เรียกได้ว่ากระแสรถซิ่งยุค 90 นั้นกำลังมาแรงสุด ๆ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเรา แต่ต้องบอกว่ามันบูมไปทั่วโลก เห็นได้ชัดจากราคาที่หลายคนจะต้องร้องโอ้โห เพราะในรถบางคันบางรุ่นที่เป็นตำนานจริง ๆ นั้น ราคามันกระโดดขึ้นไปอยู่สูงกว่า Supercar มือ 1 รุ่นใหม่ ๆ ซะอีก แน่นอนว่า ด้วยราคา และเสน่ห์ของมันทำให้ทั้งนักสะสมรถ และนักลงทุนตาลุกวาว และในบทความนี้เราจะมาพูดถึงของสะสมของคนรักรถ ที่น้อยคนนักจะไปได้สุดทางแบบนี้ กับนักสะสม JDM Car หรือ JAPAN DOMESTIC MARKET ที่จะมานั่งคุยกัน รับรองว่าจะต้องถูกใจนักซิ่งยุค 90 อย่างแน่นอน เพราะนอกจากเราจะพาทุกคนไปดูรถซิ่ง JDM ยุค 90 ที่มีอยู่หลายคันแล้ว เราจะพูดเจาะลึกถึงรถอีกคันที่ถูกยกขึ้นหิ้งให้เป็นตำนาน และเป็น 1ใน 4 ราชา แห่งวงการรถ JDM 90 ซึ่งจะเป็นคันอื่นไปไม่ได้ นอกจาก ‘Honda NSX’ กับ ‘คุณล้าน ศักดิ์ชาย เกรียงสมุทร’
หลายคนคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า ถ้าเราอยากจะเข้าใจคนอื่นมากขึ้น เราต้องใช้เวลาร่วมกับเขานาน ๆ จนเกิดความสนิทสนม แต่ในความเป็นจริงประโยคนี้อาจจะผิดก็ได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ยิ่งเราใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเท่าไหร่ เราอาจจะยิ่งเข้าใจและรับฟังกันน้อยลง ปรากฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า ‘closeness communication bias’ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นพอสมควร CLOSENESS COMMUNICATION BIAS เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ถ้าเราถามว่า “ทำไมเราถึงรับฟังกันน้อยลงเมื่อเราสนิทกันแล้ว ?” คำตอบ คือ เมื่อเรารู้จักใครสักคนเป็นอย่างดี จนเรียกได้ว่าสนิทกัน เรามักจะไม่พยายามปรับตัวเข้าหาอีกฝ่ายเหมือนกับตอนแรก ๆ ที่รู้จักกันอีกแล้ว เพราะเราคิดว่าตัวเองจำอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับคน ๆ นั้นได้แล้ว เช่น รู้ว่าเขาจะพูดอะไร หรือ คิดอะไร เราเลยใช้ความเคยชินตอบโต้มากกว่าจะตั้งใจฟังพวกเขาจริง ๆ เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะว่า คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา ในแต่ละวันเราเจอกับอะไรมากมาย ซึ่งบางอย่างก็อาจเปลี่ยนชีวิตเราไปตลอดกาลเลยก็มี ดังนั้น การใช้ความเคยชินรรับมือกับฝ่ายตรงข้ามจึงอาจนำมาซึ่งปัญหาด้านความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ เช่น ความเข้าใจผิด การทะเลาะเบาะแว้ง จนอาจต้องเลิกกันในท้ายที่สุด งานวิจัยชิ้นหนึ่งชื่อว่า “The
คอลัมน์ The Profiles เดือนนี้ เราขอพาทุกคนไปทำความรู้จักเรื่องราวของสตรีมากฝีมือเจ้าของตำแหน่งกราฟิกดีไซน์เนอร์คนแรกของ Apple ผู้พลิกโฉมวงการอินเตอร์เฟซคอมพิวเตอร์ในยุคกำลังตั้งไข่ ถ้าพูดถึงแบรนด์อย่าง Apple หลายคนคงจะนึกถึง Steve Jobs ศาสดา CEO ผู้ล่วงลับ หรือถ้าเป็นสาย Product Design ก็ต้อง Jony Ive ผู้ออกแบบ Mac มาแล้วหลายต่อหลายรุ่น แต่หนึ่งในฟันเฟืองคนสำคัญที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ กับ Steve Jobs ปลุกปั้นเครื่อง Macintosh เครื่องแรกของโลก คือหญิงสาวที่ชื่อว่า Susan Kare (ซูซาน แคร์) และผลงานที่เธอฝากไว้นั้นมีอิทธิพลต่อวงการเทคโนโลยี และกราฟิกดีไซเนอร์อย่างไรบ้าง เชิญมาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย ซูซาน แคร์ จบการศึกษาวิจิตรศิลป์จาก Mount Holyoke College พร้อมทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เรียกได้ว่าเธอผู้นี้มีความรู้ความสามารถด้านการออกแบบไม่ใช่เล่น ๆ ประกอบกับในช่วงเวลานั้น Steve Jobs กำลังมองหาพันธมิตรที่จะสามารถฝึกอบรมซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เมื่อเขาได้ไปที่บริษัท Xerox ทำให้เขาต้องทึ่งกับสิ่งที่เขาได้เจอ
มันต้องมีสักครั้งที่เรารู้สึกเหมือนโลกทั้งใบมีแค่ ‘เรา’ กับ ‘สิ่ง’ ที่อยู่ตรงหน้า เราโฟกัสกับสิ่งนั้นอย่างจริงจัง ทุมเทพลังงานและความสนใจให้กับมัน จนเราไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเลย แต่พองานจบลงความรู้สึกเหล่านั้นก็หายไปเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปรากฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่าสภาวะ ‘Flow’ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมาก แต่ก็ยากที่จะเข้าถึงเหมือนกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแชร์วิธีการเข้าโหมดโฟลว์อย่างง่ายดาย เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น WHAT IS THE FLOW STATE ? โฟลว์ (flow) คือ สภาวะที่เราจมอยู่กับกิจกรรมหรืองานอย่างเต็มตัวในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่เราไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองและรอบข้าง ซึ่งคำนี้มีที่มาจาก มิฮาย ชิกเซนต์มิฮายยี (Mihály Csíkszentmihályi) นักจิตวิทยาเชิงบวกในปี 1975 และได้รับการสนใจมาจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่าเวลาเราเกิดโฟลว์ สมองส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดขั้นสูง อาทิ ความทรงจำ รวมถึง การมีสติรู้ตัว อาจหยุดทำงานชั่วคราว ส่งผลให้เกิดการรับรู้เวลาผิดเพี้ยน ไม่รู้สึกตัว และไม่ได้ยินเสียงจิตใจของตัวเอง นอกจากนี้การหลั่งของสารเคมีที่ชื่อว่า โดปามีน อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโฟลว์ด้วย หลายคนอาจไม่เกิดโฟลว์บ่อย เพราะโหมดโฟลว์ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องมีเงื่อนไขที่จำเป็น
เกิดเป็นผู้ชายเซนซิทีฟจะทำอะไรก็ยากไปหมด เจอกับเรื่องเศร้าก็อยากร้องไห้ พอเจอกับเรื่องที่ทำให้มีความสุขก็แสดงความดีใจออกมาได้ไม่เต็มที่ เพราะผู้ชายถูกบอกมากันมานานว่าต้องเก็บอารมณ์ และตัดสินใจทุกเรื่องได้โดยใช้หลักเหตุและผล การแสดงอารมณ์จึงหมายถึงความอ่อนแอ และจะทำให้โดนดูถูก ผู้ชายหลายคนจึงต้องเก็บอารมณ์ และการเก็บอารมณ์ก็อาจทำให้พวกเขากลายเป็นคนเก็บกดได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ชายที่เป็น Highly Sensitive Person หรือ HSP ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อเรื่องรอบตัวมากกว่าคนปกติดูจะได้รับผลกระทบจากปัญหานี้มากกว่าคนอื่นด้วย HSP คืออะไร ? นักจิตวิทยาชื่อว่า อีเลน อาลอน ( Elaine Aron) ได้คิดคำว่า Highly Sensitive Person หรือ HSP ขึ้นมา เพื่ออธิบายคนประเภทหนึ่งที่มีระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ไวต่อตัวกระตุ้นทางกายภาพ อารมณ์ และสังคม มากกว่าคนอื่น และด้วยระบบประสาทส่วนกลางที่ไวนี้เอง ทำให้คนประเภทนี้อ่อนไหวต่อสิ่งรอบตัวได้ง่ายกว่าคนอื่นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขาดูหนังเศร้าก็อาจร้องไห้ได้ง่ายกว่าคนอื่น เวลาพวกเขาเจ็บปวดก็อาจจะรู้สึกปวดทรมานกว่าคนอื่น คนกลุ่ม HSP มักกระวนกระวายใจมากเวลาเจอกับเหตุการณ์ความรุนแรง เกิดความเครียด หรือ ความกดดัน บ่อยครั้งพวกเขาเลยพยายามหนีจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น เช่น หลีกเลี่ยงหนังหรือรายการทีวีที่มีความรุนแรง ส่วนลักษณะอื่น
เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาสักอย่างเนี่ย นอกจากการแก้ปัญหากันหัวหมุนแล้ว อีกสิ่งที่เรามักจะทำอย่างแข็งขันคือการหาต้นเหตุของเรื่องนั้น แล้วหยุดยั้งเจ้าต้นเหตุเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องชวนหัวแบบนี้ขึ้นอีก แต่ทว่าการขุดคุ้ยหาต้นตอนั้น เราต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อที่จะได้เจอสิ่งที่เป็นสาเหตุของมันจริง ๆ ไม่เช่นนั้นการคว้าสิ่งไหนขึ้นมามั่วซั่วอาจนำมาสู่ตรรกะวิบัติที่เรียกว่า ‘SLIPPERY SLOPE’ ทางลาดชันที่จะพาเราไปสู่เหตุการณ์คนละเรื่องกับเรื่องราวในตอนแรก ฟังดูไร้เหตุผลสิ้นดี แต่เชื่อไหมว่าคนเรามักจะมีข้ออ้างแบบนี้กันอยู่บ่อย ๆ มาทำความรู้จักกับตรรกะวิบัติชนิดนี้ พร้อมกับทางหนีทีไล่เมื่อเจอคนที่ใช้ตรรกะขาด ๆ แหว่ง ๆ แบบนี้ ‘SLIPPERY SLOPE’ ทางลาดชันสู่เหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง มาดูกันเต็ม ๆ ว่า เจ้า ‘SLIPPERY SLOPE’ เนี่ย มันคือความไร้เหตุผลยังไงกัน พูดให้เห็นต้นสายปลายเหตุง่าย ๆ คือ “A ทำให้เกิด B ที่จะทำให้เกิด C และ D และ E ไปเรื่อย ๆ จนถึง Z เพราะฉะนั้น A ทำให้เกิด Z นั่นเอง” ป้าบเข้าให้ แค่นี้ก็งงแล้วว่า A มันจะไปยัน Z ได้จริงหรอ
เคยรู้สึกไหมว่า แม้จะผ่านช่วงวัยเด็กมา และโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เรายังรู้สึกเหมือนเป็นเด็กอยู่ดี รู้สึกว่ายังไม่โต และบางครั้งรู้สึกว่าไม่อยากโตเลย ถ้าเคย คุณอาจกำลังมีอาการของ Peter Pan Syndrome อยู่ก็ได้นะ ถ้าใครมีอาการนี้อยู่ เราอยากบอกว่า มันสามารถส่งผลเสียความสัมพันธ์และการทำงานของเราได้อย่างหนักหน่วงเลยทีเดียว Peter Pan Syndrome คืออะไร ? แล้วคนที่เป็น Peter Pan Syndrome จะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ไหม ? ลองอ่านบทความต่อไปเดียวเราจะอธิบายให้ฟัง WHAT IS PETER PAN SYNDROME ? หลายคนน่าจะรู้จักตัวละครปีเตอร์ แพนจากหนังการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์อยู่แล้ว ซึ่งความโดดเด่นของตัวละครตัวนี้ คือ เป็นเด็กผู้ชายที่ไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ได้ จึงเป็นที่มาของชื่ออาการ Peter Pan Syndrome ที่ใช้ในการอธิบายผู้ใหญ่ (ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย) ที่เชื่อว่าตัวเองยังไม่โต ไม่สามารถทำตัวแบบผู้ใหญ่ได้ เรียกได้ว่า มีตัวเป็นผู้ใหญ่แต่ใจเป็นเด็ก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการนี้เกิดขึ้นก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เติบโตมากับครอบครัวที่เลี้ยงลูกแบบตามใจและปกป้องมากเกินไป กังวลว่าตัวเองจะไม่สามารถหางานได้ ไม่สามารถหาเงินได้ หรือ
เคยไหม ? ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าเหมือนยังไม่ตื่น เกิดอาการสะลึมสะลือ คิดอะไรไม่ค่อยออก แถมยังรู้สึกควบคุมตัวเองได้ไม่เต็มที่ตลอดวัน ถ้าใครกำลังเป็น อาจกำลังตกอยู่ในภาวะสมองเหนื่อยล้า (Brain Fog) ก็เป็นได้ ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นได้จากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ ทำให้เกิดผลเสียต่อการใช้ชีวิตของเรา UNLOCKMEN เลยจะมาอธิบายสาเหตุที่ทำให้เราเกิดอาการ Brain Fog และวิธีการป้องกันและบรรเทาอาการ Brain Fog ด้วย เพื่อให้คนอ่านรอดพ้นจากอาการ Brain Fog กันถ้วนหน้า WHAT IS BRAIN FOG SYNDROME ? Brain Fog Syndrome คือ อาการเหนื่อยล้าทางจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ โดยสารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์เกิดอาการเสียสมดุล สมองของเราเลยทำงานได้แย่ลง และเราเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตต่าง ๆ เช่น ไม่สามารถคิด หรือ นึกอะไรไม่ค่อยออก เกิดความสับสนมึนงง ไม่สามารถโฟกัสกับชีวิตประจำวัน และพูดในสิ่งที่คิดได้ยากขึ้น อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ผลของการขาดน้ำ ผลของความเครียด ผลของการพักผ่อนไม่เพียงพอ ผลของการขาดวิตามิน B-12 ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด
หลายคนคงคิดว่า เมื่อเราเป็นเจ้าของชีวิต เราก็น่าจะควบคุมการตัดสินใจของตัวเองได้เสมอ แต่ในความเป็นจริง มนุษย์มีระบบการตอบสนองแบบอัตโนมัติอยู่ หรือที่เรียกกันว่าโหมด autopilot เมื่ออยู่ในโหมดนี้เราจะตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ โดยใช้ความเคยชิน และคิดน้อยลง การใช้โหมดนี้อาจจะดีเมื่อเราทำเรื่องที่เป็นรูทีน เช่น การขับรถ หรือ กินข้าว เพราะช่วยประหยัดพลังงานสมอง แต่เมื่อเจอกับเรื่องที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การแต่งงาน การแก้ปัญหาในที่ทำงาน โหมดนี้อาจส่งผลให้เราตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นได้แย่ลงได้ เราเลยอยากมาแนะนำวิธีการออกจากโหมด autopilot เพื่อให้เราสามารถควบคุมชีวิตตัวเอง และตัดสินใจเรื่องยาก ๆ ได้ดีขึ้น โหมด AUTOPILOT ทำงานยังไง ? ว่ากันว่า โหมดขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ autopilot ของเราเกี่ยวข้องกับโครงข่ายของสมองที่เรียกว่า Default Brain Network (DMN) ซึ่งจะทำงานในเวลาที่เราไม่โฟกัสกับโลกภายนอก หรือ กำลังใจลอยอยู่ โดยโครงข่ายนี้จะเกี่ยวข้องกับสมอง 3 ส่วน ได้แก่ Posterior cingulate cortex (PCC) และ precuneus ที่อยู่ในสมองกลีบข้าง
“จงกลัวเวลาที่คนอื่นกำลังโลภ จงโลภเวลาที่คนอื่นกลัว” คำกล่าวอมตะของ Warren Buffet คือหนึ่งในวิธีคิดหลัก ๆ ที่นำพาให้ตัวเขากลายมาเป็นมหาเศรษฐีนักลงทุนที่ทุกคนรู้จักในปัจจุบัน แต่ใจความสำคัญนั้นไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนแบบสวนกระแส แต่ต้องยึดหลักเหตุผลเรื่องมูลค่าจริงของสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน โดยไม่ปล่อยให้อารมณ์ความกลัว หรือความโลภของตลาดมารบกวนการตัดสินใจ และสุดท้ายก่อนจะลงทุนกับอะไรคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะศึกษาข้อมูลจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้ครบรอบด้าน ที่เราเกริ่นถึงเรื่องนี้ขึ้นมา เหตุเป็นเพราะหลายคนคงรู้กันดีว่าสถานการณ์และบรรยากาศ ณ ตอนนี้ ดูจะไม่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจการลงทุนสักเท่าไหร่ แต่หากนำคำกล่าวของ Warren Buffet มาลองพินิจพิเคราะห์พิจารณาอย่างถี่ถ้วนในของแง่นักลงทุน ช่วงเวลาวิกฤติ COVID-19 ที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังหวาดกลัวและไม่มั่นใจกับสถานการณ์ในปัจจุบันแบบนี้ ถือเป็นจังหวะที่ดีที่จะมองหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ และใครเล่าจะคิดว่าธุรกิจภาคอสังหาฯ ที่กำลังซบเซา จะมี Investment Property โปรเจกต์ใหม่ผุดขึ้นมาพร้อมจุดแข็งที่น่าสนใจในการลงทุนช่วง COVID-19 กับทำเลศักยภาพที่มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัยในระดับสูงโดยแทบไม่ต้องพึ่งพาอานิสงส์จากการท่องเที่ยวซึ่งกำลังน่วมจากพิษ COVID แต่อย่างใด กับ ‘The Hampton Suites’ by Origin Property x DUSIT International การร่วมมือครั้งแรกของสองยักษ์ใหญ่ กับ Serviced Residences 5 ดาว ใจกลางศรีราชา ทำเล
ช่วงนี้เราเห็นหลายคนบ่นว่า เวลาผ่านไปช้าเหลือเกิน เดือนมกราคมยาวนานเหมือนใช้ชีวิตมาได้ครึ่งปีแล้ว บางคนดูจะซัฟเฟอร์กับเรื่องนี้กันด้วย บทความนี้ เราอยากจะมาแนะนำวิธีการที่จะช่วยให้เวลาชีวิตของเราเร็วขึ้น เพื่อให้ทุกคนไม่ต้องเป็นทุกข์กับเวลาที่ยาวนานอีกต่อไป !! ทำไมเราถึงรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้า ? หลายคนคงสงสัยว่าทำไมบางครั้งถึงรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้า บางครั้งถึงรู้สึกเวลาผ่านไปเร็ว บางคนอาจเดาว่าน่าจะเป็นเพราะปัจจัยภายนอก เช่น เวลาในการทำงานที่ยาวนาน จำนวนงานที่เยอะ หรือ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม แต่ในความเป็นจริงแล้ว งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า มันอาจเป็นเรื่องของปัจจัยภายในมากกว่าที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้เวลาของเรา โดยปัจจัยเหล่านี้ทำให้เรารับรู้ความเร็วและความช้าของเวลาต่างกันออกไป ได้แก่ นิสัยของแต่ละคน – เราอาจรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ามาก ถ้าเราเป็นคนประเภทที่ไม่มีความอดทน หุนหันพลันแล่น และโกรธเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการทันที งานวิจัยของ ดร.มาร์ค วิตแมน (Dr.Marc Wittmann) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้บังคับให้ผู้เข้าร่วมการทดลองนั่งในห้องโดยที่ไม่ทำอะไรเป็นเวลา 7 นาทีครึ่ง และพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนจะรู้สึกเวลาผ่านไปไม่เท่ากัน บางคนบอกว่าเวลาผ่านไปแค่ 2 นาทีครึ่ง ในขณะที่ คนที่หุนหันพลันแล่นมากที่สุดจะรู้สึกเหมือนเวลาผ่านไป 20 นาที สมอง – เวลาเราไม่มีอะไรทำ เกิดอาการเบื่อ และอยู่กับตัวเองมาก ๆ เราอาจรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ามากขึ้น โดยการทดลองหนึ่งที่ทำโดย ดร.วิตแมน
เมื่อเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำงานนอกออฟฟิศได้ง่ายขึ้น เราสามารถทำงานได้จากทุกที ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ร้านอาหาร หรือ ร้านกาแฟ สิ่งที่ตามมา คือ เราอาจเกิดความสับสนระหว่างเวลาในการใช้ชีวิต และนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น ความเครียด ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน จนสุดท้ายราอาจเจอกับความล้มเหลวทั้งในเรื่อง Work และเรื่อง Life บทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนรู้จักวิธีการกำหนด work-life boundaries หรือ ขอบเขตระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารเวลาได้ดีขึ้น และเป็นผู้ชนะทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน WORK-LIFE BOUNDARIES คืออะไร ? ถ้าจะสรุปคอนเซ็ปท์ของ work-life boundaries ให้เข้าใจง่ายที่สุด มันคือการที่เราไม่เอาเวลาทำงานมาทำเรื่องส่วนตัว และไม่เอาเวลาทำเรื่องส่วนตัวมาทำงาน ซึ่งการกำหนด work-life boundaries ที่ชัดเจนก็มีงานวิจัยยืนยันด้วยว่า ส่งผลดีต่อการทำงานเหมือนกัน เช่น งานวิจัยของ เอลเลน เอินส์ท คอสเสก (Ellen Ernst Kossek) จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเพอร์ดู พบว่า การบริหาร work-life