Work
IMPROVE YOURSELF
  • Work

    เมื่อคิดมากไป จนใจแย่ชีวิตพัง “หยุดคิดมากแล้วช่างแม่งบ้างก็ได้” เพื่อเยียวยาตัวเราเอง

    By: unlockmen June 10, 2020

    ชีวิตเรายากกันไปคนละแบบ มีเรื่องท้าทายกันไปคนละอย่าง โดยเฉพาะในสถานการณ์ตอนนี้ที่เหมือน COVID-19 พาชีวิตเราขึ้นประจำที่นั่งบนรถไฟเหาะตีลังกาที่ไม่มีจุดหมาย บางช่วงพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุด แต่บางทีก็ตีลังกาพลิกกลับหลัง หรือดำดิ่งจนหัวใจแทบวาย การคิด การวางแผน หรือการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งมั่นทำให้ชีวิตให้ดีขึ้นนั้นไม่ผิดอะไร แต่การวางแผนหรือการแก้ปัญหาก็ต่างกับ “การคิดมาก” พอสมควร หลายคนคิดมากแล้วสามารถพาตัวเองออกจากความคิดเหล่านั้นได้ ในขณะที่บางคนจมอยู่กับ “การคิดมาก” จนบั่นทอนตัวเองและคนใกล้ตัว “กังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดึงดันกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว” สำรวจตัวเองหน่อยว่าคุณคิดมากไปหรือเปล่า? การเป็นคนคิดมาก กับการเป็นคนช่างคิดและวางแผนรอบคอบนั้นมีเส้นแบ่งบาง ๆ กั้นอยู่ หลายคนปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความคิด ความกังวล หรือสิ่งที่แก้อะไรไม่ได้แล้ว แต่อ้างกับคนอื่นว่า ผมแค่เป็นคนรอบคอบ ฉันแค่เป็นคนช่างคิดช่างวางแผน  ลองสำรวจตัวเองอีกครั้งว่าเรากำลังครุ่นคิด หมกตัวอยู่กับสิ่งที่เราจัดการได้แน่ ๆ จริงไหม? หรือบางเรื่องมันพลาดไปแล้ว ให้ตายอย่างไรก็แก้ไม่ได้ (ซึ่งคนละเรื่องกับการคิดถึงทางแก้ในอนาคต) ในขณะที่บางสิ่งที่เรากังวลก็คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และบางทีมันอาจไม่ได้มาถึงในรูปแบบที่เราเอาแต่คิดถึงมันก็ได้ (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการวางแผนรับมือกับปัญหาที่เราเจอ) ดึงดันกับอดีต คิดมากในสิ่งที่แก้ไม่ได้และคิดไปก็ไม่ได้อะไร “เมื่อเช้าไม่น่าพูดแบบนั้นในที่ประชุมเลย หัวหน้าจะมองเรายังไงนะ? คนในทีมต้องมองว่าเราโง่แน่ ๆ” “ไม่น่าตัดสินใจลาออกจากที่ทำงานเก่าเลยว่ะ ถ้ายังอยู่ที่นั่น ป่านนี้คงมีความสุขไปแล้ว จะตัดสินใจลาออกทำไมวะ?” “ถ้าเลือกแผนการตลาดอีกแผนคงดีกว่านี้ เลือกแผนนี้แล้วห่วยจัง ทำไมทีมเลือกแผนห่วยแบบนี้?”  กังวลกับอนาคต

    อ่านต่อ
  • Work

    POMODORO TECHNIQUE กฏการเคลียร์งาน 25 นาทีจบ ที่จะช่วยให้ชีวิตคุณเปลี่ยนไปตลอดกาล

    By: unlockmen May 31, 2020

    เป็นสถานการณ์สุดฮิตที่เหล่าคนทำงานอย่างเรา ๆ คุ้นชินเป็นประจำ หรือถ้าว่ากันตามตรงก็เป็นกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลนั่นแหละ การผัดวันประกันพรุ่งอาจยังไม่เคยส่งผลกระทบกับใครจัง ๆ แรง ๆ เพราะว่ากันว่าคนผัดวันประกันพรุ่งเนื้อแท้ไม่ใช่คนขี้เกียจแต่มีวิธีจัดการเวลาและลำดับความสำคัญในการทำงานตามรูปแบบของตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าการทำงานให้ทันเดดไลน์จะราบรื่นไปหมดทุกอย่าง ไหนจะความกดดัน ไหนจะความร้อนรน จะดีแค่ไหนถ้ามีเทคนิคการทำงานเพื่อคนชอบผัดวันประกันพรุ่งโดยเฉพาะ ที่รับรองว่าคุณจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมแน่นอน! ‘Pomodoro Technique’ คือชื่อเทคนิคการทำงานทรงประสิทธิภาพที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Francesco Cirillo นักพัฒนาและผู้ประกอบการ ผู้คิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นมาช่วงปี 1980 เนื่องจากเขารู้สึกว่าตอนเรียนมหาวิทยาลัยมันเป็นอะไรที่ยุ่งมาก ทำงานก็ไม่ดี เรียนก็ไม่ได้เรื่อง ชีวิตไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย Pomodoro ก็ไม่ได้มาจากไหน แต่มาจากเครื่องจับเวลาสำหรับการทำอาหารที่ทำเป็นรูปมะเขือเทศของเขานั่นเอง (Pomodoro เป็นภาษาอิตาเลียนที่แปลว่ามะเขือเทศ) แต่อย่าคิดว่านี่เป็นแค่วิธีกิ๊กก๊อกของนักศึกษาธรรมดาคนหนึ่ง เพราะช่วงปี 1990 วิธีนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคการทำงานที่ทำให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับคนที่อยากรู้ว่า ‘Pomodoro Technique’ ทำอย่างไร? ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง? จริง ๆ ก็ง่ายแสนง่ายแค่มีนาฬิกาปลุก สมาร์ทโฟน หรืออะไรที่สามารถตั้งเวลาได้ และความตั้งใจของเราก็พอแล้ว วิธีการก็ง่ายแสนง่ายด้วย 6 ขั้นตอนต่อไปนี้ 1.เลือกงานที่คุณต้องการจะทำให้เสร็จขึ้นมา งานแบบไหนก็ได้ งานเล็ก งานใหญ่ งานที่ค้างไว้เป็นอาทิตย์

    อ่านต่อ