เมื่อปี 2016 พวกเราเคยพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Bomb At Track วงแร็ป ร็อก/เมทัล สุดร้อนแรงที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทยอย่างตรงไปตรงมาแบบไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม จนทำให้พวกเขากลายเป็นวงที่ถูกพูดถึงและเข้าไปยึดพื้นที่ความชื่นชอบของบรรดาคนรุ่นใหม่ที่นิยมเสพเพลงนอกกระแส เวลาผ่านไป 6 ปี ทุกสิ่งทุกอย่างในวง Bomb At Track ก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปทีละนิดตามวัยและวุฒิภาวะที่เติบโตขึ้น ในวันนี้สมาชิกทั้ง 5 ได้แก่ เต้ (ร้องนำ), เมษ (กีตาร์), ปุ้ย (กีตาร์), ข้น (เบส) และนิล (กลอง) อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและศิลปากร ได้พาดนตรีของพวกเขาข้ามไปอีกขั้นด้วยการก้าวเข้ามาสู่สังกัดใหญ่อย่าง Genie records ภายใต้เครือ GMM Grammy และล่าสุดพวกเขาเพิ่งจะส่งอัลบั้มใหม่ลำดับที่ 2 “Bomb The System” ออกมาให้แฟน ๆ ได้เสพกันเป็นที่เรียบร้อย แต่ในระหว่างทางพวกเขาได้ระเบิดระบบความคิดไปในทิศทางใดกันบ้าง คำตอบมีรอทุกคนอยู่แล้วครับ “อำนาจเจริญ” ความหมาย ณ ที่นี้ไม่ใช่จังหวัดในภาคอีสาน แต่มันคือซิงเกิลแรกของวง
กลับมาเป็นกระแสที่พูดถึงอีกครั้งสำหรับภาพยนตร์เรื่อง “4 KINGS” ที่นำเสนอเรื่องราวของบรรดาเด็กอาชีวะในยุค 90’s ที่ประกอบไปด้วย อินทรอาชีวศึกษา , เทคนิคบุรณพนธ์ , กนกเทคโนโลยี และ เทคโนโลยีประชาชื่น (ในภาพยนตร์ปรับชื่อเป็นประชาชล) เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าหากบรรดาเด็กช่างกลต่างสถาบันเจอหน้ากันเมื่อไหร่ก็จะยกพวกซัดกันยับเกือบจะทุกที ซึ่งมันเป็นปัญหาที่คาราคาซังแก้ไขไม่หายมานานหลายสิบปี แถมยังไม่มีใครรู้ด้วยว่าต้นกำเนิดแนวคิดแบบนี้มันเริ่มมาจากใครเป็นคนแรก? “4 KINGS” นำแสดงโดยนักแสดงมากความสามารถมากมาย เช่น เป้ อารักษ์ (ดา อินทร), ณัฏฐ์ กิจจริต (โอ๋ ประชาชล), จ๋าย ไททศมิตร (บิลลี่ อินทร), ภูมิ รังษีธนานนท์ (รูแปง อินทร), D Gerrard (ยาด เด็กบ้าน), ทู สิราษฎร์ (เอก บุรณพันธ์) และ โจ๊ก อัครินทร์ (มด ประชาชล) เป็นต้น ทั้งหมดได้มารวมตัวบนเรื่องราวที่ถูกผูกปมไว้นับตั้งแต่ต้นเรื่อง แม้ภาพยนตร์จะถูกโปรโมตด้วยการชูโรงฉากยกพวกตีกันของเหล่าบรรดานักศึกษาต่างสถาบัน แต่เอาเข้าจริง ๆ
หากเอ่ยชื่อสตูดิโอหนังอินดี้อย่าง A24 คนดูหนังรุ่นใหม่ ไม่มีใครไม่รู้จักค่ายหนังที่อุดมไปด้วยผลงานสร้างสรรค์อันแสนท้าทาย เป็นหมุดหมายสำคัญของวงการอุตสาหกรรมหนังนอกกระแสที่น่าจับตาแห่งทศวรรษนี้ UNLOCKMEN จึงขอชวนคุณมาทำความรู้จักค่ายหนังคุณภาพค่ายนี้ ว่าเพราะอะไร เมื่อหนังถูกปะยี่ห้อด้วยโลโก้ A24 ถึงกลายเป็นหนังที่ทุกคนเชื่อมั่นว่าต้องเจ๋งอย่างแน่นอน บนทางมอเตอร์เวย์สาย A24 สู่เส้นทางสายหนังอินดี้ที่น่าจับตา A24 เกิดขึ้นในปี 2012 เมื่อเพื่อนซี้ทั้ง 3 Daniel Katz, David Fenkel และ John Hodges ที่รักในการดูหนังระดับฝังเข้าเส้น ตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อตั้งสตูดิโออิสระโดยมีเป้าหมายที่จะกำหนดงานสร้างและทำการตลาดในรูปแบบที่แปลกและแตกต่าง Daniel Katz บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของชื่อ A24 อย่างเรียบง่ายนี้ว่า “พวกผมใฝ่ฝันมาตลอดที่จะทำสตูดิโอสร้างหนังอินดี้เล็กๆ พูดตามตรงตอนที่พวกเราตัดสินใจออกจากงานประจำที่ทำอยู่ก็กลัวไม่ใช่น้อยเช่นกัน จนกระทั่งพวกเราได้ขับรถไปยังกรุงโรม ขณะที่พวกเราอยู่บนถนนมอเตอร์เวย์ เราเหลือบไปเห็นป้าย A24 เราก็บอกพรรคพวกว่า “เฮ้…ถึงเวลาที่เราต้องทำแล้วว่ะ” ว่าแล้วตัดสินใจลาออก และใช้ชื่อนี้ตั้งบริษัทกันเลย” หาความแตกต่างและสร้างสรรค์ให้สุดขั้ว ผู้บริหารสตูดิโอทั้ง 3 มีความรักและชอบในหนังอินดี้ยุค 90s เข้าเส้นเลือด เขาค้นพบว่าเมื่อโลกหมุนเข้าสู่ศักราชที่ 2000s ดูเหมือนพลังสร้างสรรค์และความกล้าหาญของหนังอเมริกันอินดี้ถูกลดทอนลงอย่างน่าใจหาย “มันเริ่มไม่มีหนังที่เราอยากจะดูมันแล้ว
ในช่วงต้นยุค 2000’s หรือยุคมิลเลเนียม ดนตรีร็อกในอเมริกามีกระแสดนตรีหลากหลายแนวที่ได้รับความนิยม แต่หลัก ๆ ต้องยกให้ นูเมทัล, ป๊อปพังก์ และโพสต์กรันจ์ แม้วงเหล่านี้จะนิยมเล่นดนตรีที่หนักหน่วงและเกรี้ยวกราด แต่พวกเขาก็มีเพลงช้าไว้ใช้สำหรับการโปรโมตเป็นอาวุธติดตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งเพลงเหล่านี้ที่ทำให้ชื่อเสียงของวงในยุคนั้นต่างโด่งดังและประสบความสำเร็จ Unlockmen Playlist จึงขอนำเสนอบเพลงร็อกจากฝั่งอเมริกาแห่งยุค 2000’s ที่อยู่ในความทรงจำของทุกคน มาร่วมย้อนเวลาไปหาความรู้สึกดี ๆ เหล่านั้นกันครับ 1.IN THE END LINKIN PARK ผลงานจากอัลบั้มแรกนามว่า Hybrid Theory ของวง Linkin Park ซึ่งถือได้ว่าเป็นเพลงที่ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักชื่อของพวกเขาอย่างกว้างขวางกับดนตรีสไตล์แร็ป/ร็อก นูเมทัล ที่มาพร้อมกับเมโลดี้ทั้งดนตรีและเสียงร้องสุดติดหู ชนิดที่ว่าฟังครั้งเดียวก็ติดหนึบในโสตประสาทแบบแกะไม่ออกเลยทีเดียว 2.MY SACRIFICE CREED วง Creed ถือเป็นวงที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดเพลงร็อกในอเมริกากับดนตรีสไตล์โพสต์กรันจ์ที่เน้นเนื้อหาเอาใจชาวคริสเตียน แต่ถ้าจะให้พูดถึงบทเพลงที่โด่ดังที่สุดตลอดกาลคงต้องยกให้กับ “My Sacrifice” ที่นอกจากดนตรีจะตราตรึงใจ ตัว MV ก็กลายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนต่างจดจำโดยเฉพาะซีนที่ Scott Stapp อยู่บนเเรือและได้ดึงตัวเองอีกคนที่จมน้ำขึ้นมา 3.WHERE EVER
เป็นอีกหนึ่งฤดูกาลอันย่ำแย่โดยแท้จริงสำหรับทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่เต็มไปด้วยนักเตะซุปเปอร์สตาร์ค่าตัวแพงมากมาย แต่กลับต้องหล่นจากทีมลุ้นแชมป์กลายมาเป็นทีมที่ต้องลุ้นพื้นที่ไปยูโรป้าลีกแทน ถึงแม้ว่าจะมีการปลดโอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์ ไปกลางฤดูกาล และได้ราล์ฟ รังนิค เข้ามาคุมทีมขัดตาทัพชั่วคราว แต่ผลงานกลับไม่กระเตื้องขึ้นทำเอาแฟนบอลปีศาจแดงไม่อยากจะเสียเวลาเปิดดูแมตช์การแข่งขันกันเลยทีเดียว แน่นอนว่านอกจากแทคติกของโค้ชที่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่บรรดานักเตะฟอร์มห่วยก็มีส่วนกับความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเช่นกัน ใครที่ได้ชมเกมการแข่งขันจะพบว่ามีนักเตะหลาย ๆ คนเล่นบอลเหมือนไม่มีแพชชั่น ขาดความกระหายในการไล่ล่าชัยชนะ มันแตกต่างจากนักเตะทีมลุ้นแชมป์อย่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ หรือลิเวอร์พูล โดยสิ้นเชิง เอาจริง ๆ ก็เทียบไม่ได้กับทีมที่ลุ้นพื้นที่ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอย่าง ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์, อาร์เซนอล และเชลซี เลยด้วยซ้ำ ปัญหาที่เกิดขึ้นเชื่อว่าเป็นสิ่งแรกที่เอริก เทน ฮาก ว่าที่กุนซือคนใหม่ของทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด น่าจะต้องจัดการเป็นอย่างแรกเพื่อปรับปรุงทีมให้เข้ารูปเข้ารอย และเป็นการคัดกรองนักเตะจากความรอยัลตี้ที่มีต่อสโมสรด้วยเช่นกัน และนี่คือเหล่าบรรดานักเตะที่ในฤดูกาลนี้สอบตกอย่างรุนแรง พอล ป๊อกบา กองกลางชาวฝรั่งเศสที่มีทรงผมโดดเด่นกว่าฝีเท้า ป๊อกบาถูกปีศาจแดงในยุคของโจเซ่ มูริญโญ่ซื้อตัวกลับมาจากยูเวนตุสด้วยค่าตัวสูงถึง 89.3 ล้านปอนด์ พร้อมกับการขายคอนเทนตด้วยคำว่า “Pogback” เขามาพร้อมกับความคาดหวังของบรรดาแฟนบอลที่อยากจะเห็นเข้าโชว์ฝีเท้าเทพ ๆ เหมือนสมัยที่วาดลวดลายกับทีมม้าลาย อย่างไรก็ตามตลอด 6 ฤดูกาลที่ค้าแข้งในถิ่นโอลด์ แทรฟฟอร์ด
[เนื้อหามีสปอยล์เล็กน้อย] หากจะให้พูดถึงภาพยนตร์ทาง Netflix ที่มาแรงที่สุดในช่วงนี้คงต้องยกให้ “Gangubai Kathiawadi” หรือที่ทุกคนต่างเรียกกันสั้น ๆ ว่า “คังคุไบ” ภาพยนตร์ของประเทศอินเดียที่ถูกสร้างมาจากการอ้างอิงจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ เป็นการนำเสนอเรื่องราวของโสเภณีที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิให้กับเหล่าหญิงสาวที่ประกอบอาชีพเดียวกับเธอ จนกลายเป็นที่กล่าวขานไปทั่วประเทศ “คังคุไบ” นำแสดงโดย อาเลีย บาตต์ นักแสดงสาวชาวอินเดียมากความสามารถ เธอสามารถตีทุกบทบาททุกอารมณ์ได้แตกกระเจิง ซึ่งมันถูกส่งออกมาผ่านแววตาที่ทำให้เราเชื่อในสิ่งที่เธอแสดงได้อย่างหมดจด รวมไปถึงบรรดานักแสดงสมทบทั้ง อชัย เทวคัน ซึ่งรับบทเป็น ราฮิม ลาลา มาเฟียผู้พลิกชีวิตคังคุไบ, จิม ซาร์บ รับบทเป็น เฟซี นักข่าวผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้คังคุไบกลายเป็นที่รู้จัก และนักแสดงอีกหลาย ๆ คนต่างก็สวมบทบาทแต่ละตัวละครออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม ทุกคนต่างมีความสำคัญในเรื่องราวที่ดำเนินไปด้วยความเข้มข้นด้วยจังหวะที่มีกราฟขึ้นลงจนไปถึงจุดไคลแมกซ์ แม้ภาพยนตร์จะมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะแต่ก็ไม่ได้ทำให้การรับชมรู้สึกน่าเบื่อแต่อย่างใด อีกสิ่งที่โดดเด่นมาก ๆ คือภาพและบรรยากาศภายในภาพยนตร์ที่ถ่ายทำออกมาได้สวยและงดงามทุกซีนแบบชนิดที่ว่าสามารถแคปเจอร์ออกมาเป็นภาพถ่ายสวย ๆ ได้ตลอดทั้งเรื่อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด “คังคุไบ” ได้มอบแรงบันดาลใจให้เรามีความกล้าในหลาย ๆ เรื่องดังนี้ กล้าต่อสู้เพื่อความยุติธรรม คังคุไบเธอต้องมาประกอบอาชีพโสเภณีโดยไม่ได้สมยอม ทำให้เธอต้องก้มหน้าก้มตารับชะตากรรมที่เธอไม่ต้องการ แต่ถึงกระนั้นเธอก็มีมุมมองถึงศักดิ์ศรีในตัวมนุษย์เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ในเรื่องจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เธอถูกทำร้ายร่างกายจนทำให้ต้องสูญเสียการหารายได้ไปช่วงใหญ่ ๆ ทำให้เธอตัดสินใจรวบรวมความกล้าเพื่อนำเรื่องราวดังกล่าวไปบอกถึงบุคคลที่เธอคิดว่าจะทวงคืนความยุติธรรมในครั้งนี้ได้ทั้ง ๆ ที่เธอไม่ได้รู้จักคนคนนั้นมาก่อน แต่ด้วยวาทะศิลป์ของคังคุไบ ทำให้เธอสามารถพิชิตความไม่ถูกต้องได้สำเร็จ กล้าต่อสู้เพื่ออำนาจที่ต้องการ คังคุไบมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
ตอนนี้ ไปที่ไหนก็มีแต่คนพูดถึง Multiverse หรือในภาษาไทยเรียกกันว่า “พหุจักรวาล” หรือ จักรวาลคู่ขนาน กันเยอะขึ้น โดยเฉพาะโลกของซูเปอร์ฮีโร่ในฮอลลีวู้ดที่ในช่วงปีที่ผ่านมา คำๆนี้ดูจะกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่คนดูหนังสนใจไปเลย หากแต่ในฮอลลีวู้ดแล้ว โลกคู่ขนานไม่ได้เพิ่งมาเกิดในยุคนี้ แต่ถือกำเนิดมานานแสนนานแล้ว เรามาดูกันว่าที่มาของเทรนด์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมถึงกลายเป็นเทรนด์สุดฮิตของภาพยนตร์ในยุคนี้ ต้นกำเนิดของคำว่า “MULTIVERSE” “Multiverse” คำ ๆ นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงประเดี๋ยวประด๋าว แต่เกิดขึ้นมาแล้วนับร้อยปี เมื่อนักปรัชญาและนักจิตวิทยานามว่า William James ได้บัญญัติคำ ๆ นี้ไว้ในบทความที่ชื่อว่า “Is Life Worth Living” เมื่อปี 1895 เพื่อสนับสนุนแนวคิดที่ว่า “เราไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้อย่างโดดเดี่ยว และตัวตนของเราอาจจะกำลังโลดแล่นอยู่ในจักรวาลคู่ขนานที่แตกต่างก็เป็นได้” แต่คำๆนี้กลับมาฮิตอีกครั้งในยุค 70s เมื่อ Michael Moorcock นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดัง หยิบคำ ๆ นี้มาใช้ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง The Eternal Champion จึงทำให้คำๆนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย นับแต่นั้นเป็นต้นมา แต่หากจะกล่าวว่า The Eternal Champion
Blur คือหนึ่งในวงร็อกแห่งอาณาจักรบริตป๊อปที่รุ่งเรืองสุดขีดในช่วงยุค 90’s พวกเขาฝากผลงานไว้ทั้งหมด 8 อัลบั้มพร้อมด้วยเพลงฮิตติดหูผู้ฟังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “Girls And Boys”, “Beetlebum”, “Coffee And Tv” และอีกหนึ่งเพลงที่แม้ไม่ใช่แฟนของวง Blur ก็ต่างรู้จักกันดี มันคือเพลง “Song 2” นั่นเอง “Song 2” เป็นเพลงที่รวมอยู่ในอัลบั้มที่มีชื่อเดียวกับวง ถูกปล่อยให้ฟังครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี 1997 หรือ 25 ปีที่ผ่านมา ตัวดนตรีแม้จะดูง่าย ๆ ไม่มีความซับซ้อนแต่ก็มีความโดดเด่นด้วยความมันส์กับซาวด์กีตาร์แตกสนั่น เสียงร้องยียวนกวนประสาท และมีความกระชับด้วยความยาวเพียง 2:02 นาที พร้อมด้วยการบิวด์ท่อนฮุคที่จดจำง่ายด้วยคำว่า “วู้ฮู้” เป็นตัวเลือกในการปลดปล่อยอารมณ์ความสนุกออกมาได้ดีมาก จนสุดท้ายมันได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งผลงานเพลงที่ประสบความสำเร็จของวง Blur แต่รู้หรือไม่จริง ๆ แล้วเราเกือบจะไม่ได้ฟังเพลง “Song 2” ในเวอร์ชั่นที่มันส์สะใจ เพราะจุดเริ่มต้นของเพลงนี้มันมาจากดนตรีที่บรรเลงด้วยอะคูสติคกีตาร์ที่มีคำร้องในท่อนคอรัสว่า “วู้ฮู้” แถมยังมาในรูปแบบเพลงช้าอีกต่างหาก แต่โชคดีที่ทาง Graham
คุณเคยลองถามตัวเองไหมว่าทุกวันนี้เคยทำอะไรที่เป็นตัวเองได้เต็ม 100% แล้วหรือยัง? หรือเคยมีโอกาสได้ลองทำมันบ้างซักครั้งหรือยัง? เคยได้ออกจากกรอบที่คอยสกัดกั้นความกล้าบ้าบิ่นของเราแล้วหรือไม่? แน่นอนว่าคำตอบของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ใช่กับผู้ชายคนนี้ที่มีนามว่า “นราวุธ อำนวย” หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อ “แร็ปเอก” แร็ปเอกเคยสร้างกระแสไวรัลในโลกโซเชียลมีเดียเมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้ว ด้วยการแร็ปพรีเซนต์ความเป็นตัวเองแบบได้แหวกแนวสุด ๆ สุดชนิดที่แบบไม่เหมือนใครและไม่มีใครกล้าเหมือน แถมยังมาพร้อมคำสร้อย “อัยย๊ะ ใช่ ๆ” ที่หลอนดูคนฟังมาจนทุกวันนี้ แต่กว่าที่เขาจะยืนหยัดมาได้ต้องสู้รบตบมือกับบรรดาคำวิจารณ์ด้านลบและการถูกบูลลี่ที่ทำให้เขาเคยท้อหนักมาแล้ว แต่เขารับมือกับมันอย่างไรให้ผ่านพ้นช่วงเวลาเลวร้ายเหล่านั้นมาได้ มาทำความรู้จักความเรียลอีกหนึ่งมุมของแร็ปเอกที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยเห็นไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ แร็ปเอกอดีตพนักงานพิสูจน์อักษรที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นศิลปินมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น แม้เขาจะสร้างชื่อด้วยการแร็ป แต่แท้จริงแล้วเขากลับชื่นชอบวงร็อกมากกว่าซะอีก จึงไม่แปลกใจที่ไอดอลของเขาจะมีทั้งวงหิน เหล็ก ไฟ, ดอนผีบิน, Silly Fools, Kiss รวมไปถึง Guns N’ Roses ด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาของการทำวงนั่นคือการต้องหาสมาชิกให้ครบทุกตำแหน่ง ซึ่งมันกลายเป็นงานยากของแร็ปเอก ทำให้เขาตัดสินใจเบนเส้นทางจากร็อกเกอร์กลายมาเป็นแร็ปเปอร์แทน “เมื่อก่อนมีความฝันอยากมีวงเป็นของตัวเอง แต่หาไม่ได้เลยคิดว่าออกเดี่ยวไปเลยดีกว่า เพราะมันจะใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น ก็เลยตัดสินใจมาเป็นแร็ปเปอร์ครับ” ดูเหมือนว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่ทำให้อดีตหนุ่มพนักงานประจำได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล หลังจากตัดสินใจได้แล้วว่าชีวิตนี้ต้องเป็นแร็ปเปอร์ เขาจึงลงมือเขียนเพลงที่พรีเซนต์ตัวตนออกมาโดยใช้ชื่อว่าเพลง “แร็ปเอก”
ช่วงทศวรรษที่ 60s – 80s ประชาชนชาวอังกฤษในยุคนั้นไม่มีใครไม่รู้จักผู้ชายคนนี้ Jimmy Savile ชายหนุ่มใจดีที่เปรียบเสมือน “สมบัติของชาติ” ในทุกรายการที่เขาจัด ในทุกกิจกรรมที่เขาไป ล้วนสร้างแรงบันดาลใจ และแรงกระเพื่อมยิ่งใหญ่ให้กับผู้คนในยุคนั้นอย่างที่ไม่เคยมีใครคนไหนทำได้มาก่อน หากแต่เมื่อเขาตายไป จากสมบัติของชาติที่ทุกคนหลงใหล กลับกลายเป็นซาตานที่น่าขยะแขยง เมื่อมีคนรื้อฟื้นคดีสุดฉาวที่เขาได้ลงมือข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์โดยมีผู้เสียหายรวมกันร่วม 500 ราย และเรื่องราวของเขาถูกนำมาตีแผ่ในสารคดีสุดเข้มข้นที่ฉายใน Netflix ในชื่อ Jimmy Savile: A British Horror Story ผู้ชายที่มีด้านสว่างและด้านมืดแตกต่างอย่างสุดขั้ว Jimmy Savile ไต่เต้าจากดีเจคลื่นวิทยุท้องถิ่นในแถบลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปี 1958 ถึง 1968 จนในปี 1968 เขาได้ถูกเชิญมาจัดรายการที่ช่อง Radio 1 สถานีวิทยุชื่อดังของสหราชอาณาจักร ในรายการ Savile’s Travels เขาได้เดินทางไปพบปะผู้คนทั่วทั้งสหราชอาณาจักร ด้วยสไตล์การจัดรายการที่จัดจ้านและแตกต่างกับดีเจท่านอื่นๆ ทำให้ Jimmy โด่งดังในเวลาอันรวดเร็ว และการเดินสายไปพูดคุยในที่ต่างๆ ทำให้เขาสะสมฐานแฟนคลับได้อย่างรวดเร็ว จากรายการวิทยุ Jimmy
การโยกย้ายสโมสรของบรรดานักเตะในโลกฟุตบอลก็เป็นเรื่องปกติ เพราะนโยบายของแต่ละทีมก็ต้องการสร้างความแข็งแกร่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้ตั้งเอาไว้ ทีมงบน้อยก็ใช้น้อย ทีมงบเยอะก็ใช้เยอะ แตกต่างกันออกไปตามขนาดของสโมสร แต่การย้ายสโมสรจะกลายเป็นเรื่องไม่ปกติทันทีหากนักเตะคนใดคนหนึ่งตัดสินใจย้ายไปร่วมทีมคู่อริ และนี่คือ 5 แข้งจูดาสแห่งพรีเมียร์ลีกที่โลกฟุตบอลไม่มีวันลืม 1.ไมเคิล โอเว่น ไมเคิล โอเว่น เจ้าของฉายาเบบี้โกลด์ เขาเคยเป็นเจ้าหนูนักเตะที่ฝีเท้าเจิดจรัสแสงตั้งแต่อายุยังไม่ 20 ปี ด้วยความเร็ว ความคม และการกระชากบอลหนีกองหลังอันน่าทึ่ง โดยเฉพาะในฟุตบอลโลก ปี 1998 กับแมตช์ที่พบกับทีมชาติอาร์เจนตินา แม้ว่าทีมชาติอังกฤษจะตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในเกมวันนั้นคนที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือโอเว่น กับจังหวะที่เลี้ยงหลบผู้เล่นทัพฟ้าขาวเข้าไปยิงมันบ่งบอกถึงความสุดยอดของเบบี้โกลด์ได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่เหล่าบรรดาเดอะค็อปต่างยกย่องให้โอเว่นกลายเป็นขวัญใจคนใหม่ประจำถิ่นแอนฟิลด์ และมองว่าเขาคนนี้นี่แหล่ะที่จะกลายมาเป็นฮีโร่ของการทวงแชมป์ลีกสูงสุดในเกาะอังกฤษกลับมาให้ได้ แต่แล้วบรรดากองเชียร์ทีมหงส์แดงก็ต้องฝันสลาย ในฤดูกาล 2004-2005 ทางโอเว่นตัดสินใจย้ายไปร่วมทีมราชันย์ชุดขาว เรอัล มาดริด แต่เขาก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร มีโอกาสลงเล่นไม่ได้มากตามที่คาดหวังไว้ จนสุดท้าย Owen ก็อยู่่ในสเปนได้เพียแค่ 1 ฤดูกาลก่อนตัดสินใจกลับประเทศอังกฤษเพื่อมาร่วมทีมนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โอเว่นใช้เวลาอยู่ในถิ่นเซนต์ เจมส์ ปาร์ค ทั้งหมด 4 ฤดูกาล แต่ลงเล่นรวมไปเพียง 79 นัด ยิงได้
ปัญหาที่ Netflix กำลังเจออยู่ตอนนี้ เรียกได้ว่ามาจากความสำเร็จอย่างสูงที่ตัวเองสร้างขึ้นมา การทำให้วัฒนธรรมดูหนัง Streaming กลายเป็นวัฒนธรรมหลักไปทั่วโลก เพียงแต่จากที่ Netflix เคยเป็น Streaming platform เจ้าใหญ่ที่เกือบจะกินรวบตลาด วันนี้กลับมีคู่แข่งที่น่ากลัวเกิดขึ้นมากมาย มีจุดเด่นด้าน Content ไม่แพ้ Netflix ในราคาที่ถูกกว่า หลายคนน่าจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับช่วงเวลาที่แสนท้าทายของ Netflix ในรอบ 10 ปี หุ้นก็ร่วง รายได้ก็ลด ลูกค้าก็ค่อย ๆ หายไป จนต้องเตรียมแผนจะจัดการกับระบบ password sharing ซึ่งตัว Netflix เคยเป็นคนบอกเองว่าดี แต่เรากลับมองว่าวิธีแก้ปัญหารายได้ด้วยการห้ามแชร์ password จะทำให้ผู้คนอยากจ่ายเงิน subscribe ให้ Netflix จริงหรือ? น่ากลัวว่าจะยิ่งยกเลิกแล้วไปสมัครเจ้าอื่นที่มี Original Content ดี ๆ ระดับคุณภาพ 4K อย่าง HBO Go, Disney+ ค่ายเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าง Paramount,