ช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ ทำตามใจคนอื่นตลอดเวลา ฯลฯ นิสัยเหล่านี้อาจทำให้เราดูดีในสายตาคนอื่น แต่ถ้าเราทำสิ่งเหล่านี้ เพราะอยากให้คนอื่นยอมรับในตัวเรา ชีวิตของเราอาจจะดิ่งลงหุบเหวได้เช่นกัน เพราะคนที่ชอบเอาอกใจคนอื่น เพื่อให้คนอื่นยอมรับในตัวเอง หรือ ‘people-pleaser’ มักไม่มีความสุข และมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง UNLOCKMEN เลยอยากจะมาพูดถึงลักษณะของ people-pleaser และวิธีการใส่ใจกับตัวเอง เพื่อให้ทุกคนสามารถเลิกเป็นคนที่ชอบเอาอกเอาใจคนอื่น และทำความต้องการของตัวเองมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีความสุขในชีวิตมากขึ้นตามมา 10 ลักษณะของ people-pleaser ก่อนอื่นเราอยากพูดถึงลักษณะของคนที่เป็น people-pleaser ก่อน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น people-pleaser คือ คนที่โหยหาการยอมรับจากคนอื่น เลยต้องแสดงออกในเชิงที่เอาใจคนอื่นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น พูดในสิ่งที่คนอื่นอยากได้ยิน ตอบรับคำเชิญไปงานปาร์ตี้ที่ไม่อยากไป รับงานที่ตัวเองก็ไม่ได้อยากทำ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ส่งผลให้ พวกเขาเลยมักไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต ไม่เป็นตัวของตัวเอง และถูกคนอื่นมองว่าไม่จริงใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณของ people-pleaser ได้แก่ ช่วยเหลือคนอื่น เพราะไม่อยากถูกมองว่าเห็นแก่ตัว หรือ อยากดูดีในสายตาพวกเขา ปากไม่ตรงกับใจ เห็นด้วยกับคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ในใจเห็นต่าง รู้สึกต้องรับผิดชอบกับความรู้สึกของคนอื่น
หลายคนอาจเคยเกิดอาการเบื่องานที่ตัวเองทำอยู่ เพราะบางครั้งงานที่ทำอยู่ก็ไม่ได้น่าสนใจ หรือ บางครั้งเราอาจทำงานน้อยเกินไปจนรู้สึกว่าตัวเองทำประโยชน์ให้กับที่ทำงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้เราไม่มีแพสชั่นในการทำงาน และรู้สึกว่าการทำงานเป็นเรื่องน่าเบื่อขึ้นมา อาการนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Boreout Syndrome’ และส่งผลเสียต่อเราทั้งการทำงานและการใช้ชีวิต เราเลยอยากมาแนะนำ 5 วิธีการรับมือกับอาการ Boreout เพื่อให้เรากลับมาทำงานได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง Boreout ต่างจาก Burnout อย่างไร ? Boreout Syndrome คือ อาการเบื่องานที่มักเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือ น้อยเกินไป บางครั้งก็เกิดจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกับรายละเอียดของงาน หลายคนอาจจะสับสนอาการนี้กับ Burnout เพราะมันค่อนข้างมีความคล้ายกัน แต่เราอยากบอกว่า 2 อย่างนี้แตกต่างกันมาก โดย Boreout เกิดขึ้นจากการทำงานน้อยเกินไป หรือ งานส่วนใหญ่ที่ทำไม่น่าสนใจเพียงพอ ส่งผลให้เรารู้สึกว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองในการทำงานอย่างเต็มที่ เสียแพสชั่นในการทำงาน และเกิดอาการ Boreout ในที่สุด ส่วน Burnout จะตรงข้ามกับ Boreout คือ เกิดจากการทำงานมากเกินไปจนเหนื่อย เครียด รู้สึกไม่มีพลังงานไปทำอย่างอื่น และเมื่อจิตใจเราเหนื่อยล้าจากงาน อาการ Burnout ก็สามารถเกิดขึ้น ซึ่งอาการ