เคยไหมครับ ฟังเพลงแล้วรู้สึกว่า “เพลงรักเพลงนี้ช่างตรงกับใจเราจริง ๆ” ถึงเรากับผู้แต่งจะไม่ได้รู้จักหรือมีความเกี่ยวข้องกันมาก่อน แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง เหมือนกัน ไม่แปลกที่บางครั้งเราจะรู้สึกราวกับมีประสบการณ์ความรักร่วมกับศิลปินอย่างไรอย่างนั้น แต่ขอบเขตความสงสัยของมนุษย์มันไม่มีที่สิ้นสุดหรอกครับ หากคุณเป็นคอเพลงคนหนึ่งที่ชอบแอบคิดว่า เบื้องหลังเพลงรักสาธารณะเหล่านี้ศิลปินเขาแต่งให้ใคร? หรือเพลงนี้ฟังแล้วโคตรเจ็บน้ำตาจะไหล คนแต่เขาโดนใครหักอกมา? วันนี้เราเลยจะหยิบบางเรื่องราวจากเพลงเหล่านั้น ที่เป็นดั่ง ‘อนุสรณ์ความรัก’ ของศิลปิน มาตีแผ่ให้ชาว UNLOCKMEN ฟัง The Prettiest Star – David Bowie จริงอยู่ที่ภรรยาของ David Bowie ผู้คงสถานะไว้จนวันสุดท้ายของชีวิตเขาคือคุณ Iman Abdulmajid นางแบบสาวผิวสีแถวหน้าของโลก แต่หากย้อนไปปี 1970 ผู้หญิงคนแรกที่ร็อกสตาร์แต่งงานด้วยคือ Angela Barnett หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อของ Angie Bowie ภรรยาผู้ให้กำเนิด Duncan Jones ลูกชายคนแรกของ Bowie ถึงแม้จะมีปัญหาระหองระแหงมากมายจนสุดท้ายต้องเลิกรากันไป แต่เพลง Prettiest Star ก็เป็นเพลงที่ Bowie
จากคราวที่แล้วที่ UNLOCKMEN ได้แนะนำ “5 หนังสารคดีนักดนตรี สำหรับคอเพลงที่ชอบเสพความเป็นตำนาน” กันไปแล้ว รอบนี้ก็ถึงคิวของสาวกฮิปฮอปและสายตื๊ดกันบ้าง! โลกของดนตรีมันกว้างใหญ่ไพศาล ใช่ว่าจะมีแต่วงร็อกหรือป๊อปสตาร์นี่ครับที่จะมีชีวประวัติน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ฮิปฮอปเองก็เข้มข้น รวมถึงการทำงานของคนเบื้องหลังอย่างเหล่าโปรดิวเซอร์ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจไม่แพ้กัน แต่ก็อย่างที่เราได้เคยเตือนไป สารคดีใน Netflix บางเรื่อง หากไม่ใช่ Original Content ของเขาก็อาจจะถูกถอดจากผังไป (แบบที่เราไม่รู้กำหนดการ) ฉะนั้นถ้าหนึ่งในห้าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณสนใจ แต่ดันไม่ใช่สิ่งที่ Netflix สร้าง อาจจะต้องรีบดูก่อนไม่มีให้ดูนะครับ ว่าแต่วันนี้จะมีเรื่องอะไรบ้าง เรามาดูกัน Rapture Rapture เป็นสารคดีของ Netflix มีทั้งหมดถึง 8 ตอนด้วยกัน (ไม่ถูกถอดออกแน่นอนครับ) แต่ละตอนจะพาไปพูดคุยเจาะลึกมุมมองและทัศนคติของแรปเปอร์ชื่อดังแต่ละคน (1 คนต่อ 1 ตอน) มีทั้ง Logic, G-Eazy, 2 Chainz, T.I., Nas & Dave East, A Boogie With Da
ถ้าพูดถึงศิลปินต่างประเทศที่โด่งดังและได้ยินเพลงของเขาตามวิทยุอยู่บ่อย ๆ ในตอนนี้คงหนีไม่พ้นผลงานของหนุ่มมาดเซอร์ไม่เหมือนใครอย่าง Post Malone หรือแม้แต่ใครที่ไม่ได้ติดตามเพลงฝั่งตะวันตกต้องเคยเห็นหน้าของเขาสักครั้ง ชายหนุ่มหัวฟูมีรอยสักเต็มหน้าคงจะเป็นคาแรกเตอร์ที่ผู้คนจำแม่นอย่างแน่นอน ในวันนี้ UNLOCKMEN จะไม่ได้มาพูดถึงความโด่งดังกับความสำเร็จในวงการเพลงของนักร้องหนุ่ม แต่จะสำรวจสไตล์ แฟชั่นและการแต่งตัวเขา เพื่อดูว่าแต่ละสถานการณ์เขาสวมใส่อะไรและมันจะสนุก หรือมันส์แค่ไหน EVERYDAY LOOK by POST MALONE ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำเพลงเท่านั้นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจกับหนุ่ม Post Malone แต่ผู้คนยังให้ความสนใจเกี่ยวกับแฟชั่นและการแต่งตัวของเขาอีกด้วย หลายคนใคร่รู้ว่าศิลปินมากความสามารถคนนี้จะแต่งตัวอย่างไรในวันธรรมดาที่ออกไปเดินเล่นพบปะเพื่อนฝูง การแต่งตัวของศิลปินคนนี้ค่อนข้างหลากหลาย บางวันเขาคุมโทนความเรียบง่ายดูดีด้วยการแต่งการกึ่งวินเทจ-ฮิปฮอป ด้วยเสื้อคอเต่าสีดำกับเสื้อแจ็กเกตแขนยาว หรือวันสบาย ๆ อย่างเสื้อแขนสั้นแบบหลวม ๆ เข้าคู่กับกางเกงขายาวสีน้ำตาลและไม่ลืมคาดเข็มขัด กับหาหมวกแก๊ปสักใบเข้ากับชุด การแต่งตัวแม้มองเผิน ๆ ไม่มีลูกเล่นอะไรมากของเขาก็เท่และดูดีมากจริง ๆ ในวันที่เบื่อการคุมโทนสีขาวดำคูล ๆ Post Malone จะเล่นสนุกกับแฟชั่นของเขาด้วยการเลือกเสื้อผ้าสีสันสดใสมาแมตช์กับการแต่งตัว หากใครที่ติดตาม Instagram ของชายคนนี้จะเห็นว่าเขาสวมใส่เสื้อแทบจะทุกสีจริง ๆ ไม่ว่าจะแดง น้ำเงิน เหลือง ม่วง ชมพู เขียว ส้ม ขอเพียงมันเป็นสีที่เขาอยากจะใส่เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
จบไปแล้วเป็นที่เรียบร้อยสำหรับรางวัลอันทรงเกียรติที่จัดเป็นประจำทุกปีอย่าง Grammy Awards โดยปี 2020 นี้ก็เข้าสู่ปีที่ 62 เป็นที่เรียบร้อย และหลังจากประกาศรายชื่อผู้ชนะออกมาครบทุกสาขา กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในอินเทอร์เน็ตก็เข้มข้นเลยทีเดียว ซึ่งก็ถือว่าเป็นปกติ (อย่างที่เป็นอยู่ทุกปี) จะให้ UNLOCKMEN ไปชี้ว่าใครเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เกรงว่าทางเราจะไม่มีคุณวุฒิมากพอ ความน่าสนใจในปีนี้คือการที่ Grammy เริ่มเปิดโอกาสให้มีศิลปินหญิงเข้าชิงเยอะขึ้น รวมไปถึงมีศิลปินหน้าใหม่ ๆ ที่ไม่เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงมาก่อนได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะถูกใจหรือไม่ถูกใจใคร เรามาดูกันดีกว่าว่า 7 อัลบั้มคุณภาพที่สามารถคว้ารางวัลไปครองในปีนี้มีอะไรบ้าง เผื่อใครยังไม่เคยฟัง จะได้ทำความรู้จัก และตัดสินด้วยตัวคุณเอง When We All Fall Asleep, Where Do We Go? – Billie Eilish Best Pop Vocal Album, Album Of The Year เธอคือหนึ่งในศิลปินตัวเต็งของปีนี้ที่ทำให้ชาวเน็ตถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้นมาตั้งแต่ก่อนวันงาน เหตุเพราะเป็นศิลปินหน้าใหม่ที่มีจำนวนชื่อเข้าชิงในหลากหลายสาขามากเป็นประวัติการณ์ และในที่สุดสาวน้อยชาวอเมริกัน วัย 18 ปีคนนี้สามารถคว้าไปได้ถึง
จะเดินจะเหินไปที่ใดก็ไม่ได้หายใจเต็มปอด เพราะตอนนี้ฝุ่น PM 2.5 ได้กลับมายึดครองบ้านเมืองเราอีกครั้ง หลาย ๆ คนที่ยังไม่ได้ซื้อเครื่องกรองอากาศก็อยากให้พิจารณากันอีกครั้ง ถึงราคาจะสูงหน่อย แต่เพื่อสุขภาพที่ดีมีติดบ้านไว้สักเครื่องก็เพื่อตัวคุณเองนะครับ แต่หากกล่าวถึงคำว่า ‘ฝุ่น’ ในโลกดนตรี เราค้นพบว่ามีศิลปินหลายคนทีเดียวที่นำคำ ๆ นี้มาเขียนในเพลง เนื่องด้วยมันเป็นสิ่งใกล้ตัวไม่ต่างกับสายลมแสงแดด แถมยังเป็นตัวร้ายของมวลมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ฝุ่นจึงถูกนำมาตีความแตกต่างกันไป อย่างไทยเราก็มีทั้งเพลง ฝุ่น ของ Big Ass หรือ ทางของฝุ่น ของอะตอม ชนกันต์ WEEKLY PLAYLIST สัปดาห์นี้ เราจึงรวบรวมเพลงสากลเกี่ยวกับฝุ่นที่น่าสนใจมาให้คุณได้ลองฟังกันบ้าง Cities in Dust – Siouxsie And The Banshee Siouxsie And The Banshees เจ้าแม่ Goth-Rock ยุค 70-80 ก็มีเพลงที่ชื่อว่า Cities Of Dust แปลเป็นไทยก็คือ ‘นครแห่งฝุ่น’ (กรุงเทพฯ ยุคปัจจุบันหรือเปล่าเนี่ย)
หากคุณเป็นหนึ่งในสมาคมชาว Netflix ที่ใช้งานมาสักพักแล้ว คงจะทราบว่า ซีรีส์ หนัง หรือแม้กระทั่งสารคดีบางเรื่องที่ไม่ใช่ Original Content ของเขาเอง จะหมุนเวียนการฉาย ไม่ได้มีให้ดูตลอดไป ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ แต่ก็มีข้อเสีย เพราะอาจทำให้เราพลาดอะไรดี ๆ ไป แถมทาง Official เองก็ไม่ได้โปรโมตทุกเรื่อง วันนี้ UNLOCLMEN ขอเอาใจคอเพลงโดยเฉพาะ แนะนำ 5 สารคดีนักดนตรีน่าสนใจจาก NETFLIX ที่มีให้รับชมอยู่ในช่วงนี้ การันตีเลยว่ายกมาแต่ระดับตำนานเท่านั้น แต่เราก็ไม่รู้ว่าจะถูกถอดออกจากแพลตฟอร์มไปเมื่อไหร่ ฉะนั้นถ้ามีเวลาก็อาจจะต้องรีบเสพรีบดูกันสักนิดนะครับ How the Beatles Changed the World วงระดับ The Beatles มีสารคดีให้รับชมไม่รู้กี่ตัว ไหนจะหนัง Biopic หรือหนังที่อ้างอิงถึงอีกมากมาย แต่สารคดี How the Beatles Changed the World นี้ จะเล่าในมุมมองการเกิดขึ้นและมีอยู่ของ The Beatles
ย้อนเวลาไปปี ค.ศ. 1969 ก่อนที่ชาวอเมริกันจะรู้จักกับคำว่าพังก์และคลื่นวิทยุต่าง ๆ ยังเปิดแต่เพลงบลูส์ร็อกไปทั่วบ้านทั่วเมือง ชายคนหนึ่งนามว่า Hilly Kristal ได้เช่าพื้นที่ด้านล่างโรงแรมราคาถูกในซอกหลืบหนึ่งของ Manhattan (ซึ่งเป็น Flophouse ลักษณะคล้าย Hostel ที่ต้องนอนรวมกัน แต่ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใด ๆ แถมเก็บค่าที่พักเพียง $6 ดอลลาร์ต่อเดือน) เปิดบาร์เล็ก ๆ ของตัวเองที่ชื่อว่า Hilly’s On The Bowery ณ บ้านเลขที่ 315 ถนน Bowery ด้วยจุดมุ่งหมายว่าจะให้ร้านแห่งนี้เป็น Biker Bar สำหรับสิงห์นักบิด และเป็นบาร์ท้องถิ่นเล็ก ๆ ที่เป็นดั่งมิตรสหายของผู้คนในย่าน แต่ด้วยความรักที่เขามีต่อเสียงเพลงและเล็งเห็นลู่ทางบางอย่างที่จะทำให้ขยับขยายธุรกิจของตัวเอง ในปี 1973 Hilly จึงตัดสินใจเปลี่ยนโฉมคลับเดิมของเขา อีกทั้งยังเปลี่ยนชื่อจาก Hilly’s On The Bowery เป็น CBGB ซึ่งย่อมาจาก Country, Bluegrass and Blues
เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่อง Bohemian Rhapsody ปลุกกระแสให้ตำนานไม่มีวันตายอย่างวง Queen กลับเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูอีกครั้ง เรื่องความเจ๋งของเขาเราไม่เถียง เพราะพวกเขาเป็นวง Glam Rock ระดับตำนานที่ไม่มีใครมาล้มล้างได้ แต่ก็ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าหนังเรื่องนี้มีส่วนทำให้วงกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง แถมยังขยายฐานแฟนเพลงเด็กรุ่นใหม่มากมาย แม้สมาชิกในวงจะอายุรุ่นราวคราวปู่ ล่าสุดก็มีเรื่องราวดี ๆ เกิดขึ้นอีกแล้ว เมื่อโรงกษาปณ์ The Royal Mint แห่งสหราชอาณาจักรประกาศคอลเลกชันใหม่เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ความยิ่งใหญ่ของวง โดยเป็นชุดแรกของคอลเลกชันในหมวด ‘Music Legends’ ซึ่งวงแรกที่ได้รับเกียรตินั้นจะเป็นใครไม่ได้นอกจากพวกเขาวง Queen แน่นอนว่าเหรียญระดับพรีเมียมแบบนี้ไม่ได้มาแค่ชิ้นเดียว แต่ผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบให้คุณเลือกสรร (ถ้ากำลังทรัพย์ของคุณมากพอ) แบบธรรมดาราคา 13 ปอนด์ (ราว 514 บาท) แบบมีซองรูปวง Queen ราคา 15 ปอนด์ มีทั้งแบบธรรมดาและแบบ Limited Edition ผลิตแค่ 25,000 ชิ้น (ราว 593 บาท)
มวลมหาดราม่ากับวงดนตรีมีชื่อเสียงนั้นเรียกได้ว่าเป็นของคู่กัน ยิ่งวงอินดี้รุ่นใหม่ที่มีฟรอนต์แมนฝีปากกล้าอย่าง THE 1975 พวกเขาผ่านดราม่ามามากจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียวในรอบปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ออกไปให้สัมภาษณ์อะไรสุ่มเสี่ยงที่รายการไหน อย่างไรก็ไม่รอดอยู่ดี ล่าสุดก็เป็นเรื่องเป็นราวอีกแล้ว เมื่อศิลปินหนุ่ม Lauv (เจ้าของเพลงฮิต I Like Me Better, Paris In The Rain) ปล่อยมิวสิควิดีโอตัวใหม่ล่าสุด Tattoos Together ออกมา ซึ่งก็ดูเฮฮาน่ารักดี แต่บรรดาแฟนคลับนี่สิ ดันปั่นกันไปใหญ่โตว่ามันเหมือนมิวสิควิดีโอเพลง Sincerity Is Scary ของ THE 1975 ซะงั้น อันที่จริงมันก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากการเดินไปเต้นไป มีผู้คนตามถนนมาเต้นด้วยเยอะ ๆ เพียงแต่สถานที่ตรงฉากหลังมันก็ดูไปในทิศทางเดียวกันจริง ๆ ซึ่งตัว Lauv เองพอรู้ข่าวก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ รีบส่งข้อความไปขอโทษขอโพย Matt Healy ฟรอนต์แมน The 1975 เพื่อแก้ไขสถานการณ์ จากนั้นก็นำข้อความที่คุยกันนั้นมาโพสต์ทางทวิตเตอร์วันที่ 17 มกราคม เพื่อยืนยันว่าเขาทั้งคู่ได้ปรับความเข้าใจกันแล้วเรียบร้อย
หลังจากคราวก่อนที่ WEEKLY PLAYLIST ได้รวบรวม “10 บทเพลงเบสหนึบ ตึ้บในหู” กันไป ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากคอเพลงชาว UNLOCKMEN อย่างเป็นที่น่าพึงพอใจเลยทีเดียว ครั้งนี้เราจะไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะได้ถอยภาคต่อรอเสิร์ฟแขกผู้มีใจรักเสียงเพลงทุกท่านกันแล้วเรียบร้อย พูดถึงเบสกันไปแล้ว ก็ถึงคราวของขุนพลแห่งจังหวะอย่าง ‘กลอง’ กันบ้าง มาดูกันว่าจะมี 10 เพลงกลองเด็ดเจ็ดย่านน้ำจากศิลปินท่านใดบ้างที่นิตยสารดนตรีทั้งหลายเขายกย่องว่าเนี่ยแหละกองเทพ! เผื่อจะมีบางเพลงที่ยังไม่เคยฟังหรือไม่เคยสังเกตมาก่อนว่าเทพมากขนาดนี้ งานนี้ชาวร็อกที่รักการ Headbang เตรียมคอเคล็ดกันได้เลย My Generation – The Who My Generation ของวงร็อกอังกฤษยุค 60 อย่าง The Who เป็นหนึ่งในเพลงที่ติดโผของสื่อหลายเจ้า และอยู่สูงเป็นอันดับ 6 ของเว็บไซต์ ultimate classic rock เลยทีเดียว ไอ้ที่เขาชื่นชมกันว่าดี มันไม่ใช่ว่าจะต้องหวดหนักจนหน้ากลองยุบ แต่ลองคิดดูนะครับว่าโลกเราในปี 60 นั้น ดนตรีเมทัลยังไม่ถือกำเนิดเลยด้วยซ้ำ แต่ Keith Moon กลับมีความกล้าที่จะออกแบบจังหวะกลองบ้าดีเดือดแหกคอกวงดนตรีผู้ดีอังกฤษคนอื่น ๆ ในยุคนั้น
หากกล่าวถึงวัฒนธรรม Punk (พังก์) เชื่อว่าสิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงจะเป็นแฟชั่นที่จัดจ้าน เพลงร็อกรุนแรงบาดหู และแนวคิดหัวขบถต่อต้านสังคม เพราะวัฒนธรรมย่อยประเภทนี้เกิดขึ้นเพื่อปลดแอกวิถีชีวิตของคนบางกลุ่มออกจากกรอบของสังคม พวกเขาใช้ศิลปะและเสียงเพลงในการแสดงออก ต่อต้าน ประท้วง จนสามารถรวบรวมผู้คนที่คิดเหมือนกันให้เป็นปึกแผ่นได้ จากอังกฤษ ไปอเมริกา ต่อมาก็แพร่กระจายไปทั่วโลกและเฟื่องฟูถึงขีดสุดในยุค 1970 ตอนต้น พอเข้าสู่กลางยุค 70 การมาของวัฒนธรรม New Wave (นิวเวฟ) ก็เริ่มต้นขึ้น สิ่งนี้คือดนตรีที่เกิดจากรากฐานของพังก์ร็อก แต่หลอมรวมเอาดนตรีแนวดิสโก้และซาวด์ซินธิไซเซอร์มาผสมผสานให้กลายเป็นเพลงป๊อปแปลกใหม่ที่มีความเป็นศิลปะ ฟังง่าย เป็นมิตรต่อหูคนทุกเพศทุกวัยได้มากกว่าพังก์ พังก์จึงเริ่มเสื่อมความนิยมลงในที่สุด นิวเวฟกลายเป็นขวัญใจใหม่ของผู้คนและได้ขึ้นมาเฉิดฉายในวงการเมนสตรีม ซึ่งวงดนตรีที่ถูกจัดว่าอยู่ในซีนของ New Wave นี้ ก็มีแนวเพลงที่แตกแขนงแยกย่อยไปอีก ไม่ว่าจะเป็น New Romantic, Power Pop หรือ Post-Punk วงดนตรีชื่อดังอย่าง Blondie ก็จัดเป็นแถวหน้าของซีน New Wave นี้เช่นกัน หากพูดกันแค่ในแง่ของดนตรีอาจจะรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างช่างน่าตื่นตาตื่นใจ แต่อันที่จริงสถานการณ์บ้านเมืองนิวยอร์กยุคนั้นกลับไม่ได้สวยหรู เมื่อย่างเข้าสู่ ค.ศ.1977 ภาพฝันอเมริกันชนก็ต้องดับสลาย อเมริกาเป็นพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม คุณภาพประชากรร่วงสู่จุดตกต่ำ แต่ยอดอาชญากรรมกลับพุ่งขึ้นสูง
“รักฉัน รักฉันเถอะนะ จะไม่ทำให้เธอเสียใจ” “ที่เธอเห็นแค่ฝุ่นมันเข้าตา ฉันไม่ได้ร้องไห้” หากบทเพลงของผู้ชายที่ชื่อ ‘อะตอม – ชนกันต์ รัตนอุดม’ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคุณมาโดยตลอด ขอให้รู้ไว้ว่าเรากับคุณคือเพื่อนกัน จากวันแรกที่เด็กชายอะตอมได้เห็นนักร้องในโทรทัศน์เป็นครั้งแรก เขาก็รู้ได้ในทันทีว่าในอนาคตตัวเองจะต้องเป็นแบบนี้ให้ได้ ถึงแม้จะเรียนจบปริญญาตรีด้านกฎหมาย แต่ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ชีวิตของอะตอมกลับวนเวียนอยู่กับเสียงเพลงมาโดยตลอด และถ้าหากคุณรู้สึกว่าบทเพลงของเขาคือส่วนหนึ่งในชีวิต วันนี้ก็ถึงคราวที่คุณจะได้ไปเรียนรู้ชีวิตของผู้ชายเจ้าของบทเพลงเหล่านั้นกันบ้าง เขาเริ่มต้นการเป็นนักร้องไมค์ทองคำตัวยงบนเวทีประกวดเพลงลูกทุ่งชั้นประถม สู่การเริ่มเขียนเพลงจริงจังในสมัยมัธยม จนถึงวันที่เขาตัดสินใจส่งเดโมให้ค่ายใหญ่ ทุกความสำเร็จล้วนเกิดขึ้นจากความพยายาม หาใช่โชคช่วยหรือการเป็นไวรัลทางอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด บทสนทนาในครั้งนี้จะพาเราทุกคนไปย้อนประวัติศาสตร์บนเส้นทางดนตรีของอะตอมกันอีกครั้ง รวมถึงรับฟังมุมมองด้านกฎหมายลิขสิทธิ์เข้มข้น ที่เราการันตีว่าจะเป็นประโยชน์กับศิลปินและเหล่าผู้สร้างสรรค์ผลงานทุกคนอย่างแน่นอน จุดเริ่มต้นของคุณคือการฝากเดโมเพลงตัวเองไปกับ ‘แอมมี่ The Bottom Blues’ เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง อันที่จริงตอนเริ่มต้นไม่ใช่ว่าทำเดโมเลยตามหาตัวพี่แอมมี่เพื่อเอาไปฝากนะ ไม่รู้ว่าโชคชะตาฟ้าลิขิตอะไรหรือเปล่า วันที่เราไปอัดเดโมเซตสุดท้ายที่เราตั้งใจว่าถ้าเสียเงินให้ห้องอัดที่นี่รอบนี้ แล้วเอาไปส่งรอบนี้ ถ้าไม่รอดก็คือไม่รอด ถือว่าสุดทางแล้ว มีเพลงที่แต่งมาเยอะประมาณ 5-6 เพลง อัดเป็นกีตาร์โปร่งกับเสียงร้อง ซึ่งห้องอัดนี้เราหาจาก Google พยายามหาอันที่ดูดี ที่คนเขาใช้กันเยอะ ๆ ก็ไปเจอห้องอัดนึงชื่อ LopStudio อยู่ตรงตึกลิเบอร์ตี้ ท้ายซอยทองหล่อ แล้วก็เข้าไปอัด