“ถ้าอยากให้มวลมนุษยชาติมีชีวิตรอด เราคงต้องย้ายไปดาวดวงอื่น” ถ้าคุณได้ยินคำพูดทำนองนี้เมื่อ 3 ปีก่อน คุณอาจคิดว่าใครคนนั้นกำลังเขียนนิยาย Sci-Fi พล็อตว่าด้วยหายนะล้างโลก หรือไม่ใครคนนั้นก็อาจเสียสติไปแล้วแน่ ๆ แต่เมื่อคำพูดนี้ออกมาจากปากสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นักฟิสิกส์ทฤษฎี และนักจักรวาลวิทยา ก็อาจพอกระทุ้งให้ผู้คนหยุดฟังบ้าง แต่ท้ายที่สุดความคิดที่ว่ามวลมนุษยชาติจะสูญพันธุ์ โลกจะถึงกาลอวสาน จนเราต้องหาอาณานิคมใหม่บนดาวสักดวงในเวิ้งอวกาศก็ดูเป็นเรื่องไกลตัวเราอยู่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อปี 2020 เดินทางมาถึงพร้อมวิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดไปทั่วโลกก็ทำให้หลายคนนึกย้อนไปถึงคำพูดของนักฟิสิกส์ผู้ล่วงลับ โดยครั้งหนึ่งเขาเคยพูดถึงการสูญพันธุ์ของมวลมนุษยชาติด้วยหลายสาเหตุ และหนึ่งในสาเหตุนั้นคือ “ไวรัส” “ผมเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงที่จะถูกกวาดล้างจนสูญพันธุ์ ทั้งจากสงครามนิวเคลียร์ หรือจากไวรัสที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม มนุษยชาตินั้นคงสิ้นอนาคต ถ้าเราไม่ออกไปสู่ห้วงอวกาศ” นอกจากนั้นเขายังเคยกล่าวไว้ว่าหายนะที่จะกวาดล้างมวลมนุษยชาติ ยังมีอีกหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การโจมตีจากดาวเคราะห์น้อย รวมถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกของเองที่เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงการคุกคามจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ความเป็นนักฟิสิกส์ นักจักรวาลวิทยาและความสงสัยใคร่รู้ของเขาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งทำให้เขาครุ่นคิดถึงเรื่องอนาคตของมวลมนุษยชาติอยู่บ่อย ๆ สตีเฟน ฮอว์คิงขึ้นพูดใน Starmus Festival ที่ประเทศนอร์เวย์ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2017 เรื่องอนาคตของมวลมนุษยชาติเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ “พื้นที่บนโลกใบนี้กำลังร่อยหรอลงทุกที ๆ และที่ที่เราจะไปได้คือดาวดวงอื่น
ไม่กักตุนก็มีข้าวกิน ไม่ออกข้างนอก ไม่ใส่หน้ากากอนามัยก็ได้ ไม่เข้าออฟฟิศ ก็ทำงาน Work from Home ไปดิ ถึงภาวะนี้เราจะอยู่ได้ เรื่องเงินทอง ปากท้องจะสำคัญขนาดไหน แต่อีกมุมที่อยู่นอก target ของคนทำงานที่ทุกสื่อกำลังประโคมข่าว เรายังไม่ค่อยเห็นคนพูดถึงเยาวชนที่กำลังจะข้ามชั้นวัยหัวเลี้ยวเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ ทั้งที่พวกเขากำลังจะเรียนจบและรอคอยเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิตของความพากเพียรอย่างการรับปริญญา แม้การเรียนจบ รับปริญญา มีรูปสักใบที่ถ่ายกับเพื่อและคนใกล้ชิดในชุดที่เช่ามาไว้เป็นที่ระลึก เพื่อเป็นของขวัญให้พ่อแม่และตัวเองจะไม่ใช่ฝันสำหรับคนทุกคน แต่สำหรับคนที่อยากมีมันไว้นี่คือความคับข้องใจที่เกิดขึ้น และเมื่อมีปัญหา GEN Z ก็ถึงเวลาระดมไอเดียรอรับปริญญาตอนอยู่บ้านกันหน่อยว่ารู้สึกยังไงหรือจะทำอย่างไรต่อ เด็กประถมญี่ปุ่นที่อยากรับประกาศนียบัตร เรื่องนี้มันเริ่มจากเราเห็นข่าวของเด็กชายวัยประถมชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ทวีตผ่านโซเชียลว่าตัวเองกำลังจัดพิธีจบการศึกษาในช่วงโควิด-19 วันที่ผู้คนยังไม่ได้ออกไปนอกบ้าน ด้วยการสร้างโถงการจบการศึกษาเองในเกม Minecraft จากนั้นก็เชิญชวนเพื่อน ๆ ที่ตอนนี้โดนกักตัวอยู่เหมือนกันมารับการศึกษาในห้องนั้น 一日中オンラインで集まってゲームをやって笑い転げている。楽しそうで良いねぇ。 pic.twitter.com/sYqoJ1zYaj — 柏原周平 (@backyennew) March 14, 2020 สีสันของการรับปริญญาในเกม เสียงหัวเราะ ไอเดียแบบเด็ก ๆ ที่เขาสร้างขึ้นช่วยคลายเครียดในสภาวะนี้แล้วทำให้เราได้มาพบปะกันอย่างปลอดภัย ใครอยากตั้งอวตารสวยหล่อแต่งตัวอย่างไรก็ทำได้ อยากคุยกันนานแค่ไหน หรือเล่นกันด้วยไอเทมที่มีก็เป็นอีกฟีลของการมีตติ้งที่ไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด แล้วนอกจากเด็กญี่ปุ่นล่ะ? จะมีคนสนใจเรื่องนี้กันแค่ไหน…หลังจากเราลองไปสำรวจดูก็พบว่า บัณฑิตฟากตะวันตกเขาก็สนใจเรื่องนี้ไม่ต่างกัน หลายคนแห่แชร์กันในทวีต
ทั่วโลกต่างตื่นตระหนกกับไวรัสโควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วและยังไม่สามารถหยุดยั้งได้ หลายประเทศออกมาตรการฉุกเฉิน ยกเลิกเที่ยวบิน ปิดห้างสรรพสินค้า ปิดประเทศ ห้ามผู้คนสัญจรไปมาเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงประเทศในอเมริกาใต้อย่างบราซิลที่เริ่มปิดบางย่านในเมืองหลวงแล้วเช่นกัน แต่การปิดเมืองของพวกเขาแปลกกว่าที่อื่นเพราะคนสั่งปิดไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นแก๊งมาเฟีย การปิดบางย่านในเมืองหลวงริโอ เดอ จาเนโร (Rio De Janeiro) ถูกตีข่าวโดยสำนักข่าวใหญ่ชื่อดังของโลก reuter (รอยเตอร์) เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อแก๊งพ่อค้ายาเสพติดผู้มีอำนาจใน Favela (ย่านสลัมที่กระจายตัวอยู่ทั่วกรุงริโอฯ) นำกองกำลังติดอาวุธลงพื้นที่ บังคับไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านในยามวิกาล ปิดตลาดสดชั่วคราว สั่งใช้เคอร์ฟิวกับคนในชุมชนอย่างเข้มงวดเพราะกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยไม่แคร์รัฐบาลที่ยังไม่ยอมออกมาตรการใด ๆ เพื่อประชาชน ความกังวลต่อไวรัสของแก๊งมาเฟียคุมย่านสลัมของเมืองริโอฯ ถึงจุดแตกหัก เมื่อกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าพบผู้เชื้อไวรัสในย่านเสื่อมโทรมมากขึ้นทำให้พวกเขาทนไม่ไหวตัดสินใจออกโรงเอง การเคลื่อนไหวของมาเฟียพวกนี้แสดงให้เห็นว่าไวรัสสามารถเข้าถึงทุกคนโดยไม่สนว่าจะรวยหรือจน หรือมีอำนาจล้นมือมากแค่ไหน แถมไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดในประเทศบราซิลไม่ได้เริ่มมาจากคนจนในชุมชนแออัด แต่ติดมากับพวกผู้ดีมีอันจะกินที่เดินทางกลับจากยุโรปและนำเชื้อไวรัสมาแพร่ให้คนอื่น ๆ ในประเทศ ไวรัสแพร่จากคนรวยสู่ผู้คนทุกชนชั้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งในชุมชนสลัมแออัดมีคนอยู่รวมกันเยอะ ๆ พวกเขาคือคนโชคร้ายรับภาระหนักกว่าคนอื่น จนทำให้คนบราซิลพากันเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กันว่า “The disease of the rich” หรือ “โรคของคนรวย” Thamiris Deveza แพทย์ผู้ทำงานอยู่ในย่าน Favela
ต้องยอมรับว่าจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นปัจเจกบุคคลอาจยังไม่พอทุเลาสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 การกระตุ้นและรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์จึงเป็นอีกเครื่องมือช่วยเปลี่ยนปรับพฤติกรรมที่ใช้ได้ผล ทว่าบางครั้งข้อมูลที่ประชาชนได้รับเป็นทางการมากเกินไป ใช้ศัพท์วิชาการที่เข้าใจได้เฉพาะกลุ่ม หรืออัดแน่นเบียดเสียดไปด้วยตัวอักษรที่มักจะทำให้ใครหลายคนไม่อยากคลิกเข้าไปอ่าน งานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่ทำให้คนเข้าใจไวรัสง่ายกว่าเดิม ต่อให้ใช้ข้อมูลเดียวกันและส่งไปยังกลุ่มผู้อ่านที่ต่างกัน ก็ไม่อาจรับประกันว่าผู้รับสารที่เป็นทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในทิศทางเดียวกันได้ เหล่าศิลปินและนักออกแบบจึงผลิตผลงานสุดสร้างสรรค์เพื่อรณรงค์และแนะนำวิธีการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องในช่วงที่ไวรัสแพร่ระบาด พวกเขานำความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้ากับสัญลักษณ์ รูปภาพ ตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบเพื่อสื่อความหมายเชิงทัศนศิลป์ และช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาระทั้งหมดที่ต้องการสื่อได้ง่าย ๆ เพียงตาเห็น ภาพเคลื่อนไหวจำลองพลังของเชื้อไวรัส Harry Stevens จากหนังสือพิมพ์ The Washington Post จำลองภาพโมชั่นกราฟิกให้เห็นถึงพลังของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งประชาชนอยู่ใกล้ชิดกันในพื้นที่สาธารณะมากเท่าไร ยิ่งทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายง่ายขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามมาได้ นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานดีไซน์ที่ตอกย้ำว่า Social Distancing หรือการเว้นระยะห่างจากสังคม ยังเป็นเรื่องสำคัญเสมอตราบเท่าที่เราไม่อาจมองเห็นเชื้อไวรัสด้วยตาเปล่า หรือยังไม่มีวัคซีนจำนวนมากพอจะยับยั้งไวรัสได้อย่างขาดรอย ภาพประกอบสุดกวนที่เล่าอาการของผู้ติดเชื้อ ผู้สื่อข่าวสายข้อมูลชาวอังกฤษ Mona Chalabi โพสต์ภาพวาดประกอบของเธอลงใน Instagram ส่วนตัวเพื่ออธิบายอาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบเข้าใจง่าย เธอใช้ภาพวาดสุดกวนที่ดูตลกและสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกันสื่อความหมายว่าอาการผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ต่างจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดอย่างไร แถมสีสัน สายเส้น และฟอนต์ตัวอักษรที่เธอเลือกใช้ก็ไม่ได้ดูหดหู่หรือเคร่งเครียดเกินไปด้วย ไม้ขีดไฟที่ไม่ถูกเผาไหม้
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดส่งผลกระทบอีเวนต์กีฬาทั่วโลกให้ต้องเลื่อนหรือยกเลิกการแข่งขันจำนวนมาก ทำให้หนุ่มที่เป็นคอกีฬาในช่วงนี้จิตใจห่อเหี่ยวเป็นบางครั้งเพราะไม่มีการแข่งขันที่ชื่นชอบมาถ่ายทอดสดให้ชมด้วยอารมณ์เกาะติดขอบสนามมากนัก และการแข่งขันรถสูตร1 หรือ Formula 1 เป็นอีกการแข่งขันที่ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ เพราะการแข่งขันรถสูตร 1 ในปี 2020 มีการแข่งขันมากถึง 22 Grand Prix กระจายแข่งตามประเทศต่าง ๆ หลากหลายทวีปทั่วโลก และการระบาดก็ส่งผลให้การแข่งขันหลายสนามของปีนี้ถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไป แต่เพื่อแฟน ๆ หลักล้านที่ตั้งตารอเสียงฟังพากย์ “ITS LIGHTS OUT AND AWAY WE GO” ทางนักกีฬาและผู้จัดได้สร้างโปรเจกต์การแข่งขันออนไลน์แบบไม่เป็นทางขึ้น เพื่อเอาใจคนที่รอคอยไปก่อน อย่างที่บอกไปว่า Formula 1 ฤดูกาล 2020 ได้รับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการแข่งขันทั้งหมด 22 สนามในปีนี้ถูกยกเลิกตั้งแต่สนามแรกที่ Australian Grand Prix ล่าสุด Monaco คือสนามล่าสุดที่ขอยกเลิก รวมถึงอีก 6 สนามที่ถูกเลื่อนโปรแกรมออกไปเป็นที่เรียบร้อย แต่หลังจากการแข่งขันในสนามที่ 2 คือ Bahrain Grand
บนโลกออนไลน์ไวรัลมีมยังคงทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน บางครั้งก็เกาะกระแสสถานการณ์โลกไปเรื่อย ๆ หรือบางทีก็เกิดขึ้นอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยแล้วแพร่กระจายออกไป ไม่เว้นแม้แต่ช่วงโควิด-19 เพราะช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่หลายคนมีโอกาสอยู่บ้านและไถฟีดในโลกออนไลน์มากกว่าปกติจึงอาจเห็นมีมแปลก ๆ สร้างสรรค์ไม่เว้นแต่ละวัน “Safety Match” หรือมีมไม้ขีดไม่โดนเผา แอนิเมชันสั้น ๆ เพื่ออธิบายความหมายของ Social Distance คือหนึ่งในไวรัลที่เกิดขึ้นและแชร์กันไวบนโลกออนไลน์ หลายคนชื่นชมเพราะการอธิบายด้วยภาพ ทำให้เข้าใจได้ง่าย ว่าการทำ Social Distance มันมีประโยชน์อย่างไรในชีวิตจริง ลดความเสียหายได้มากมายขนาดไหน และถ้าเราทุกคนทำ Social Distance เช่นนี้วงจรการติดเชื้อจะลดลงได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือ งานนี้ถ่ายทำรวมตัดเสร็จภายใน 1 วัน ใช้ iPhone เป็นอุปกรณ์ถ่ายทำทั้งภาพและเสียง สร้างและจบงานใน Adobe Premiere สำหรับใครที่ยังไม่เคยเห็นลองมาดูอีกครั้งพร้อม ๆ กัน งานนี้ใครออกแบบ Juan Delcan และ Valentina Izaguirre 2 สามีภรรยาคือศิลปินเจ้าของผลงานการออกแบบแอนิเมชัน “Safety Match” โดย Izaguirre ทำหน้าที่ออกแบบฉาก ส่วน Declan
นอกจากการดูแลร่างกายที่หลายหน่วยงานบอกให้เราล้างมือ ยืนห่าง ใช้หน้ากาก และพยายามอย่าใช้มือสัมผัสใบหน้า ซึ่งเป็นการป้องกันเบื้องต้น แต่ยิ่งเราเข้าใจ Coronavirus มากเท่าไหร่ เรายิ่งสามารถป้องกันตัวเองจากมันได้มากขึ้น ล่าสุดมีผลวิจัยที่น่าสนใจจากประเทศอังกฤษ ประเทศที่มีตัวเลขการระบาดแบบก้าวกระโดด อธิบายระยะเวลาที่ Covid-19 มีชีวิตอยู่นอกร่างกายบนพื้นผิวต่าง ๆ ได้นานแค่ไหน ซึ่งมันทำให้เห็นว่านอกจากการป้องกันเบื้องต้นตามที่หลายหน่วยงานแนะนำ เรายังควรฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวต่าง ๆ ที่เราต้องสัมผัส และการหมั่นล้างมือทุกครั้งเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ทุกคนน่าจะเข้าใจแล้วว่าเจ้าไวรัส severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ต้นเหตุของโรค Coronavirus disease (COVID-19) สามารถแพร่กระจายทางผ่านทางละอองของเหลว การสร้างระยะห่าง Social Distance ไม่น้อยกว่า 2 เมตร รวมถึงการหลีกเลี่ยงไม่รวมตัวในหมู่คนจำนวนมาก จึงเป็นวิธีป้องกันที่ถูกต้องและทุกคนควรทำตามอย่างเคร่งครัด แต่ที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือ เจ้าไวรัสชนิดนี้มันมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์ได้นานหลายชั่วโมงไปจนถึงสูงสุดคือ 72 ชั่วโมง (3 วัน) ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นผิว เป็นการช่วยคอนเฟิร์มว่าเราจำเป็นต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ไม่น้อยกว่า 20 วินาที ทำความสะอาดผิวสัมผัสก่อนจับเสมอ เนื่องจากเจ้า SARS-CoV-2
ถ้าพูดถึงประเทศแห่งแฟชั่นในทวีปยุโรปก็ต้องฝรั่งเศส เมืองที่ถูกเรียกว่าแดนน้ำหอม เมืองแห่งแฟชั่นและความงาม ต้นกำเนิดของแบรนด์แฟชั่นชื่อก้องโลกทั้ง แอร์เมส (Hermes) ชาแนล (Chanel) หลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) เบอร์เบอร์รี่ (Burberry) อีฟส์ แซ็งต์ ลอร็องต์ (Yves Saint Laurent) จีวองชี (Givenchy) รวมถึง คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) ซึ่งชื่อแบรนด์คุ้นหูเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของแฟชั่นที่เกิดจากฝรั่งเศสเท่านั้น UNLOCKMEN เชื่อว่าหากใครติดตามเทรนด์แฟชั่นอยู่ตลอดต้องรู้จัก Louis Vuitton Moet Hennessy (LVMH) บริษัทจำหน่ายสินค้าแฟชั่นลักชัวรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานี้ เพราะเขามีแบรนด์แฟชั่นดัง ๆ เป็น prestigious band มากกว่า 60 แบรนด์ ไม่ได้ยิ่งใหญ่แค่โลกแฟชั่นเท่านั้นแต่ยังวงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีนักธุรกิจนามว่าแบร์นาร์ด อาร์โนลด์ (Bernard Arnuault) เป็นผู้กุมบังเหียนของอาณาจักร LVMH เมื่อต้นปี 2020
ภาพจำเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นอย่างกรุงโตเกียวของคุณคืออะไร ? ภาพทางม้าลายหลายสายที่ผู้คนหลายร้อยสัญจรไปมาพร้อมกัน ภาพโบกี้รถไฟฟ้าที่อัดแน่นไปด้วยเหล่ามนุษย์เงินเดือน ภาพเหล่าวัยรุ่นแข่งกันแต่งตัวหลุดโลกย่านฮาราจุกุ หรือภาพเมืองตอนกลางคืนเหมือนกับหนัง Sci-Fi บรรยากาศหว่องจนจำไม่ได้ว่านี่คือเมืองที่เต็มไปด้วยแสงสีและผู้คน Greg Girard ก็มีภาพจำของโตเกียวในมุมของตัวเอง เขาชื่นชอบการสำรวจบ้านเรือนในประเทศเอเชียพร้อมบันทึกความทรงจำที่พบเจอผ่านกล้องถ่ายรูป ตระเวนไปทั่วทั้งฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ และมีภาพถ่ายเซตหนึ่งที่ UNLOCKMEN ให้ความสนใจเป็นอย่างมากนั้นคือภาพถ่ายนครโตเกียวช่วงปลายทศวรรษ 1970 (1976-1983) ทำให้เราเห็นเมืองหลวงญี่ปุ่นในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน การจะมองเห็นภาพแท้จริงของแต่ละเมืองเราต้องไม่เลือกดูแค่สถานที่ที่ประเทศเตรียมไว้พรีเซนต์ชาวต่างชาติ แต่การเดินไปยังย่านทำงาน ห้างสรรพสินค้าที่คนท้องถิ่นนิยมไปเดิน โรงภาพยนตร์ไปจนถึงย่านพักอาศัยราคามหาโหดยันแฟลชรูหนูคือการได้เห็นวิถีชีวิตจริง ๆ ของพวกเขา Greg Girard ช่างภาพหนุ่ม (ในสมัยนั้น) ออกจากห้องพักมุ่งหน้าไปยังคาบูกิโจ (Kabukicho) ย่านที่รวบรวมสถานบันเทิงน้อยใหญ่ทุกรูปแบบที่เปิดรอต้อนรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนผู้เคร่งเครียดจากการทำงานทั้งวัน ในคืนฝนตกแหล่งบันเทิงที่ควรจะคึกคักกลับดูเงียบผิดหูผิดตา และเมื่อนำบรรยากาศของคาบูกิโจปี 1977 มาเทียบกับปัจจุบัน จะเห็นเลยว่าสถานบันเทิงในญี่ปุ่นเติบโตขึ้นต่อเนื่องจริง ๆ โปสเตอร์ภาพยนตร์สุดฉาวที่มีคนดูแล้วอ้วกจริง ๆ กับเรื่อง Solo: 120 Days of Sodom (1975) หรือชื่อภาษาไทย ‘สุขนาฏกรรมอเวจี’ ผลงานการรวมทุนสร้างของค่ายหนังอิตาลีและฝรั่งเศส ก็ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของโตเกียวปี 1977 ซึ่งตัวของช่างภาพที่ถ่ายรูปโปรเตอร์สุดวินเทจนี้เก็บไว้ก็ไม่รู้ว่าคนญี่ปุ่นมีมุมมองอย่างไรบ้างเกี่ยวกับหนังวิตถารเรื่องนี้ โตเกียวปี
“ผู้นำ” คือแกนหลักสำคัญของประเทศ องค์กร หน่วยงาน ผู้คนจำนวนมากไว้วางใจเลือกผู้นำคนใดคนหนึ่งขึ้นมา เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถเต็มเปี่ยม แต่การเป็นผู้นำไม่ได้หมายความแค่การนำพาประเทศหรือองค์กรให้ไปข้างหน้าแค่ในช่วงเวลาอันสงบสุขเท่านั้น แต่หมายความว่าในสภาวะคับขัน ภัยมา หรือถูกจู่โจมแบบฉับพลัน ผู้นำจะสามารถรับมือกับเรื่องเลวร้ายเหล่านั้นได้สมกับที่ผู้คนไว้วางใจ การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตก็สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญมากไม่แพ้กันคือ “การสื่อสาร” ในสถานการณ์สุดตึงเครียด ในสภาวะที่ประชาชนหวาดกลัว การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและทรงพลังจากผู้นำนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้หลายอย่างคลี่คลาย หรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเรียกความเชื่อมั่นจากฝูงชนให้พร้อมเผชิญอุปสรรคไปพร้อมกัน Angela Merkel วิกฤตล่าสุดที่คนทั้งโลกกำลังเผชิญความท้าทายร่วมกันคือวิกฤตไวรัสโควิด 19 ที่กำลังน่าเป็นห่วงในหลายพื้นที่ ผู้นำแต่ละชาติมีมาตรการรับมือ ป้องกันและแก้ไขแตกต่างกันไป รวมถึงสปีชกับประชาชนในชาติตัวเองที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของแต่ละคนด้วย Angela Merkel สมุหนายกแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ที่ปกติว่ากันว่าเธอไม่ได้ออกมาแถลงอะไรลักษณะนี้บ่อยนัก) แถลงข่าวผ่านทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2020 โดยสปีชครั้งนี้ของเธอได้รับการกล่าวขวัญไปเป็นวงกว้างทั้งความตรงไปตรงมา มีเหตุมีผล เห็นอกเห็นใจผู้คน และสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้คนไปได้พร้อม ๆ กัน Angela Merkel ระบุว่าตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 มา ไม่มีอุปสรรคใดที่คุกคามประเทศของเราได้มากขนาดนี้ ซึ่งทำให้เรายิ่งต้องร่วมมือกัน แม้หลายคนจะเคยกังวลว่าถ้าเป็นผู้นำแล้วออกมาพูดว่ามีปัญหาตรง ๆ จะทำให้คนมองว่าเราไม่มีประสิทธิภาพหรือเปล่า? Angela Merkel ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าการยอมรับว่านี่คือปัญหาที่หนักหนาที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2