“MAN CAN COOK” เชื่อไหมว่าใคร ๆ ก็ทำกับข้าวได้ ช่วงนี้หลายคนค้นพบพรสวรรค์ด้านทำกับข้าวของตัวเองโดยไม่รู้ตัว เพราะมีโอกาสได้ลงครัวด้วยตัวเอง แถมพอ ๆ ทำไปทำมาบางคนเริ่มจะรู้สึกติดใจ เพราะรสชาติอร่อย ประหยัดและปลอดภัยกว่าออกไปสั่งซื้อ UNLOCKMEN จึงขอแจกโพย เปิด 4 สูตรเมนูร้านดัง ได้แก่ IKEA, MC DONALD, DOUBLETREE BY HILTON และ THE CHEESE FACTORY แต่ละเมนูล้วนเป็นเมนูซิกเนเจอร์ที่มีวิธีทำและส่วนผสมครบ ใครพร้อมทำตามสูตรไว้กินที่บ้านไม่ต้องสั่งซื้อแล้วเตรียมจดสูตรไว้แล้วหาโลเคชั่นซื้อส่วนผสมกับอุปกรณ์เลย IKEA: MEATBALL เมนูซิกเนเจอร์แจ้งเกิด IKEA ที่ทำให้ IKEA มีวันนี้เลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าใครที่แวะไปนั่งหาอะไรกินที่ IKEA ก็มักจะต้องสั่งเมนูนี้มากิน ไม่ต่างจากการสั่งข้าวกะเพรา แถมเนื้อสับปั้นก้อนที่ยังคงรสชาติความ Juicy ยิ่งเคี้ยวยิ่งเพลินแบบนี้ คงทำให้หลายคนที่ไม่ได้เข้า IKEA คิดถึงและอยากหามากินกัน สูตรนี้เป็น Secret Recipes ที่ IKEA SWEDEN เขาแจกทางออนไลน์กันแบบ
หลายคนสูญเสียหลายอย่างไปกับโรคระบาดที่เราไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน ความมั่นคง เงิน งาน สุขภาพจิต แต่นอกจากความปกติในชีวิตที่เราต้องเสียไปแล้ว COVID-19 ยังเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งวิธีคิดเรื่องการรักษาความสะอาดเพื่อสุขอนามัย วิธีคิดเรื่องการกินอาหาร วิธีคิดเรื่องการพักผ่อน ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ส่งผลไปถึงเทคโนโลยี ธุรกิจอีกหลายรูปแบบที่จะต้องปรับตัว แต่น่าเสียดายที่บางอย่างต่อให้ปรับตัวก็ไม่สามารถรอดไปได้ หลัง COVID-19 จึงไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีและธุรกิจใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนไปในช่วงนี้ แต่เทคโนโลยีหรือธุรกิจบางแบบต้องหายไปตลอดกาลเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน Touch Screens ในที่สาธารณะ ครั้งหนึ่งการไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือต้องการข้อมูลจากจุดไหนเป็นพิเศษแล้วมีหน้าจอ Touch Screens วางหารอให้เราพุ่งตรงเข้าไปใช้บริการ มันช่างเป็นตัวแทนของความทันสมัย ใช้งานง่าย สะดวก ตอบโจทย์ผู้บริโภค และเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกกับธุรกิจหรือองค์กรนั้น ๆ จนไม่ว่ามองไปทางไหน Touch Screens ก็มีให้เห็นละลานตา แต่เมื่อ COVID-19 มาถึง Touch Screens ที่เคยเป็นตัวแทนความสะดวก กลายเป็นพื้นที่รวบรวมนิ้วใครต่อนิ้วใคร และอาจรวมถึงเชื้อโรคไม่พึงประสงค์นานาชนิด ดังนั้นธุรกิจจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ Touch Screens ทำให้ลูกค้าจำนวนมากมองว่านี่คือความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่ว่าพวกจะพยายามทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน บรรดาตู้ ATM จอในรถเช่า
จังหวะการหมุนของโลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อ COVID-19 มาถึง ปกติคนทำงานอย่างเรา ๆ ก็หาทางอัปสกิล เอาตัวรอด เพิ่มศักยภาพให้ตัวเองอยู่ตลอดอยู่แล้ว แต่คล้ายว่าทุก ๆ ช่วงที่สิ้นปีเก่ากำลังจะจากไป และต้นปีใหม่กำลังจะมาถึงเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะอัปเดตว่าเทรนด์ไหนกำลังมา ปีหน้าปีสกิลไหนที่ต้องเพิ่ม ความรู้ไหนที่ต้องทิ้งไปกับปีเก่า คนทำงานใช้ชั่วจังหวะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบรอบพอดีเป็นฤกษ์ในการอัปเกรดเวอร์ชันการทำงานให้ตัวเองอย่างจริงจัง แต่เมื่อ COVID-19 มาถึง ไม่เฉพาะการทำงานเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยน แต่ชีวิตทั้งชีวิตต้องเปลี่ยนตาม โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจผันผวน สภาพการเงินของบริษัทไม่แน่นอน อัตราการปลดพนักงานในหลายที่ก็มีให้เห็นอยู่เนือง ๆ ถ้าจะรออัปเกรดตัวเองอีกทีตอนสิ้นปี ถึงเวลานั้นอาจจะสายเกินไปก็เป็นได้ UNLOCKMEN ชวนเอาชีวิตรอดว่าเราควรทำอะไรบ้างในโลกการทำงานหลัง COVID-19 มาเยือน “เจ้านายเก่า บริษัทเดิม คนในสายงานเดียวกัน” สายสัมพันธ์นี้มีความหมายกว่าที่คิด ความสามารถ ศักยภาพ นั้นสำคัญอย่างมาก แต่ถ้ามี “โอกาส” ที่ดีด้วย ทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเราก็จะยิ่งพุ่งทะยานไปได้ไกลกว่าเดิม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาแนะนำตรงกันว่าในช่วงวิกฤต COVID-19 สิ่งที่อยากแนะนำให้คนทำงานทำคือการติดต่อกับเจ้านายเก่า ผู้คนในบริษัทเดิม ทีม HR หรือคนในสายงานที่เราทำอยู่ นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อองค์กรกำลังจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หรือกำลังจะพาตัวเองฝ่าฟันวิกฤตไปได้ สิ่งที่องค์กรต้องการที่สุดคือคนที่รู้มือกัน เข้าใจลักษณะองค์กร และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีโดยไม่ต้องมาเริ่มสอนงานกันใหม่ จึงไม่แปลกที่
ถึง Netflix แทบจะเป็นสตรีมสามัญประจำบ้านของทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางคนไม่มีคู่หาร รู้สึกว่าการจ่ายรายเดือนคนเดียวมันแพงไป หรืออาจจะเจอกับวิกฤตจนต้องถอน Netflix ออกไปจากอุปกรณ์ช่วงนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายเองก็มี ข่าวดีของคนไม่มี Netflix ที่บ้าน ช่วงนี้เรายังหาอะไรสนุก ๆ ดี ๆ ดูได้ เพราะ NETFLIX ประกาศปล่อยซีรีส์เจ๋ง ๆ ABSTARCT: THE ART OF DESIGN ที่เคยผลิตในปี 2006 ออกมาให้ทั่วโลกได้ดูกันฟรี ๆ กันถึง 8 เรื่อง ที่สำคัญยังเลือกซับไทยอ่านสบาย ดูไปยาว ๆ ตกคลิปละประมาณ 40-50 นาทีเท่านั้น ใครสนใจเรื่องไหนลองอ่านเรื่องย่อคร่าว ๆ ก่อน เรารวบรวมให้พร้อมแปะหนังในลิงก์นี้แล้ว กด play แล้วไปดูพร้อมกันได้เลย HOW TO OPEN ‘THAI’ SUBTITLE คลิกปุ่ม CC หรือ Subtitile คลิกปุ่ม
ย้อนกลับไปในปี 2013 ถือเป็นอีกหนึ่งยุคทองของรถยนต์สมรรถนะสูงหรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่าซูเปอร์คาร์ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ค่ายรถยนต์น้อยใหญ่ทั่วโลกต่างแข่งขันกันสร้างรถยนต์ความเร็วสูงที่สมบูรณ์ที่สุดออกมา แต่คงไม่มีรถยนต์คันไหนจะโดดเด่นไปกว่า Ferrari LaFerrari, McLaren P1 และ Porsche 918 Spyder ที่ถูกยกให้เป็น The Holy Trinity หรือ 3 สุดยอดซูเปอร์คาร์ของช่วงเวลานั้น ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเจ้าแห่งท้องถนนเหล่านี้อีกครั้ง สำหรับผู้ชายที่หลงใหลในความเร็ว ซูเปอร์คาร์หรือไฮเปอร์คาร์แต่ละคันเป็นเหมือนกับผลงานชิ้นเอกที่ถูกสร้างขึ้น และถ้าย้อนกลับไปดูประวัติความเป็นมา จะทราบว่ามีค่ายรถยนต์หลายค่ายพยายามหาทางสร้างรถยนต์ที่เรียกว่าซูเปอร์คาร์มาตั้งแต่ช่วงปี 1960 ตัวอย่างคือ Alfa Romeo Tipo 33 หรือในปี 1970’s กับ Lamborghini Countach แต่ยุคสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคงจะเป็นช่วงต้นยุค 2000 ในช่วงเวลาที่ Ferrari Enzo, Porsche Carrera GT และ Mercedes-Benz SLR McLaren ถูกปล่อยออกสู่ตลาดในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นเหมือนกับสัญญาณการแข่งขันของตลาดซูเปอร์คาร์สมัยใหม่ เพราะนับจากนั้นมาค่ายรถยนต์ทั่วโลกก็เร่งพัฒนาและผลิตรถยนต์ที่ชื่อว่าเป็นซูเปอร์คาร์ของค่าย รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีรถสูตร 1 และคาร์บอนไฟเบอร์ก็ทำให้หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป เรามีโอกาสได้เห็น
หลังยิมและสวนสาธารณะปิดให้บริการไปนาน เชื่อว่าร่างกายของหนุ่ม ๆ หลายคนคงจะเริ่มสูญเสียความฟิตไป หลายคนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมานาน ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป ความความแข็งแรงที่อุตส่าห์สั่งสมมาอาจหายไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่มีเวลาออกกำลังต่อสัปดาห์ไม่มากนัก โปรแกรมออกกำลังที่สั้นแต่ได้ผลดีอาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังตามหา และการออกกำลังแบบ HIIT คือรูปแบบที่เราอยากแนะนำ แต่ก่อนจะพบกับโปรแกรมฝึก เราอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการออกกำลังกายแบบ HIIT กันก่อน HIIT หรือ High-Intensity Interval Training เป็นรูปแบบการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาสั้น ๆ สลับการออกกำลังหนักในเวลาที่กำหนดไม่เกิน 10 – 40 นาทีโดยเน้นออกกำลังแบบต่อเนื่องให้ Heart Rate ของผู้ฝึกขึ้นไปแตะหลัก 80 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าเพื่อสร้างอัตราการเผาพลาญที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามโปรแกรม HIIT ที่เราจะแนะนำในวันนี้จะใช้การออกกำลังแบบคาร์ดิโอและบอดี้เวทมาปรับใช้ในโปรแกรม ทำให้นอกจากจะได้เผาผลาญไขมันแล้วยังเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไปพร้อมกัน 1 สัปดาห์สามารถฝึก HIIT ได้บ่อยแค่ไหน ? หนุ่ม ๆ ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมออาจฝึก HIIT ได้ถึง 4 ครั้ง/สัปดาห์ เพราะต่างคุ้นเคยการกำลังออกกำลังหนัก ๆ ในระยะเวลาอันสั้นอยู่บ้าง แต่สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มฝึก
สั่งอาหารมากี่มื้อ แกะกล่องกินก็ไม่ได้ฟีลเหมือนกินที่ร้าน ทำไมเราถึงยอมจ่ายราคาอาหารแสนแพงกับบางร้านทั้งที่เป็นเมนูชนิดเดียวกัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็เพราะบรรยากาศนั่งกินในร้านที่เจริญอาหาร สุนทรีย์กว่าที่อื่น แต่มาตรการป้องกันโรคระบาด COVID-19 ตอนนี้ ล้วนทำให้ร้านอาหารกับคนกินแยกออกจากกัน ตั้งแต่เกิดการระบาดช่วงแรก ๆ มาจนถึงตอนนี้ ต่อให้เราไปยืนซื้อถึงหน้าร้าน ร้านก็ไม่มีที่นั่งให้เรานั่งกินอยู่ดี จนมาถึงจุดที่ทั้งร้านอาหาร ทั้งเรา คิดถึงกันใจจะขาด ปัญหาที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญจึงเป็น การทำอย่างไรให้คนได้ใช้ชีวิตเหมือน 2 เดือนก่อนหน้านี้ ตอนที่เรายังใช้ชีวิตปกติ DOOR DASH กับบริการส่งอาหารเดลิเวอรีที่กินให้เหมือนอยู่ในร้าน Door Dash บริษัทสตาร์ตอัปสัญชาติอเมริกันที่ให้บริการส่งอาหารเดลิเวอรีเปิดโปรเจกต์ใหม่ดึงประสบการณ์ที่บ้านเหมือนกินที่ร้านที่เรียกว่า “The Lunchroom” โปรเจ็กต์นี้ดึงร้านอาหารอเมริกาในเครือชื่อดังหลายแห่งมาเข้าร่วมด้วย ได้แก่ Auntie Anne’s, The Cheesecake Factory, Baskin Robbins, Cracker Barrel, Outback Steakhouse McDonald’s ฯลฯ จากนั้นจะใช้วิธีดึงคนมาร้านอาหารผ่านวิดีโอแชทในรูปแบบ Virtual “สิ่งที่สำคัญที่สุดในมุมมองของผมคือการที่เราได้กินข้าวกับเพื่อนและครอบครัว ออกไปเดต หรือเลิกงานแล้วไปที่ร้านอาหาร เพื่อสร้างชั่วโมงแห่งความสุขกับมื้ออาหารสุดพิเศษที่ร้านอาหารดี ๆ สั่งแห่ง ซึ่งตอนนี้คุณจะได้มันครบทั้ง 2
“ถ้าเราเหนื่อยล้าจงเดินเข้าป่า” เนื้อเพลงท่อนฮิตที่ฮิตติดลมบนอยู่หลายเดือนท่อนนี้คงยังติดหูใครหลายคนมาจนถึงตอนนี้ ที่เศร้ากว่าตอนนั้นก็คือ ไม่ว่าเราจะเหนื่อยล้าแค่ไหน ตอนนี้อย่าว่าแต่เดินเข้าป่า เข้าเขา เข้าทะเลที่ไหน เข้าร้าสะดวกซื้อใกล้บ้านก็ยังมีเวลาจำกัด (เพื่อความปลอดภัย) จึงไม่แปลกที่มนุษย์สายเที่ยว หรือแม้แต่สายไม่เที่ยวจะนั่งหน้าเหี่ยวหมดอาลัยตายอยากกันไปหมด แต่ทุกปัญหาต้องมีทางออกสินะ? ทำไมเหนื่อยล้าต้องเดินเข้าป่า? ธรรมชาติเยียวยาเราจริงไหม บางทีก็สงสัยใครรู้ว่าเหนื่อยล้าแล้วเดินเข้าป่าแล้วจะหายอย่างที่เพลงร้องเอาไว้จริงไหม? แต่หลาย ๆ ครั้งเวลาได้ไปเที่ยวท่ามกลางธรรมชาติทีไร หัวใจก็พองโตทุกที ก็ไม่รู้ว่าพองเพราะธรรมชาติ เพราะอากาศดี หรือเพราะได้หยุดงานไปเริงร่ากันแน่? แต่เมื่ออยู่บ้านนาน ๆ (ออฟฟิศก็ไม่ต้องไป รถติดก็ไม่ต้องฝ่า) เรากลับพบว่าผนังห้อง เตียงนุ่ม หรือการดูซีรีส์ทั้งวันมันไม่อาจเยียวยาเราได้ขนาดนั้น ธรรมชาติจึงอาจช่วยเยียวยาเราได้จริง นักวิจัยจาก Stanford ทำการทดลองที่แบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งให้เดินผ่านพื้นที่ในเมือง ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งให้เดินผ่านพื้นที่ที่มีธรรมชาติ ผลออกมาว่าคนที่เดินผ่านพื้นที่สีเขียว สมองส่วนที่เชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลทำงานลดลง ยิ่งไปกว่านั้นการออกกำลังกายในพื้นที่ธรรมชาติยังเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มขึ้นของการยอมรับนับถือตนเองและมีอารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์ตอนนี้ไม่เอื้ออำนวยให้บึ่งรถไปเขาใหญ่หรือขึ้นเครื่องบินไปดอยอินทนนท์ นักวิจัยจะว่ายังไงเรื่องนี้? งานวิจัยที่ชื่อ Principles of Neural Science หาคำตอบรอไว้ให้แล้ว โดยสรุปนั้นแม้เราจะไม่ได้ไปเดินป่าจริง ๆ ไม่ได้ไปดื่มด่ำธรรมชาติของแท้ แต่การได้ดูภาพของต้นไม้หรือป่าอันอุดมสมบูรณ์ผ่านหน้าจอก็ช่วยส่งเสริมระบบประสาทส่วนกลางที่ส่งผลทำให้เกิดความสงบได้ ดังนั้นแม้เราจะพากายหยาบออกไปท่องโลกกว้างไม่ได้ แต่มั่นใจได้เลยว่าด้วยตาสองดวง และหนึ่งสมองที่เต็มไปด้วยจินตนาการของเรา
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ แต่ว่ากันว่าจากนี้ไปโลกจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิม นอกจากนั้นหลายสิ่งหลายอย่างจะถูกแบ่งออกเป็นยุค Pre-COVID-19 และ Post-COVID-19 เพราะสรรพสิ่งจะพลิกกลับตีลังกาหงายหน้าหงายหลังแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอันเนื่องมาจาก COVID-19 ทั้งไลฟ์สไตล์ วิธีการทำงาน วิธีการเดินทางท่องเที่ยว การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ไปจนถึง “เรื่องบนเตียง” เซ็กซ์ของผู้คนก่อน COVID-19 มาถึงเป็นอย่างหนึ่ง และหลังจากนี้หลายสิ่งหลายอย่างอาจเปลี่ยนไปจนเราตกตะลึง ความปลอดภัยมาก่อน “ความโหยหา” โลกยุค Pre-COVID-19 โหยหาเมื่อใด ต้องการความอบอุ่นจากร่างกายใครสักคนตอนไหน เราก็แค่เข้าแอปพลิเคชันสักแอปปัดซ้ายย้ายขวาไม่กี่หนก็ได้ใครสักคนที่ถูกใจแล้ว ปัจจัยในการตัดสินใจ “มีเซ็กซ์” นั้นมีเพียงแค่โหยหาใครสักคน ถูกใจ ไปกันต่อ แล้วเรื่องราวก็อาจจบลงภายในคืนนั้น (หรือไม่กี่ชั่วโมงนั้นด้วยซ้ำ) หรือจะสานต่อความสัมพันธ์กระชับความสัมพันธ์บนเตียง หรือรูปแบบอื่นต่อก็ย่อมได้ ทว่าโลก Post-COVID-19 ไม่ได้เป็นแบบนั้น ความโหยหา ความต้องการยังคงมีเต็มเปี่ยม แต่วิธีเรื่องความปลอดภัยของเราจะเปลี่ยนไป เราไม่สามารถนัดเจอมนุษย์ทุกคนที่เราอยากเจอได้ หรือแม้แต่หนึ่งคนที่อยากเจอที่สุดก็ไม่มีอะไรการันตีอีกต่อไปว่าเขาคนนั้นจะไม่นำความเสี่ยงมาให้ รวมไปถึงการเดินทาง สุขอนามัยของสถานที่ที่ใช้เป็นสมรภูมิรักอีกต่างหาก หากเทียบกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีวิธีการป้องกัน และรณรงค์กันมาหลายทศวรรษ เลือกใช้ได้ทั้งถุงยางอนามัย การกินยา Pre ยา Prep การไม่สัมผัสสารคัดหลั่ง ฯลฯ แต่กับ COVID-19
ไม่นานนี้ เราเจอเหตุการณ์ที่แม่ยื่นมือถือมาให้แก้ปัญหา เพราะเข้าจอวิดีโอคอลใน WhatsApp คุยกับญาติไม่ได้ เกิดจากบังเอิญไปจิ้มผิดปุ่มจนทำให้หน้าตา interface ที่เคยใช้ประจำกลายเป็นหน้าที่ไม่คุ้นเคย ทุกครั้งแม่มักจะพูดเสียงอ่อย ๆ เวลามาขอความช่วยเหลือว่า “ดูให้หน่อยสิ โทรศัพท์มันเสียหรือเปล่า” ตอนฟัง เชื่อว่าหลายคนเป็นเหมือนกันคือรู้สึกหงุดหงิด เพราะมันก็ไม่ได้เป็นอะไร ถ้ากดปุ่ม Home มันก็กลับเข้าหน้าเดิม กดเข้าแอปฯ ได้เหมือนเดิมแล้ว แต่พอมานั่งคิดเอาดี ๆ ว่าทำไมถึงเกิดปัญหาเดิมซ้ำ ๆ ทำไมเราต้องมาเป็นคนแก้ให้ซ้ำ ๆ คำตอบง่าย ๆ ที่เจอก็คือ “กลัว” นั่นแหละ กลัวอุปกรณ์พังบ้าง กลัวจะเสียเงินบ้าง “สิ่งสำคัญไม่ใช่การยอมถอยเพราะกลัวมัน แต่ต้องความเข้าใจและหาทางป้องกันมันอย่างมีประสิทธิภาพ” มันทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า แล้วเราล่ะมีอะไรที่กลัวบ้างหรือเปล่า ประจวบเหมาะกับเรื่องข่าวโดยสปายข้อมูลของการวิดีโอคอลจาก ZOOM ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ ว่าแฮกเกอร์เข้าไปป่วนดึงข้อมูลการประชุมบริษัทมาได้ เรื่องนี้ทำให้หลายคนย้ายแอปฯ ไปเลย แต่เอาเข้าจริงนี่ไม่ใช่ทางแก้ เพราะในอนาคตแฮกเกอร์ก็อาจจะเจาะเข้าไปแอปฯ อื่นที่เราใช้ได้เหมือนกัน เราจึงขอแชร์หลักการที่ต่อให้คุณใช้แอปฯ ไหน สปายทั้งหลายก็เจาะเข้ามาไม่ได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ สร้างห้องต้องล็อกได้ คีย์เปิดห้องต้องแน่นหนา เวลาเราจะ