‘ญี่ปุ่น’ คือดินแดนแห่งความแตกต่าง พวกเขาล้วนมีเรื่องเล่าที่เป็นเอกลักษณ์ มีทั้งเรื่องน่าชื่นชมยินดี มีทั้งเรื่องสลดหดหู่ชวนประณาม ทุกอย่างเปลี่ยนผ่านไปตามค่านิยมของสังคม อะไรถูก อะไรผิด ช่วงเวลาที่แตกต่างจะเป็นผู้กำหนดแล้วให้สังคมตัดสินว่าสิ่งเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้องกันแน่ แม้ปัจจุบันแทบทุกประเทศมักสอนลูกหลานให้ดูแลพ่อแม่เมื่อพวกเขาแก่ตัวลง ทว่าช่วงเวลาหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกลับมีเรื่องเล่าถึงการทิ้งเหล่าผู้ชราไว้กลางป่า หรือภูเขาที่ห่างไกลชุมชน แล้วปล่อยให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายตามยถากรรม ธรรมเนียมการทิ้งคนแก่ที่ว่ามีชื่อเรียกว่า อูบะสุเตะ (Ubasute) หรือบางครั้งเพี้ยนเสียงเป็น โอบะสุเทะ (Obasute) ที่มีความหมายว่าการทิ้งคนชราหรือทิ้งบุพการี มีบันทึกบางส่วนระบุว่าอูบะสุเตะถูกเขียนขึ้นในสมัยเอโดะ เรื่องเล่าของหลายครอบครัวจะนำญาติพี่น้องวัยชราที่ร่างกายอ่อนแอขึ้นหลัง แบกเดินเข้าไปในป่าลึก บ้างก็เดินขึ้นเขาไปยังพื้นที่รกร้าง แล้วทิ้งญาติผู้นั้นไว้เดียวดายจนตาย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่อดอยากยากลำบาก และผู้ชราที่ถูกเลือกก่อนมักเป็น ‘เพศหญิง’ ชาวญี่ปุ่นบางส่วนจะเรียกอูบะสุเตะว่าเป็นวัฒนธรรมย่อย เพราะเชื่อว่าเรื่องราวการทิ้งบุพการีให้ตายกลางป่าเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ทว่านักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง พร้อมพยายามหาหลักฐานอ้างอิงว่าอูบะสุเตะเป็นเพียงเรื่องเล่า พบในบทกวีหรือนิทานพุทธศาสนาเท่านั้น ดังเช่นนิทานเรื่องหนึ่งที่เล่าถึงแม่ลูกคู่หนึ่งไว้ชวนหดหู่ใจ ‘ในส่วนลึกของภูเขา ลูกชายแบกแม่ขึ้นหลังเดินเข้าไปทิ้งในป่าตามธรรมเนียม ผู้เป็นแม่ขี่หลังลูกคอยหักกิ่งไม้ที่แขนเธอเอื้อมถึงตลอดทาง ด้วยเป็นห่วงเวลาขากลับ ลูกชายที่เธอรักจะได้ไม่หลงทาง’ อีกหนึ่งสมมติฐานเกี่ยวกับอูบะสุเตะ เล่าว่าการทิ้งพ่อแม่วัยชราเป็นเพียงแค่การเปรียบเปรยสิ่งที่ลูกหลานชาวญี่ปุ่นปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ เพื่อสอนสั่งเป็นภาพสะท้อนว่าวัยเด็กพ่อแม่อุ้มชู ดูแลจนเติบใหญ่ แต่เมื่อพ่อแม่แก่ตัวเด็ก ๆ กลับนำพวกเขาไปทิ้งไว้ให้รอความตาย เพื่อให้ตระหนักถึงประเด็นความกตัญญู เรื่องราวการทิ้งผู้สูงอายุที่เป็นตำนานบอกเล่าต่อกันมา สอดคล้องกับชื่อภูเขาอูบะสุเตะ (Ubasute-yama) ที่บางคนเรียกว่า ภูเขาคามูริกิ (Kamuriki-yama) ที่มีความสูงกว่า 4,108
หากเอ่ยถึงนักวาดการ์ตูนที่มีลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ เชื่อได้เลยว่าชื่อของ อิโนอุเอะ ทาเกฮิโกะ (Inoue Takehiko) จะต้องติดอันดับต้น ๆ แน่นอน แม้เขาจะคิดว่าตัวเองไม่สามารถถูกเรียกว่าเป็นศิลปินได้ แต่ผลงานทั้งหมดได้การันตีแล้วว่าทาเกฮิโกะคือหนึ่งในตำนานนักวาดการ์ตูนที่ขึ้นหิ้งไปเสียแล้ว แต่ถึงเขาจะกลายเป็นหนึ่งในปรมาจารย์ แต่ชายคนนี้ก็ต้องประสบปัญหากับตัวเองที่ต้องทบทวนว่าเขาจะสามารถก้าวเดินต่อในเส้นทางนี้ได้หรือไม่ อิโนอุเอะ ทาเกฮิโกะ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม 1967 เป็นเด็กผู้ชายธรรมดาคนหนึ่งที่รู้สึกว่าตัวเองชอบวาดรูป พอได้เรียนวาดรูปจริง ๆ จัง ๆ ทาเกฮิโกะกลับเคยคิดว่าแม้จะชอบวาดรูป แต่เขาอาจไปไม่ถึงขั้นศิลปิน จึงจำต้องเบนสายมาเรียนวรรณกรรมในมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะ แม้เขาจะมองว่าตัวเองไปไม่ถึงฝัน แต่เวลาว่างก็ยังไม่ละทิ้งสิ่งที่ชอบ ซ้ำยังจับความชอบส่วนตัวมาคู่กับสิ่งที่การเรียนวรรณกรรมสอนแก่เขา ทาเกฮิโกะจึงวาดการ์ตูนส่งประกวดอยู่บ่อย ๆ และเคยอยู่ในทีมผู้ช่วยของอาจารย์โฮโจ สึคาสะ (Hojo Tsukasa) นักวาดการ์ตูนเรื่อง City Hunter ที่ทำให้เขาได้เห็นการทำงานของนักวาดการ์ตูนแบบใกล้ชิดนานเกือบหนึ่งปี การ์ตูนที่เขาซ้อมมือบ่อย ๆ เรื่อง Kaede Purple สามารถคว้ารางวัลที่จะมอบให้กับศิลปินหน้าใหม่ Tezuka Prize ไปได้เมื่อปี 1988 ถ้าจะให้พูดถึงผลงานที่ทำให้คนส่วนมากรู้จักชื่อเสียงของเขาคงหนีไม่พ้นมังงะเกี่ยวกับทีมบาสเกตบอล Slam Dunk ในปี 1990
คุณชอบดูหนังซูเปอร์ฮีโร่ไหม? แล้วถ้าชอบ คุณดูหนังฮีโร่ฝั่งมาร์เวลหรือดีซี? หรือคุณไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ชื่นชอบที่จะเห็นค่ายสร้างหนังฮีโร่แห่งยุคแข่งขันกัน เพราะผู้ชมอย่างเราก็จะได้กำไรแบบสองต่อ ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวงการฮอลลีวูดหลายยุคหลายสมัย ย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อนเรามีซูเปอร์แมนหลายภาค มีวันเดอร์วูแมนฉบับคนแสดงที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก แต่ทิศทางของความเป็นซูเปอร์ฮีโร่ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป อาจเพราะค่านิยมตามสมัย รวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้กุมบังเหียนค่าย NIHON STORIES สัปดาห์นี้จะพาผู้อ่านไปพบกับหัวหอกคนสำคัญแห่งยุคของบริษัทสร้างภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ วอร์เนอร์บราเธอส์ (Warner Bros.) หรือในนามอักษรย่อว่า WB อย่าง วอลเตอร์ ฮามะดะ (Walter Hamada) ที่ขึ้นกุมบังเหียนค่าย DC ที่อยู่ในสังกัด WB ในช่วงเวลาแสนสำคัญที่ทำให้ค่ายหนังกวาดคำชมจากกลุ่มนักดูหนังไปได้อีกครั้ง ย้อนกลับไปหลายปีก่อน ฮามาดะจะเป็นผู้ควบคุมโปรเจกต์ภาพยนตร์หนังผี New Line Cinema ในปี 2007 ค่ายหนังในเครือ WB และมีส่วนร่วมกับการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญขึ้นหิ้งหลายเรื่องทั้ง The Conjuring ที่ทำร่วมกับ เจมส์ วาน (James Wan) หรือ IT, The Gallows และ Annabelle เขาเป็นผู้บริหารและหุ้นส่วนบริษัท H2F
“เยาวชนคือความหวังของชาติ” วลีนี้ไม่ใช่การกล่าวเกินจริง แต่เป็นสิ่งที่หลายประเทศต่างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อพวกเขาคืออนาคต NIHON STORIES จึงเปิดปีใหม่ด้วยความหวัง ชวนดูการจัดอันดับอาชีพในฝันของเด็กชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศ ค้นหาว่าพวกเขาคิดอะไร วาดฝันตัวเองไว้แบบไหน และเส้นทางการเติมเต็มความฝันของพวกเขาจะเป็นไปได้หรือไม่บนเกาะแห่งนี้ เว็บไซต์ SoraNews24 เผย 5 อันดับ อาชีพที่เด็กญี่ปุ่นชั้นประถมให้ความสนใจ จากการสำรวจของสถาบันวิจัยการศึกษาแห่งชาติญี่ปุ่น ลงพื้นที่สอบถามเด็กประถมชายหญิงอย่างละ 600 คน รวม 1,200 คน เพื่อถามถึงอาชีพในฝันที่พวกเขาอยากเป็น และรวบรวมผลช่วงปลายปี 2020 ก่อนจะเผยแพร่สู่สาธารณชนในปี 2021 เพื่อให้ครัวเรือนทั่วประเทศเห็นภาพความฝันของเยาวชนที่กำลังจะเติบโตในปีนี้ อันดับ 5 (ร่วม) ครูอนุบาล ,แพทย์ หากคนที่โตขึ้นมาหน่อยตอบว่าอยากเป็นหมอ อาจมีเหตุผลเรื่องรายได้กับความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะประสบการณ์ชีวิตสอนให้เรารู้ว่าบางครั้งเงินก็จำเป็น ทว่าเด็กวัยประถมที่ยังไม่เข้าใจโลกทุนนิยมอย่างลึกซึ้ง พวกเขาส่วนมากอยากเป็นหมอเพราะมุ่งหวังจะช่วยเหลือผู้คนที่กำลังเจ็บปวด อยากรักษาเพื่อนร่วมโลก คนใกล้ตัว หรือคนที่พวกเขาแคร์ พ่วงมาด้วยความทรงจำดี ๆ ครั้งไปหาหมอเมื่อตอนไม่สบายแล้วได้ขนมลูกอมปลอบใจกลับมา ทั้งหมดก็มีส่วนส่งผลให้เด็กหลายคนอยากเป็นหมอในภายภาคหน้า อาชีพครูอนุบาลตามที่คนไทยส่วนใหญ่เคยเห็นในการ์ตูนเรื่องชินจัง หรือสื่อกระแสหลักอื่น ๆ จากญี่ปุ่น ส่งให้คนเข้าใจว่าครูอนุบาลคืออาชีพที่ดูจะมีความสุขไม่น้อย การได้เล่นกันเด็ก ๆ
‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องอัตราการฆ่าตัวตายสูงติดอันดับโลกเสมอ จนถูกนับเป็นเมืองที่มีความเครียดสูงที่สุดเมืองหนึ่งของโลกไปแล้ว ด้วยเหตุผลหลายอย่างทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ การแข่งขันทางธุรกิจ การทำงาน รวมถึงพื้นที่ที่จำกัด และค่านิยมหลายอย่างที่อาจส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เกิดความเครียด เมื่อเครียดจนไม่รู้จะทำอย่างไร คนบางส่วนจึงเลือกที่จะจบชีวิตตัวเองเพื่อปิดกั้นการรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ไปตลอดกาล การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกก็แวะเวียนไปยังญี่ปุ่นเช่นกัน ในตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้ากับการระบาดระลอกสองที่ยากจะควบคุม แม้ตอนแรกจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศจะยังไม่สูง ซ้ำผลสำรวจของสื่อแทบทุกสำนักยังระบุตรงกันว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในญี่ปุ่นช่วงแรกที่รัฐบาลต้องสั่งล็อกดาวน์ สามารถลดความเครียดของชาวญี่ปุ่นได้อย่างน่าตกใจ แต่ตอนนี้ความเครียดที่หายไปได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นจนน่าใจหาย ช่วงต้นปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นช่วงเดือนเมษายนว่าลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ๆ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมษายนคือช่วงเวลาเดียวกับที่โควิด-19 ระบาดหนัก รัฐบาลขอความร่วมมือประชาชนให้อยู่แต่ในบ้านและอย่าออกจากเคหสถานหากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ รวมถึงการปิดเทอมของเหล่านักเรียน ส่งผลให้ทุกคนได้อยู่บ้าน และมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ประชาชนญี่ปุ่นถูกสั่งให้อยู่แต่บ้าน เหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เดิมทีต้องตื่นแต่เช้าแต่งตัวออกไปทำงาน ยืนเบียดเสียดบนรถไฟ แล้วค่อยเดินกลับบ้านแบบหมดเรี่ยวหมดแรง แปรเปลี่ยนเป็นนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน หักเวลาเดินทางไป-กลับ มาเป็นเวลาที่จะได้นอนมากขึ้นกว่าเดิมสักนิดหน่อย บางคนมีครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา แม่บ้านได้นั่งคุยกับสามีและลูกที่อยู่ในช่วงปิดเทอม ส่วนเด็ก ๆ ก็ไม่ต้องออกไปเผชิญกับไวรัสที่กระจายอยู่ทั่ว สมาชิกในครอบครัวร่วมชายคาเดียวกันมีโอกาสพูดคุยมากขึ้น ทั้งหมดส่งผลให้มวลความเครียดของชาวญี่ปุ่นลดลง แต่ข่าวน่ายินดีนี้เป็นเพียงแค่ช่วงแรกของการระบาดเท่านั้น ภาพในระดับครอบครัวชนชั้นกลางจนถึงสูงทั้งในเมืองและต่างจังหวัดเป็นเพียงส่วนเล็กของสังคมใหญ่ ภาพรวมในระดับประเทศช่วงการระบาดของไวรัสไม่น่าดูเท่าไหร่นัก
หลังงานเสกสมรส เจ้าหญิงมาโกะจะเป็นเพียง ‘มาโกะ’ สามัญชนที่ไม่มีฐานันดรศักดิ์ หรือจะมีฐานันดรศักดิ์ใหม่ที่จะทำให้พระองค์ยังคงแน่นแฟ้นกับสมาชิกราชวงศ์ต่อไป? หลายปีมานี้ เราได้เห็นข่าวคราวการคบหาดูใจระหว่างเจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ พระราชนัดดาพระองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น กับ เคอิ โคมุโระ (Kei Komuro) เพื่อนร่วมชั้นครั้งยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน ทางสำนักพระราชวังอิมพีเรียลเคยประกาศในวันที่ 3 กันยายน 2017 ว่าทั้งสองจะมีการหมั้นหมายกันในวันที่ 4 มีนาคม 2018 และจะมีพิธีเสกสมรสในเดือนพฤศจิกายน แต่ภายหลังทางสำนักพระราชวังได้ประกาศอีกครั้งว่างานทั้งหมดต้องถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะถึงปี 2020 โดยให้เหตุผลว่าทั้งคู่ยังไม่พร้อมสำหรับการเสกสมรส เจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ (眞子内親王) เป็นพระธิดาพระองค์โตในมกุฎราชกุมารฟุมิฮิโตะแห่งอากิชิโนะ กับ เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ และเป็นพระราชนัดดาพระองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประถมและมัธยมจากกาคุชูอิน โรงเรียนหลวงญี่ปุ่น ต่อมาเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี สาขามรดกด้านศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน และทรงเข้าศึกษาสาขาพิพิธภัณฑ์ศึกษา มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ สหราชอาณาจักร ปัจจุบันทรงงานเป็นนักวิจัยในพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว การเลื่อนพิธีเสกสมรสไปถึง 2 ปี ทำให้เจ้าหญิงมาโกะต้องออกแถลงการณ์ขออภัยชาวญี่ปุ่นทุกคน กรณีสร้างความวุ่นวายและสร้างภาระแก่ผู้ที่คอยช่วยเหลือและตระเตรียมงาน โดยเหตุผลที่เจ้าหญิงมาโกะกล่าวต่อประชาชนคือ พระองค์อยากรอให้พิธีสละราชบัลลังก์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโกะ เปลี่ยนรัชสมัยจากเฮเซเป็นเรวะให้เสร็จสิ้นเสียก่อน ก่อนหน้านี้ทางสื่อหลายสำนักกับชาวเน็ตญี่ปุ่นไม่ปักใจเชื่อว่าการรอเปลี่ยนผ่านยุคสมัยจะเป็นเพียงเหตุผลเดียวที่ทำให้พิธีเสกสมรสถูกเลื่อนออกไป จนเกิดการตั้งกระทู้ขุดประวัติของ เคอิ โคมุโระ ว่าเป็นใครมาจากไหน
ศิลปะญี่ปุ่นถือเป็นศาสตร์และศิลป์ที่โดดเด่นหาใครเปรียบ แม้ศิลปินญี่ปุ่นจะมีลวดลายเส้นสีที่ต่างออกไป แต่พวกเขามักนำแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานมาจากเรื่องราวที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ซาเอกิ โทชิโอะ ชายผู้ถูกขนานนามว่าเจ้าพ่อแห่งวงการอีโรติกอาร์ตญี่ปุ่น (Godfather of Japanese Erotica) ก็มีมุมมองทางเพศที่สื่อออกมาเป็นศิลปะด้วยกลิ่นอายคล้ายงดงามชวนขนลุก หรือแม้กระทั่งนักวาดการ์ตูนสยองขวัญสั่นประสาทลายเส้นสุดหลอนอย่าง อิโต้ จุนจิ กับ ทากาชิ มุราคามิ ต่างก็หยิบความเจ็บช้ำและบาดแผลของชาวญี่ปุ่นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงบุคลิกซ่อนเร้นเก็บกดของชาวญี่ปุ่นมาเล่าในงานภาพในมุมมองที่ไม่ซ้ำกัน ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงศิลปะญี่ปุ่น ผู้คนส่วนใหญ่อาจตอบชื่อศิลปินญี่ปุ่นที่นึกถึงเป็นชื่อแรกไม่ตรงกัน แต่ถ้าถามลึกลงไปอีกสักหน่อยว่า ‘อีโรติกอาร์ต’ ชื่อศิลปินที่ถูกพูดถึงก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ และถ้าเจาะลึกยิ่งกว่าลงไปอีกด้วยคำคีย์เวิร์ดที่ว่า ‘ภาพพิมพ์’ ‘เซ็กซ์’ ‘หญิงสาว’ และ ‘หมึก’ ภาพที่ทั้งชายและหญิงจะนึกออกก็คงหนีไม่พ้นภาพที่มีชื่อว่า ‘The Dream of the Fisherman’s Wife’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘ความฝันของเมียชาวประมง’ ของศิลปินระดับตำนานอย่าง คัตสึชิกะ โฮกุไซ กันอย่างแน่นอน คัตสึชิกะ โฮกุไซ (Katsushika Hokusai) เป็นศิลปินระดับตำนานของยุคเอโดะ ช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ทางเรื่องเพศของญี่ปุ่น ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยม บ้านเมืองสงบสุขติดกันหลายปี
“กูอยากแต่งตัวแต่งบ้านแบบมินิมัลว่ะ แล้วไม่ใช่มินิมัลแบบธรรมดาด้วยนะ กูจะแต่งมินิมัลแบบญี่ปุ่น” วลีนี้คือสิ่งที่พวกเราชาว UNLOCKMEN เคยได้ยินมากกว่าหนึ่งครั้ง เวลาพูดถึงแฟชั่นแบบมินิมัล (Minimal) ไปจนถึงการแต่งบ้านสไตล์มินิมัล ชาติแรกที่คนส่วนใหญ่จะต้องนึกถึงความมินิมัลมักเป็นประเทศญี่ปุ่นเสมอ จนพานให้พวกเราสงสัยว่า ไอ้หนุ่มที่บอกว่าอยากแต่งตัวแต่งบ้านมินิมัลสไตล์ญี่ปุ่น มันเป็นมินิมัลแบบเดียวกับที่คนอื่น ๆ เข้าใจหรือไม่ แล้วที่มาของการทำให้คนญี่ปุ่นกลายเป็นต้นแบบของความเรียบโก้ มันเริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่กันแน่ มินิมัล หรือ มินิมัลลิสม์ (Minimalism) ในแง่ของศิลปะคือสุนทรียศาสตร์ที่ว่าด้วยความเรียบง่าย เกิดขึ้นโดยบางกลุ่มบางคนในช่วงยุค 50-60s ที่เบื่อกับศิลปะสไตล์ Abstract แบบสุด ๆ รู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่านกับความยุ่งเหยิงฉูดฉาดเต็มไปด้วยสีสันจนไม่รู้จะโฟกัสตรงไหนก่อน (บางคนคิดแบบนี้จริง ๆ) จนทำให้พวกเขาต้องผลิตผลงานหรือบางสิ่งที่สบายตามากกว่าออกมาเสพกันเอง บางคนนำความเรียบง่ายมาจากจิตรกรรมนามธรรมแบบเรขาคณิต มุ่งหน้าเข้าหาความเรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติมากขึ้น และตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปเสีย แต่หากพูดถึงมินิมัลในแง่ของแฟชั่น ดีไซน์ หรือการตกแต่งบ้าน สิ่งที่คนไทยจะคุ้นเคยคือมินิมัลแบบญี่ปุ่น อาจเป็นเพราะประเทศไทยอยู่ในทวีปเดียวกับญี่ปุ่น มีความใกล้ชิดรู้จักกับมินิมัลญี่ปุ่นมากกว่ามินิมัลแบบอื่น ๆ และนอกจากญี่ปุ่นที่คนไทยส่วนใหญ่นึกถึง อีกที่ที่หนีไม่พ้นคือความเรียบง่ายแบบสแกนดิเนเวีย ชาวมินิมัลทุกโลกต่างให้ความสำคัญกับวัตถุดิบไม่น้อยไปกว่าสไตล์ พวกเขาจะพยายามเลือกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่สะอาดตา มีกรรมวิธีสร้างที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ปราศจากการปรุงต่างมากจนเกินไป ย้อนกลับไปยังช่วงเวลาที่พุทธศาสนานิกาย ‘เซน’ ได้รับความนิยมนับถือโดยชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก ใจความสำคัญของนิกายเซนคือการปลูกฝังให้ผู้คนเห็นความสำคัญถึงความเรียบง่าย สามารถนำตัวเองอยู่ร่วมกับธรรมชาติมากกว่าวัตถุ
‘แม้ยากูซ่าคือกลุ่มคนที่มีจำนวนไม่น้อยในสังคมญี่ปุ่น แต่คนญี่ปุ่นที่มีอาการฮิคิโคโมริ มีมากกว่ายากูซ่าถึง 10 เท่า’ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม (Hikikomori Syndrome) หมายถึง ชื่อที่นิยามถึงบุคคลผู้ปฏิเสธการเข้าสังคม เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปใช้ชีวิต ไม่ไปโรงเรียน ไม่ไปทำงาน บางคนจะไม่สุงสิงกับคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว บางคนหนักข้อถึงขั้นไม่คุยกับใครเลยแม้กระทั่งพ่อแม่พี่น้อง โดยระยะเวลาการตัดขาดที่จะทำให้ถูกนับว่าเป็นฮิคิโคโมริจะเริ่มต้นจาก 6 เดือน จนถึงตลอดชีวิต ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขคาดว่าทั่วประเทศญี่ปุ่น มีคนเป็นฮิริโคโมริมากถึง 1.15 ล้านคน ถือว่าเป็นจำนวนที่มากจนรัฐบาลต้องกลับมาถามตัวเองซ้ำ ๆ ว่า ความผิดพลาดอะไรที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นนับล้านเลือกปิดกั้นตัวเองออกจากผู้คน ตัวเลข 1.15 ล้านคน คือจำนวนคร่าว ๆ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ ทว่า จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องคิโคโมริ ซินโดรม มองว่า ตัวเลขดังกล่าวคือเสี้ยวเดียวของชาวญี่ปุ่นที่กำลังเผชิญกับอาการนี้ โดยเขาคิดว่าน่าจะมีคนญี่ปุ่นกว่า 2 ล้านคนที่ประสบอาการดังกล่าว และตัวเลขนี้จะพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี จนถึงหลักสิบล้านคน จุดเริ่มต้นของการเกิดอาการฮิคิโคโมริมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ละคนก็มีเรื่องราวต่างกันออกไปโดยเฉพาะกับความผิดหวังขั้นรุนแรง เด็กบางคนตัดสินใจเลือกเก็บตัวอยู่แต่ในห้องเพราะผลคะแนนสอบไม่เป็นอย่างหวัง บางคนผิดหวังเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสะเทือนใจจากการถูกเพื่อนร่วมชั้นรังแก ผู้ใหญ่ที่ตกงานมาเป็นเวลานานบางคนอาจรู้สึกหมดกำลังใจจะใช้ชีวิตต่อ หมดกำลังใจ รู้สึกด้อยค่าในตัวเอง
ซามูไรคือกลุ่มนักรบที่ถูกยกย่องพูดถึงต่อชาวญี่ปุ่นเสมอ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเมื่อไหร่เรื่องราวของพวกเขาจะถูกหยิบมาเล่าหรือพูดถึงในวงสนทนาเสมอ แถม UNLOCKMEN ยังได้หยิบยกเรื่องราวของเหล่าซามูไรในหน้าประวัติศาสตร์มาเล่าอยู่บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น มิยาโมโตะ มูซาชิ , ซามูไรคนสุดท้ายผู้ยิ่งใหญ่ ไซโง ทากาโมริ , มังกรตาเดียว ดาเตะ มาซามูเนะ หรือเรื่องราวของ ซามูไรหญิง โทโมะเอะ โกเซ็น เราก็ได้เล่ามาหมดแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยมีโอกาสได้พูดถึง ซามูไรนักปฏิวัติผู้ล้มล้างอำนาจของโชกุนอย่าง ซากาโมโตะ เรียวมะ เลยสักครั้งจนกระทั่งวันนี้ ซากาโมโตะ เรียวมะ (Sakamoto Ryoma) คือชายที่ถูกคนญี่ปุ่นพูดถึงมากในปี 2010 เมื่อนิตยสาร Japan Time ทำผลสำรวจวัยรุ่นทั้งชายหญิงว่า ‘อยากมีผู้นำที่เหมือนกับบุคคลใดในประวัติศาสตร์’ ซึ่งวัยรุ่นส่วนใหญ่ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากจะมีผู้นำหรือนักการเมืองแบบเรียวมะ ซามูไรที่มีตัวตนจริงช่วงปลายยุคเอโดะ ผู้ใช้ชีวิตโลดโผนและมุ่งมั่นทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ เรียวมะเกิดในปี 1816 แถบจังหวัดโคจิในปัจจุบัน เป็นบุตรชายคนโตจากตระกูลค้าขายสาเกที่ได้ตกลงของซื้อศักดินาเป็นซามูไร การตกลงซื้อขายศักดินาทำให้ครอบครัวซากาโมโตะถือเป็นซามูไรชั้นปลายแถว ไม่มีบทบาทต่อสังคมและการเมืองในระดับใหญ่มากนัก วัยเด็กของเรียวมะค่อนข้างน่าอดสู เขาเป็นเด็กผู้ชายตัวเล็ก ขี้แย ที่มักถูกเพื่อน ๆ แถวบ้านรังแกอยู่บ่อยครั้ง พี่สาวของเขาจึงบอกกับที่บ้านให้ส่งเรียวมะไปฝึกฝนอยู่ในสำนักดาบแทน พอได้จับดาบ