กลับมาตามสัญญาว่าเราจะนำเสนออีกมุมหนึ่งของเจ้านายโหดให้ได้รู้ หลังจากบอกข้อดีของ CEO ระดับโลกที่อยู่ในมุมมืดไปแล้วใน Episode แรก คราวนี้ถึงเวลามาเสนอเรื่องพลังลบที่แผ่ออกมากันบ้าง ซึ่งบอกตรง ๆ เลยว่ามันส่งผลกับพนักงานมากกว่าความรู้สึกไม่อยากตื่นไปทำงานหรือนอนไม่หลับ ลองมาดูกันของแถมที่ได้จากการเติบโตหลังทำงานกับเจ้านายที่พร้อมด่ากราด ฉุนเฉียว ทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้ แล้วถามตัวเองอีกคร้ังว่าคุณพร้อมจะแลกมันหรือเปล่า ปัญหาสุขภาพ ทำงานหนักไม่เคยทำให้ใครตาย ประโยคนี้มันไม่จริง เรื่องนี้พวกเรารู้ดี และทาง UNLOCKMEN ก็เคยนำเสนอประเด็นนี้ไปแล้วผ่านบทความเรื่อง รู้จักโรค ‘ขยันมากเกินไป’ สาเหตุ อาการและทางออกก่อนที่เราจะกลายเป็นโรคบ้างานเรื้อรัง ขนาดคนที่ทำเขาทุ่มเทเพราะไม่ได้มีใครบังคับเขายังเจอผลกระทบเรื่องสุขภาพถึงตาย ดังนั้น คนที่โดนบังคับเพราะความกลัวอำนาจจะยิ่งเกิดความรู้สึกกดดันยิ่งกว่า เรียกได้ว่าโดนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตพร้อมกัน เรื่องนี้เราไม่ได้เอามาพูดปากเปล่า แต่ยืนยันได้จากเหตุการณ์ของ Amazon ที่มีข่าวช่วงกลางปี 2561 ที่เปิดเผยข้อเท็จจริงว่ารถ Ambulance เข้าออกโกดังบ่อยถึง 600 ครั้งในระยะเวลา 3 ปี งานนี้แม้จะไม่ได้บอกรายละเอียดชัดว่าอาการบาดเจ็บนั้นมาจากอะไรบ้างแต่เราเชื่อว่าการโหมงานต้องเป็นหนึ่งในนั้นอย่างแน่นอน เพราะสหภาพแรงงานเขาออกมาพูดเลยว่า Amazon เป็นองค์กรที่ดูแลคนไม่ต่างจากหุ่นยนต์ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอที่สนับสนุนข้อมูลนี้ด้วยการกล่าวว่าเหยื่อจากอารมณ์เจ้านายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องคอขาดบาดตายถึงชีวิต
เจ้านายกับพนักงานถือเป็นของคู่กัน เจ้านายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอิทธิพลมากกว่าหมอดูที่บอกกราฟลายมือเส้นชีวิตเราว่าเราจะเจริญก้าวหน้าได้จริงไหม และที่แน่ ๆ คือต่อให้ใครจะว่ายังไง เจ้านายจะยังคงอยู่ในองค์กรต่อไป คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมเจ้านายสายเดือด สายโหด หรือเจ้านายที่มีพฤติกรรมเข้าขั้นติดลบในสายตาพนักงาน แถมชีวิตโคตรไม่บาลานซ์ ทำไมถึงพาองค์กรพุ่งไปติดอันดับต้นของโลกได้ แถมพูดชื่อแล้วหลายคนยังต้องแลกและฝ่าฟันเพื่อให้ไปเจอเจ้านายแบบนั้นอีก แน่สิ ถ้าเราบอกว่าตัวอย่างของเจ้านายเหล่านั้นคือ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon, Elon Musk ผู้ก่อตั้ง Tesla และอุโมงค์ทะลุมิติ และ Steve Jobs เจ้าของตำนานมือถือระบบ iOS อย่าง Apple คุณเองก็คงไม่ปฏิเสธหรอกว่าอยากจะร่วมงานกับเขาสักครั้งในชีวิต ก่อนจะไปพูดถึงประโยชน์ของนิสัยมุมมืดจากเหล่า CEO คนดังระดับโลกที่พาองค์กรเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป (เชิดชูบูชากันมาเยอะเพราะโปรดักส์เขาดีจริง) มาลองดูนิสัยร้าย ๆ เบื้องหลัง CEO ดังเหล่านี้กับคนใกล้ชิดที่ไม่ดีอย่างที่คิด Elon Musk : ข่มคู่รัก ด่ากราดลูกน้อง ทวีตไร้วิจารณญาณ แม้สิ่งที่เราเห็นในวันนี้หนุ่ม Elon แม้จะเป็นป๋าใจสปอร์ตส่งเครื่องไม้เครื่องมือมาช่วย 13 หมูป่า แต่อีกแง่มุมเรื่องความเป็นผู้นำ เขากลับมีนิสัยโหดห่ามในการควบคุมลูกน้อง
ตั้งความหวัง ผิดหวัง ถือเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความรู้สึกผิดหวังมันอยู่ยาวนานกว่าความสุขเสมอ ดังนั้น เมื่อเจ็บในปีนี้ หลายคนจึงลดทอนเป้าหมายหรือบอกตัวเองว่า “ช่างแม่ง” เลิกทำมันซะเลย…ถ้าเราช่างแม่งแบบไม่เรียนรู้ความผิดพลาด โหมด “ฉิบหาย” ก็รอคอยเราอยู่อย่างแน่นอน เพื่อให้ผู้ชายเราเติบโตขึ้น 100% ครบทั้ง 3 ด้านของชีวิต คือ ตัวเอง การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เราจึงต้องตั้งเป้าหมายแทนการนั่งทำกิจวัตรเดิมไปวัน ๆ เพราะไม่อย่างนั้นกว่าจะรู้ตัวอีกทีภาพก็ตัดมาที่ปลายปีแล้ว และเมื่อเราถามตัวเองว่า “ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร” คำตอบที่ได้แต่ก็คือ “ไม่รู้ว่ะ ก็เหมือนปีที่แล้วแหละ” แล้วก็เดินหน้าทำแบบเดิมต่อไปในปีหน้า ไม่ว่าที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร เราจะไม่ตัดสิน แต่อยากให้คุณตั้งหลักใหม่ด้วยวิธีการเหล่านี้ จะได้ตอบตัวเองได้ชัดขึ้นว่าปีที่ผ่านมาเราดีขึ้นหรือแย่ลง และจะทำอย่างไรในปีหน้า ความหวังที่สูงมันเจ็บ แต่ความหวังต่ำทำให้ย่ำอยู่กับที่ คนที่เคยดูโฆษณาสิงห์ เมื่อหลายปีก่อนโน้นคงจำประโยคเด็ดจากโปรกอล์ฟท่านหนึ่งที่พูดถึงเส้นทางความสำเร็จได้ว่า “ตีลูกให้ถึงดวงจันทร์ ถึงพลาดก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว” ซึ่งหมายถึงการตั้งความหวังให้โคตรสูงชนิดที่มองแล้วบอกตัวเองว่าไม่สำเร็จ ถึงจะพลาดมันก็ยังสูงกว่าที่ต้องการอยู่ดี เรียกง่าย ๆ ว่าถ้าเราคาดไว้ว่าเราทำงานแค่ผ่านเกณฑ์ก็พอใจ โอกาสสำเร็จและพลังความพยายามฝึกซ้อมของเรามันจะล้อไปกับเป้าหมาย แปลว่าอย่างดีก็คือผ่านเกณฑ์แต่โอกาสสำเร็จในอัตราที่ดีกว่านั้นแทบจะไม่มีอยู่เลย ขณะที่การตั้งเป้าหมายไว้สูงกว่าเดิม 2-3 เท่า แล้วมุ่งมั่นฝึกไปเรื่อย ๆ และลงมือทำมัน นับเป็นสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองเกิดการตั้งเป้าหมายระยะยาวที่ช่วยปลดล็อกศักยภาพจากขีดจำกัดได้ และแม้จะเฟล
สิ้นปีกำลังจะมาถึงในไม่กี่อาทิตย์ เพื่อไม่ให้ปลายปีนี้เราต้องเฉามานั่งไล่ลิสต์ที่เขียนไว้ต้นปีเพื่อกดก๊อปปี้วาง แล้วไปพอกไว้ปีหน้า UNLOCKMEN ขอทำหน้าที่เป็นป๋าดัน แนะนำวิธีคลอดไอเดียเป็นล้านที่คุณมี ให้มันไม่เป็นแค่จินตนาการฟุ้ง ๆ ในอากาศ สามารถบรรลุเป้าหมายได้แม้ว่าคุณจะงานล้นมือหรือมีเวลาน้อยนิดแค่ไหนก็ตาม เหตุผลคนดองไอเดีย ไม่ได้ขี้เกียจแค่ทางเลือกมันเยอะเกิน ใครที่ไอเดียพลุ่งพล่านมาหลายปี แต่ชั่วชีวิตนี้ไอเดียก็ยังเป็นได้แค่ไอเดียเฉย ๆ ไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่างในชีวิตจริงสักที เรื่องนี้อธิบายได้ว่ามันมีเหตุผลของมัน เพราะเคยมีนักจิตวิทยาทำวิจัยเรื่องการวางแผนลงทุนเพื่อนการเกษียณสำหรับพนักงานไว้แล้วพบว่า ยิ่งเรามีทางเลือกให้เลือกเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ แทนที่เราจะได้ทำตามทางเลือกเหล่านั้นกลับกลายเป็นว่าไอ้ทางเลือกเยอะ ๆ นี่แหละที่สกัดดาวรุ่งเรา จนสุดท้ายคนที่เข้าร่วมการวิจัยที่เจอทางเลือกลงทุนเยอะ ๆ เข้าไปเลยล้มแผนออมเพื่อเกษียณมันซะเลย ดังนั้น การขยับไปทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นสิบเป็นร้อยสิ่งนี่แหละที่มันดูดพลังงานเราเหลือเกิน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นกับเรา นี่คือ 5 สิ่งที่เราควรปักหมุดในใจและลงมือทำเสมอไม่ว่าจะคิดอะไรอยู่ ใครพร้อมลุยก่อนสัปดาห์สุดท้ายของปีจะมาถึงก็เริ่มได้ทันที ไม่ต้องรอฤกษ์ปีใหม่แต่อย่างใด 1. สร้างเดดไลน์ย่อย ๆ ให้เดินตาม โปรเจ็กต์งานชิ้นนี้ให้เวลา 2 เดือน ฟังดูเหมือนจะนานเพราะเราคิดเอาเองว่างานชิ้นนั้นวันสองวันก็เสร็จแล้ว แต่พอเอาเข้าจริงสิ่งที่เราเจอมันกลับกลายเป็นหวุดหวิดจะไม่ทันเสียได้ ถ้าใครอยู่ในอาการนี้อาจจะเข้าข่ายว่าเรากำลังเข้าโหมด Parkinson Law ที่กล่าวไว้ว่า “การทำงานมันยืดจนเต็มเวลาเดดไลน์ได้เสมอแหละ” ซึ่งถ้าถามว่าเวลาไปไหนหมด ทำไมไปปั่นตอนใกล้นนาทีสุดท้ายมันชัดเลยว่าเราเอาไปเติมอย่างอื่น เช่น ขอเล่นเกมก่อน
สิ่งที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่นต้องพบเจออยู่เสมอคือความตึงเครียดในการทำงานแต่ละวัน กลายเป็นภาพลักษณ์ให้คนทั่วโลกเห็นว่าคนญี่ปุ่นมักบ้างาน แต่ใช่ว่าขยันแล้วจะดีเสมอไปเพราะแท้จริงแล้วความขยันมากไปนั่นแหละที่จะสร้างความลำบาก บางครั้งก็เสียเวลาไปกับการทำโอทีโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร วัฏจักรแบบมนุษย์เงินเดือนที่เวียนไปทุกวันไร้ซึ่งการตอบคำถามว่าทำอย่างไรถึงจะมีความสุขท่ามกลางกองงานพะเนิน แล้วโรคบ้างานแบบนี้มีโอกาสจะเกิดกับมนุษย์เงินเดือนไทยมากน้อยแค่ไหน ? จุดเริ่มต้นของ ‘โรคบ้างาน’ หรือ ‘Workaholic’ เริ่มต้นขึ้นในปีค.ศ. 1969 เหล่าทีมวิจัยค้นพบโรคบ้างานหรือ ‘คาโรชิ’ มีต้นเหตุจากการเสียชีวิตของหนุ่มญี่ปุ่นอายุ 29 ปี เพราะพื้นฐานของคนญี่ปุ่นถูกปลูกฝังเรื่องความมุ่งมั่นตั้งใจ ความภักดีต่อองค์กรที่ตัวเองอยู่ รวมถึงเรื่องความรับผิดชอบที่สูงลิบ ค่านิยมเหล่านี้ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ และไม่แปลกที่พวกเขาจะทำให้โรคบ้างานกลายเป็นโรคยอดฮิตของชายชาวญี่ปุ่น เดิมทีโรคบ้างานถูกพบแค่ในหมู่ชายชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต้องเผชิญกับความเครียดจากการทำงานไม่ต่างจากผู้ชายญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก โรคบ้างานจึงแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลกรวมถึงในประเทศไทย จากการสำรวจประชากรไทยพบว่ามีคนเป็นโรคบ้างานถึงร้อยละ 67 และยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เราอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ขอบอกเลยว่าไม่จริง แม้บางครั้งเหล่าผู้ขยันทำงานเกินเหตุอาจรู้สึกสนุกไปกับการทำงานหนัก โดยไม่คิดว่าจะส่งผลกระทบกับร่างกายเท่าไหร่นัก แต่แท้จริงแล้วโรคภัยจำนวนมากต่างแห่เข้ามาอย่างไม่รู้ตัวทั้ง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพาต เพราะความเครียดทำร้ายระบบการไหลเวียนของเลือดจนไปเลี้ยงสมองไม่ทัน รวมถึงโรคซึมเศร้าที่คนบ้างานมีโอกาสจะเจอสูงกว่าคนทั่วไป วิจัยวารสารวิชาการ PLOS One ของมหาวิทยาลัย Bergen University กล่าวว่าคนขยันทำงานเกินเหตุมีโอกาสเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำสูงถึง 25.6% เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานตามปกติ รวมถึงมีโอกาสเกิดอาการวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ง่าย เห็นได้ชัดว่าการทำงานหนักนั้นก่อให้เกิดโรคทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แถมเมื่ออยู่กับความเครียดเป็นเวลานาน เหล่ามนุษย์เงินเดือนผู้ขยันขันแข็งมักหาทางออกโดยการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จัด และทำให้ต้องเพิ่มโรคมะเร็งปอดกับตับแข็งเข้าไปอีก แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นบ้างานหรือไม่? มนุษย์เงินเดือนบ้างานสามารถสังเกตุว่าตัวเองมีอาการปวดตามร่างกายหรือไม่ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้ายทอย
การทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือทำงานแล้วต้องนอนน้อยจนแทบไม่ได้นอนสำหรับผู้ชายอย่างเราดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว บางครั้งยิ่งนอนน้อยเพราะทำงานหนักมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดูเป็นคนที่น่าชื่นชมจากคนในองค์กรมากเท่านั้น ค่านิยม “ผมนอนน้อย เพราะทำงานหนักมากเพื่อองค์กร” จึงเป็นค่านิยมที่ผู้ชายแข่งกันคว้ามาครอบครอง แต่ยิ่งนอนน้อยแปลว่าเราทำงานหนักหรือทำงานมีประสิทธิภาพเสมอไปจริง ๆ หรือเปล่า ? นั่นเป็นคำถามที่องค์กรต้องทบทวนให้ดี ในขณะที่บริษัทจากญี่ปุ่นแห่งหนึ่งคิดไม่เหมือนชาวบ้านเขา ใครทำงานหนักเลยนอนน้อยอะไร ไม่สน! เราขอประกาศนโยบายว่าเป็นพนักงานบริษัทนี้การนอนเต็มอิ่มต้องมาก่อนโว้ย! ความจริงจังของนโยบายนี้ไม่ใช่แค่การประกาศลอย ๆ ว่าพวกคุณจงไปนอนให้เต็มอิ่มแล้วบริษัทจะรักคุณเป็นการตอบแทน แต่นโยบายนี้ให้ผลตอบแทนจริงจังโดยกติกาก็คือพนักงานคนใดที่นอนหลับอย่างน้อยคืนละ 6 ชั่วโมง อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์จะได้รับคะแนนพิเศษจากบริษัทซึ่งคะแนนพิเศษนี้ใช้แลกค่าตอบแทนอีกที บริษัทที่ใจป้ำผู้ออกนโยบายเพื่อคนนอนเยอะแห่งนี้คือ Crazy Inc. บริษัทออแกไนเซอร์งานแต่งงานซึ่งให้ค่าตอบแทนสูงสุดถึง 64,000 เยน หรือราว ๆ 187,000 บาทต่อปี โดยค่าตอบแทนไม่ได้มาในรูปแบบเงินสดแต่เป็นคูปองที่สามารถใช้จับจ่ายซื้ออาหารในโรงอาหารของบริษัทได้ ในสายตาเราอาจจะมีเสียดายตาละห้อยเล็กน้อยที่ค่าตอบแทนไม่ใช่เงินสด แต่ถ้าพิจารณาดูดี ๆ การได้นอนเต็มอิ่ม แถมยังประหยัดค่าอาหารทุกมื้อที่มากินที่ทำงานได้ เงินเหลือไปทำอย่างอื่น แถมสุขภาพกายสุขภาพจิตดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดแน่นอน ส่วนใครที่คิดจะโกงเวลานอน พี่อาจจะต้องผิดหวังไปตามระเบียบเพราะ Crazy Inc. เขาใช้แอปพลิเคชันติดตามการนอนโดยเฉพาะ เพื่อตรวจจับว่าเรานอนจริง ๆ ไหม หลับลึกจริง ๆ หรือเปล่า คุณภาพการนอนเป็นอย่างไร ซึ่งแอปพลิเคชันนี้พัฒนาขึ้นโดย
กินกาแฟตอนน้ีจะดีดตอนไหน เรื่องนี้ยังคงเป็นปริศนาธรรมเพราะส่วนมากจะบอกเฉพาะตัวเลขคร่าว ๆ ไม่เจาะจงเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ชายเราหยุดเสพกลิ่นหอมของคาเฟอีน กับรสขมคั่ว อมเปรี้ยวตัดปลายในบางพันธ์ุของเมล็ดกาแฟได้ ล่าสุดมีคนอยากแก้ปริศนาให้กระจ่างยิ่งกว่าโคนัน เลยสร้างเว็บฯ เอาใจคอกาแฟทุกคน ไม่ว่าคุณจะกินเพื่อตื่น กิ่นเพื่อดื่มด่ำ ทุกหยดที่กินของมันมีประสิทธิภาพกันแบบเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน โดยเว็บนี้จะทำการคำนวณช่วงเวลาที่คุณดื่ม ว่ามันจะทำให้คุณดีดตอนไหน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่แค่นับเวลาแบบส่ง ๆ แต่นับกับแบบลงลึกเพื่อตัวคุณคนเดียว เพราะคุณต้องกรอกข้อมูลทั้งเรื่องการนอน จำนวนช็อตกาแฟ ฯลฯ ของตัวเอง Coffee Kick Calculator วิธีคำนวณ 1. ระบุตัวเลขการพักผ่อนของคุณ นอนหลับสนิทตลอดคืนไหม หรือนอนแล้วผวาตื่นงัวเงีย 2. เลือกสิ่งที่เราต้องการดูจากกราฟ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาตื่นตัวเต็มที่ เวลาตอบสนอง ช่วงที่รู้สึกผ่อนคลาย ความแผ่วจากการดื่ม และการตอบสนองอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่ากราฟจะมันจะมีทั้งขาขึ้นและขาลง 3. ใส่ช่วงเวลาที่คุณตื่นขึ้นมา 4. อธิบายลักษณะกาแฟที่ดื่ม ทั้งปริมาณและเวลาที่ใช้ดื่มหรือคุณจะ custom ละเอียดกว่านั้นถ้าสามารถป้อนลงไปได้ในระดับมิลลิกรัม ยิ่งละเอียดยิบแค่ไหนก็วัดได้แม่นขึ้นเท่านั้น 5. ทุกครั้งที่เรากรอกข้อมูลลงไป ไม่ว่าจะเป็นวันไหน แต่ช่องอื่นก็จะได้รับการประมวลผลให้ปรากฏขึ้นมาด้วย 6. กราฟด้านล่างสุดจะแสดงประสิทธิภาพทั้งช่วงที่ดีและช่วงที่ลดลง ใครลองไปเล่นแล้วลองมาพิสูจน์กันว่าตรงจริงอย่างที่เว็บมันคำนวณไหม เราเองก็ว่าอยู่ระหว่างทดลองเช่นกันเพราะจะได้
ไม่ว่าพวกเราจะทำงานผ่านมากี่ที่ แต่เชื่อว่าความรู้สึกช่วงสัมภาษณ์ก็ยังเป็นโมเมนต์ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับเราอยู่ดี บางครั้งเรียกได้ว่านาทีต่อนาทีที่ตอบโต้กันระหว่างเรากับผู้สัมภาษณ์เราก็แทบทำนายได้แล้วว่าเราจะได้งานนี้หรือชวดต้องไปสัมภาษณ์ครั้งหน้า เพื่อให้ผู้ชายอย่าง เราสามารถโต้กลับการสัมภาษณ์ได้แบบไม่ต้องเป็นฝ่ายตั้งรับอยู่ฝ่ายเดียว วันนี้ UNLOCKMEN ได้รวบแทคติคจิตวิทยาเพิ่มโอกาสพิชิตการสัมภาษณ์งานที่เขาทดสอบกันมาว่าพาวินกันนักต่อนัก จาก 5 สิ่งต่อไปนี้ให้ไปลองเลือกใช้กัน นัดเวลาสัมภาษณ์ให้อยู่ช่วงวันอังคาร 10.30 5 วันทำการโอกาสจะทำให้ HR มีแรงดลใจนัดเราในวันอังคารอาจจะยากสักหน่อย แต่ถ้าเลือกได้ก็ลองระบุเวลานี้กันดู เพราะเขาว่ากันว่าเวลานี้จะเป็นช่วงที่ให้การสัมภาษณ์รีแลกซ์ เนื่องจากยังเป็นช่วงเวลาที่ไม่เร่งรีบเท่ากับต้นสัปดาห์และไม่ปั่นเหมือนวันสุดสัปดาห์ ส่วนเรื่องเวลาเน้นหลีก 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเช้าไว้ เพราะช่วงเช้าเป็นช่วงที่หลายบริษัทกำลังประชุมกันซึ่งเขาจะเอาเวลาช่วงนั้นไปโฟกัสกับสิ่งที่ต้องทำอยู่ กับช่วงบ่ายคล้อยเย็นไว้ด้วย เพราะคนสัมภาษณ์เขาไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไรแล้วนอกจากอยากกลับบ้าน อย่าสัมภาษณ์ช่วงต่อจากผู้แข่งขันตัวเป้ง เราอาจจะไม่รู้ว่าใครเป็นคู่แข่งที่โหดสุดในการสัมภาษณ์ แต่ถ้าบังเอิญรู้เข้าก็ให้เลี่ยงการประเมินในช่วงใกล้กันไว้ เพราะมันเสี่ยงมากที่เราจะโดนปัดออกจากสนามแข่งแบบไม่รู้ตัว เนื่องจากนักวิจัยพบว่าผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่วางบรรทัดฐานการประเมินจากพื้นของผู้สมัครแต่ละคนในวันสัมภาษณ์นั้น จากการวิจัยของ University of Pennsylvania และ Harvard University จึงเผยความจริงหนึ่งว่า ระยะเวลาอันตรายของการสัมภาษณ์โดยมีผู้สมัครม้ามืดมาเป็นคู่เทียบซึ่งเราควรหลีกเลี่ยงนั้น นับตั้งแต่สัปดาห์เดียวกันผู้สมัครคนนั้นมาเหยียบบริษัทในฝันเราเพื่อสัมภาษณ์ ยาวต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์ต่อไป ใครที่งงก็ให้จำไว้ว่าไปสัมภาษณ์อาทิตย์ที่ 3 หลังจากที่ไอ้ตัวเต็งนั่นมาสัมภาษณ์แหละที่ปลอดภัย เลือกเนื้อผ้าให้เหมาะกับเนื้องาน ไม่ใช่แค่สุภาพอย่างเดียวเท่านั้นที่จะชนะใจ แต่เรื่องสีเสื้อมันก็มีการวิจัยเช่นกันว่ามีผลกับการให้คะแนนของผู้สัมภาษณ์ โดยจากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บสถิติของ Career Builder
แว่วมาสักระยะแล้วเรื่องการนำ AI มาทำตำแหน่ง Hr คัดคนเข้าทำงาน เราเชื่อว่าหลายคนที่ได้ยินอาจรู้สึกกลัวเพราะนับวันเจ้าปัญญาประดิษฐ์เริ่มจะมีอำนาจควบคุมเรามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการปรักปรำและเท่าทันระบบการหางานในโลกวันนี้ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป UNLOCKMEN จึงได้ติดตามและไขภาพมัว ๆ ที่คนอาจจะคิดไม่ออกว่าทำไมถึงต้องมีการใช้ AI เข้ามาทำหน้าที่นี้ และมันยุติธรรมกับมนุษย์อย่างเราไหม JUST EXTENSION ก่อนจะพารานอยด์กับอาชีพ ว่า Hr จะโดนขโมยงานไปอีกอาชีพหนึ่งแล้วเหรอ ขอให้งดแตกตื่นเพราะการนำ AI มาช่วยคัดกรองคนเข้าทำงาน เขาใช้มันเป็นแค่ส่วนขยายที่เพิ่มเข้ามาเท่านั้น เนื่องจากสุดท้ายแล้วความกดดันระหว่างคนสัมภาษณ์กับคนสมัคร หรือการใช้จิตวิทยาเข้าประกอบการทดสอบเพื่อคัดเลือกคนมันก็ยังจำเป็นอยู่ วิชาชีพของการเป็น Hr ก็ยังคงสำคัญกับองค์กรเสมอ แต่นั่นจะเป็นขั้นตอนในสเตปที่ 2-3 ไม่ใช่ขั้นตอนแรกถ้าหากบริษัทที่เราจะเข้าไปทำงานเขาใช้ปัญญาประดิษฐ์มาร่วมในการกรองคน… MATCH ME WITHOUT BIAS ในเมื่อ Hr เดิมก็ไม่ได้หายไปแล้วทำไมเราถึงต้องมี AI ซึ่งไร้หัวใจมาเป็นผู้ร่วมตัดสิน Resume ที่เรามุ่งมั่นทำแทบเป็นแทบตายด้วย ถ้าคุณกำลังตั้งคำถามนั้นตอนที่กำลังอ่านอยู่ นั่นแหละ คำตอบมันอยู่ตรงนั้น “ความไร้หัวใจมันจำเป็นกับการคัดกรอง” มนุษย์ละเอียดอ่อนเรื่องอารมณ์กับการให้คะแนนมากเกินไป เราให้แต้มกับบางอย่างที่ถูกใจ และตัดแต้มเมื่อเหม็นขี้หน้าหรือไม่ถูกชะตา และไม่ว่าคุณจะทำเช่นไรคุณจะไม่มีวันเอาตัวเองออกจากความ Bias โดยสัญชาตญาณของตัวเองได้
วันเวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ทำงานมาแป๊ปเดียวนี่ก็ขึ้นปีใหม่อีกแล้ว เราเชื่อว่าช่วงเวลานี้ผู้ชายเราส่วนใหญ่เพิ่มผ่านการเผชิญหน้ากับวิกฤตปลายปีอย่าง “การประเมินผลการทำงาน” ทำให้ต้องรีบปั่นความ Productive โค้งสุดท้ายเพื่อเรียกคะแนนโบนัสกันสักหน่อย เมื่อ “Measure is coming.” มันก็ถึงเวลาที่แบบประเมินอักษรภาษาอังกฤษจะกลับมาให้ได้ยินอีกครั้ง ทั้ง PDCA, KPIs (อันนี้ได้ยินบ่อย หลายบริษัทในไทยก็ยังทำอยู่) และ OKRs แต่ที่ดูจะมาแรงสุดจนหลายบริษัทออกมาโหมกระหน่ำทำตามกันตอนนี้คือ OKRs ซึ่งเราได้ไปเก็บข้อมูลและนำมาอธิบายให้ชาว UNLOCKMEN เห็นภาพกันมากขึ้น แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้น คุณว่าระบบการประเมินการทำงานที่คุณกำลังทำอยู่ตอนนี้มันเป็นอย่างไรบ้าง ดีไหม แล้วมันวัดคุณภาพของคุณได้จริงหรือเปล่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” เสี้ยวความจริงในวันนี้ ก่อนที่จะไปเข้าเรื่อง KPIs กับ OKRs เรามาพูดเรื่องการประเมินกันก่อนเลยดีกว่า อันที่จริงถ้าจะมีใครสักคนที่รู้และบอกว่าคุณทำงานนั้นได้ดี หรือเต็มความสามารถของตัวเองจริงหรือเปล่า มันก็มีแต่ตัวคุณเท่านั้นที่รู้ว่าความจริงมันเป็นอย่างไร เพราะคุณคือคนลงมือทำและรู้ดีว่าสิ่งที่ตัวเองทำมันยากหรือง่าย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเข้ามาอยู่ในระบบของบริษัท คุณก็ต้องเข้าสู่ระบบตัดเกรดโดยผู้มีอำนาจสูงกว่า ด้วยมาตรฐานที่สามารถมองเห็นได้เป็นรูปธรรมมากกว่าความรู้สึก เพื่อให้ทางบริษัทรู้ว่าเขาจ้างคนได้สมราคาไหม หรือคนนี้ควรได้รับค่าตอบแทนคุ้มความเหนื่อยตลอดปีเป็นโบนัสก้อนโตหรือเปล่า และนั่นแหละคือที่มาของการประเมิน ยุคสมัยของการประเมินเกิดขึ้นครั้งแรกก่อนที่เราจะเกิดกันเสียอีก เพราะเริ่มต้นก่อนปี 1900 โดยเขาเรียกยุคนั้นว่า “The Age of Reform” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี
เคยไหม เวลาที่เราทำงานแล้วดันพลาดเพราะจุดบกพร่องที่เรามองไม่เห็นแต่เจ้านายดันมองเห็นและเรียกเราเข้าไปรับฟังคำปรับปรุง หลังฟังคอมเมนต์เราก็เดินกลับมานั่งที่โต๊ะเงียบ ๆ เฝ้าบอกตัวเองว่าจะไม่ทำผิดอีก จับจดกับมันจนนอยด์ โทษตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าว่ากูมันไม่ดี กูมันห่วย ความคิดแบบนั้นบางคนอาจจะสามารถพลิกไปใช้ในทางบวกให้ทำงานดีขึ้นได้ แต่เชื่อเถอะว่าการเฆี่ยนตัวเองบ่อย ๆ จากความคิดลบเพียงอย่างเดียว มันจะรีดพลังงานและความกระหายที่จะทำงานของเราไปจนหมด ดังนั้น เพื่อให้ทำงานได้โปรดักทีฟแบบไม่ต้องเจ็บทั้งตัวจากการโดนตำหนิของคนอื่น แล้วยังมาเจ็บใจซ้ำเพราะตำหนิตัวเอง ลองมาเปลี่ยนความคิด แล้วใจดีกับตัวเอง ให้โอกาสกับความผิดพลาดเสียบ้าง แล้วคุณจะรู้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ใช่ความเหลาะแหละ แต่เป็นประสิทธิภาพที่ดีเกินคาด หลักการนี้ไม่ใช่เรื่องหลักลอย แต่นำมาผลงานและการศึกษาของ 2 นักวิจัย คือ Leah Weiss ศาสตราจารย์ที่ Stanford University Graduate School of Business ที่เขียนผลงาน How We Work: Live Your Purpose, Reclaim Your Sanity, and Embrace the Daily Grind (เราทำงานกันอย่างไร: อยู่เพื่อเป้าหมาย ฟื้นฟูจิตใจ และโอบกอดงานประจำ) กับ Shauna
ถ้าพูดถึงประเทศสหรัฐอเมริกา เรามักได้ยินการนิยามว่าเป็น “ประเทศแห่งเสรี” ทำให้ครั้งหนึ่งคำว่า “American Dream” หรือการฝันอย่างอเมริกันจึงกลายเรื่องระดับโลก เป็นความฝันที่ใครก็ล้วนใฝ่หาและต้องการเดินทางไปตั้งรกราก เพราะมีทั้งความเจริญ ความเท่าเทียม และอิสระ เรียกได้ว่าเป็นดินแดนในฝันที่ใครก็สามารถเปลี่ยนตัวเองให้เป็นเศรษฐีได้ จึงไม่แปลกที่ล่าสุดเมื่อผลสำรวจประชากรชาว Freelancer ในสหรัฐฯ ประจำปีนี้เผยตัวเลขว่ามีคนเลือกเป็นฟรีแลนซ์จำนวนถึง 56.7 ล้านคน เราจะรู้สึกไม่ประหลาดใจ แต่ไม่ใช่แค่ตัวเลขเท่านั้นที่น่าสนใจ UNLOCKMEN ยังมีเรื่องราวเบื้องหลังที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้มาแบ่งปันกันด้วย American Dream: Past & Present ใครที่ดูหนังต่างประเทศบ่อย ๆ จะได้ยินคำว่า “American Dream” กันมาบ้าง ซึ่งส่วนมากเรื่องราวจะออกแนวการเดินทางจากต่างดินแดนเข้าไปในอเมริกาเพื่อตามหาความฝัน ซึ่งความฝันเหล่านั้นมักจะผลิตซ้ำเรื่องการเป็น “Somebody” ด้านอาชีพ เช่น อยากจะเป็นนักมวยอาชีพ นักดนตรีอาชีพ ก็จะฝึกมันครั้งแล้วครั้งเล่าจนกว่าจะได้เป็น หรือ Underdog เองก็มีสิทธิผันตัวเองเป็นเศรษฐีใหม่ได้เสมอ หากขยันและร่ำรวย อาชีพ Freelance หรือการรับจ้างเป็นมือปืน จึงอาจเป็นเรื่องของการหารายได้เสริมเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ค่านิยมความฝันของคนเราก็เริ่มเปลี่ยน ความรู้สึกอยากเป็น “Somebody” มันเริ่มจางลง