โลโก้กว่าจะดังติดตาต้องสั่งสมบารมีไว้หลายปีดีดัก ดังนั้นบางอย่างที่แม้เป็นของธรรมดา ถ้าปะสิ่งที่เรียกว่าโลโก้เข้าไป มันจะกลายเป็นของมีค่ามีราคาขึ้นมาทันที อาจจะโดดไปแตะหมื่นแตะแสน แตะความเป็นลิมิเต็ดที่คนทั้งโลกคลั่งไคล้ชั่วพริบตา แต่ใครจะจินตนาการออกว่าถ้าเอาโลโก้มาสร้างบ้านจะเป็นอย่างไร ? UNLOCKMEN นำผลงานการออกแบบทางสถาปัตยกรรมสุดน่าทึ่งของ Karina Wiciak จาก Warehouse Studio ที่เนรมิตโลโก้ที่เราคุ้นเคย เปลี่ยนเป็นอาคารสไตล์ Luxury น่าปักหลัก จนเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก Dream Shoes หรือ Dream Cars กลายเป็น Dream Houses ได้ง่าย ๆ เริ่มที่ตัวแรก พอเดาออกไหมว่านี่คือแบรนด์อะไร ? Trihouse : Adidas บอกเลยตอนแรกเรามองไม่ออก แต่พอข้ามกระจกไป เพ่งไปที่วัสดุอย่างหิน ภาพสามขีดที่คุ้นเคยจาก Adidas ก็ชัดกระแทกเข้าเบ้าตาทันที อาคารหลังนี้ชื่อว่า Trihouse ได้แรงบันดาลใจการออกแบบมาจากแบรนด์ Adidas จุดที่น่าสนใจอยู่ที่การสร้างสเปซลวงตา ถ้ามองปกติตามแนวเส้นทแยงของอาคารเราจะรู้สึกว่าอาคารเอียง แต่กระจกที่โชว์พื้นที่ใช้สอยด้านในทำให้เห็นระนาบขนานพื้นดิน ทำให้อาคารหลังนี้มีเสน่ห์มากขึ้น สอดรับกับบริบทแวดล้อมรอบข้างอย่างลงตัว The Ringshouse :
“จะดีแค่ไหน หากเรามี SPACE ที่สามารถออกแบบการใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ?” ความต้องการข้อนี้ ถือเป็นความท้าทายของเหล่าผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กับหน้าที่สำคัญในการสร้างจุดเด่นที่แตกต่างของพื้นที่ใช้สอยให้สอดรับกับ Pain Points ของกลุ่มผู้อยู่อาศัย จากโจทย์ข้อนี้ จึงเป็นที่มาในการพัฒนาห้อง Duo Space นิยามเฉพาะของห้องเพดานสูงจากโครงการ Knightsbridge Space Ratchayothin และ Knightsbridge Space Rama 9 โดย Park Luxury ภายใต้แบรนด์ Origin ซึ่งโดดเด่นด้วยนวัตกรรมการออกแบบพื้นที่ใช้สอยที่เน้น Volume of Vertical Space ขยายพื้นที่ใช้สอยแนวสูงภายในห้องให้เพิ่มมากขึ้นด้วยเพดานสูงถึง 4.2 เมตร ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกได้ถึงความโปร่งโล่ง และมีพื้นที่ใช้สอยภายในห้องที่มากกว่า จนสามารถออกแบบปรับเปลี่ยน SPACE ให้เป็นพื้นที่ชีวิตที่ต้องการได้สุดแล้วแต่จินตนาการจะพาไป และถ้าจะหาใครสักคนมารับหน้าที่ถ่ายทอดคอนเซปต์ของโครงการ Knightsbridge Space Ratchayothin และ Knightsbridge Space Rama 9 ออกมาได้อย่างชัดเจน คงไม่มีใครสามารถส่งต่อแนวคิด SPACE สำหรับคนรุ่นใหม่ฉลาดเลือก ซึ่งพร้อมให้ออกแบบพื้นที่การใช้ชีวิตอย่างไร้ขีดจำกัด ได้ดีไปกว่า ‘ออกแบบ – ชุติมณฑน์
ไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ต้องพบเจอความวุ่นวายนับไม่ถ้วน เวลาจำนวนจำกัดที่แกมบังคับให้ต้องใช้ชีวิตรีบเร่ง สุขภาพย่ำแย่จากการสูดดมฝุ่นควันบนท้องถนน และความยากลำบากเมื่อต้องแทรกตัวเข้าไปยังรถไฟฟ้าที่มีคนแน่นขนัด ทั้งหมดนี้ทำให้เราเผลอคิดว่า “ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว” วลีนี้ยังคงใช้สื่อความหมายได้อยู่หรือเปล่า เพราะต่อให้คนเมืองจะได้ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายการคมนาคมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ถ้ายังต้องติดแหง็กบนถนนกับระบบจราจรป่วย ๆ หรือไม่อาจแก้ปัญหาอื่น ๆ ที่คนเมืองเผชิญได้อย่างจริงจัง เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ก็คงไม่ได้น่าอยู่สักเท่าไร ถ้าการใช้ชีวิตในเมืองมันวุ่นวายนัก เราแนะนำให้คุณผละตัวออกมาสักนิดและเขยิบเข้าใกล้ชนบทอีกสักหน่อย ละสายตาจากความแออัดยัดเยียดของป่าคอนกรีต หันไปมองทัศนียภาพหนาทึบของแมกไม้และสัมผัสความสงบสบายที่เมืองใหญ่อาจให้คุณไม่ได้ ‘Woodwork Enthusiast’ เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอ ZMY Design ที่เปลี่ยนโรงงานปูนซีเมนต์เก่าในตะวันออกเฉียงใต้ของจีนให้กลายเป็นบ้านไม้แสนสงบที่มีดีไซน์เฉพาะตัว บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในเมืองเซี่ยเหมิน (Xiamen) เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของมณฑลฝูเจี้ยน (Fujian) และสร้างขึ้นเพื่อให้เป็น “Physically Static Place” สถานที่ที่มอบความรู้สึกสงบ คงที่ และเป็นสเปซของธรรมชาติที่ออกแบบแก่ผู้พักอาศัยอย่างแท้จริง จากอาคารทรงกระบอกที่ถูกทิ้งร้างไว้หลายปีและเต็มไปด้วยชิ้นส่วนสึกหรอ ตอนนี้ถูกรีโนเวตให้เป็นพื้นที่พักอาศัยขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ชีวิตครบครัน ภายในดีไซน์แบบ open plan ไม่ปิดกั้นและเชื่อมโยงทุกภาคส่วนของบ้านเข้าด้วยกัน มีทั้งห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ ระเบียง และดาดฟ้าชมวิวที่ชั้นบน ด้วยคอนเซ็ปต์ที่อยากสร้างบ้านให้สงบและสบาย ทีมนักออกแบบจึงเว้นระยะห่างจากการเชื่อมต่อของโลกภายนอก เน้นใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นเพื่อชูความโดดเด่นภายใน เปิดพื้นที่บางส่วนให้แสงและลมลอดผ่านเข้ามา และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติทั้งหมดภายในบ้านสร้างความผ่อนคลายแก่ผู้พักอาศัย เดิมทีพื้นที่ตรงนี้เป็นโรงงานปูนซีเมนต์เก่าและมีความสูงเพียงสองชั้นเท่านั้น
ถ้าพูดถึง ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ เชื่อว่านิยามของแต่ละคนคงต่างกันอย่างสิ้นเชิง บางคนนึกถึงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีที่เต็มไปด้วยสถาบันออกแบบชื่อก้องโลก บ้างว่ามอนทรีออลของแคนาดานี่แหละที่เป็นตัวเต็ง เพราะนอกจากจะพัฒนาเมืองด้านการออกแบบอย่างจริงจัง ยังมีผลงานเจ๋ง ๆ ซ่อนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของเมืองนับไม่ถ้วน แต่ใครหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ‘เซินเจิ้น’ เมืองชาวประมงเก่าแก่ของประเทศแดนมังกร เปลี่ยนแปลงและพัฒนาข้ามขั้นจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบและนวัตกรรมที่ถูกยอมรับในระดับสากลไปเรียบร้อยแล้ว จากเมืองประมงริมชายฝั่งสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ย้อนไปในอดีตเซินเจิ้นเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเก่าที่อยู่ตรงข้ามกับฮ่องกงเท่านั้น แต่ในช่วงปี 1980 เมืองนี้กลับถูกเลือกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศจีน จากนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจในปี 1978 หลังจากนั้นเซินเจิ้นก็ถูกพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัย และกลายเป็นแหล่งการค้าการลงทุนที่สำคัญของจีน นอกจากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งแล้ว ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจก็มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมืองนี้ไม่แพ้กัน เมื่อ สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประกาศมอบสถานะพิเศษให้เซินเจิ้นเป็นพื้นที่ทดลองปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม นับแต่นั้นเซินเจิ้นก็กลายเป็นหนึ่งในเมืองกลุ่ม Greater Bay Area อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุก เช่นเดียวกับ ฮ่องกง, มาเก๊า, กวางโจว, จูไห่ และอีกหลายเมืองสำคัญ รากฐานความสร้างสรรค์ของเจ้าแห่งการจำลอง ดูเผิน ๆ แล้วเซินเจิ้นแทบไม่มีรากฐานด้านศิลปะหรือการออกแบบเฉกเช่นปารีส มิลาน หรือฟลอเรนซ์ แต่เราเชื่อว่าเซินเจิ้นเองก็คงมีบางสิ่งเป็นเบ้าหลอมให้มุ่งมั่นพัฒนาเมืองไปในทิศทางการออกแบบอย่างแน่วแน่เช่นนี้ ถ้าเปรียบเทียบเรื่องราวของเซินเจิ้นให้เป็นเรื่องใกล้ตัวยิ่งขึ้น คงคล้ายกับเมืองโบราณในจังหวัดสมุทรปราการของบ้านเรา ที่รวบรวมสถานที่สำคัญต่าง
สำหรับผู้ชายอย่างเรา ‘นาฬิกา’ ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องบอกเวลาเคลื่อนที่เท่านั้น หากเป็นไอเทมติดข้อมือที่สะท้อนรสนิยมและถ่ายทอดตัวตนของผู้สวมใส่ออกมาได้อย่างลึกซึ้งแทบทุกกระเบียดนิ้ว บริบทของนาฬิกาในปัจจุบันจึงเปลี่ยนแปลงไปและต่างจากอดีตโดยสิ้นเชิง นาฬิกากลายเป็นไอเทมแฟชั่น เป็นของสะสมที่เหล่าคอลเลกเตอร์หลงใหล หรือแม้แต่เป็นสิ่งของที่บอกความภาคภูมิใจและเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ใครอาจยังไม่รู้ แล้วถ้าจะพูดถึงเรือนเวลาที่เดินเข็มบนหน้าปัดประวัติศาสตร์มาหลายช่วงอายุคน คงจะลืมชื่อของ ‘Hamilton (แฮมิลตัน)’ ไปไม่ได้เลย นอกจากได้สมญานามว่าเป็นแบรนด์ชั้นนำผู้สร้างสรรค์นาฬิกานักบิน (Aviator Watch) แล้ว Hamilton ยังเป็นแบรนด์ที่ผลิตนาฬิกาให้กองทัพสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี 1914 และได้รับเลือกจากกรมไปรษณีย์กลางสหรัฐฯ ให้ใช้บนเที่ยวบินปฐมฤกษ์จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปยังนครนิวยอร์กในปี 1919 เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ผู้คร่ำหวอดในแวดวงเรือนเวลาอย่างแท้จริง Hamilton เรือนเวลาสุดแกร่งแห่งห้วงประวัติศาสตร์ หากย้อนไปสมัยสงครามโลกที่เทคโนโลยีการทหารยังไม่ได้ก้าวหน้าล้ำสมัยเฉกเช่นปัจจุบัน บวกกับการสื่อสารผ่านวิทยุอาจสุ่มเสี่ยงเกินไป ถูกดักฟัง หรือทำให้แผนการรบรั่วไหลได้ เหล่านักบินในยุคนั้นจึงต้องการนาฬิกาข้อมือที่สามารถบอกเวลาได้อย่างละเอียดแม่นยำ ตั้งแต่เข็มชั่วโมง เข็มนาที และเล็กลงไปถึงหน่วยเข็มวินาที นาฬิกานักบิน หรือ Aviator Watch จึงถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางสมรภูมิรบอันดุเดือด นับเป็นเรือนเวลาที่โดดเด่นด้วยกลไกการเดินเข็มเที่ยงตรงแม่นยำ และเข้ามาตอบสนองทุกความต้องการของกองทัพในตอนนั้น ไม่เพียงช่วยให้ตำแหน่งเป้าหมายชัดเจน การสื่อสารไม่คลาดเคลื่อน และทำให้กลยุทธ์ต่าง ๆ สัมฤทธิ์ผล นาฬิกานักบินยังเป็นตัวแปรสำคัญของสงครามและเปรียบได้กับวินาทีชี้ตายของนักบิน เพราะการบอกเวลาผิดพลาดเพียงวินาทีเดียวสามารถตัดสินได้เลยว่าฝ่ายใดจะได้รับชัยชนะหรือปราชัยในสงครามครั้งนี้ ‘Hamilton Khaki Pilot Pioneer
เมื่อภาพยนตร์ James Bond ออกฉายครั้งแรกปี 1962 ตอนนั้นคงไม่มีใครคาดคิดว่าจักรวาลหนังสุภาพบุรุษสายลับจะเดินทางข้ามกาลเวลาและเติบโตมาถึงภาคที่ 25 ได้ แฟนหนังหลายรุ่นตั้งแต่รุ่นปู่จนถึงรุ่นหลานต่างเห็นยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านกับตัวเอกที่เปลี่ยนไป พอรู้ตัวอีกทีเราก็เดินทางมาถึงบทสรุปของสายลับรหัส 007 คนล่าสุดในภาค Bond 25: No Time to Die (2020) เสียแล้ว เมื่อถึงเวลาต้องบอกลาสายลับคนล่าสุดของจักรวาล James Bond แบรนด์นาฬิกาสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์นามว่า Swatch (สวอท์ช) จึงอยากเชิญผู้ชมทุกท่านย้อนความหลังตั้งแต่ Bond 1 จนถึง Bond 25 ผ่านคอลเลกชันเรือนเวลาที่ดึงเอกลักษณ์ของหนัง James Bond ภาคก่อน ๆ ทั้งหมด 6 ภาค พร้อมกับกล่องนาฬิกาดีไซน์เท่ถอดแบบมาจากตลับเทปชวนให้คิดถึง และไฮไลต์เด็ดของคอลเลกชันอย่างเรือนเวลานวัตกรรมล้ำสมัย Q Watch โมเดลรุ่นที่ 7 ออกแบบพิเศษมาเพื่อส่งท้าย Bond 25: No Time to Die โดยเฉพาะ เปิดตัวอย่างงดงามกับตัวอย่างภาพยนตร์ Bond
ไม่น่าเชื่อว่าสังคมโลกในปี 2020 จะกลายเป็นสังคมที่ผู้คนต้องใส่หน้ากาก บางคนอาจใส่เพราะป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่เข้าไปทำร้ายปอด หลายคนตามหาซื้อแมสก์จำนวนมากเพราะต้องการป้องกันตัวเองจากไวรัสโควิด-19 ที่เวลานี้ยังแพร่กระจายในหลายพื้นที่ “ความต้องการซื้อ”ที่เพิ่มขึ้นพร้อมกันทั่วโลก ทำให้หน้ากากอนามัยกลายเป็นสินค้าล้ำค่า หลายคนที่มีแมสก์ในครอบครองก็พยายามเอามาขายโก่งราคา หลายคนเก็บไว้ให้คนในครอบครัว จนหน้ากากอนามัยกลายเป็นสินค้าควบคุมในหลายประเทศ เมื่อหน้ากากอนามัยหายาก จึงทำให้กราฟิกดีไซเนอร์นามว่า Justin Cicappara นึกสนุกลองออกแบบหน้ากากอนามัยคุณสมบัติอลังการภายใต้แบรนด์ Apple ดูว่าจะออกมาเป็นอย่างไร โดยได้โมเดลหน้ากากอนามัยมาทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกันคือ iMask, Apple Mask และ Mask Pro ที่มีคุณสมบัติต่างแตกกันโดยให้ผู้ใช้สามารถเลือกตามสถานการณ์ที่เหมาะสม และผลงานของเขาก็สร้างเสียงฮือฮาในโลกโชเชียลได้เป็นอย่างดี iMask โมเดลแรกคือหน้ากากอนามัยที่มีระบบฟิลเตอร์การกรอง 1 ชั้น ตัวหน้ากากอนามัยทำจากวัสดุ Surgical Material ที่วงการแพทย์ใช้อย่างแพร่หลาย หน้ากากมีขนาด 15 นิ้ว มี 5 สี คือสีฟ้า สีเขียว สีเหลือง สีส้ม และสีชมพู เปิดอิสระการเลือกสีให้ตรงตามรสนิยม แม้ว่าแมสก์รุ่น iMask จะมีฟิลเตอร์
แทค ฮอยเออร์ (Tag Heuer) รุ่นออเทเวีย (Autavia) นาฬิกาสุดเก๋าที่กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งในปี ค.ศ. 2017 และในปี ค.ศ.2019 นาฬิการุ่นนี้ได้อวดโฉมอีกครั้งในคอลเลกชั่นเดี่ยว ที่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของนาฬิกาต้นแบบซึ่งผลิตในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ที่ดูเท่ขรึม และฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน แรงบันดาลใจจากนาฬิกาต้นแบบซึ่งมีความสำคัญต่อของนักแข่งรถและนักบินในอดีตเป็นอย่างมาก สร้างให้นาฬิกาออเทเวียรุ่นใหม่เป็นเรือนเวลาที่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติการบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงและแม่นยำ มาพร้อมสไตล์อันคลาสสิกไร้กาลเวลา นาฬิกาออเทเวียใน 7 โมเดลใหม่นี้นำเสนอในรูปแบบสปอร์ต โดยประกอบไปด้วยตัวเรือนสตีล 5 โมเดล และโนเบิลบรอนซ์ 2 โมเดล มาพร้อมสายนาฬิกาที่ผู้สวมใส่สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยกลไกที่ใช้ง่าย โดยสามารถเปลี่ยนจากสายหนังเป็นสายโลหะหรือสายผ้าได้อย่างง่ายดาย นาฬิกาออเทเวียแต่ละเรือนทำงานด้วยกลไกออโตเมติกคาลิเบอร์ 5 ซึ่งได้รับการการันตีจาก COSC (Contrôle Official Suisse des Chronomètres) BRIDGING THE GAP BETWEEN PAST AND FUTURE ออเทเวียถือเป็นหนึ่งในเรือนเวลาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ในปี ค.ศ.1933-1957 ที่แผงควบคุมการจับเวลา (dashboard) ติดตั้งในห้องควบคุมการบินและรถแข่ง โดยที่มาของชื่อนั้นมาจากคำว่า
ถ้าพูดถึง ‘เซินเจิ้น (Shenzhen)’ ใครหลายคนคงลำดับภาพสินค้าก๊อบปี้จากหลากแบรนด์ดังทั่วโลกขึ้นมาในหัว แต่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้ว่าในช่วงสิบปีให้หลัง ภาพลักษณ์เก่า ๆ ของเมืองเซินเจิ้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เมืองริมฝั่งตรงข้ามเกาะฮ่องกงเมืองนี้ไม่ได้เป็นเมืองแห่งการลอกเลียนเหมือนก่อน หากกลายเป็นเมืองนวัตกรรมและศูนย์กลางการออกแบบของจีนแผ่นดินใหญ่ไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากผลงานดีไซน์เจ๋ง ๆ จาก Shenzhen Design Week สองปีซ้อนที่ทำเอาคนทั่วโลกตกตะลึง เมืองเซินเจิ้นยังมีผลงานสถาปัตยกรรมเท่ ๆ ซุกซ่อนอยู่ตามจุดต่าง ๆ ทั่วเมือง และร้านอาหาร ‘Voisin Organique’ ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานสถาปัตยกรรมภายในที่โดดเด่นไม่น้อยในเมืองนี้ Voisin Organique เป็นร้านอาหารจีนในเขตฟูเทียน (Futian) ที่เน้นเสิร์ฟอาหารจีนดั้งเดิมและจีนร่วมสมัยแบบ farm-to-table โดยมีวัตถุดิบหลักเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ใช้สารเร่งโต รวมทั้งผักออร์แกนิกที่ไม่ได้ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมหรือใช้ปุ๋ยเคมี ร้านนี้คือหนึ่งในผลงานการออกแบบของ Various Associates สตูดิโอออกแบบในเซินเจิ้นที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์หลงทางในหุบเขาอันมืดมิด ทีมนักออกแบบจึงฉาบเพดานขึ้นสลับลงเพื่อเล่นกับความสูงชันต่างระดับ ตั้งใจดีไซน์สเปซออกมาให้คล้ายกับช่องว่างระหว่างหุบเขา โดยหวังว่าความต่างของความสูงจะดึงดูดผู้คนให้แหงนมองขึ้นไป สมทบด้วยแสงไฟสลัวที่สาดยาวลงมาจากด้านบน ราวกับแขกในร้านกำลังรับประทานอาหารจากก้นบึ้งของหุบเขา พื้นผิวภายในร้านตั้งแต่ผนังไปจนถึงฝ้าเพดานถูกเคลือบด้วยกระดาษฟอยล์สีเงินด้าน สร้างบรรยากาศสลัวรางที่ทำให้แขกรู้สึกเหมือนตนกำลังนั่งอยู่ท่ามกลางสายหมอกที่คลุมเครือ จะชัดก็ไม่ใช่ จะเลือนรางก็ไม่เชิง ภายในร้านแบ่งเป็นโซนเลานจ์ ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัวสุดกว้างขวางที่มีขนาดมากกว่า 100 ตารางเมตร โซนเลานจ์ดีไซน์เป็นบาร์เครื่องดื่มหรูมาคู่กับเก้าอี้สีแดงทรงสูง มีโต๊ะกลมคู่โซฟาสำหรับแขกที่มาเป็นกลุ่ม รวมทั้งโต๊ะไม้กลมติดกับหน้าต่างช่องเล็ก
อย่างที่รู้กันดีว่าในปี 2020 นี้ประเทศญี่ปุ่นได้รับเลือกจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 หรือ Tokyo 2020 Olympics แต่ในระหว่างที่รอลุ้นให้วิกฤตโคโรนาไวรัสผ่านพ้นไป แบรนด์เครื่องกีฬาอย่าง Nike ก็ปล่อยคอลเลกชันเสื้อผ้ากีฬาสุดไฮป์ออกมา รอต้อนรับเทศกาลการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในกรุงโตเกียวที่จะจัดขึ้นในช่วงกลางปี 2020 นี้ Nike เปิดตัวเสื้อผ้าฟุตบอล เสื้อผ้าบาสเกตบอล และรองเท้ากีฬาที่ดีไซน์มาสำหรับหลาย ๆ ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 โดย Nike เคลมมาว่าคอลเลกชันนี้รวมชุดที่ยั่งยืนที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุดเข้าไว้ด้วยกัน มีทั้งเสื้อผ้าบาสเกตบอลของอเมริกาที่แฝงกลิ่นอาย 1996 USA sets ระดับตำนาน รองเท้าผ้าใบสุดเท่จากวัสดุเหลือทิ้ง เครื่องแต่งกายสำหรับวันอบรมและรับรางวัล รวมทั้งเสื้อผ้าฟุตบอลของแต่ละชาติที่ดีไซน์เป็นสองแบบคือชุดทีมเหย้าและชุดทีมเยือน เริ่มที่ทีมเกาหลีมาในชุดขาวลายเสือสำหรับทีมเยือนและชุดแดงลายตารางขวางสำหรับทีมเหย้า เสื้อผ้าฟุตบอลทีมอเมริกาดีไซน์เป็นกางเกงขาสั้นสีน้ำเงินพร้อมเสื้อสีขาวของทีมเหย้า ส่วนเสื้อลายพรางสีน้ำเงินเข้มเป็นของทีมเยือน ฝั่งเสื้อผ้าฟุตบอลของทีมไนจีเรียนำเครื่องหมายและรอยหยักสามเหลี่ยมมาใช้ออกแบบ เพื่อให้เกียรติแก่วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งชุดสีเขียวขาวเป็นของทีมเหย้า ส่วนสีเทาล้วนขอบเขียวเป็นของทีมเยือน คอลเลกชันนี้ Nike ตั้งใจออกแบบเสื้อผ้าทั้งหมดให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเลือกใช้วัสดุอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นโพลีเอสเตอร์ที่สร้างขึ้นจากขวดพลาสติกรีไซเคิล ไนลอนรีไซเคิล รวมทั้งหนังยางและเส้นด้ายเหลือทิ้งจากโรงงานของบริษัท John Hoke หัวหน้าฝ่ายออกแบบของ Nike กล่าวว่าไม่ว่าจะอยู่บนสนามแข่งหรือบนเวทีรับรางวัล คอลเลกชันชุดกีฬานี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่
แม้จะไม่เป็นที่พูดถึงมากเท่าโคโรนาไวรัสหรือโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ตอนนี้ แต่ผู้ชายหลายคนคงยังไม่ลืมว่าภาวะโลกร้อนนั้นเป็นอีกปัญหาใหญ่ที่เราเผชิญอยู่เช่นกัน อากาศร้อนอบอ้าวในช่วง 10 ปีให้หลัง ไม่เพียงสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ หากยังก่อให้เกิดน้ำท่วม หิมะตกช้ากว่าฤดูกาล รวมทั้งเหตุการณ์ที่น้ำแข็งขั้วโลกหลอมเหลวอย่างรวดเร็ว ในยุคที่ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมรอบตัวเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด วงการสถาปัตยกรรมเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด ต่างคิดหาสารพัดวิธีออกแบบเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งอีกเทรนด์สถาปัตยกรรมที่กำลังมาแรงในตอนนี้ คือการเลือกใช้วัสดุหรือกระบวนการก่อสร้างที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน Generate สตูดิโอออกแบบได้เผยแผนการสร้าง ‘Model-C’ อพาร์ตเมนต์ปลอดคาร์บอน ในย่าน Lower Roxbury ของเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา อพาร์ตเมนต์แห่งนี้ถอดแบบการพัฒนาอาคารสไตล์ Passive House ของโลกอนาคตมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ สร้างอาคารที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) เพื่อทุเลาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มนุษย์ต้องเผชิญ Passive House เป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่ปี 1988 เน้นหนักเรื่องการสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อประหยัดพลังงานและลดการปล่อยมลพิษไปทำลายสิ่งแวดล้อม ทีมสถาปนิกของ Generate คาดว่าเมื่อสร้างอพาร์ตเมนต์จนเสร็จสมบูรณ์ ที่นี่จะกลายเป็น Passive House บนพื้นไม้ลามิเนตเต็มรูปแบบแห่งแรกและเป็นหนึ่งในอาคารที่ยั่งยืนที่สุดของสหรัฐฯ นอกจากการใช้ไม้ลามิเนตแปรรูป Cross-laminated Timber (CLT) แทนคอนกรีตหรือเหล็กจะช่วยสร้างเอกลักษณ์งานดีไซน์ให้กับอพาร์ตเมนต์แห่งนี้แล้ว ไม้ CLT ยังเป็นวัสดุที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าคอนกรีตและเหล็กอีกด้วย แม้ไม้ CLT
เนื่องด้วยเรากำลังใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีตที่มีสิ่งปลูกสร้างหลากระดับ ตั้งแต่บ้านแนวราบ อาคารแนวตั้ง ไปจนถึงตึกระฟ้าสูงลิบลิ่ว จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีสถาปัตยกรรมสอดแทรกอยู่ในแทบทุกรายละเอียดยิบย่อยของชีวิตเสมอ ไม่เพียงนิยามถึงสิ่งปลูกสร้างอย่างบ้าน อาคาร หรือคอนโดมิเนียมที่มนุษย์อาศัยอยู่ หากสถาปัตยกรรมกว้างขวางจนครอบคลุมไปถึงเจดีย์ สถูป และอนุสาวรีย์ที่ปราศจากผู้อยู่อาศัย ในยุคกระแสนิยมที่ทุกอย่างมาเร็วไปเร็วเฉกเช่นตอนนี้ ต้องยอมรับว่าแนวคิดการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดิมถูกปรับแต่งและโละทิ้งไป แทนที่ด้วยแนวคิดสมัยใหม่ จนบางครั้งค่านิยมของสถาปัตยกรรมปัจจุบันโน้มเอียงไปทางสุนทรียศาสตร์ซึ่งกระทบต่อความรู้สึกและรสนิยม มากกว่าความหมายดั้งเดิมทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ชั่งตวงระหว่างเทคนิควิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมอย่างละเท่า ๆ กัน แต่น่าแปลกที่การตอกเสาเข็มสร้างสถาปัตยกรรมของ ‘บุญเสริม เปรมธาดา’ กลับต่างออกไป เขาไม่ได้ใช้สถาปัตยกรรมเพื่อขับเน้นความงามให้ตกกระทบต่อสายตาผู้ชมเท่านั้น ทว่ายึดมั่นการขับเคลื่อนบริบทแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในเวลาเดียวกัน วิธีการทางสถาปัตยกรรมที่ปลีกออกไปของ ‘บุญเสริม เปรมธาดา’ ความสงสัยใคร่รู้เรื่องมุมมองการสร้างสถาปัตยกรรมพาเราเดินดุ่มเข้ามาคุยกับ ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา สถาปนิกเจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขาออกแบบเชิงสร้างสรรค์ (สถาปัตยกรรม) ในปีล่าสุด ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของสตูดิโอออกแบบเล็ก ๆ ชื่อว่า ‘Bangkok Project Studio’ และสอนหนังสือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาร่วม 20 ปี “หลังเรียนจบผมก็เหมือนคนทั่ว ๆ ไปที่ทำงานในสตูดิโอออกแบบและสร้างงานตามคำสั่งลูกค้า แต่พอทำมาได้สักพักมันก็เบื่อ และรู้สึกว่าสถาปัตยกรรมมันไม่ได้ส่งผลอะไรต่อคุณภาพชีวิตคนเลย ตั้งแต่นั้นผมจึงตัดสินใจออกมาเปิดสตูดิโอของตัวเอง เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกในการออกแบบ แต่เผอิญมันดันเป็นวิธีการทางสถาปัตยกรรมที่โลกกำลังสนใจตอนนี้” “ผมคิดว่าสถาปัตยกรรมคือความจริงใจ” ไม่แปลกถ้าคุณไม่เคยเห็นผลงานของสถาปนิกคนนี้ในกรุงเทพฯ