ชีวิตที่ราบเรียบไร้อุปสรรคคงเป็นชีวิตในอุดมคติที่ใคร ๆ ต่างก็อยากมี แต่เพราะชีวิตจริงเราไม่สามารถมีชีวิตแบบนั้นได้ เรามีทั้งอุปสรรค ทั้งความกล้า ความกลัว สารพัดความรู้สึกที่เราต้องงัดออกมาสู้เมื่อต้องเผชิญกับความกลัวที่มีต่ออุปสรรคของชีวิตหรือความกลัวอะไรก็ตามที่เข้ามากระทบกับความรู้สึกของเรา UNLOCKMEN จะพามาชำแหละความกลัวและแนะแนวทางว่าจะสู้หรือจะหนีตามสไตล์ของแต่ละคน เมื่อคุณรู้สึกกลัวขึ้นมา ต่อมทอนซิลของคุณจะตอบสนองกับอาการกลัว และการตัดสินใจว่าจะสู้หรือจะหนี มันจะส่งสัญญาณไปที่ต่อม hypothalamus ที่ตอบสนองกับข้อมูลที่เรารับมาจากสมอง มันทำงานร่วมกับระบบประสาท มันเลยทำให้เรารู้สึกกลัวเวลาเราตกอยู่ในอันตราย เรามักจะตอบสนองสัญญาณของความกลัวในสองรูปแบบคือ “สู้หรือถอย” เมื่อคุณถือไพ่เหนือกว่า คุณตัดสินใจได้แบบทันที แทบไม่ต้องหยุดคิดด้วยซ้ำ สมองจะบอกให้คุณอยู่ต่อและสู้กับสิ่งที่อยู่ข้างหน้า หลุมพลางของการหลีกหนี เมื่อร่างกายตกอยู่ในอันตราย สมองจะสั่งให้คุณหนีโดยอัตโนมัติเพื่อรักษาชีวิตของตัวเองเอาไว้ การหนีไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะมันคือการรักษาชีวิตของเราโดยสัญชาตญาณ คนที่เลือกหนีเขามักจะยอมแพ้ได้ง่ายตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของปัญหา และข้ามไปแก้ปัญหาอื่น ๆ แทน (เพราะรู้ว่าอันนี้ตัวเองแก้ไม่ได้) เหมือนคนที่วิ่งหนีปัญหายาก ๆ เพราะคิดว่าตัวเองจะจัดการกับมันไม่ได้ เราอาจจะกลัวจนอยากจะหนีกับสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ หรือบอกตัวเองว่าไม่สามารถข้ามผ่านเรื่องราวยาก ๆ เหล่านั้นได้ เมื่อคิดแบบนี้ความเฟลนอนรอเราอยู่ข้างหน้าแน่นอน เพราะเมื่อคุณไม่เชื่อว่าตัวเองสามารถทำได้ คุณก็ไม่อยากสู้ ไม่รู้จะเอาพลังที่ไหนมาผลักดันศักยภาพตัวเองให้ออกมาเต็มที่ อย่าให้การเผชิญหน้าเป็นแค่ทางเลือก คุณอาจมีแรงกระตุ้นให้วิ่งหนีบางสิ่งเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากอย่างที่บอกไปข้างต้น แต่เราสามารถเปลี่ยนความคิดตัวเองได้ ถ้าหากต้องเผชิญกับเรื่องยาก ๆ อีกในครั้งต่อไป ลองบอกตัวเองให้สู้ ปลุกตัวเองด้วยพลังบวกแทนที่ความคิดลบ ๆจากข้างในว่าตัวเองทำไม่ได้
ความสุขเป็นเหมือนของล้ำค่าที่ใคร ๆ ก็อยากได้ บางคนได้มันมาง่าย ในขณะที่บางคนก็รู้สึกว่าไขว่คว้ามันมาได้ยาก เพราะแต่ละคนต่างมีสิ่งที่ทำให้ตัวเองมีความสุขไม่เหมือนกัน เราเลยต้องเข้าใจว่าแต่ละคนจึงมีความสุขไม่เท่ากัน แต่ที่เหมือนกันคือทุกคนอยากมีความสุขกันทั้งนั้น UNLOCKMEN ขอแนะนำเทคนิคดี ๆ ที่จะทำให้เรามีความสุขแบบไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องวิ่งตามอะไรบางอย่างที่มันแทบจะไม่ใช่ความสุขของเราเองด้วยซ้ำ แต่ให้หันมาโฟกัสกับความสุขของเราเองจริง ๆ กันดีกว่า เมื่อเราพูดถึงความสุขเราคงนึกถึงความสุขที่เราจะต้องมีตลอดเวลาและมีทุกวัน ทุกนาที แบบไม่มีอะไรมาแทรกถึงจะเรียกว่าความสุขจริง ๆ แบบนั้นมันยากไปมั้ย ? ลองมาตั้งความสุขแบบที่แตกต่างออกไปกันดีกว่า ลองเป็นความสุขที่เหมาะกับเราและอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย แบบนี้ล่ะเป็นไง ? ลองมองความสุขเป็นอะไรง่าย ๆ ใกล้ตัวอย่าง อาหารโปรด สีที่ชอบ เพลงที่ชอบ แต่บางครั้งการที่เรามีมันมาก ๆ ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะมีความสุขมากกว่าเสมอไป ในทางตรงกันข้าม เมื่อเรามีโอกาส เราก็กินแค่ที่จำเป็น แต่เมื่อเราได้ลองลิ้มรสอาหารจานโปรด มันทำให้เรามีความสุขมากกว่าการกินเพื่ออิ่ม แบบนี้เรานับว่าเป็นความสุขได้มั้ย ในเมื่อมันไม่ใช่สิ่งจำเป็น ? เราควรจำประสบการณ์ที่แย่ ๆ ที่ทำให้เราเศร้า ผิดหวัง เอาไว้ให้ดี เพราะมันทำให้ความสุขของเราชัดเจนขึ้น การที่เราคิดว่าคนอื่นมีความสุขเสมอ มันคือเรื่องเข้าใจผิด แม้ว่าคนส่วนใหญ่ดูเหมือนจะมีชีวิตสุดแสนจะเพอร์เฟกต์และพวกเขาก็น่าจะมีความสุขกันตลอดเวลา ตั้งแต่เด็กเราจะถูกปลูกฝังให้ใช้ชีวิตแบบ “happily-ever-after” อย่างที่เราเห็นในนิทานบ่อย ๆ