เป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเมื่อไหร่ที่ประชาชนทำผิดจะต้องถูกจับ พวกเขาจะถูกพิจารณาคดีเพื่อประเมินความผิด รับฟังข้อกล่าวหาให้รู้ว่าตัวเองจะต้องติดคุกนานไหม จากนั้นก็เตรียมละทิ้งชีวิตอิสระไปอยู่ในกรอบที่เรียกว่า ‘เรือนจำ’ ลืมโซเชียลเน็ตเวิร์ก ลืมแฟชั่นเท่ ๆ ไปให้หมด เพราะชุดที่จะต้องใส่หลังจากนี้คือชุดที่เหมือนกับนักโทษอีกหลายหมื่นคนที่อัดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หลายคนยอมผลจากการกระทำของตัวเอง อยู่ในคุกรอนับวันที่จะได้พบกับอิสรภาพอีกครั้ง แต่ชายนามว่า ชิราโทริ โยชิเอะ (Shiratori Yoshie) กลับรู้สึกต่างออกไป เขาคิดว่าตัวเองไม่สมควรติดคุก และด้วยความคิดไม่เห็นด้วยนี้เองที่ทำให้เขากลายเป็นตำนานนักแหกคุกสุดโหดของญี่ปุ่นออกมาได้หลายต่อหลายครั้งด้วยตัวคนเดียว ก่อนหน้านี้ชื่อของชิราโทริเคยปรากฏอยู่ใน UNLOCKMEN มาแล้ว ใน NIHON STORIES: “PRISON IN JAPAN” ระบบเรือนจำและการใช้ชีวิตแดนขังของนักโทษญี่ปุ่น กับเรื่องเล่าของคนคุกญี่ปุ่นที่มองจากมุมคนนอกอาจสะดวกสบายกว่าคุกหลายแห่งในโลก แต่ภายใต้ความสะดวกสบาย ข้าวอร่อย มีอ่างแช่ตัวแบบรวม พวกเขาต้องพบกับความกดดันทางอารมณ์อย่างมหาศาล และการกดดันทุกการกระทำอาจเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชิราโทริไม่อยากอยู่ในเรือนจำอีกต่อไป ประวัติของชิราโทริ โยชิเอะ อาจคลาดเคลื่อนไปบ้างตามกาลเวลา มีบันทึกว่าเขามีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1907-1979 เป็นชาวอาโอโมริ จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะญี่ปุ่น สร้างชื่อด้วยการแหกคุกสี่ครั้ง สาเหตุที่ทำให้เขาต้องวนเวียนอยู่กับการเข้าคุกแหกคุกอยู่หลายครั้งเกิดขึ้นเมื่ออายุได้ 26 ปี ก็กลายเป็นแพะรับบาปในคดีฆาตกรรมและชิงทรัพย์ ชิราโทริยืนยันหนักแน่นว่าเขาไม่ได้สังหารใคร เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการจับเขายัดเข้าคุกเพื่อให้เรื่องจบ ปิดคดีโดยไม่ต้องสืบสวนอะไรมาก (มุมมองนี้มาจากฝั่งของชิราโทริที่ยืนยันว่าตัวเองเป็นผู้บริสุทธิ์) เขาติดคุกครั้งแรกที่เรือนจำอาโอโมริในจังหวัดบ้านเกิด ไม่นานหลังถูกยัดเข้าห้องขัง
ถ้าพูดถึงซามูไรที่โด่งดังที่สุดบนหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น แทบทุกครั้งจะต้องมีชื่อของ มิยาโมโตะ มุซาชิ (Miyamoto Musashi) อยู่ด้วยเสมอ เขาคือตำนานที่คนเล่าแบบปากต่อปากว่าเป็นยอดซามูไรผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ในการประลองสักครั้ง เป็นนักรบที่คิดค้นเพลงดาบเป็นของตัวเอง เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ ศิลปะ เป็นนักวางกลยุทธ์ยอดเยี่ยม แถมยังเชี่ยวชาญเรื่องการจัดสวน จนไม่อยากจะเชื่อว่าคนคนเดียวมีความสามารถหลายด้านได้ขนาดนี้ UNLOCKMEN จะพาย้อนเวลากลับไปยังญี่ปุ่นราว 400 ปีก่อน พบเจอกับเด็กหนุ่มที่มุ่งมั่น จริงจัง เต็มไปด้วยความฝัน เปี่ยมด้วยพรสวรรค์เรื่องเพลงดาบจนกลายเป็นนักรบที่มีเรื่องราวยิ่งใหญ่ไว้เล่าขานให้คนรุ่นหลังฟังดั่งยอดซามูไรคนอื่น ๆ หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เรื่องราววัยเด็กของมุซาชิมีเส้นเรื่องหลากหลาย แต่ละเรื่องเล่าแทบไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยซ้ำว่าจริงหรือไม่ แต่ตำนานที่ถูกลือตรงกันมากที่สุดคือ เด็กชายมุซาชิเกิดที่จังหวัดฮาริมะ (Harima) ในปี 1584 ตอนเป็นเด็กเล็กมักถูกพ่อที่ทำอาชีพชาวไร่เรียกว่า “เบนโนะสุเกะ” (Bennosuke) เป็นเด็กที่เติบโตมาท่ามกลางธรรมชาติเงียบสงบ สวยงาม ในเมืองเล็ก ๆ ที่ห่างไกล ไม่มีใครรู้ว่าเขาออกจากบ้านเพราะอะไร แต่มุซาชิเริ่มจับดาบไม้ตั้งแต่เด็ก ร่ำเรียนวิชากับโรนินหรือซามูไรพเนจรนามว่า อาริมะ คิเฮ จากสำนักดาบชาชิมาชินโตริว พออายุได้ 13 ปี เริ่มประลองฝีมือกับอาจารย์จริงจังครั้งแรก มุซาชิมีนิสัยใจร้อน กล้าหาญไม่เกรงกลัวกับสิ่งใด เด็กชายไม่สามารถประเมินความสามารถของตัวเองเลยเถิดจนพลั้งมือสังหารอาจารย์ ไม่รู้ว่าเหตุผลนี้หรือเปล่าที่ทำให้มุซาชิชอบอยู่คนเดียว ไม่สุงสิงกับใครเท่าไหร่นัก ตลอดชีวิตของมิยาโมโตะ
ในตอนนี้หลายคนคงคิดถึงการออกไปนั่งดื่มด่ำบรรยากาศของแสงไฟนีออนตัดกับความมืดยามค่ำคืน คิดถึงการสังสรรค์วงเหล้าเคล้าเสียงหัวเราะของกลุ่มเพื่อน คิดถึงเบียร์สด โซจู หรือสาเกเย็นฉ่ำ ๆ พร้อมกับแกล้มชวนน้ำลายสอ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่พวกเราเหล่าสุภาพบุรุษต่างหลงรัก ซึ่งวัฒนธรรมการดื่มสไตล์ญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อิซากายะ (Izakaya) ก็มีเรื่องราวน่าสนใจชวนให้หลงใหลไม่แพ้กับสุราหวานฉ่ำรอคอยอยู่ในร้านเหล้าขนาดกำลังดี ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการดื่มมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ย้อนกลับไปยังยุคสมัยอันเก่าแก่ก่อนยุคเอโดะ การค้าขายสุราของชาวญี่ปุ่นมักเป็นการซื้อกลับไปกินที่บ้าน หรือตั้งแผงไว้ให้พ่อค้ากับแม่ค้ายืนคุยกันแบบสั้น ๆ ไม่นิยมนั่งเหมือนปัจจุบัน เพราะพื้นที่ร้านส่วนใหญ่คับแคบ แถมในร้านขายสุรายังไม่มีการเสิร์ฟเหล้าพร้อมกับแกล้มแก้หิวเหมือนตอนนี้ เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคเอโดะอันรุ่งเรืองทั้งการค้า การเมือง และศาสนา (ค.ศ. 1603-1868) มีเรื่องราวของต้นกำเนิดอิซากายะที่หลากหลายเกิดขึ้นในยุคนี้ แต่เรื่องเล่าที่ได้ยินบ่อยสุดคงหนีไม่พ้นเรื่องพ่อค้าสาเกหัวหมอ เขาพยายามทำให้การขายของตัวเองมีความน่าสนใจกว่าร้านสุราเจ้าอื่น ด้วยการเปิดแผงให้ลูกค้าชิมก่อนตัดสินใจซื้อ เมื่อมีลูกค้าสนใจก็จะนำเสนอเมนูพิเศษทำจากวัตถุดิบท้องถิ่นไว้กินแกล้มสาเกที่เขาขาย กลายเป็นว่าวิธีการขายของอันชาญฉลาดของพ่อค้าสาเกทำให้ซามูไรยอดนักรบ ขุนนาง พ่อค้าหัวใส ไปถึงชายแก่ขี้เมาต่างตบเท้าเข้าสู่ร้านเหล้าของเขา ยุคหลังซามูไรและระบบขุนนางดั้งเดิมถูกปรับเปลี่ยน ไม่มีนักรบที่เต็มไปด้วยเกียรติภูมิอีกต่อไป ในยุคเมจิ อิซากายะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นกว่าเดิมพร้อมกับการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยตามแบบชาติจะตะวันตก ผู้ชายหลายคนชื่นชอบนั่งมองบรรยากาศตอนกลางคืน บางคนมาตั้งวงกับเพื่อน เปลี่ยนวันที่น่าเบื่อให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ในปี 1970 อิซากายะไม่มีลูกค้ากลุ่มอื่นเลยนอกจากพนักงานออฟฟิศกินเงินเดือน มองไปยังร้านไหนเราจะเห็นมนุษย์เงินเดือนพากันจับจองที่นั่งในร้านจนคนอื่น ๆ แทบไม่มีโอกาสแทรกตัวไปนั่งจิบสาเกได้เลย บางคนมานั่งดื่มทุกวันจนเป็นขาประจำ มีพนักงานออฟฟิศไม่น้อยรีบกอบโกยความสุขระยะสั้นจนนอนสลบอยู่หน้าร้านหรือตามทางเดิน แถวถังขยะหรือบริเวณสถานีรถไฟก็มีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ สาเหตุที่พนักงานออฟฟิศยุค 1970
ก่อนหน้านี้ UNLOCKMEN เคยเล่าเรื่องราวการต่อสู้และความทะเยอทะยานจากดินสู่ดาวของแก๊งยากูซ่าที่สุดของเกาะญี่ปุ่น ยามากูจิ-คูมิ (Yamaguchi-Gumi) ไว้ใน NIHON STORIES: YAMAGUCHI GUMI จากอัธพาลย่านคันไซสู่ยากูซ่าผู้ทรงอิทธิพลของญี่ปุ่น ทำให้เห็นความโหด ความเด็ดเดี่ยว กล้าได้กล้าเสีย ระบบองค์กรยากูซ่าอันซับซ้อนมีลำดับขั้นไม่ต่างกับสำนักงาน แต่วันนี้ความยิ่งใหญ่ทุกอย่างของแก๊งกลับต้องชะงักอย่างเลี่ยงไม่ได้ สำนักข่าวในญี่ปุ่นพากันตีข่าวใหญ่เกี่ยวกับยากูซ่าอันดับหนึ่งของประเทศ พวกเขาไม่สามารถจัดการประชุมสำคัญซึ่งเป็นธรรมเนียมทำกันมาเป็นประจำทุกปีได้สาเหตุสำคัญ เหตุผลหลักที่ต้องยกเลิกเป็นเพราะสมาชิกระดับหัวหน้าล้วนมีอายุมาก บอสใหญ่ไต่เต้าจากแก๊งสาขานาโกย่ามาเป็นผู้นำสูงสุดรุ่นที่ 6 ของแก๊ง ชิโนดะ เคนอิจิ (Shinoda Kenishi) และเบอร์สองของแก๊งอย่างนายน้อยทากายามะ คิโยชิ (Takayama Kiyoshi) มือขวาที่เปรียบเสมือนคู่หูคู่คิดของชิโนดะ แม้ทั้งสองจะลุยมาทุกสมรภูมิเดือด แต่ปัจจุบันสองคนมีอายุมากทำให้เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลจากการศึกษาไวรัสโควิด-19 ของศูนย์วิจัยหลายแห่งต่างลงความเห็นไปในทางเดียวกันว่า ชายสูงวัยมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส จนทำให้เสียชีวิตง่ายกว่าผู้หญิงหรือคนอายุยังน้อย รวมถึงชายจากยุค 70-80 ที่มีรอยสักเต็มตัวและมีประวัติใช้สารเสพติดจะยิ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อไวรัสมากขึ้นกว่าคนอื่น ๆ เพราะตับที่ทำงานหนักจากรอยแผลทั่วร่าง (รอยสัก) ควบคู่กับการดื่มเหล้าใช้ยาจนร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงให้ยากูซ่าระดับบิ๊ก ๆ เข้าใกล้ความตายได้ง่ายขึ้น ผลคือตอนนี้งานประชุมใหญ่ที่สร้างความตื่นตระหนกให้ผู้คนแถวสำนักงาน สื่อญี่ปุ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องมาคอยเฝ้าระวังทุกปีต้องพับแผนการเดิมทั้งหมดทิ้ง นอกจากนี้ สำนักข่าวญี่ปุ่นยังรายงานอีกว่า สมาชิกของแก๊งทั้งระดับสูงไปจนถึงระดับล่าง ต่างแสดงความกังวล พวกเขารู้สึกอ่อนไหวกับเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
หากพูดถึง ‘คาตานะ’ บางคนอาจยังไม่รู้จักและไม่แน่ใจว่าคืออะไร แต่ถ้าเอ่ยถึงดาบของซามูไรคนส่วนใหญ่มักรู้ถึงความแข็งแกร่ง ความคม กับจิตวิญญาณของนักรบผู้ถือดาบที่เชื่อมกับคาตานะในมือ ซึ่งชาวญี่ปุ่นต่างยกย่องว่าดาบคาตานะเป็นอาวุธร้ายกาจที่สร้างสรรค์จากเหล็กกล้าเนื้อดีและคมกริบจนน่าตกใจ เวลานี้มีดาบญี่ปุ่น 5 เล่ม ถูกเรียกว่า “ห้าดาบใต้หล้า” หรือ “ห้าดาบสวรรค์” (Tenka-Goken) ทั้งหมดล้วนเป็นดาบที่แข็งแกร่ง สวยงาม ผ่านกาลเวลามาอย่างโชกโชนแต่ยังคงความสมบูรณ์แบบ พร้อมถ่ายทอดประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของนักรบญี่ปุ่น โดยดาบนามว่า มิคาสึกิ มุเนะจิกะ (Mikazuki Munechika) หนึ่งใน 5 ดาบชั้นยอด ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว แถมยังสร้างความตื่นตะลึงให้กับผู้มาเยือน เพราะเวลาผ่านมากว่าพันปีแต่ดาบยังคงเงางามเหมือนเพิ่งตีเสร็จใหม่ ๆ การตีดาบคาตานะถูกทำต่อเนื่องมากว่าพันปี ช่างตีดาบชาวญี่ปุ่นสามารถตีดาบด้านคมตัดได้แม้กระดาษหรือเส้นผมหนึ่งเส้นทั้งที่ยุคนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีทันสมัยหรือเครื่องจักรคุณภาพสูง จึงทำให้คาตานะกลายเป็นผลงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวญี่ปุ่น ยุคแรกเริ่มที่ญี่ปุ่นเริ่มตีดาบอย่างจริงจัง ว่ากันว่ามีช่างตีดาบคนหนึ่งจากยุคโบราณ (นักประวัติศาสตร์คาดเดาว่าเขาน่าจะอยู่ในยุคนารา (ค.ศ. 710194) หรือยุคเฮอัง (ค.ศ. 794-1185)) นามว่า “อามากุนิ” (Amakuni) รู้สึกหงุดหงิดเมื่อรู้ข่าวว่าลูกค้านำผลงานของเขาไปใช้แล้วดาบหักออกเป็นสองท่อน จึงเริ่มต้นค้นคว้าหาว่าพอจะมีวิธีไหนบ้างที่ทำให้ดาบแข็งแกร่งขึ้น ในที่สุดเขารู้เคล็ดลับการตีดาบว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่การเลือกเนื้อเหล็กราคาแพงสุดหรือใช้วัตถุดิบหายากจากต่างแดน แต่เป็นเรื่องของการควบคุมความเย็น ปริมาณคาร์บอนที่เหมาะสมเพราะถ้ามีคาร์บอนมากเกินไปดาบจะเปราะแต่หากคาร์บอนน้อยเกินไปดาบจะอ่อน ตีดาบซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้เนื้อเหล็กทับซ้อนเข้าด้วยกัน และแยกสารปะปนในเหล็กออกมาทำให้ดาบไม่หักง่ายอีกต่อไป แม้วิธีของอามากุนิจะแก้ปัญหาดาบหักเป็นสองท่อนแต่ถือว่ายังไม่ดีพอ เหล่านักรบต้องการมากกว่าดาบที่ไม่หัก พวกเขาต้องการดาบที่สามารถบั่นคอคนกระเด็นด้วยการฟันแค่ครั้งเดียว
ถ้าใครพอรู้จักสไตล์การใช้ชีวิตกับความคิดของคนญี่ปุ่น เราจะรู้ว่าพวกเขามุ่งเน้นความคิดและจิตวิญญาณ การทำบางสิ่งจากความต้องการภายใน การเคารพธรรมชาติ บูชิโด อิคิไกและคิสึงิ ดังนั้นเมื่อมีคนทำผิดกฎหมายพวกเขาต้องรับโทษไม่ต่างจากคนทำผิดในประเทศอื่น ๆ ความแตกต่างที่น่าสนใจของกระบวนการยุติธรรมญี่ปุ่นคือพวกเขาไม่ต้องการให้นักโทษรู้สึกสูญสิ้นตัวตน ไม่ได้บอกว่าคนทำผิดเป็นคนสารเลว พยายามดึงให้คนที่จิตใจต่ำทรามที่สุดรู้สึกสำนึกให้กลับมาเป็นคนดีอีกครั้ง ผ่านการบีบคั้นอยู่ในห้องสอบสวนเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้นักโทษรับสารภาพให้ได้ ฟังเหมือนหนังสือการ์ตูนลูกผู้ชาย แต่ระบบความยุติธรรมและความคิดส่วนใหญ่ของชาวญี่ปุ่นเป็นแบบนี้จริงๆ หลายคนเมื่ออ่านแล้วอาจยังไม่อยากปักใจเชื่อ ดังนั้น UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปสำรวจคุกญี่ปุ่นไปพร้อมกันว่าภาพของเรือนจำตรงกับที่จินตนาการไว้ตอนแรกหรือไม่ ภายใต้ความเรียบง่ายนั้นซ่อนความกดดันมหาศาลให้กับเหล่านักโทษอย่างไรบ้าง หลังผ่านกระบวนการสืบสวนสอบสวนสุดหนักหน่วงและพิสูจน์แล้วว่ามีความผิด คนเหล่านั้นถูกส่งตัวไปยังเรือนจำ พอเข้ามาในเขตเรือนจำก็พบกับสไตล์สุดมินิมัลตามแบบฉบับญี่ปุ่น บรรยากาศโล่ง ไม่อึดอัด ไม่สกปรก สีขาวสะอาดตาตัดกับลูกกรงสีเทาสูงเลยหัวและพื้นกระเบื้องสีน้ำตาลอ่อน เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แถมห้องพักของนักโทษญี่ปุ่นจะแตกต่างจากคุกประเทศอื่น ๆ ปกติแล้วห้องนอนในคุกควรเป็นเตียงเหล็กสองชั้นสามหลัง นอนได้หกคนท่ามกลางบรรยากาศทึบ สีเทาของพื้นปูน กำแพงคอนกรีตไร้หน้าต่าง แต่ญี่ปุ่นนำสไตล์การแต่งห้องดั้งเดิมอย่างการปูเสื่อทาทามิ มีฟูกพับได้ให้นอนที่พื้น บางห้องอยู่คนเดียว บางห้องจุคนได้ 6-12 คน การจัดห้องให้ความรู้สึกเหมือนบ้านและสะท้อนภาพลักษณ์ชาตินิยมอย่างชัดเจน แถมห้องอาบน้ำยังมีบ่อแช่ตัวเหมือนโรงอาบน้ำสาธารณะข้างนอกเรือนจำ การใช้จ่ายภายในเรือนจำเหมือนกับภาพยนตร์หรือซีรีส์คุกที่เคยดูทั้งของญี่ปุ่นและต่างประเทศ นักโทษจะไม่ได้รับอนุญาตให้พอเงินสดแต่เงินที่ญาติ ๆ ส่งมาจะถูกเปลี่ยนเป็นแสตมป์ โดยนำโทษนำแสตมป์ไปซื้อสิ่งของที่ต้องการได้ ณ ร้านสหกรณ์เหมือนอย่างซีรีส์เรื่อง Orange is the New Black
กลุ่มคาราวานขี่มอเตอร์ไซค์ไปตามที่ต่าง ๆ หรือนักดนตรีพังก์ที่ออกจากบ้านมาร้องเพลงในบาร์เล็ก ๆ ทุกคืนวันเสาร์ แก๊งยากูซ่าผู้ถูกเกลียดชัง ทั้งหมดคือกลุ่ม Subcultute หรือวัฒนธรรมย่อยที่ซ่อนตัวอยู่ในสังคม เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มผู้คนความชอบเดียวกัน แถมการรวมกลุ่มพวกเขามักโดดเด่นและมีเอกลักษณ์จนคนจำได้ เหตุผลที่ UNLOCKMEN พูดถึงชาวพังก์ แก๊งบิ๊กไบค์ และกลุ่มแยงกี้กับยากูซ่า ที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องใด ๆ กันมากนักเป็นเพราะพวกเราได้เจอกับแบรนด์เครื่องหนังสัญชาติญี่ปุ่นชื่อว่า “Blackmeans” ที่ร่วมสืบทอดวัฒนธรรมย่อยเหล่านี้ให้ได้ไปต่อในกระแสสังคม ผ่านการออกแบบเครื่องหนังที่ถือเป็นไอเทมยอดฮิตสำหรับชาวแก๊งทั้งสาม แจ็กเกตหนังคือไอเทมประจำตัวของหนุ่ม ๆ ผู้ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์ระยะไกล อาจเป็นเพราะแจ็กเกตหนังแขนยาวสามารถกันแดด ป้องกันผิวหนังเวลาเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าผ้าชนิดอื่น ๆ แถมยังสามารถสลักรูปประจำกลุ่มไว้กลางหลังได้เหมือนอย่างแก๊ง Hell Angels อันโด่งดัง ส่วนชาวพังก์ก็มักสวมเสื้อกั๊กหนัง ปลอกคอหนัง และกำไลข้อมือหนังออกไปพบปะกับคนคอเดียวกันในบาร์เหล้า ส่วนยากูซ่ากับแก๊งแยงกี้ก็มักมีเสื้อหนังประจำกลุ่มแบบเดียวกับกลุ่มบิ๊กไบค์ เครื่องแต่งกายคือสิ่งเติมเต็มความพึงพอใจทำให้ผู้คนจดจำพวกเขาได้ การให้ความสำคัญกับแฟชั่นจึงเป็นเรื่องสำคัญทำให้คนทั่วไปเข้าใจสิ่งที่พวกเขาพยายามจะสื่อ Yujiro Komatsu (ยูจิโร่ โคมัตสึ) เป็นชายที่ชื่นชอบเครื่องหนังมาก เขาไม่ได้บอกว่าตัวเองเป็นชาวพังก์ เป็นสมาชิกแก๊งยากูซ่า หรือว่าขี่บิ๊กไบค์แต่เขาเป็นแค่คนหลงรักเครื่องหนังและเห็นชาวพังก์มาตั้งแต่ 10 ขวบ แถมยังรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ความชอบของตัวเองตอบโจทย์ของคนหลายกลุ่มได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากความชอบส่วนตัวยูจิโร่ยังได้แรงบันดาลใจที่ทำให้ก้าวสู่โลกแฟชั่นจากการเห็น John Lennon สวมเสื้อ “Sukajan” ในปี
คนที่อ่านมังงะเรื่องวันพีซ (One Piece) มาตั้งแต่ตอนแรกจนถึงปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักชนชั้นสูงของโลกที่เรียกว่า “เผ่ามังกรฟ้า” และ UNLOCKMEN เชื่อว่าเกือบทุกคนจะต้องหมั่นไส้ตัวละครกลุ่มนี้มากแน่นอน เพราะพวกเขาไม่เคยแคร์คนอื่น ห้ามใครขัดใจ คิดว่าตัวเองเป็นเทพเจ้า ใครขัดขืนเผ่ามังกรฟ้า ถ้าไม่ถูกเอาไปเป็นทาสต้องพบกับความตาย แล้วเพราะอะไรพวกเขาถึงยิ่งใหญ่คับฟ้าขนาดนี้ ? เผ่ามังกรฟ้า (Celestial Dragons) ปรากฏตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันพีซตอนที่ 497 พวกเขาเป็นสมาชิกของราชวงศ์เก่าแก่ 20 ตระกูล ที่ร่วมกันสร้างรัฐบาลโลกเมื่อ 800 ปีก่อน เมื่อสงครามใหญ่จบลงพวกเขาพากันไปใช้ชีวิตอยู่บนดินแดนศักดิ์สิทธิ์แมรี่โจอาหรือแมรีจัวส์ (Mariejois) ผืนแผ่นดินที่ตั้งอยู่บนยอดของเรดไลน์ พร้อมกับคัดเลือกคนที่เหมาะสมให้มาปกครองดินแดนต่าง ๆ แทนตัวเองที่ย้ายไปอยู่ยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่เผ่ามังกรฟ้าตระกูลเนเฟลตาลี (Nefertari) ขอเลือกใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นดินปกติตามเดิม และลูกหลานของตระกูลนี้เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโจรสลัดหมวกฟางกลุ่มตัวละครหลักของเรื่อง เรื่องราวของเผ่ามังกรฟ้าที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับพระเจ้าถูกอาจารย์โอดะค่อย ๆ สอดแทรกอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมของหนังสือการ์ตูน ทำให้คนอ่านตามเก็บรายละเอียด รับรู้เรื่องราวของชนชั้นสูงในโลกวันพีซว่าพวกเขายิ่งใหญ่ ถูกเรียกว่า ‘สายเลือดของพระเจ้า’ และไม่ค่อยสุงสิงกับพวกมนุษย์ชั้นต่ำ เราจะได้เห็นแฟชั่นของชนเผ่ามังกรฟ้าแบบเต็ม ๆ ครั้งแรกเมื่อพวกลูฟี่มาเยือนยังหมู่เกาะชาบอนดี้ เผ่ามังกรฟ้าจะไม่ใช้อากาศหายใจร่วมกับมนุษย์คนอื่น ๆ พวกเขาแต่งตัวเหมือนกับมนุษย์อวกาศ รวมถึงสัตว์เลี้ยงมีค่ามากกว่าคนทั่วไป ไม่ค่อยออกจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าจะลงมาข้างล่างพวกเขามักแวะเวียนมายังหมู่เกาะชาบอนดี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงประมูลทาสที่ใหญ่ที่สุดในโลก เผ่ามังกรฟ้าเวลาออกจากแมรี่โจอาแต่ละครั้งมักสร้างความเดือดร้อนให้ผู้คน
ภาพจำเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นอย่างกรุงโตเกียวของคุณคืออะไร ? ภาพทางม้าลายหลายสายที่ผู้คนหลายร้อยสัญจรไปมาพร้อมกัน ภาพโบกี้รถไฟฟ้าที่อัดแน่นไปด้วยเหล่ามนุษย์เงินเดือน ภาพเหล่าวัยรุ่นแข่งกันแต่งตัวหลุดโลกย่านฮาราจุกุ หรือภาพเมืองตอนกลางคืนเหมือนกับหนัง Sci-Fi บรรยากาศหว่องจนจำไม่ได้ว่านี่คือเมืองที่เต็มไปด้วยแสงสีและผู้คน Greg Girard ก็มีภาพจำของโตเกียวในมุมของตัวเอง เขาชื่นชอบการสำรวจบ้านเรือนในประเทศเอเชียพร้อมบันทึกความทรงจำที่พบเจอผ่านกล้องถ่ายรูป ตระเวนไปทั่วทั้งฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ และมีภาพถ่ายเซตหนึ่งที่ UNLOCKMEN ให้ความสนใจเป็นอย่างมากนั้นคือภาพถ่ายนครโตเกียวช่วงปลายทศวรรษ 1970 (1976-1983) ทำให้เราเห็นเมืองหลวงญี่ปุ่นในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน การจะมองเห็นภาพแท้จริงของแต่ละเมืองเราต้องไม่เลือกดูแค่สถานที่ที่ประเทศเตรียมไว้พรีเซนต์ชาวต่างชาติ แต่การเดินไปยังย่านทำงาน ห้างสรรพสินค้าที่คนท้องถิ่นนิยมไปเดิน โรงภาพยนตร์ไปจนถึงย่านพักอาศัยราคามหาโหดยันแฟลชรูหนูคือการได้เห็นวิถีชีวิตจริง ๆ ของพวกเขา Greg Girard ช่างภาพหนุ่ม (ในสมัยนั้น) ออกจากห้องพักมุ่งหน้าไปยังคาบูกิโจ (Kabukicho) ย่านที่รวบรวมสถานบันเทิงน้อยใหญ่ทุกรูปแบบที่เปิดรอต้อนรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนผู้เคร่งเครียดจากการทำงานทั้งวัน ในคืนฝนตกแหล่งบันเทิงที่ควรจะคึกคักกลับดูเงียบผิดหูผิดตา และเมื่อนำบรรยากาศของคาบูกิโจปี 1977 มาเทียบกับปัจจุบัน จะเห็นเลยว่าสถานบันเทิงในญี่ปุ่นเติบโตขึ้นต่อเนื่องจริง ๆ โปสเตอร์ภาพยนตร์สุดฉาวที่มีคนดูแล้วอ้วกจริง ๆ กับเรื่อง Solo: 120 Days of Sodom (1975) หรือชื่อภาษาไทย ‘สุขนาฏกรรมอเวจี’ ผลงานการรวมทุนสร้างของค่ายหนังอิตาลีและฝรั่งเศส ก็ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของโตเกียวปี 1977 ซึ่งตัวของช่างภาพที่ถ่ายรูปโปรเตอร์สุดวินเทจนี้เก็บไว้ก็ไม่รู้ว่าคนญี่ปุ่นมีมุมมองอย่างไรบ้างเกี่ยวกับหนังวิตถารเรื่องนี้ โตเกียวปี
ถ้าใครเป็นแฟนคลับแอนิเมชันจากเกาะญี่ปุ่นเราเชื่อว่าจะต้องรู้จักสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) ค่ายหนังแอนิเมชันของญี่ปุ่นที่ผลิตผลงานอันเป็นเอกลักษณ์และได้รับความนิยมในไทยมาตั้งแต่ยุค 90 แถมสมัยก่อนถ้าใครอยากจะดูผลงานของค่ายนี้ก็จะต้องมุดหาดูใต้ดินแบบผิดกฎหมาย ดูวิดีโอเถื่อน แผ่นซีดีเถื่อน เพราะไม่มีใครซื้อมาฉายแบบถูกลิขสิทธิ์สักที แอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิมักมีเนื้อหาสะท้อนสังคม ชวนให้ตั้งคำถามถึงศีลธรรมกับจิตใจอันยากจะเดาได้ของมนุษย์ บอกเล่าเรื่องราวผ่านลายเส้นน่ารัก ๆ ที่ซ่อนเนื้อหาหนักเอาไว้ได้อย่างแนบเนียน ด้วยเนื้อหา การเล่าเรื่อง ลายเส้น และดนตรีประกอบกลมกล่อมจนสามารถคว้ารางวัลใหญ่ของวงการภาพยนตร์อย่างออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมมาครองได้ หลังจากมุดใต้ดินกันมานาน ในที่สุดแอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิก็ก้าวขึ้นสู่วัฒนธรรมกระแสหลักอย่างเต็มตัว ปัจจุบันเราสามารถดูผลงานของสตูดิโอจิบลิในโรงภาพยนตร์ ดูผ่านระบบสตรีมมิงชื่อดังอย่าง Netflix ที่ในตอนนี้ขนแอนิเมชันกว่า 21 เรื่อง แบ่งปล่อย 3 เดือนติดกัน เริ่มจากวันแรกของเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2020 ให้แฟนหนังได้เลือกดูเรื่องที่ชอบกันจนตาแฉะ UNLOCKMEN ได้รวบรวมรายชื่อแอนิเมชันทั้งหมด 21 เรื่อง พร้อมกับเรื่องย่อของแต่ละเรื่องมาให้คนอยู่บ้านเหงา ๆ เลือกดูกัน บางคนอยากนั่งดูแบบอมยิ้ม ดูแล้วคิดถึงรักครั้งแรก บางคนอยากร้องไห้จนตาบวม หรือบางคนอยากสัมผัสความเหงาหว่อง ก็เลือกกันตามสไตล์ที่อยากดูได้เลยครับ 1 FEBRUARY 2020 PORCO ROSSO (1992)