ชีวิตเราอาจจะยืนยาว แต่เวลาในแต่ละวันของเราช่างแสนสั้น เผลอนิดเดียวก็หมดวันอย่างง่ายดาย ถ้าเราไม่อาจจัดสรรปันส่วนเวลาและใช้มันอย่างทรงประสิทธิภาพ แต่ละวันย่อมผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์ วันเดียวที่เปล่าประโยชน์เรียงต่อเชื่อมร้อยกลายเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน ลงท้ายด้วยปีทั้งปีที่สูญเปล่า เราทำได้แค่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ หาความสุขที่อยู่กับเราชั่วคราว แต่ในระยะยาวมองรอบตัวแล้ว…เราไม่เหลืออะไรเลย ใครที่กำลังติดกับดักวันเวลาและปีที่ผ่านมาใช้ชีวิตไปอย่างสูญเปล่า ปีหน้าต้องไม่เหมือนเก่าด้วยวิธีคิดจากนักปรัชญาที่ขบคิดและมีชีวิตอยู่เมื่อสองพันกว่าปีก่อน แต่แก่นความคิดของพวกเขายังสามารถปรับใช้กับชีวิตเราในปัจจุบันได้อย่างทรงพลัง “Beware the barrenness of a busy life.” – Socrates การตื่นเช้ามาพร้อมงานที่ประเดประดังไม่หยุดหย่อน ความยุ่งเหยิงที่สะสางเท่าไหร่ก็ไม่หมด คือกลลวงที่ล่อให้ผู้ชายอย่างเราหลงเข้าใจไปว่าชีวิตที่ยุ่งเหยิงนี่แหละคือชีวิตที่ทำงานหนักหรือชีวิตที่มีประสิทธิภาพ เราคิดว่ามันดีแล้วและปล่อยให้ตัวเองยุ่งจนไม่เหลือเวลาให้ตัวเองอีกต่อไป ปีหน้าต้องไม่เป็นแบบนี้ เพราะชีวิตที่ยุ่งอยู่เสมอหมายถึงการจัดการเวลาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญการทำหลายสิ่งหลายอย่างในวันเดียวแปลว่าเราทุ่มพลังให้มันในระดับปานกลางเป็นสิบ ๆ สิ่ง แทนที่เราจะลดเหลือเพียง 3-4 อย่างที่สำคัญจริง ๆ แล้วทุ่มเทความตั้งใจไปกับมันได้มากกว่าเดิม ดังนั้นการทำอะไรเยอะ ๆ ให้ตัวเองดูยุ่ง ๆ ในหนึ่งวันไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น จงระวังความยุ่งใหดี! แต่การจัดลำดับความสำคัญและทำอย่างมีประสิทธิภาพนั่นแหละคือหัวใจแห่งการจัดการเวลาและชีวิต “Better a little which is well done, than a
“บุหรี่” ถือเป็นอีกเชื้อเพลิงสำคัญที่ขับเคลื่อนผู้ชายอย่างเราให้ทำงานได้คล่องตัวขึ้น อาจเพราะนิโคตินที่เราเสพ อาจเพราะช่วงเวลาพักสั้น ๆ ที่ได้ออกมาสูดอากาศนอกบรรยากาศการทำงาน อาจเพราะได้มองผู้คนจากออฟฟิศอื่นที่ก็ลงมาสูดควันเข้าปอดเหมือนกัน แต่เชื่อว่าผู้ชายหลายคนคงไม่ทันนึกว่า “การสูบบุหรี่” สามารถเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในอาชีพการงานได้ งานวิจัยจาก National Bureau of Economic Research สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานในสถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ โดยผลการสำรวจชี้ว่าพนักงานผู้ชายที่ใช้เวลาสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้ชายของพวกเขานั้นมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งเร็วกว่า และเงินเดือนขึ้นเร็วกว่า ในมุมหนึ่งเรื่องนี้อาจดูไม่น่าแปลกใจนักเพราะสิงห์อมควันรู้ดีว่าการสูบบุหรี่กับใครสักคนไม่ได้หมายความแค่การสูดควันเข้าปอดข้าง ๆ กัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่กับเพื่อนร่วมงาน ระหว่างห้วงเวลาในควันเทาทึมนั้นมักมีบทสนทนาลื่นไหลที่บางบทสนทนานั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบรรยากาศการทำงานในออฟฟิศได้เลย การสูบบุหรี่จึงไม่ต่างจากสารกระตุ้นความผ่อนคลายบางอย่าง แต่ก็เจือบรรยากาศเปิดเผยอย่างจริงใจ จึงไม่แปลกที่ผู้ชายอาจได้แสดงวิสัยทัศน์หรือตัวตนให้หัวหน้าประทับใจ จนนำไปสู่ความก้าวหน้าทางอาชีพการงานได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ก็ทำให้เกิดข้อถกเถียงเป็นวงกว้าง เพราะถ้าทุกคนได้แสดงความคิดเห็นหรือทำให้หัวหน้าเห็นศักยภาพบางอย่างระหว่างสูบบุหรี่จริง ทำไมพนักงานผู้หญิงถึงไม่ได้เลื่อนขั้นเร็วขึ้นอย่างพนักงานผู้ชาย? หรือทำไมการที่พนักงานไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้หญิง แล้วถึงไม่ได้มีใครมีอัตราการเลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้น? การตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศระหว่างการทำงาน ไม่ได้เกิดขึ้นกับการสูบบุหรี่เป็นกรณีแรก ทฤษฎี “old boys’ club” ที่ตั้งคำถามกับกิจกรรมแบบผู้ชาย ๆ ที่เอื้อประโยชน์กันแค่ในหมู่ผู้ชายและสร้างโครงข่ายคอนเนคชั่นทอดยาวไม่รู้จบนั้นมีมานานแล้ว ถ้าจินตนาการไม่ออกให้ลองนึกถึงการไปตีกอล์ฟแบบผู้ชาย ๆ หรือการไปกินดื่มเที่ยวในสถานบันเทิงบางรูปแบบที่มีแต่ผู้ชาย เพราะไม่สามารถชวนพนักงานผู้หญิงหรือเจ้านายผู้หญิงไปมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อในทฤษฎี “old boys’ club” แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เชื่อแน่ ๆ และเถียงหัวชนฝา พวกเขาตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่า “ที่พนักงานผู้ชายได้ขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่งเร็วกว่าตอนที่ทำงานกับหัวหน้าผู้ชายก็เพราะว่าหัวหน้าผู้ชายเข้าใจเราและรู้จักวิธีบริหารดีกว่าไงล่ะ” สมมติฐานนี้คล้ายจะฟังขึ้น