การกลับมาของอัลบั้มชุดที่ 6 (เลขจริงที่ไม่ได้ตั้งเอาชื่อมงคลแบบชุดที่ 8) ของวง POP ที่ม่วนที่สุดในค่ายห้องเล็ก Smallroom ชื่อ Tattoo Colour หลังจากที่หายจากการปล่อยอัลบั้มเต็มถึง 5 ปี แล้วก็ต้องบอกว่าพวกเขากลับมาอย่างสม ‘ศักดิ์ศรี’ จริง ๆ ทั้งการมีชื่อด้อมของตัวเองเป็นครั้งแรกว่า ‘ชาวนัวร์’ ไปจนถึงคอนเซปต์ของการทำอัลบั้ม ‘เรือนแพ ชุดที่ 6’ ที่ทั้ง 4 คนเช่าบ้านอยู่ด้วยกันเพื่อตกผลึกเพลงของทั้งอัลบั้ม จนทำให้กลายเป็นอัลบั้มที่สำหรับแฟน ๆ แล้ว ใช้คำว่า ‘ใช่’ ได้อย่างสิ้นเปลืองที่สุด ย้อนเวลากลับไปในปี 2008 ตอนที่อัลบั้ม ‘ชุดที่ 8 จงเพราะ’ กำลังโปรโมทซิงเกิล ‘จำทำไม’ อยู่นั้น มันเป็นตอนเดียวกับที่ผู้เขียนกำลังนั่งเรียนพิเศษเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามัธยมปลาย ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ เขาว่ากันว่าเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญและยากที่สุดในชีวิตวัยรุ่น แต่เราก็โชคดี ที่มีเพลงของ Tattoo Colour เป็นเหมือนซาวด์แทร็คประกอบชีวิต ชุบชูจิตวิญญาณของเด็กคนนั้นให้การเติบโตอย่างไม่ยากจนเกินไปนัก และในปัจจุบันที่เป็นผู้ใหญ่วัยทำงานแล้ว ความเป็นเด็กของเราก็ยังถูกซ่อนไว้ในความทรงจำที่มีร่วมกับเพลงของพวกเขาเสมอ จะเปิดเพลงไหน เปิดเมื่อไหร่
หนึ่งในรูปแบบ ‘อัลบั้มที่ดี’ สำหรับเรา คือการที่เพลงในนั้นมีหลาก Mood & Tone เพื่อที่จะสามารถเล่าเรื่องราวของคอนเซปต์อัลบั้มซึ่งถูกคิดเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน แล้วจากจุดนั้นเอง ดนตรีที่อะเรนจ์ เนื้อร้องที่ถูกเขียน ก็ต้องเกิดขึ้นจากศิลปินซึ่งเข้าใจตัวเองและจุดที่ว่าไปมาก ๆ และอัลบั้ม Your Girl เป็นแบบนั้น … นี่คือเพลง Pop ในยุคสมัยใหม่ ที่ประกอบด้วยซาวด์จากเครื่องสังเคราะห์เต็มไปหมด แต่กลับยังสามารถคงความประณีตในการเรียบเรียงได้เป็นอย่างดี ไปจนถึงเนื้อร้องที่เขียนเองก็เยี่ยมไม่แพ้กันเลย เคยฟังบทสัมภาษณ์ที่ไหนสักที่เมื่อนานมากแล้ว จำได้ว่าคุณวีชอบซีรีส์เรื่อง That 70’s Show มาก คือที่จำได้แม่นจนขึ้นใจเนี่ย เป็นเพราะมันบังเอิญมากว่าเราเองก็เป็นแฟนคลับของเรื่องนี้ด้วย และก็ไม่เคยมีเพื่อนคนไหนที่ชอบเหมือนกันมาก่อน เรารัก Sit-Com ของเหล่าวัยรุ่นที่ใช้เวลาด้วยกันในห้องใต้ดิน ‘บ้านฟอร์แมน’ มาก ๆ ถึงขนาดว่าเมื่อดูซีซั่นสุดท้ายจบลงไปแล้ว ก็ติดตามอ่านชีวิตของนักแสดงแต่ละคน พร้อมดูคลิปวันสุดท้ายที่พวกเขายืนเรียงกันหน้ากระดานพร้อมกันเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อขอบคุณทุกคนที่ติดตามมาตลอด 8 ปี ซ้ำไปมาอยู่หลายครั้ง และเสียใจเสมอที่ Topher Grace ที่รับบท Eric Forman เลือกจะไม่อยู่ในช่วงเวลานั้นด้วย เอ้า ๆ ต้องขออภัยด้วยนะครับที่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเล่าเสียยืดยาว
เคยมั้ย ฟังเพลงจบแล้วอิน จนต้องหาสื่อบันเทิงในรูปแบบใดก็ตามที่มี Mood & Tone ใกล้เคียงกันมาเสพต่อ ซีรีส์เอย หนังเอย หรือเพลงที่ใกล้เคียงกันเอย แต่ในบางครั้งสื่อที่โดนใจเราที่สุดก็คือ ‘หนังสือ’ สักเล่ม ด้วยความที่มีเนื้อเรื่องเปิด ตอนกลาง และตอนจบ หลากหลายอารมณ์ ไม่ต่างอะไรกับเพลงที่มี Intro ไปจนถึง Outro ทำให้นิยายดี ๆ ช่วยต่อความยาวสาวความอินไปได้อีกสักพักนึงเลย ในซีรีส์ Next Cover, Same Mood เราจะเอาอัลบั้มโปรดที่เพิ่งฟังไป มาดูด้วยกันไปทีละเพลงว่า มีหนังสือเล่มไหนบ้างที่มีจุดเชื่อมโยงกับตัวเพลงนั้น ๆ ทั้งชื่อเพลง, เนื้อร้อง, พาร์ทดนตรี, อารมณ์หลังฟังจบ, เรื่องราวก่อนจะมาเป็นเพลง ไปจนถึงความหมายของเพลง เป็น What You Should Read Next ‘ฟังเพลงนี้จบแล้ว ถ้าอิน ก็ควรอ่านหนังสือเล่มนั้นต่อนะ’ เพื่อช่วยยืดอารมณ์อันไม่มูฟออนจากเพลงของเรากันต่อไป (พูดแบบนี้ดูเศร้า) ขอเปิดตัวคอลัมน์แรกอย่างเป็นทางการ ด้วยอัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกเป็นของวง Asia 7 ที่ออกกับค่าย
อัพเดทข่าวดีของ #กรุงเทพเมืองคอนเสิร์ต ปี 2023 เมื่อวงดนตรีตัวแทนความรู้สึกของชาวมิลเลนเนียม The 1975 ประกาศมาเมืองไทยเป็นครั้งที่ 3 ในเดือนเมษายนปีหน้า โดยก่อนหน้าก็เพิ่งปล่อยอัลบั้มชุดใหม่ Being Funny In a Foreign Language ไปไม่นาน จนเกิดเป็นกระแส The 1975 Fever ทั่วบ้านทั่วเมืองกันอีกครั้ง เมื่อพูดถึงการออกอัลบั้มใหม่ของวงนี้ มันจะมีวัฒนธรรมอยู่หนึ่งอย่างที่ใครหลายคน (รวมถึงเราเอง) รอคอยที่จะได้เจอทุกครั้ง ก็คือ Costume & Make Up ของวงนั่นเอง ไม่ใช่! (จริง ๆ อันนั้นก็รอแหละ) มันคือการรอฟังว่าเราจะได้เจอกับเพลงแบบไหนใน ‘อินโทรแทร็คแรก’ ที่ชื่อเดียวกับวง The 1975 อันเป็นเพลงเปิดของทุกอัลบั้ม ที่จะแนะนำว่าเราจะเจอกับเพลงประมาณไหนในอัลบั้มนั้น และเนื่องจากผู้เขียนเป็นติ่งวง The 1975 อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2013 (9 ปี!) ตั้งแต่ที่วงปล่อยอัลบั้มแรก อยากชวนวิเคราะห์กันหน่อยดีกว่าว่ามีเหตุผลอะไรให้เพลง The 1975
ในบางครั้ง บันทึกหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของโลก ก็เกิดขึ้นจากสิ่งเล็ก ๆ บนพื้นที่เล็ก ๆ แบบที่เราคาดไม่ถึง เช่นเดียวกับโลกของ Hip Hop และ Hennessy สองวัฒนธรรมที่โคจรมาพบกัน มีความสนิทสนมแน่นแฟ้นจนกลายเป็นภาพจำที่อยู่คู่กันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เมื่อเห็น Rapper ต้องเห็นขวด Hennessy อยู่ในมือ และมีคำว่า Hennessy อยู่ในท่อนแร็พมาโดยตลอด ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เกิดภายหลังจากจุดเริ่มต้นของ Hip Hop ในอพาร์ทเมนท์ Sedgwick Avenue ห้อง 1520 ย่าน Bronx ณ มหานครนิวยอร์ก ปี 1973 เริ่มจากความต้องการหาเงินเพิ่มของ Cindy Campbell ที่อยากหาซื้อชุดสวยใส่รับเปิดเทอม แต่เด็กที่อาศัยในย่าน Bronx ยุคนั้นไม่ใช่เด็กที่จะแบมือขอเงินพ่อแม่ได้ เธอจึงเกิดไอเดียอยากจัด back-to-school party ในห้องพัก และว่าจ้างน้องชาย Clive aka ที่นั่น DJ Kool Herc ให้มารับบทดีเจสำหรับปาร์ตี้ที่ชื่อว่า
ตอนอายุ 17 ปี คุณกำลังทำอะไรอยู่ ส่วนมากคำตอบก็น่าจะหนีไม่พ้น “การเรียน” ซึ่งมันก็คือเรื่องปกติของทุก ๆ คนที่ต้องเผชิญอยู่แล้ว แต่สำหรับ “สไปรท์ – ศุกลวัฒน์ พวงสมบัติ” แร็ปเปอร์วัยเยาว์เจ้าของเพลง “ทน” (ร่วมกับ GUYGEEGEE) ที่ฮิตติดชาร์ตบิลบอร์ด ด้วยท่อนฮุค “พี่ไม่มี Louis Vuitton มีแต่หนี้ก้อนโต” ปัจจุบันเขามีอายุ 17 ปีเช่นกัน แต่สามารถไต่เต้าขึ้นมาเป็นศิลปินอาชีพได้ในเวลาอันรวดเร็ว แถมยังกลายเป็นผู้นำครอบครัว ซื้อบ้านหลังใหญ่ให้พ่อกับแม่ได้แล้ว แต่ความฝันของสไปรท์กว่าจะได้มาไม่มีคำว่าง่าย อะไรที่เป็นสิ่งผลักดันให้หนุ่มน้อยจากจังหวัดฉะเชิงเทราประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ มาติดตามเรื่องราวของแร็ปเปอร์ตัวจี๊ดคนนี้กันครับ พรสวรรค์การร้องเพลงเกิดขึ้นในห้องน้ำ สไปรท์ เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ที่ถึงแม้จะดูแสบแต่ก็สัมผัสได้ถึงความจริงใจ มีความซื่อซื่อแบบตรงไปตรงมา เขาได้เล่าให้ฟังถึงที่มีมาที่ไปของชื่อตัวเอง ซึ่งไม่ได้มาจากการที่พ่อแม่ชอบดื่มน้ำอัดลมแต่อย่างใด “ผมเคยถามพ่อผมอยู่เหมือนกันครับ พ่อผมบอกว่าตอนเด็ก ๆ (ตอนแรกเกิด) ผมอยู่ในตู้อบในโรงพยาบาล พ่อผมบอกว่าผมตัวขาวมากก็เลยตั้งเป็นสไปรท์ เพราะน้ำสไปรท์มันขาว ก็เลยมาเป็นสไปรท์ครับ” สไปรท์ เติบโตมาไม่ต่างจากเด็กทั่ว ๆ ไป คือใช้ชีวิตส่วนใหญ่ไปโรงเรียน เล่นสนุกไปเรื่อยเปื่อย
ในปี 2022 วันที่วงการดนตรีไทยอุดมไปด้วย Young Blood & New Face ที่เก่งกาจเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ด้วยวัฒนธรรม Home Studio ซึ่งมีมากขึ้น เรียกว่าเทคโนโลยีดนตรีสมัยใหม่สามารถทำให้ใครก็สามารถเริ่มขึ้นเดโม่ จนถึงจบมาสเตอร์ที่คุณภาพประมาณนึงได้ในห้องนอนของตัวเอง ที่น่าชื่นใจของวงการดนตรีไทยในทุกวันนี้ คือการที่คำว่า MASS กับ INDY ไม่ได้มีกำแพงต่อกันสูงเท่าสมัยก่อนอีกแล้ว แต่คนฟังให้ค่ากับคำว่า MUSIC จริง ๆ มากกว่า โดยที่ถึงแม้ว่าการเดินทางของวงจากทั้ง 2 ฝั่งก็ยังเป็นแบบที่วงในค่ายใหญ่ (ซึ่งอาจจะสามารถใช้เรียก Main Stream ได้) ต้องทำเพลงออกมาขายผู้บริโภค รันธุรกิจของค่ายไปพร้อม ๆ กับความฝันของพวกเขาต่อไป ทางฟากตรงกันข้าม ในส่วนของวงอิสระ (ไม่ได้สังกัดค่าย และอาจจะเรียกด้วยคำว่า INDY ได้เช่นกัน) ก็ยังคงมุ่งมั่นทำเพลงในทุกวันเพื่อจะขยับเข้าใกล้คนฟังหมู่มาก ไปจนถึงการได้สำเร็จความฝันที่จะมี ‘แฟนเพลง’ เป็นของตัวเองได้ในที่สุด จากประเด็นเรื่องของ MASS กับ INDY มันทำให้คนฟังเพลงวัยผู้ใหญ่อย่างเรา (พยายามหลีกเลี่ยงคำว่าแก่ล่ะ) คิดถึงวงการดนตรีของประเทศไทยเมื่อ 8
ในช่วงยุค 90’s เป็นช่วงเวลาที่ดนตรีอัลเทอร์เนทีฟเบิกบานสุดขีด ช่วยสร้างสีสันให้กับทั่วโลกได้เป็นอย่างดี มีวงมากมายเกิดขึ้นมาในยุคนั้น ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน ทำให้เราได้มีโอกาสเสพดนตรีที่ไม่ได้มาจากค่ายใหญ่เพียงอย่างเดียว มีตัวเลือกจากบรรดาวงนอกกระแสให้ได้ลิ้มลองกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งแน่นอนว่าก็มีอยู่หลาย ๆ เพลงที่ติดอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน ด้วยเหตุนี้ Unlockmen เลยอยากขอพาทุกคนย้อนไปเวลาไปกับเพลย์ลิสต์ “10 เพลงโคตรเพราะฟังเพลินช่วงฝนตกจากยุคอัลเทอร์เนทีฟ 90’s” ให้ทุกคนได้เสพบรรยากาศเหล่านั้นกัน ก่อน – MODERNDOG Moderndog ถือได้ว่าเป็นวงหัวหอกในยุคอัลเทอร์เนทีฟไทยโดยแท้จริง พวกเขาแจ้งเกิดได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่อัลบั้มแรกที่มีชื่อว่า “เสริมสุขภาพ” โดยมีเพลง “บุษบา” ที่เมื่อไหร่ที่ได้ฟังรับประกันได้เลยว่าโดดกันมันส์ แต่หากให้พูดถึงเพลงเพราะที่สร้างความประทับใจให้กับคนทั้งประเทศคงหนีไม่พ้น “ก่อน” ผลงานการเขียนเพลงของพราย ปฐมพร เพลง “ก่อน” ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนถึงติดอันดับ 1 บนชาร์ตหลายคลื่นวิทยุ กลายเป็นผลงานสร้างชื่อและเป็นรากฐานสำคัญของวง Moderndog มาจนถึงปัจจุบัน ระหว่างเรา – อรอรีย์ เจ้าของฉายา “เจ้าแม่กรันจ์” ชื่อนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ความเจ๋งของเธอมันสะท้อนออกมาจากผลงานอัลบั้ม “Natural High” และ “Peel” ซึ่งมันได้กลายเป็นสมบัติล้ำค่าของวงการอัลเทอร์เนทีฟไปเป็นที่เรียบร้อย ส่วนเพลง “ระหว่างเรา”
ถ้าพูดถึงประเทศแห่งความฝัน นอกจาก American Dream ก็มีญี่ปุ่นนี่ล่ะที่หัวข้อ ‘สู้เพื่อฝัน’ ถูกยกขึ้นมาพูดอย่างไม่เคยขาดในทุกสื่อ ไม่ว่าจะใน Soft Power หลักอย่างมังงะ อนิเมะ จนถึงวรรณกรรมหลาย ๆ เล่มเองก็ตั้งคำถามถึงสิ่งนี้เสมอ ถ้ายังจำกันได้ ตอนโอลิมปิกส์ปี 2020 ที่ผ่านมา ทีมวอลเลย์บอลของทีมชาติญี่ปุ่น ก็มีท่าตบลูกอย่างกับหลุดออกมาจากเรื่อง Haikyu!! จนเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก และอีกหนึ่งสื่อสุนทรีย์ที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์กว่าศตวรรษอย่าง ‘ภาพยนตร์’ ของญี่ปุ่น เมื่อพูดถึงความฝันเราจึงได้เห็นภาพยนตร์ที่อิงจากชีวิตจริงมนุษย์ ซึ่งพูดถึงการตามความฝันแต่ไม่สำเร็จอยู่บ่อย ๆ UNLOCKMEN จะมาชวนทุกคนถอดบทเรียนจากหนัง 4 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องราวของเหล่าผู้คนในวันที่สู้เพื่อฝัน แต่ความจริงก็ซัดหมักหนักใส่ชีวิตเหลือเกิน เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังทำตามฝัน หรือเคยมีฝันทุกคนใช้ชีวิตแบบที่ต้องการกันต่อไปครับ Solanin (2010) : จงทำตามความฝันให้เหมือนกับว่าพรุ่งนี้จะไม่ได้ฝันอีกแล้ว ไอเดียสำคัญจากหนังซึ่งดัดแปลงจากมังงะของ Inio Asano เรื่องนี้ คือการพูดกับคนดูด้วยน้ำเสียงปกติ ในวันที่แดดแรงพอจะทำให้ผ้าแห้งว่า “ทำความฝันวันนี้ให้เต็มที่นะ ถ้าพรุ่งนี้ตายไปจะได้ไม่ต้องเสียใจทีหลัง” ‘ความตาย’ เป็นสิ่งใกล้ตัวเราทุกคนเสมอ ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ความตายฟรีสไตล์จริง
Avenged Sevenfold วงดนตรีแนวโมเดิร์น เฮฟวี่เมทัล ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในวงการอุตสาหกรรมดนตรี พวกเขาก้าวมาจากวงในระดับอันเดอร์กราวน์ โดยมีผลงานในยุคแรกเป็นสไตล์เมทัลคอร์ที่ดุดัน ได้แก่อัลบั้ม “Sounding the Seventh Trumpet “ (2001) และ “Waking The Fallen” (2003) พวกเขาทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมจนสามารถสร้างฐานแฟนเพลงได้อย่างมากมาย ทำให้ออร่าส่องแสงไปเข้าตา Warner Bros. ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ระดับโลก จนสุดท้าย A7X (ชื่อย่อของวง) ได้เซ็นสัญญาสู่โลกของเมนสตรีมในที่สุด หลังจากนั้นพวกเขาก็ยกระดับวงขึ้นสู่วงเมทัลระดับโลกด้วยผลงานอัลบั้ม “City Of Evil” (2005) และอัลบั้มชื่อเดียวกับวงในปี (2007) เส้นทางกำลังไปได้สวย แต่แล้วพวกเขาก็ต้องมาเจอเรื่องไม่คาดฝัน เมื่อ The Rev หรือ “James Owen Sullivan” มือกลองมากฝีมือของวงต้องเสียชีวิตจากอาการโอเวอร์โดสเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2009 ทำให้ทางวงต้องไปดึงตัว Mike Portnoy มือกลองของวง Dream Theater มาช่วยทำหน้าที่แทนชั่วคราว