว่าไม่ได้แล้วนะ เราเรียนที่มหาวิทยาลัยสยาม เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ค่าหน่วยกิตมันแพงมาก ผมก็เลยคิดว่าเราต้องตั้งใจเรียนแล้วนะ
หากคุณต้องเจอกับความล้มเหลว คุณจะจัดการปัญหาเหล่านั้นอย่างไร? จะยอมแพ้เดินหนีไปหรือจะไม่ย่อท้อลุกขึ้นสู้กับมัน แต่สำหรับ Memphis Depay นักฟุตบอลชาวดัตช์เลือกที่จะทำอย่างหลัง ชายผู้เคยล้มเหลวในประเทศอังกฤษแต่กลับยืนหยัดกลับขึ้นมาผงาดได้ราวกับนกฟีนิกซ์ที่เกิดใหม่จากกองเถ้าถ่าน Memphis Depay เริ่มต้นเส้นทางบนโลกฟุตบอลตั้งแต่วัย 8 ขวบ เขาได้สร้างความประทับใจให้กับทีมงานแมวมองของทีม Sparta Rotterdam จนถูกจับไปเข้าร่วมทีมเพื่อปลุกปั้นเพาะพันธุ์เยาวชนแห่งโลกฟุตบอลในเนเธอร์แลนด์ จนกระทั่งอายุได้ 12 ปี จึงเริ่มขยับขยายสู่เส้นทางนักฟุตบอลอาชีพด้วยการเลือกเล่นให้กับทีมเยาวชนของ PSV Eindhoven ที่มีชื่อว่า “Jong PSV” ก้าวแรกกับ PSV EINDHOVEN ด้วยทักษะอันร้ายกาจจนเป็นที่เลื่องลือทำให้ในปี 2011 ทีมชุดใหญ่ของ PSV ได้เรียกตัว Depay มาทดสอบฝีเท้า และเขาก็ใช้เวลาไม่นาน ในเดือนกันยายนปี 2011 Depay ในวัย 17 ปี ได้เดบิวต์ทีมชุดใหญ่ในเกม KNVB Cup รอบ 2 ที่พบกับทีม VVSB เกมนั้นทีมของเขาถล่มคู่แข่งไป 8-0 หลังจากนั้นเวลาผ่านไป 5 เดือน Depay
แม้งานวิจัยหลายชิ้นจะพูดถึงหลายผลเสียของ Multitasking หรือ การทำภาระหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น ทำให้เนื้อสมองสีเทา (grey matter) ในสมองลดลง ทำให้ความทรงจำแย่ลง ทำให้มีสมาธิน้อยลง ทำให้เป็นภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลมากขึ้น ไปจนถึง ทำให้เรามีความ productive ลดลง แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถโฟกัสกับงานที่ละชิ้นได้ อาจเพราะมีงานหลายชิ้นที่ต้องทำให้เสร็จในเวลาเดียว หรือ อาจทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารที่ต้องใช้สมาธิกับภาระหลายอย่างพร้อมกัน บางคนจึงต้อง Multitasking อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากใครเจอที่กำลังเจอกับปัญหาแนวนี้ เรามี 3 คำแนะนำที่จะช่วยให้คุณ multitasking ได้เทพขึ้นกว่าเดิมมาฝาก ทำงานที่คล้ายกันพร้อมกัน สมองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานที่ใช้ ฟังก์ชันสมองระดับสูง (High-level brain function) พร้อมกันได้ (เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับการหาไอเดีย และ งานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนแก้ปัญหา เป็นต้น) พูดง่าย ๆ คือ เราไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้ความคิดพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่เราทำพร้อมกันได้มีเพียงงานที่ใช้ ฟังก์ชันสมองระดับต่ำ (Low-level brain functions) เช่น การหายใจ กับ การสูบฉีดเลือด
หากจะให้พูดถึงผู้รักษาประตูที่มีฟอร์มการเล่นร้อนแรงมากที่สุดในชั่วโมงนี้ คงต้องยกให้ Edouard Mendy จากเชลซี และทีมชาติเซเนกัล จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในแนวรับของทีมสิงห์บลูส์ที่เข้ามากอบกู้สถานการณ์ได้อย่างถูกที่ถูกเวลา แต่กว่าที่ Mendy จะก้าวขึ้นมาเป็นนายทวารระดับโลก ต้องผ่านอุปสรรคมามากมาย แต่ก็ยังไม่สายเกินไปสำหรับคนที่ไม่ยอมละทิ้งความฝัน เขาใช้เวลา 6 ปีที่ผ่านพ้นช่วงเกือบจะถอดใจกับวงการฟุตบอลจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้รักษาประตูระดับโลกได้น่าอัศจรรย์ “เมื่อไหร่ที่มีการพูดถึงเรื่องนี้ มันทำให้ผมได้ตระหนักถึงเส้นทางในอาชีพของผม มันคือความจริงที่ว่าเรื่องนี้มันน่าเหลือเชื่อมาก! ผู้คนชอบพูดว่าการทำงานหนักจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และมันก็จริง ผมทำงานหนักมาก ๆ ผมยอมรับในเรื่องนี้ ผมเคยอยู่ที่มาร์กเซย, แร็งส์, แรนส์ และตอนนี้คือเชลซี มันมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้ผมพร้อมแล้วที่จะเติบโตขึ้นไปอีกขึ้นครับ” Edouard Mendy ให้สัมภาษณ์กับสโมสรเชลซีไว้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2020 จุดเริ่มต้นที่เกือบกลายเป็นจุดจบ Mendy เริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอลกับทีมเยาวชน เลอ อาฟร์ ด้วยวัย 13 ปี ก่อนจะย้ายไปสโมสร ซีเอส มูนิซิปัล เลอ อาฟ และย้ายเข้าสู่ทีมฟุตบอลระดับซีเนียร์กับทีมเฌอบัว ในปี 2011 ซึ่งเป็นทีมที่อยู่ในลีก The Championnat National
แค่เป็นคนเหงามันก็โคตรเจ็บปวดอย่างลึกซึ้งพออยู่แล้ว ยิ่งเราเหงามากเราก็ยิ่งมักจะตั้งคำถามล้อกับความว้าเหว่ตัวเองมากขึ้นว่า เฮ้ย นี่กูจะเหงาจนตายจากโลกนี้ไปเลยได้หรือเปล่าวะ? แม้จะเป็นคำถามที่ถามตัวเองระหว่างสูบบุหรี่เล่น ๆ มวน สองมวน ไว้ตลกร้ายกับตัวเองเบา ๆ แต่ใครจะรู้ว่าคำถามนี้มันจริงจังขึ้นมา “เฮ้ย นี่กูเหงาจนตายจากโลกนี้ไปเลยได้หรือเปล่าวะ?” คำตอบคือ ใช่ เรามีความเสี่ยงทางสุขภาพได้จริง ๆ จากความเหงา เพราะความเหงาทำร้ายสุขภาพได้เท่า ๆ กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน! บอกเลยว่าประเด็นเรื่องความเหงาทำร้ายมนุษย์ได้ ไม่ได้เป็นแค่ประเด็นทางจิตวิทยาอีกต่อไปแล้ว แต่กลายเป็นประเด็นปัญหาทางการแพทย์ที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยทศวรรษที่ผ่านมาทั้งบรรดานักวิจัยทั้งหลายก็แห่กันมาศึกษาเรื่องความเหงาและความโดดเดี่ยวทางสังคมที่มีผลกระทบเชิงลึกต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และการตายของมนุษย์ อย่าเพิ่งช็อคจนหมดลมหายใจไปตอนนี้ เพราะนอกจากเราจะเป็นคนเหงาแล้วเรายังเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ไวกว่าคนไม่เหงาอีกด้วย (บอกแล้วอย่าเพิ่งช็อคตาย เดี๋ยวก็ได้ไปไวกว่าคนไม่เหงาแล้ว ) งานวิจัยเกี่ยวกับความเหงาที่ UNLOCKMEN จะเอามาพูดถึงวันนี้คืองานวิจัยจาก Brigham Young University ที่เขาไม่ได้ศึกษาแบบไก่กา แต่ศึกษายาวนานกว่าอายุคนเหงาบางคนเสียอีก เพราะเขาศึกษาเป็นเวลากว่า 34 ปี โดยศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 1980 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 ผลการศึกษาก็ออกมาว่าความเหงานี่แม่งอันตรายกว่าที่คิดเพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงสุดถึง 60% แถมความเหงายังอาจเป็นปัจจัยทางสุขภาพที่สำคัญยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน