โลกใบนี้มีความกังวลสารพัดรูปแบบ บางความรู้สึกสามารถคลี่คลายได้ด้วยการจัดการอย่างเป็นระบบ แต่บางความรู้สึกพัฒนาจนเป็นภาวะเรื้อรังที่อาจส่งผลกระทบกับชีวิต หรือนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ตามมาได้ ในขณะที่โลกมีคนหลงตัวเอง มีคนที่คิดว่าทำดีเท่าไรก็ยังไม่พอ บนโลกใบนี้ก็มีคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว หรือให้ทำอะไรก็ทำได้ไปหมด ดูไม่ติดขัดอะไร แต่ลึก ๆ แล้วพวกเขากลับรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้เก่งจริง ๆ แค่ฟลุคทำได้เฉย ๆ ดังนั้นจึงรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความสำเร็จหรือคำชื่นชมที่ได้รับมาเลย ภาวะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Imposter Syndrome แม้จะไม่ได้ถูกจัดเป็นอาการป่วย แต่การลดทอนคุณค่าและความสามารถของตัวเองก็บั่นทอนสุขภาพจิตจนทำให้เสียการเสียงานหรือป่วยได้เช่นกัน ดังนั้นอย่ามัวปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำ มาเอาชนะมันไปด้วยกัน “จดบันทึกความสำเร็จ” เพราะทุกชัยชนะ ควรค่าแก่การจดจำ ในสังคมที่สอนให้เราเอาแต่ถ่อมตัว บางครั้งเราก็ถ่อมตัวตามมารยาท แต่หลายครั้งก็เป็นปฏิกิริยาตอบกลับเหมือนถูกฝังอยู่ในสมอง เวลาใครชมว่าเก่งแล้วต้อง “ไม่หรอกครับ” “ผมไม่เก่งเลย” อยู่ตลอด จนหลายครั้งตัวเราเองก็อาจเชื่อไปด้วยจริง ๆ ว่าเราไม่เก่ง เราอาจแค่โชคดี อาจมีคนช่วย วิธีการหนึ่งที่จะทำให้เรายอมรับความสำเร็จของตัวเรามากขึ้น คือการจดบันทึกความสำเร็จลงไป โดยความสำเร็จที่ว่าไมจำเป็นต้องรอให้เป็นความสำเร็จใหญ่ ๆ หรือแค่เรื่องหน้าที่การงานเท่านั้น ทุกความสำเร็จล้วนมีความหมาย การจดบันทึกทำให้เราเห็นความสามารถและชัยชนะของเราแต่ละวัน ฝึกให้เราเคารพศักยภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้นถ้าสามารถจดเป็นสถิติเป็นตัวเลขได้ ก็จะยิ่งทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราชมตัวเองลอย ๆ แต่เราทำงานนั้น ๆ แบบมีมาตรฐานจริง
จะเป็นอย่างไรถ้าเราอาศัยอยู่ในยูโทเปีย โลกที่เราไม่ต้องทำงานหาเงินเพื่อใช้จ่าย อยู่ฟรี กินฟรี เพราะทรัพยากรมีให้เราอย่างเพียงพอ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หลายคนอาจมองว่ามันเป็นเรื่องที่สุดยอดไปเลย นี่มันโลกในฝันชัด ๆ แต่ในความเป็นจริง การอาศัยอยู่ในยูโทเปีย อาจนำไปสู่การสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตได้ อ้างอิงจากการทดลองหนึ่งของ John Calhoun นักวิจัยด้านจิตวิทยาจาก National Institute of Mental Health (NIHM) ซึ่งทำให้เรามองเห็นสาเหตุที่ยูโทเปียจะทำให้เกิดวันสิ้นโลกมากขึ้น ในช่วงปี 1965 – 1973 Calhoun ได้สร้างเมืองจำลองแห่งหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า ‘Universe 25’ เพื่อหาคำตอบของคำถามที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าความต้องการทั้งหมดในสังคมของเราได้รับการตอบสนอง” เมืองดังกล่าวมีลักษณะเป็นกล่องขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น ‘ยูโทเปียของหนู’ โดยเฉพาะ พื้นที่ภายในเรียกว่า สแควร์หลัก (main square) ซึ่งมีการแบ่งย่อยออกเป็นพื้นที่ระดับต่าง ๆ ลงไปอีก มีบันไดเพื่อใช้เดินขึ้นไปยังส่วนที่เรียกว่า ‘อพาร์ทเมนท์’ หรือสถานที่ทานอาหารและพบปะเข้าสังคมของชาวชุมชนหนูซึ่งรองรับได้สูงสุดถึง 3,000 ตัว นอกจากการจัดสรรอาหารและที่อยู่อย่างเพียงพอแล้ว นักวิจัยยังควบคุมอุณหภูมิในเมืองให้อยู่ที่ 20°c ซึ่งเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของหนูมากที่สุด ไม่มีสัตว์ผู้ล่าอยู่ในเมืองแห่งอุดมคตินี้ แถมยังมีมาตรการป้องกันโรคระบาดอย่างรัดกุม เพื่อให้
Mindset ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเวลาทำงาน เพราะคนที่มีมายเซทเติบโต หรือ Growth Mindset มักจะแก้ไขปัญหาในชีวิตหรือการทำงานได้ดีกว่าคนอื่นเสมอ แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้เรียนเรื่องนี้กันมากเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากประสบการณ์และการขวนขวายด้วยตัวเองมากกว่า UNLOCKMEN จึงอยากแนะนำวิธีการพัฒนา growth mindset เพื่อให้เรากลายเป็นคนที่แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น และมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นตามมา Growth Mindset คืออะไร? Growth Mindset เป็นคำที่ Carol Dweck ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเจ้าของหนังสือ Mindset ใช้อธิบายประเภทของคนที่เชื่อว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับเวลาและความพยายาม พวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองสามารถพัฒนาได้ หากทุ่มเทเวลา ความพยายาม และพลังงานให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง หากมีความวิริยะอุตสาหะ พวกเขาจะไม่ย่อท้อต่อุปสรรค ความท้าทาย และคำวิจารณ์โดยง่าย และมองหาแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของคนอื่นเพื่อเอามาปรับใช้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ คำว่ายอมแพ้ จะไม่มีอยู่ในหัวของคนที่ Mindset ดี คนกลุ่มนี้จะแตกต่างจากคนที่มี Fixed Mindset ซึ่งเชื่อว่า ตัวเองจะดีหรือแย่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติแต่กำเนิด พวกเขาจะไม่เผชิญหน้ากับความท้าทาย ไม่พยายามฝึกฝนเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง หลีกเลี่ยงคำวิจารณ์ และยอมแพ้ต่ออุปสรรค์อย่างง่ายดาย มี Growth Mindset แล้วดีอย่างไร ? งานวิจัยเมื่อปี
ต้องมีสักครั้งในชีวิต ที่เราตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตแล้วรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในภวังค์ให้ความรู้สึกที่เหมือนกับกำลังอยู่ในฝัน บางครั้งความรู้สึกนี้ก็ทำให้เราสับสนว่า “กำลังตื่น หรือ หลับอยู่กันแน่นะ” ซึ่งอาการนี้ ทางการแพทย์ เรียกว่า ความจริงวิปลาส และถ้าประสบกับมันบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคจิตเวชได้ ความจริงวิปลาสคืออะไร ปกติแล้ว ภาวะความจริงวิปลาส (Derealization) นับเป็นหนึ่งในอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative Disorders) เช่นเดียวกับบ ภาวะบุคลิกภาพแตกแยก (Depersonalization) ทำให้บางครั้งสองอาการนี้ก็ถูกใช้แทนกันด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอาการไม่ได้มีความเหมือนกันซะทีเดียว แต่มีความแตกต่างกันอยู่ดังต่อไปนี้ Derealization จะเป็นอาการที่เรารู้สึกขาดการเชื่อมต่อกับความเป็นจริงหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว จนเกิดอาการเช่น สิ่งที่อยู่รอบตัวดูเชื่องช้า หรือ ทุกอย่างดูพร่ามัวไปหมด เราจะรู้สึกเหมือนสิ่งที่อยู่รอบตัวไม่มีอยู่จริง เหมือนกำลังอยู่ในโลกจำลอง หรือ โลกแห่งความฝัน ไม่สามารถประมวลผลหรือทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวของเราได้ จนเราเกิดความไม่คุ้นเคยกับสถานที่เราอยู่ และเกิดความสับสันระหว่างโลกแห่งความฝันและความเป็นจริง ส่วน Depersonalization คือ ภาวะที่เรารู้สึกตัดขาดจากร่างกาย อารมณ์ และความคิดของตัวเอง คนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนเป็นภาชนะว่างเปล่า เป็นเพียงผู้ชมร่างกายตัวเอง หรือ เป็นหุ่นยนต์ที่คอยรับคำสั่งจากคนอื่น ไม่สามารถบังคับร่างกายของตัวเองได้อีกต่อไป แม้พวกเขาจะขยับแขนขยับขา หรือ รู้สึกถึงอารมณ์ของตัวเองได้ก็ตาม
เตือนภัยสำหรับผู้ชายทุกคน เพราะ Covid-19 ที่ว่าอันตรายแล้ว ยังมีการค้นพบอาการ Long COVID ที่น่ากลัวยิ่งกว่า นั่นคือมันอาจมีผลทำให้สมรรถนะทางเพศเสื่อมอีกด้วย นักวิจัยจาก University of Miami Miller School of Medicine ได้ทำการตรวจสอบผู้ป่วยเพศชาย 2 ราย ที่เคยติดเชื้อ Covid-19 และทำการรักษาจนหายดีแล้ว กลับพบว่าร่างกายยังมีผลกระทบระยะยาว นั่นคือน้องชายไม่สู้โดยไม่มีสาเหตุ ทั้งที่ก่อนหน้าก็ยังใช้การได้ดีเป็นปกติ เพื่อทำการรักษาให้น้องชายกลับมาแข็งแรง ผู้ป่วย 2 รายจึงปรึกษาแพทย์เพื่อทำการผ่าตัด และระหว่างวิเคราะห์เนื้อเยื่อจากอวัยะเพศ ก็ต้องแปลกใจเมื่อพบว่ามีเชื้อไวรัสโควิดที่ยังมีชีวิตอยู่ ปะปนอยู่ในเนื้อเยื่อดังกล่าวแม้ระยะเวลาจะผ่านมาแล้ว 7-9 เดือน นับตั้งแต่หายจาก Covid-19 นักวิจัยสรุปในบทความที่ตีพิมพ์ใน World Journal of Men’s Health ว่าการติดเชื้อ Covid-19 อาจทำให้เลือดอุดตัน จนกระทบการไหลเวียนของเลือดที่ส่งไปเลี้ยงอวัยวะเพศ เมื่อเลือดไปเลี้ยงไม่ได้ จึงเกิดเป็นปัญหาทำให้น้องชายไม่ขันนั่นเอง ในรายงานระบุด้วยว่า นอกจากอวัยวะเพศที่เสี่ยงต่อการอุดตันของเลือดจาก Covid-19 ส่วนอื่น ๆ ในร่างกายก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน
นิสัยแย่ ๆ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็กจนโต ถือเป็นอุปสรรคที่ทำให้ชีวิตของใครหน้าไหนก็ตามพังอยู่เสมอ แต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเอาชนะหรือเปลี่ยนแปลงกันได้ง่าย ๆ เรามักต้องใช้พลังงาน ความอดทนอดกลั้น หรือ ความพยายามอย่างแสนสาหัสในการเปลี่ยนแปลงนิสัยเหล่านี้ ส่งผลให้หลายคนเริ่มท้อใจทุกครั้งที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง UNLOCKMEN เลยจะมาแนะนำเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนสร้างนิสัยใหม่ได้สำเร็จตลอดรอดฝั่ง ซึ่งวิธีเหล่านี้มีหลักวิทยาศาสตร์มารองรับด้วย บอกเลยว่ามีประสิทธิภาพมากพอที่จะช่วยทุกคนสร้างนิสัยใหม่แน่นอน คนเราใช้เวลาเท่าไหร่ในการเปลี่ยนนิสัยตัวเอง การเปลี่ยนแปลงนิสัยที่เราคุ้นชินมานาน ต้องใช้ความพยายามหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนตัวเอง ความคิดริเริ่มในการทำพฤติกรรมใหม่ และการทำพฤติกรรมใหม่ซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลานานจนกลายเป็นนิสัย มันจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน แต่อาจต้องสูญเสียเวลาหลายอาทิตย์หรือหลายเดือน กว่ามันจะกลายเป็นนิสัยใหม่ งานวิจัยบางชิ้นบอกว่า คนเราอาจใช้เวลาตั้งแต่ 18 ถึง 254 วัน ในการทำให้พฤติกรรมใหม่กลายเป็นสิ่งที่เราทำโดยอัตโนมัติ และอาจใช้เวลาโดยเฉลี่ย 66 วันในการทำให้พฤติกรรมใหม่กลายเป็นนิสัยที่เราทำมันแบบไม่รู้สึกฝืนใจ นอกจากนี้ ยิ่งพฤติกรรมใหม่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากหรือมีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงนานขึ้นเท่านั้น เทคนิคที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนตัวเองง่ายขึ้น เมื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายาม พลังงาน และเวลา เราเลยอยากมาแนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้ทุกคนมีแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองมากขึ้น จนสามารถเลิกทำนิสัยเดิม ๆ และกลายเป็นคนใหม่ในที่สุด ซึ่งมีทั้งหมด 5 วิธีดังนี้ ทำซ้ำไปซ้ำมา การทำพฤติกรรมใหม่ซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เราเกิดการสร้างนิสัยใหม่ (Habit
ในช่วงนี้ เรื่อง เศรษฐกิจ หรือ สังคม น่าจะทำให้ใครหลายคนรู้สึกไม่สบายใจ และเครียดไม่มากก็น้อย ซึ่งเรามองว่า ความเครียดเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับมนุษย์ เพราะมันสามารถทำร้ายเราได้ทั้งกายและใจ UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนออกจากความเครียดให้ได้โดยเร็ว จึงอยากแนะนำวิธีการผ่อนคลายจากความเครียดที่ทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน แต่ก่อนอื่นเลย เราอยากให้ทุกคนมีความเข้าใจในเรื่องของ ‘ความเครียด’ ก่อน เพราะพอได้ยินคำนี้แล้ว หลายคนอาจเริ่มทำหน้าบูดบึ้ง หวนนึกถึงประสบการณ์แย่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ชีวิตการทำงานที่มีความกดดันสูง หรือ ชีวิตคู่ที่ไม่มีความสุขสมหวัง แต่เรื่องเหล่านี้เป็นเพียงความเครียดประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress) เท่านั้น ซึ่งสาเหตุหลักของความเครียดประเภทนี้ เกิดจากการอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดเป็นประจำ บางเคสรู้สึกอยากหนีก็หนีไม่ได้ ต้องทนอยู่ต่อไป ส่งผลให้ร่างกายและจิตใจได้รับความเสียหายอย่างหนัก เราจึงเรียกความเครียดประเภทนี้ว่าเป็น ‘ความเครียดเลว’ และบทความนี้จะโฟกัสไปที่การเอาชนะความเครียดประเภทนี้เป็นหลัก นอกจากความเครียดเรื้อรังแล้ว ยังมีความเครียดประเภทอื่นอีก 2 ประเภท ได้แก่ ยูสเตรส (eustress) ซึ่งเป็นความเครียดประเภทที่เราเรียกกันว่า ‘ความเครียดดี ’ มันช่วยให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวา และรู้สึกตื่นเต้นในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต เราจะมียูสเตรสกันก็ตอนที่อยู่ในสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้น เช่น ตอนเล่นโรลเลอร์โคสเตอร์ หรือ ตอนแข่งขันกับเพื่อนร่วมงาน
“ความเหนื่อยแม่งเหมือนผี มึงไม่โดนของเข้าสักครั้งก็คงไม่รู้” ช่วงนี้คนบ่น “เหนื่อย” กันเยอะ และวลี “I hate Monday.” กับ “ Thanks god. It’s Friday” ก็มีให้เห็นบนหน้าสเตตัสบ่อย ๆ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรามักจะเจอเพื่อนบางคนที่น้ำเสียงเนือย ๆ พูดกับเราแม้จะเป็นคืนศุกร์ที่สังสรรค์กัน เติมทั้งเบียร์ เชียร์ทั้งสาว ๆ ให้แล้วก็ยังคอตก แล้วก็พูดว่า “กูเหนื่อยว่ะมึง” แต่พอถามว่าเหนื่อยอะไร ช่วงนี้ทำอะไรอยู่ มันดันบอกว่า “กูไม่ได้ทำอะไรเลย แต่กูเหนื่อย” เผลอ ๆ ก็หนักถึงขั้นว่า “กูไม่อยากลืมตาแล้ว” ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นคนหนึ่งที่พูดประโยคนั้นเสียเองหรือว่าเป็นคนที่ได้ยินมา ถึงเวลาแล้วที่ UNLOCKMEN จะพาคุณไปหาความจริงว่ามันเป็นเพราะอะไร แต่บอกได้เลยว่าสิ่งที่คุณได้ยินมันอาจจะไม่ใช่ความขี้เกียจและไม่ใช่สิ่งที่แก้ได้ด้วยคำว่า “นอนแล้วเดี๋ยวก็หาย” อย่างแน่นอน เหนื่อยแบบไร้สาเหตุ ว่ากันด้วยคนที่สงสัยว่า กูเหนื่อยอะไรก็ไม่รู้ หรือเพื่อนกูเหนื่อยอะไรนักหนาก็ไม่รู้ก่อน ทั้งที่มันก็ชีวิตดี มีเวลาว่างแท้ ๆ นอนเยอะกว่ากูอีก ฯลฯ บางทีถ้าปัญหามันเกิดจากสิ่งที่ไม่มีปัญหาอะไรอย่างนี้ หรือตรวจร่างกายหมดแล้วแต่ปรากฏว่าผลมันคลีนสุด ๆ
รู้วิธีปล่อยหมัดให้รุนแรงไปแล้ว มาดูจุดอ่อนบนร่างกายที่ต่อยโดนยังไงก็สามารถร่วงได้ทันทีกันดีกว่า
พอเปิดมือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ เรามีกเจอกับบทสนทนาชวนเครียดบนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook หรือ Twitter อยู่บ่อย ๆ เพราะสถานการณ์บ้านเมืองที่ค่อนข้างระส่ำระสาย หลายคนจึงออกมาคอมเม้นหรือตั้งสเตที่ตอบโต้กันอยู่เสมอ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่แสดงความคิดเห็นตอบโต้กับคนอื่นบนโลกออนไลน์บ่อย ๆ ความเครียดสามารถทำให้ร่างกายของคุณเข้าสู่โหมด fight or flight (หรือเกิด Amygdala Hijack) และสูญเสียความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุไป เราจะกลายเป็นคนที่คิดเร็ว ทำเร็วมากขึ้น และใช้อารมณ์ในการโต้เถียงมากขึ้น สุดท้ายปัญหาความขัดแย้งมันจะยิ่งบานปลายมากขึ้น และอาจยากจะหาจุดจบ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการควบคุมอารมณ์เมื่อเราต้องเจอกับบทสนทนาหนัก ๆ ชวนเครียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐบาล COVID-19 เศรษฐกิจ หรือ ปัญหาสังคมต่าง ๆ เพื่อให้เราสามารถคิดและรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคุมลมหายใจ แค่เปลี่ยนวิธีหายใจ เราอาจรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นทันที เพราะงานวิจัยบอกว่าอารมณ์กับการหายใจมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ถ้าเรามีความสุข เราจะหายใจปกติ หายใจลึก และช้า แต่ถ้าเรากังวลหรือโกรธ เราจะหายใจผิดปกติ หายใจสั้น และเร็ว เป็นต้น ดังนั้น การปรับเปลี่ยนวิธีหายใจในช่วงที่เจอกับบทสนทนาแสนเคร่งเครียด จะช่วยให้เราเครียดน้อยลง