เนื่องในโอกาสรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทางกรุงเทพฯ – บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในเครือเป๊ปซี่โค อาทิ เครื่องดื่มเป๊ปซี่ และมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ นำโดย นายจรณชัย ศัลยพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ พร้อมด้วยนายสมชัย เกตุชัยโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม ร่วมกับ “น้ำน้อย” ปรียศรี พรหมจินดา นักวาดภาพประกอบจิตอาสา นำเสนอผลงานศิลปะเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ผ่านสมุดภาพชุด “เชื่อมจุด ร้อยใจ ใกล้พ่อ” (Wholeheartedly Connected) สมุดชุดนี้ประกอบด้วยภาพวาดลายเส้นจำนวน ๙ ภาพอันสะท้อนถึงพระคุณธรรมและพระราชจริยวัตรอันงดงามของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งคนไทยทุกคนควรน้อมนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต อันได้แก่ ความเสียสละ ความอ่อนน้อม ความอดทน ความใฝ่รู้ ความกตัญญู ความมีน้ำใจนักกีฬา ความพอเพียง ความเรียบง่าย และความเมตตา โดยสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบ “ภาพต่อจุด” เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวาดภาพ “พ่อ” ด้วยตนเองเพียงลากเส้นเชื่อมต่อจุดรูปหัวใจ
คนพูดคำหยาบมันชั่ว มันเป็นคนไม่ดี บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำกล่าวหารุนแรงแบบนั้น แต่มันเป็นไปตามนั้นเสมอไปจริงหรือ? UNLOCKMEN ต้องขอสารภาพว่าหลายครั้งที่เราอยู่กับคนที่สนิทใจและอยู่ในบริบทที่เรารู้ว่าอยู่ในกาลเทศะที่เหมาะสม การพูดคำหยาบบ้างก็สร้างบรรยากาศที่บรรยากาศแบบสุภาพให้ไม่ได้ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะหาว่าเราเข้าข้างคำหยาบแบบลอย ๆ วันนี้ UNLOCKMEN ขอชวนอ่านว่าคำหยาบช่วยลดความเจ็บปวดของเราได้อย่างไร? Melissa Mohr ผู้เขียนหนังสือชื่อที่มีคำขึ้นต้นสุดหยาบคายว่า Holy Sh*t: A Brief History of Swearing หรือ ประวัติศาสตร์สังเขปของคำหยาบ (คำหยาบตอนขึ้นต้น UNLOCKMEN ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจแล้วกัน) โดยเขาศึกษามาไว้คำหยาบไม่ได้มีผลถึงระดับการทำงานของร่างกายของคน (ไม่ใช่แค่ระดับจิตใจเท่านั้น) เพราะเวลาเราพูดหรือได้ยินคำหยาบ ๆ คาย ๆ ความนำไฟฟ้าบนผิวหนังเราจะเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งไอ้ความนำไฟฟ้าบนผิวหนังนี่เองที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด นอกจากนั้นยังมีการทดลองที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร NeuroReport ซึ่งทำการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างเอามือจุ่มลงไปในน้ำเย็นจัดโดยรอบแรกจุ่มลงไปแล้วไม่พูดอะไร ในขณะที่รอบที่สองให้สบถคำหยาบคายออกมาได้ เช่น แม่ง โคตรเย็นเลยว่ะ (หรือจะหยาบคายกว่านี้ก็แล้วแต่) ผลปรากฏว่าแทบทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างเห็นตรงกันว่าเวลาได้สบถคำหยาบคายออกมามันรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าไม่สบถ ที่สำคัญพวกเขายังสามารถเอามือจุ่มลงในน้ำเย็นจัดนั้นได้นานขึ้นมากกว่าเกือบหนึ่งนาที อย่างไรก็ตามคำหยาบก็ยังดูเป็นเรื่องชวนให้วงการดีเบตในหมู่นักวิจัยยังคงเบือนหน้าหนี (ก็แน่ล่ะ เพราะมันเป็นคำหยาบที่ใคร ๆ ก็รังเกียจนั่นเอง) แต่นักจิตวิทยาอย่าง Richard Stephens จากมหาวิทยาลัย Keele