การทำวงดนตรีหนึ่งวงมันจะต้องใช้ความเชื่อทั้งต่อตัวเองและความเชื่อที่สมาชิกในวงมีร่วมกันมากมายขนาดไหนกันนะ เพื่อที่เราจะสามารถทำเพลงในแบบที่เป็นตัวเอง 100% สื่อสารในแบบที่ต้องการออกไป 100% โดยไม่เอนเอียงไปตามกระแสหรือสิ่งไหน แล้วในวันที่ ‘ยังไม่มีกลุ่มคนฟังเป็นของตัวเอง’ ทำยังไงไม่ให้ถอดใจกันไปเสียก่อน … ในฐานะที่ผู้เขียนทำวงดนตรีวงหนึ่งมา 10 ปี และยังคงอยู่ในความมืดไม่ไปไหน เราเก็บคำถามนี้เรื่อยมารอที่จะได้คุยกับ The Darkest Romance วงที่น่าจะตอบคำถามของเราได้ดีที่สุด วงที่ตลอด 14 ปีที่ผ่านมาไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปจากวันที่ออกอัลบั้มแรก 70,000,000-1=0 (2009) จนถึงอัลบั้ม Sentence (2023) และวันนี้วงก็ได้เดินทางมาถึงช่วงเวลาที่มีผู้คนเข้าใจสาสน์ที่พวกเขาต้องการจะสื่อในวงกว้าง ผ่านดนตรีร็อกที่มีความเป็นเมทัลอยู่ในนั้น ดนตรีที่สำหรับเมืองไทยแล้วแทบจะเป็น Underground มาตลอดเลยด้วยซ้ำ ผ่านมาแล้ว 2 เดือน กับคอนเสิร์ตใหญ่คอนเสิร์ตแรกในชีวิตของ TDR ‘ทัศนศึกษา’ สิ่งที่ตอกย้ำความเชื่อและความพยายามของวงดนตรีที่เราพูดไปก่อนหน้านี้ ชีวิตพวกเขาดำเนินต่อไปหลังคอนเสิร์ตนั้นจบ ‘ซีเกม–ธณัตชัย เหลือรักษ์’ เป็นครูสอนกลอง ‘เต้–ปัฏฐสิทธิ์ ห้วยห้อง’ เป็นพ่อค้าขายเสื้อมือ 2 Growdung_2hand แล้วก็ทำออเดอร์ส่งพ่อค้าต่างประเทศ ‘ก้อง–ก้องอุดม ใจทัศน์กุล’ เป็นพ่อค้าขายอะไหล่มอเตอร์ไซค์ที่ไม่มีเวลาขับมอเตอร์ไซค์เลย ‘แม็ก–ธิติวัฒน์ รองทอง’ เป็นฟรีแลนซ์ในวงการดนตรีรับจ้างทำเพลง
ความพิเศษของช่อง GAP.BUMSEEKER คือความเป็นมนุษย์ที่มันธรรมชาติมาก-มากซะจนเมื่อได้พบกับแก๊ปตัวจริงซึ่งนั่ง Grab มาถึงสเปซของ UNLOCKMEN ในบ่ายวันทำงานที่เปรี้ยงมาก ๆ พร้อมท่าทางเดินคล่องแคล่วจับสายสะพายของกระเป๋าเดินทางคู่ใจ (ซึ่งเราเป็นคนขอให้เขาเตรียมมา) เขาดูเป็นแก๊ปที่เรารู้จักจากในคลิปที่ได้เห็นมาโดยตลอด จนถึงวันที่เราได้สัมภาษณ์แก๊ป หลาย ๆ คนก็ได้แทบจะรู้ทุกเรื่องของเขาไปหมดแล้วล่ะ ศุภกาญจน์ จริยพิเชษฐ์ / เรียนจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร / เรียนตรีอักษรศาสตร์เอกภาษาอังกฤษ-เรียนโทเอกภูมิศาสตร์ / อายุ 26 ย่างเข้า 27 / นอนกับตาลีบัน / กลับอีหร่านเพราะว่าต้องมาง้อแฟน / เรียกตัวเองว่าเป็นคน Introvert … หลังเครื่องหมาย / เราก็เชื่อว่าเด็กหนุ่มที่ผ่านโลก ก็ยังมีแง่มุมที่น่าสนใจเพื่อ UNLOCK คนอ่านของเราอยู่แน่นอน บทสัมภาษณ์นี้เราเลยขอแก๊ปคุยความหมายของการเดินทางที่มีระหว่างทางสำคัญกว่าปลายทาง การอยากเข้าใจมนุษย์เพราะดูหนังกับอ่านหนังสือ และการเลี้ยงแมวตุรกี (อันสุดท้ายดูไม่เกี่ยวแต่ลองอ่านก่อนนะเพราะมันเกี่ยว) แก๊ปบอกกับเราว่าอยู่ไทยมาจะครบหนึ่งเดือนแล้ว เอาจริงในการกลับบ้านครั้งนี้เขาไม่ค่อยได้อยู่บ้านเท่าไหร่หรอก และเหตุผลก็เดาได้ไม่ยาก แน่นอนว่าเพราะว่าเขาโดนจีบไปสัมภาษณ์ตามสื่อ ราวกับว่าทริปนี้ของ GAP.BUMSEEKER เป็นการเดินทางเพื่อให้สัมภาษณ์ให้คนได้รู้จักเขามากขึ้น ‘เด็กหนุ่มที่นอนบ้านตาลีบัน’ ใครต่างก็จดจำเขาด้วยชื่อนำหน้าแบบนี้ไปแล้ว ณ ตอนนี้
ค่อนข้างมั่นใจกับตัวเองเลยล่ะ ว่าการที่เด็กหนุ่มคนหนึ่งได้ลงในนิตยสารญี่ปุ่น City Boys ที่เราเองก็เป็นแฟนคลับมาตลอดอย่าง Popeye Magazine ในฉบับ April 2023 (#912) คือเหตุผลหนึ่งที่เราตัดสินใจขอให้คุณโปรดิวเซอร์ติดต่อหา ‘โจ้-ณศิพงศ์ วัชรพงศ์ชวลิต’ เด็กหนุ่มคนที่เราเพิ่งพูดถึง เด็กหนุ่มที่เป็นเจ้าของร้านขายเสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจชื่อ Sold The World ร้านที่หากเราคุยกันถึงหน้าตาความสนุกของวงการเสื้อวินเทจไทยในปี 2024 นี่คืออีกหนึ่งตัวไฮป์ของวงการที่ลูกค้าและพ่อค้าไม่ต้องพูดกันเยอะ ความรู้สึกดีใจ (ที่ดูจะเจือด้วยความน้อยใจ) จากคำพูดของโจ้ได้ถูกบันทึกเอาไว้ที่หน้า 205 ของนิตยสาร และยังคงถูกบันทึกเอาไว้บนโพสต์ Offcial Instagram ของ Sold The World ณ วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงเราจะอ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก แต่นิตยสารหน้านั้นสร้างคำถามขึ้นในหัวทันที การทำร้านขายเสื้อวินเทจมือ 2 ที่ไอเทมแทบจะทุกชิ้นในร้านมีราคาไกลลิบจากเสื้อผ้ามือ 1 ต้องใช้ความเชื่อ ความรัก และความพยายามมากแค่ไหนกัน ถึงจะสามารถเดินทางไปถึงจุดที่สปอร์ตไลต์ของโลกส่องหาได้แบบนั้น ผมกับโจ้ได้เจอกันใน 1 อีกอาทิตย์หลังจากที่คุณโปรดิวเซอร์ส่งข้อความหาเขา ณ ตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์ สถานที่ซึ่งเป็นที่ทำงานปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมาคือวันครบรอบ 28 ปีการจากไปของ Kurt Donald Cobain ฟรอนต์แมนของวง Nirvana ผู้สร้างปรากฎการณ์ให้กับวงการดนตรีทั่วโลกไว้มากมาย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน มีแฟนเพลงมากมายที่ชื่นชอบ Nirvana จนถอนตัวไม่ขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “ใหม่ พิชชานันท์ ชัยศิริ” ใหม่เป็นบุคคลที่ขับเคลื่อนชีวิตด้วยซาวด์ดนตรีจากเมืองซีแอตเทิลของวง Nirvana มันได้สร้างอิทธิพลให้เขาสร้างวงดนตรีที่มีชื่อว่า Revive 90’s ขึ้นมา เท่านั้นยังไม่พอมันยังได้ลุกลามกลายเป็นการสร้างกลุ่ม Nirvana Thailand ตามขึ้นมาด้วยเช่นกัน อะไรทำให้ทำให้ผู้ชายคนนี้ต้องบ้าคลั่งวง Nirvana ได้ขนาดนี้ ไปค้นหาคำตอบพร้อม ๆ กันได้เลย SMELLS LIKE TEEN SPIRIT ประตูบานแรกสู่นิพพาน จุดเริ่มต้นการติดตามวง Nirvana เกิดขึ้นช่วงเรียนมัธยม ใหม่ได้มีโอกาสฟังเพลง “Smells Like Teen Spirit” ผลงานจากอัลบั้ม Nevermind ที่ถือได้ว่าเป็นเพลงที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนรู้จัก Nirvana ด้วยเช่นกัน
“เพชรพายกล้อก็คือผม ทำ Youtube เกี่ยวกับสิ่งที่ผมชอบ รถอเมริกัน ฮาร์เลย์รถซิ่ง เกี่ยวกับอะไรที่เป็นล้อ” คำพูดข้างบนเป็นของผู้ชายที่ชื่อ ‘เพชร มรรคผล’ , ‘เพชรร้อยปี’ หรือที่ปัจจุบันในวงการคัสตอมช็อปเปอร์ต่างเรียกเขาด้วยชื่อ เพชรพายกล้อ ซึ่งก่อนเริ่มบทสนทนากัน เราขอให้เขาช่วยนิยามตัวเองให้ฟังหน่อย ด้วยความที่ว่าชีวิตนี้เคยทำอะไรหลายอย่างมาก ๆ แต่ทว่าเพชรกลับนิยามง่ายไปแบบนั้น ในคอลัมน์ The Real ตอนล่าสุด UNLOCKMEN พาทุกคนเข้าอู่ AMP CUSTOM สถานที่ซึ่งเก็บเรื่องราวมากมายเอาไว้ท่ามกลางกองอะไหล่ซึ่งรอวันประกอบ ซากปรักหักพังของวัสดุที่ถูกทิ้งร้างจนช่างอาจจะลืมไปแล้วว่ามีอยู่จริง เคล้ากลิ่นของน้ำมันข้นคลั่กที่ลอยคลุ้งอยู่ในอากาศ อู่ทำรถช็อปเปอร์ที่เพชรไม่ขอเรียกว่าอู่ เพื่อเข้าใจว่าทำไมผู้ชายคนนี้ถึงบอกกับเราว่าไม่มีฝันไหนจะดีได้เท่ากับการตื่นขึ้นมาอยู่ที่ AMP CUSTOM อีกแล้ว AMP LEGACY : จุดเริ่มต้นแบรนด์ของตระกูลที่ประกอบเป็นเครื่องยนต์ชีวิต ย้อนเวลากลับไปประมาณปี 2546 ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยยังไม่มีแบรนด์ Street Clothing เป็นของตัวเองมากนัก การถือกำเนิดของ A.M.P. Clothing ได้ทิ่มหมุดหมายสำคัญของแฟชั่นสตรีทแวร์ให้กับเหล่าวัยรุ่นบ้านเรา ทำไมเราถึงต้องพูดถึงในวันที่แบรนด์นี้กลายเป็นตำนานและติดตลาดไปแล้ว ก็เพราะว่าผู้ก่อตั้ง A.M.P. Clothing คือพี่น้อง ‘ไผ่-Alongkorn Makphop’
ทุกวันนี้ เรื่องราวของเทคโนโลยีบล็อกเชน, เหรียญคริปโตต่าง ๆ นา ๆ ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตผู้คนทั่วไปมากขึ้น รวมไปถึงการซื้อขายผลงานศิลปะในรูปแบบของ NFT (Non-Fungible Token) ที่ก่อให้เกิดศิลปินหน้าใหม่ขึ้นมากมาย ด้วยความเปิดกว้างของตลาด ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จะสร้างงานแนวไหน ใช้เทคนิคอะไรยากง่ายไม่เกี่ยง ขอแค่เหล่านักสะสม หรือนักลงทุนถูกใจก็มีสิทธิ์ปล่อยผลงานออกไปในราคางาม และท่ามกลางศิลปินจำนวนมากที่เริ่มเข้ามาชิมลางกับการสร้างงาน NFT หนึ่งในนั้นยังมีชายที่ชื่อว่า ‘วีระชัย ดวงพลา’ หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในนาม ‘THE DUANG (เดอะ ดวง)’ นักวาดการ์ตูนชาวไทย ที่มีฝีไม้ลายมือไม่ธรรมดา กับผลงานการ์ตูนรวมเล่มฮิต ๆ และงานวาดภาพประกอบเจ๋ง ๆ มากมาย อีกทั้งยังเคยคว้ารางวัลใหญ่อย่าง Silver Award จากเวทีประกวดรางวัลการ์ตูนนานาชาติ ที่ประเทศญี่ปุ่น มาแล้ว แต่อะไรที่ทำให้ผู้ชายคนนี้หันมาตัดสินใจก้าวเข้าสู่โลก NFT แม้จะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้งในตลาดซึ่งชื่อเสียงที่สั่งสมมาในโลกจริง ไม่อาจการันตีว่างานของคุณจะขายได้ วันนี้เรามาพบคำตอบเหล่านั้นจากปากของ ‘THE DUANG – วีระชัย ดวงพลา’ ไปพร้อมกัน ก่อนจะเป็น THE DUANG ก่อนจะไปถึงเรื่องราวจุดเริ่มต้นในวงการ NFT
แฟชั่นเสื้อวงในบ้านเราถือว่าบูมขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเสื้อวงแนว Rock หรือ Metal นี่ยิ่งแล้วใหญ่ หลังจากที่มี Celebrity หยิบเอาเสื้อเหล่านี้มาใส่จนกลายเป็นกระแสเมนสตรีม และยิ่งถ้าตัวไหนหายาก เก่าเก็บ เข้าขั้นเป็นของเสื้อสะสมเสื้อวินเทจแล้วด้วยล่ะก็ ราคาอาจจะพุ่งทะยานไปไกลกว่าที่หลายคนคิด แต่พวกเราจะรู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังของเสื้อวงระดับโลกที่มีลวดลายเท่ ๆ หรือบางลวดลายที่มีเอกลักษณ์จนกลายเป็นภาพจำของวงเหล่า หนึ่งในนั้นมีฝีมือคนไทยอยู่ด้วย ซึ่งวันนี้ UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับ คุณ หนุ่ย – ธนฤทธิ์ พรมภา หรือชื่อในวงการก็คือ “NAMSING” ศิลปินชาวไทยที่มีผลงานไปไกลระดับโลก และฝากผลงานการออกแบบลายเสื้อให้กับวง Rock/Metal ระดับรุ่นใหญ่ระดับตำนานมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น AC/DC, Slayer, Slipknot, Muse, Rob Zombie และอื่น ๆ อีกมากมาย หากอยากรู้ว่าเขามีจุดเริ่มในเส้นทางสายนี้ได้ยังไง และอะไรคือแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาก้าวมาถึงจุดนี้ได้ วันนี้เราจะไปพูดคุยกับ คุณ หนุ่ย กันแบบเจาะลึกแน่นอน จุดเริ่มต้นของการเป็นนักวาด “เริ่มจากผมเรียนจบวาดรูปมา พอจบมาก็มาเริ่มทำงาน แต่ต้องเปลี่ยนจากการวาดมือมาเป็นการใช้คอม แต่อย่างน้อยมันก็ยังเป็นงานที่ได้วาดรูปค่อนข้างจะตรงสาย แต่ถ้าจะพูดไปมันก็อาจจะไม่ได้ตรงขนาดนั้น เพราะเราใช้คอมวาดไม่ค่อยเป็นในตอนแรก
ผู้ชายกับรถยนต์ เรียกว่าเป็นของคู่กันมานานมาก ๆ แล้ว หลายคนยอมเสียเงินเสียทองมากมายเพื่อซื้อของแต่งรถที่รัก ซึ่งถ้าหากเราให้นิยามความหลงใหลและคลั่งไคล้ในพาหนะ 4 ล้อนี้ ทุกคนจะนิยามออกมาว่าอะไรกันบ้าง ? แล้วถ้าเราบอกว่ามีคน 2 คน ที่คลั่งรถยนต์มาก ขนาดที่สัมผัสถึง “ลมหายใจของรถ” ได้ คุณพอจะนึกภาพออกไหม ? จะมีสักกี่คนที่จินตนาการถึงส่วนต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในตอนขับรถได้ขนาดนั้น ถ้าใจมันไม่ได้หลงใหล และรักในรถยนต์จริง ๆ ใช่ไหม ? คอลัมน์ The Real สัปดาห์นี้ เราลองไปพูดคุยกับคุณเชฎฐ์-วิเชฎฐ์ จิรบวรวิสุทธิ์ และ คุณชิต-วิชิตพล จิรบวรวิสุทธิ์ 2 พี่น้องเจ้าของสำนักแต่ง Autobahn ถึงที่มาที่ไปกว่าจะมาเป็น Autobahn และความคลั่งไคล้ต่อรถยนต์ที่ยากจะหาคำมาอธิบายได้กันครับ จุดเริ่มต้นความคลั่งไคล้รถยนต์ นำไปสู่การสานฝันที่อยากจะเป็นสำนักแต่งรถระดับเวิลด์คลาส “จุดเริ่มต้นมันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ครับ ที่คุณพ่อขับ BMW รุ่นแรก ๆ เลย พวก M3 หรือ
“เบอร์เกอร์บ้าอะไร ใช้เวลาทำตั้ง 20 นาที แถมรับลูกค้าแค่วันละ 4-5 คนต่อวัน” “มันติสท์อะไรของมันวะ กับอีแค่เบอร์เกอร์เนี่ย ทำไมต้องจริงจังขนาดนั้นด้วย” “ให้ตีราคาเองเหรอ จะจ่ายกี่บาทก็ได้ดิ งั้นขอกินฟรีได้ปะ !?” นอกจากอารมณ์อยากรู้อยากลองลิ้มรสแฮมเบอร์เกอร์ที่มีเสียงร่ำลือว่ามันถูกรังสรรค์ขึ้นมาด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียด คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกมุมหนึ่งในโลกไซเบอร์นั้นเต็มไปด้วยคอมเม้นต์ และบทสนทนาทำนองเดียวกับคำพูดข้างต้นที่เราหยิบยกมา ซึ่งก็คือ Reaction เชิง Negative ของใครอีกหลายคนที่เพิ่งเคยรู้จักหรือเคยได้ยินคำบอกเล่าของคนอื่นต่อ ๆ กันมา เกี่ยวกับร้านเบอร์เกอร์ร้านหนึ่ง ที่เคยสร้างปรากฏการณ์คิวเต็มยาวตลอดปีมาแล้วเมื่อ 2-3 ปีก่อน แต่เราเชื่อว่าหากใครมีโอกาสได้สัมผัสการนำเอาอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแฮมเบอร์เกอร์มายกระดับให้กลายเป็นงานคราฟต์สุดพิถีพิถันภายในร้าน HomeBurg โปรเจกต์ทดลองของหนุ่มลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น อย่าง ‘ไทกิ – รัตนพงศ์ ทสึโบตะ’ คงจะได้คลายข้อสงสัยต่าง ๆ นา ๆ ที่เคยมีต่อเมนูเบอร์เกอร์โคตรอินดี้ที่ยากจะเข้าใจ ว่ามันแตกต่าง และสามารถสร้างความตราตึงให้กับผู้ที่ลิ้มลองได้อย่างไร เพราะถึงแม้ในปัจจุบันเขาจะหยุดโปรเจกต์ Homeburg ไป และกำลังมุ่งมั่นกับการนำเสนอเมนูเบอร์เกอร์สไตล์ไทกิให้เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิมภายใต้แบรนด์ Bun Meet & Cheese แต่รสสัมผัสอันยอดเยี่ยม รวมถึงประสบการณ์การรับประทานที่แปลกใหม่ซึ่งมาจากฝีมือของไทกิโดยตรงเหมือนเมื่อครั้งที่ทำร้าน Homeburg ก็ยังคงเป็นที่เฝ้ารออยู่เสมอ และคอลัมน์ The Real
ตอนนี้นับได้ว่าเพจ ‘กอล์ฟมาเยือน’ เป็นอีกหนึ่งเพจ Influencer เรื่องกล้อง ที่คนรักการถ่ายรูปต้องเข้าไปเยือนอยู่เป็นประจำ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ กอล์ฟได้ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้วนับไม่ถ้วน เขาใช้เวลาปั้นเพจอยู่ 2 ปี กว่าจะได้คนติดตามหลักแสน และกระโดดไปครึ่งล้านในเวลาอีก 1 ปี จนปัจจุบัน มียอด Follower ใน Facebook เป็นหลักล้านคนเข้าไปแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่เรา และคนส่วนใหญ่เห็น คือตัวตน ชื่อเสียง ความสำเร็จที่ผู้ชายคนนี้มีในปัจจุบัน แต่อะไรคือสิ่งที่ทำให้กอล์ฟ กลายมาเป็น ‘กอล์ฟมาเยือน’ ในวันนี้? คือประเด็นสำคัญที่ทำให้เราชวน ‘กอล์ฟ-กันตพัฒน์ พฤฒิธรรมกูล’ ชายหนุ่มวัย 28 ปี มาพูดคุยกันในคอลัมน์ The Real สัปดาห์นี้ จุดเริ่มต้นที่นำพากอล์ฟมา ‘เยือน’ วงการถ่ายรูป กอล์ฟเล่าย้อนให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้น กับการซื้อกล้องตัวแรกในชีวิตเพื่อไปถ่ายรูปเล่นในช่วงไปเที่ยววันหยุดกับพรรคพวก ซึ่งก็ยังเป็นมือสมัครเล่นมาก ๆ ถ่ายกันขำ ๆ กับเพื่อนทั่วไปตามประสา หลังกลับมาจากทริปนั้น ก็อัปรูปลง Facebook ปรากฏว่าคนกดไลก์เยอะ คนชอบรูปของเขา