ถามตัวเองว่ากี่เช้าแล้วที่เราลืมตาขึ้นมาเพื่อพบกับโลกใบเก่าและเผชิญการเดินทางบนถนนแสนทรมาน ไหนจะการทำงานสุดหนักหน่วงจนดูดเอาพลังงานทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกายไป และปิดท้ายวันอันเมื่อยล้าเกินทนด้วยการดื่มเพื่อลืมความทุกข์ตรมของชีวิต การพลิกมุมใหม่ในเรื่องเดิม ๆ จึงจะช่วยให้เรามีความสุขกับชีวิตได้มากขึ้น เพราะ Urban Men อย่างเราล้วนแต่ใช้ชีวิตอยู่ในวงจรเก่าซ้ำเดิมไม่จบสิ้น เราใช้เวลาจำนวนมากของแต่ละวันหมดไปความซ้ำซากเพราะเราจมอยู่กับ “มุมมองเดิม ๆ” ในหัวของตัวเราเองเหมือนเดินหลงทางอยู่ในเขาวงกตที่ไร้ทางออก จะดีกว่าไหมถ้าเราพลิกมุมมองด้านลบอันซ้ำซากจำเจที่เราเกลียดแสนเกลียด เพื่อพาตัวเองก้าวเข้าสู่ “มุมมองด้านบวกที่ทำให้ชีวิตสนุกกว่าเดิม” ด้วยการพลิกวิธีคิดใหม่เพื่อเดินทางได้เป็นสุขขึ้น ทำงานได้สุดขีดขึ้นและสนุกกับชีวิตแบบไม่มีข้อจำกัดได้มากขึ้น เพราะชีวิตเราย่อม เลือกได้ แค่พลิกวิธีคิดใหม่ๆ เพื่อใช้ชีวิตให้มีความสุขพุ่งทะยานสู่สิ่งที่แสนสดใส! ไม่ต้องเปลี่ยนโลกแค่พลิกมุมใหม่: THOUGHT DISTORTION ตัวการร้ายแห่งความหน่ายเหนื่อย! “ความเข้าใจ” คือกุญแจแรกสู่โลกแห่งความสดใหม่ที่เราฝันถึง เราคงไม่อาจสลัดต้นตอแห่งความคิดลบ ๆ ออกไปได้ ถ้าเราไม่รู้ที่มาของมันแล้วรีบถอนรากถอนโคนให้ถูกจุด และจุดสำคัญที่เราต้องข้องใจให้ไวเพราะมันคือตัวการร้ายที่ทำให้เราไม่สามารถเป็นตัวเองได้เต็มที่ก็คือ “THOUGHT DISTORTION” เพราะจิตใจของเรานั้นฉลาดเกินกว่าที่เราคิด บ่อยครั้งมันจึงชี้นำ บิดเบือน และชักจูงให้เราหลงคิด หลงเชื่อกับสิ่งที่ไม่เป็นความจริงซึ่งเป็นที่มาของวิธีคิดลบ ๆ ซึ่งวนเวียนอยู่ในหัวเรานั่นเอง แต่ถ้าเรารู้เท่าทันมัน เมื่อนั้นไม่ว่าจิตใจเราจะพยายามบิดเบือนเข้าสู่ด้านลบแค่ไหน เราก็ไม่หวั่นกลัว Black and white thinking: Black and white thinking ถือเป็น THOUGHT DISTORTION อย่างหนึ่งที่เรามักหลงคิดว่าบนโลกใบนี้มีแค่สองสี
บ่อยครั้งที่ความไม่มั่นใจในตัวเองเวลาที่ได้รับมอบหมายงานอาจทำให้เราเครียดและท้อ แต่สำหรับบางคนอาจเครียดหนักกว่าหลายเท่า และคิดอยู่เสมอว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากเพียงพอที่จะทำงานใหญ่ (หรือแม้กระทั่งงานทั่วไปด้วยซ้ำ) ความรู้สึกเหล่านี้บางทีไม่ได้แปลว่าเราไม่เก่งจริง ๆ แต่เราอาจกำลังอยู่ในภาวะรู้สึกแย่กับตัวเองอยู่ก็เป็นได้ Imposter Syndrome หรือ Impostor Phenomenon ถูกเรียกด้วยชื่อภาษาไทยหลายชื่อเช่น ภาวะรู้สึกแย่กับตัวเอง อาการที่คิดว่าตัวเองไร้ความสามารถ เป็นคำที่ปรากฏขึ้นเมื่อปี 1978 โดยนักจิตวิทยาสองคนชื่อ Pauline Clance และ Suzanne Imes ในบทความ “The Imposter Phenomenon in High Achieving Intervention” ที่บันทึกผลวิจัยจากการสัมภาษณ์หญิงสาวที่ประสบความสำเร็จจำนวน 150 คน ซึ่งแต่ละคนล้วนเป็นบุคคลที่มีความสามารถ ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่มีคะแนนสอบสูงที่สุดแต่ละสาขา จากการนั่งพูดคุยกันระหว่างนักจิตวิทยากับหญิงสาวกลุ่มตัวอย่างพบว่า พวกเธอส่วนใหญ่คิดว่าความสำเร็จของเธอไม่ได้มาจากความสามารถของตัวเองจริง ๆ แต่เป็นปัจจัยอื่นต่างหากที่ทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จ เช่น โชค หรือจังหวะเวลาที่เหมาะสม ภาวะรู้สึกแย่กับตัวเองหรืออาการไม่มั่นใจในตัวเองทางการแพทย์ยังไม่เรียกอาการนี้ว่าเป็นโรคทางจิตเวช แต่เป็นภาวะทางจิตชนิดหนึ่ง โดยคนที่อยู่ในภาวะดังกล่าวจะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอที่จะทำสิ่งต่าง ๆ บางครั้งก็วิตกกังวลว่าคนจะรู้ว่าตัวเองไม่เก่ง ซึ่งทั้งหมดแพทย์ต่างลงความเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นการคิดไปเองมากกว่าการยืนยันว่าบุคคลเหล่านี้ไร้ความสามารถ สำรวจตัวเองว่าเรากำลังเป็น Imposter Syndrome หรือไม่ คนส่วนใหญ่ที่เป็น