การทำงานเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องพบเจอกันเป็นปกติ และก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งตาคอยวันหยุดช่วงเทศกาลต่าง ๆ รวมถึงวันลาพักร้อนของตัวเองด้วย แต่ดันผลสำรวจที่น่าตกใจว่าคนไทยลางานน้อยติดอันดับและยกเลิกทริปเที่ยวเป็นอันดับหนึ่งของโลก เหตุการณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ? คนไทยบ้างานหรือว่ามีเหตุผลอื่นที่ทำให้เราไม่อยากลาไปเที่ยว เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปีสำหรับเว็บไซต์ Expedia ที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ทั้งโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน แพ็เกจเที่ยวบินและโรงแรม เช่ารถและกิจกรรมท่องเที่ยว จัดสำรวจพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวพนักงานประจำทั่วโลกซึ่งปีนี้พบว่า คนกลุ่มนี้รู้สึกไม่อยากลาพักร้อนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ ถึง 53% โดยมีสาเหตุหลักคือเรื่องงานที่ติดพันจนหาเวลาไปเที่ยวไม่ได้ รวมถึงปริมาณงานจำนวนมหาศาลที่รอต้อนรับเราหลังจากจบทริปที่ทำให้พอนึกถึงก็ยิ่งทำให้ไม่อยากลา รวมถึงเผยสถิติน่าตกใจว่าไทยติดอันดับ 7 ประเทศที่ลาพักร้อนน้อยที่สุดในโลก นอกจากผลสำรวจการใช้วันลาแล้วทาง Expedia ยังสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการเที่ยวของมนุษย์เงินเดือนปี 2018 ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวไทยมักเลื่อนการจองที่พักหรือยกเลิกทริปกลางคันสูงถึง 75% ด้วยสาเหตุติดงาน มีงานเข้ากะทันหันที่ลาไม่ได้จริง ๆ และด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่อันดับหนึ่งของโลกด้านการเททริป ส่วนอันดับสองที่บ้างานจนต้องยกเลิกทริปเที่ยวรองจากไทยคือยูเออี ตามมาด้วยอินเดีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกงตามลำดับ วลีที่ว่า “คนไทยเป็นคนขี้กังวลและคิดเยอะ” ถือว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริง เพราะวันลาพักร้อนของคนไทยเฉลี่ยที่ 10 วันต่อปี แต่ส่วนใหญ่มักใช้วันลาพักร้อน 8 วัน จากทั้งหมด 10 วัน ด้วยเหตุผลว่าเผื่อวันลาเอาไว้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รวมถึงเหตุผลเรื่องงานรัดตัวที่ทำให้หาวันลาดี ๆ
“ฉันรู้สึกเหมือนเป็นนางเงือก ร่างชี้ว่าเป็นชายแต่จิตวิญญาณคือหญิงสาว ฉันเหมือนดอกไม้ ดอกไม้ที่สร้างขึ้นจากกระดาษ แม้รับความรักท่วมท้นจากภายนอกเมื่อมองมา แต่ไม่ได้อาจสัมผัสความรู้สึกนี้จากการแตะต้องและดอมดม” Heena, 51, ธากา, บังกลาเทศ, 2012 Hijra (ฮิจรา) คือกลุ่มคนที่มีเพศสภาพที่แตกต่างจากเพศสถานะภายใน ใช้สำหรับเรียกเพศที่สามที่กายเป็นชายแต่ใจเป็นหญิงและดำเนินชีวิตแบบหญิงสาว คำศัพท์ที่ชี้หน้าและตีตราความรู้สึกของบทบาทความเป็นชายหญิงและความ “เป็นอื่น” ทางสังคม ถ้าพูดในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว “ฮิจรา” ปรากฏหลักฐานมายาวนาน นานพอจะเชื่อว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม แต่ค่านิยมแง่ลบไม่ได้หายไปพร้อมกาลเวลา เหลือเป็นคราบติดแน่นฝังไว้ถึงวันนี้แม้รัฐบาลบังกลาเทศจะออกกฎหมายแสดงการรับรองสิทธิทางเพศมา 5 ปีแล้วก็ตาม การใช้ชีวิตต้องสาปด้วยคำสาป บางคนสงสัยว่าสถานะต้องสาปที่ผู้คนไม่อยากเข้าใกล้นี้จะใช้ชีวิตอย่างไร คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการหางานเพราะไม่มีใครยอมรับ หรือสิทธิพลเมืองอื่น ๆ ที่ถูกริดรอนไป สิ่งที่พิทักษ์ฮิจราไว้คือระบบความเชื่อบางอย่างของสังคมที่ฝังมายาวนาน ว่าเพศที่สามอย่างพวกเธอคือผู้มีอำนาจพิเศษจากการบูชาพระแม่พหุชระหรือมาตากี ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระแม่อุมา ทำให้สามารถสาปแช่งหรือให้พรได้ ดังนั้น วาจาศักดิ์สิทธิ์นี้จึงกลายเป็นเครื่องมือทำกินที่ทำให้ฮิจราสามารถรับเงินมาได้จากการอวยพรเด็กแรกเกิดที่ครอบครัวต่าง ๆ เชิญไป และเป็นอาวุธปกป้องตัวเองจากผู้ไม่ประสงค์ดีด้วยการสาปแช่งผู้คน ซึ่งเชื่อกันว่าใครได้รับคำบริภาษนั้นไปจะต้องโชคร้าย เงือกที่ไม่อาจเป็นมนุษย์ ดอกไม้เทียมที่ไม่อาจเป็นดอกไม้จริง คือความเจ็บปวดที่ฮิจราชาวบังกลาเทศต้องยอมรับ จิตวิญญาณที่ขัดแย้งกับเปลือกที่รับมาทำให้พวกเธอต้องกลายเป็นคนไร้ราก หอบชีวิตออกจากแผ่นดินเกิดคนแล้วคนเล่า ถูกทอดทิ้งจากความสัมพันธ์เบื้องหลังทุกรูปแบบเพื่อย้ายไปยังอินเดีย สถานที่ที่พวกเธอยังคงได้รับการดูหมิ่นดูแคลนไม่แพ้กันแต่ระดับความเลวร้ายต่ำกว่า ทว่าในความมืดมิดอ้างว้างก็แทนที่ได้ด้วยความสัมพันธ์เหนียวแน่นระหว่างฮิจราด้วยกัน ดังนั้น ถ้าเราไปพบพวกเธอเป็นกลุ่มใหญ่ นั่นคือครอบครัวใหม่ของพวกเธอ Sharhia Sharmin