หนุ่ม ๆ ที่ชื่นชอบรถยนต์ของโฟล์คสวาเกนโดยเฉพาะสาวกของ Type 2 คงกำลังรอคอยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่าง I.D Buzz ที่กว่าจะวางขายก็ต้องรอถึงปี 2022 แต่ระหว่างนี้เชื่อว่าหลายคนจะต้องถูกใจกับรถยนต์คอนเซ็ปต์คันล่าสุดที่ชื่อ E-BULLI อย่างแน่นอน e-BULLI คือรถยนต์คอนเซ็ปต์คันล่าสุดจาก eClassics แผนกผลิตและพัฒนารถยนต์รุ่นคลาสสิกให้กลายเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สามารถทำได้ทั้งในรุ่น Type I Type II และ Type III โดยรถคันล่าสุดที่ถูกเลือกคือ Micro Bus ที่มาพร้อม 21 หน้าต่างอย่าง T1 ‘Samba Bus’ รุ่นปี 1966 ซึ่งถูกเปลี่ยนขุมพลังขับเคลื่อนรวมถึงปรับงานดีไซน์ใหม่ให้กลายเป็นส่วนผสมที่ตัวระหว่างเทคโนโลยีล้ำสมัยกับดีไซน์ไอคอนนิก eClassics ต้องการแน่ใจว่าพวกเขาจะไม่สูญเสียความคลาสสิกของดีไซน์ดั้งเดิมของ Samba Bus ไป e-BULLI จึงมาในสีดั้งเดิมคือสีส้ม ทองและสีครีม ส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่คือชุดไฟหน้า LED ทรงกลมและไฟ Day Light LED ในส่วนตัวถังถูก Re-Design ใหม่ทั้งหมดโดยเพลาหน้าและเพลาหลังเป็นแบบมัลติลิงค์ซึ่งจะส่งพลังขับเคลื่อนไปที่ล้อหลัง ด้านขุมพลัง e-BULLI
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกรวมถึงลดทอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจทำให้มีอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ จากยอดขายที่ลดลงและการสั่งหยุดการผลิตของโรงงานกลุ่มประเทศเสี่ยง อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก ยังมีค่ายผู้ผลิตรถยนต์จำนวนมากที่แสดงความต้องการชัดเจนว่าพร้อมเปลี่ยนโรงงานของตัวเองให้กลายเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้สนับสนุนและช่วยเหลือทีมแพทย์ในการต่อสู้กับโรคร้ายหากสถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายขึ้น มาดูกันว่ามีค่ายรถไหนบ้างที่พร้อมสนับสนุนความช่วยเหลือในครั้งนี้ เริ่มกันที่อิตาลีหนึ่งในประเทศที่มีสถานการณ์น่าเป็นห่วงที่สุด การแพร่ระบาดในอิตาลีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะพวกเขาไม่สามารถกักตัวผู้คนก่อนจะเกิดการอพยพได้รวมถึงการดำเนินงานที่ล่าช้าของภาครัฐ รู้ตัวอีกทีการระบาดก็กระจายไปทั่วประเทศ รัฐทำได้เพียงควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายแต่ประชาชนยังคงติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น นั่นทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ซึ่งไม่ได้มีการเตรียมพร้อมรับมือ ขาดแคลนอุปกรณ์ทั้งเตียงและเครื่องช่วยหายใจ จนทำให้ Siare Engineering บริษัทผลิตเครื่องช่วยหายใจเบอร์หนึ่งของอิตาลีให้รับการขอร้องจากรัฐบาลให้เพิ่มกำลังการผลิตจากเดือนละ 160 ตัวเป็น 500 ตัวซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายหากจะผลิตด้วยโรงงานเดิม Siare Engineering ได้ติดต่อพูดคุยกับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศอิตาลีไม่ว่าจะเป็น Ferrari Fiat และ Chrysler และพูดคุยกันจนได้ข้อสรุปว่า การช่วยเหลือในครั้งนี้จะแบ่งเป็น 2 วิธีด้วยกัน วิธีแรกคือให้ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหมดช่วยเหลือในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องช่วยหายใจเพราะส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญการผลิตอุปกรณ์เหล่านี้อยู่แล้ว อีกทางหนึ่งคือให้ Ferrari หรือ Fiat ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตไปดูงานที่โรงงานผลิตเครื่องช่วยหายใจของ Siare Engineering เพื่อสนับสนุนการผลิตรวมถึงศึกษาแบบเครื่องช่วยหายใจและนำกลับไปผลิตที่โรงงานของตัวเอง โดยเหตุผลที่รัฐบาลอิตาลีข้อความร่วมมือการองค์กรเหล่านี้เพราะรู้ดีว่าค่ายผู้ผลิตรถยนต์มีความเชี่ยวชาญในการผลิตอุปกรณ์ครั้งละมาก ๆ รวมถึงสามารถขอซื้อวัสดุหลายประเภทได้ในราคาถูกกว่าภาครัฐ ซึ่งต้องรอข่าวยืนยันการเริ่มผลิตอีกครั้ง ข้ามมาดูสถานการณ์ในฝั่งสหรัฐอเมริกาแม้จะประกาศปิดประเทศแล้วแต่ยอดผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ประมาณ 26,000 คนและเสียชีวิตแล้ว 178 คน จนทำให้หลายฝ่ายเริ่มตื่นตัวไม่เว้นแม้แต่