Life
MINDSET IS EVERYTHING
  • Life

    LIFE DECISIONS: สิ่งที่ต้องถามตัวเองก่อนเสมอ แล้วค่อยตัดสินใจตอบใครไปว่า “YES” หรือ “NO”

    By: unlockmen August 10, 2018

    เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีเงื่อนไขมากมาย ทำให้เรามักจะต้องตัดสินใจอะไรภายใต้ความซับซ้อนทางความคิด แยกแยะกันน่าดูระหว่างตรรกะ และความรู้สึก สุดท้ายกว่าจะรู้ว่าสิ่งที่ตัดสินใจนั้นถูกหรือผิดก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ที่เกริ่นนำมาอาจจะดูเครียดไปหน่อย เอาเป็นว่าลองนึกถึงเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น หัวหน้าของคุณชวนไปดินเนอร์ หรือดื่มเพื่อคอนเนกชั่นกับคนที่คุณไม่เคยเจอมาก่อน ไม่ก็มีคนจากบริษัทดังติดต่อขอนัดเจอเพื่อคุยกันเรื่องตำแหน่งงาน หรืออาจารย์ที่เคยสอนคุณสมัยมัธยมโทรมาขอให้ช่วยกลับไปบรรยายเรื่องอาชีพให้กับรุ่นน้อง แบบนี้คุณจะตอบ “ตกลง” หรือ “ปฏิเสธ” ไปดี ? Shonda Rhimes โปรดิวเซอร์และผู้เขียนบทรายการทีวีชื่อดัง ได้ถ่ายทอดผ่านหนังสือ Year of Yes ว่า เธอได้ say “yes” ตอบตกลงกับทุกสิ่งเป็นเวลาหนึ่งปี และมันเปลี่ยนชีวิตเธอไปทุกอย่าง เธอยินดีที่จะสัมผัสทุกประสบการณ์ในทุกโอกาส โดนชักชวนให้ไปพูดท่ามกลางฝูงชนก็ไป ซึ่ง Rhimes ยังบอกอีกว่า การได้ทำให้สิ่งที่เธอหวาดหวั่น ทำให้เธอสามารถเอาชนะความกลัวได้ และทำให้ชีวิตของเธอมีความหมายยิ่งขึ้น แต่ถ้าใครที่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง Yes Man ที่นำแสดงโดย Jim Carrey ก็อาจจะพอได้แง่คิดที่ว่าการที่เรา yes กับทุกสิ่งอาจไม่ดีเสมอไปก็ได้ อย่างไรก็ตาม ชีวิตนี้ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ทุกอย่างล้วนมีข้อจำกัด และเหตุผลที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นเราจึงควร “ชั่งน้ำหนักให้ถูกทาง” ก่อนที่จะตัดสินใจเสมอ จะได้มีทั้งสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต

    อ่านต่อ
  • Life

    หนุ่มบริษัทเอกชนมาทางนี้ ฉลอง พรบ. ใหม่ช่วยเราสร้าง “บำเหน็จบำนาญ” ได้แม้ไม่ใช่ข้าราชการ

    By: unlockmen August 10, 2018

    ในยุคก่อน คนไทยมีค่านิยมอยากให้ลูกชายรับราชการ เพราะนอกจากความมีหน้ามีตาทางสังคม สวัสดิการมากมายแบบที่หาไม่ได้ในอาชีพอื่น มันยังได้รับสิ่งที่เรารอคอยเสมือนมรดกบั้นปลายไว้ใช้ยามแก่อย่าง “เงินบำนาญ” ด้วย แต่อย่างที่หลายคนรู้คือพอค่านิยมสังคมเปลี่ยน อาชีพทางราชการก็ไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกคนอีกต่อไป ทั้งเรื่องของสายอาชีพ สวัสดิการและเงินเดือน ทว่าเรื่องหนึ่งที่ข้าราชการแทบทุกรุ่นยังคงชื่นชอบกันอยู่คือการใช้ชีวิตแบบไม่หวั่นแม้วันเกษียณ เพราะพวกเขาโดนบังคับเก็บออมมาเรื่อย ๆ ตัดเงินทันทีเงินเดือนออกเพื่อเข้า “กบข.” หรือ “กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” ซึ่งภาครัฐจะสมทบเงินอีกจำนวนหนึ่งให้เพิ่มเติม สะสมไปเรื่อย ๆ พอถึงวันเกษียณก็อุ่นใจว่ายังมีเงินให้ใช้แม้ไม่ต้องทำงาน ซึ่งจะว่าไปหลักการมันก็คล้ายกันกับ Provident Fund หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ของบริษัทเอกชนบางแห่ง ที่ไหนมี Provident Fund ก็ถือเป็นแรร์ไอเทมมาก เพราะเป็นหนทางออมอีกทางที่มีคนมาออกเงินให้เราฟรี ทำไมจะไม่อยากได้ล่ะ จริงไหม   กบช. = แก้แก่ไปไม่มีเงินใช้ ก่อนจะไปลงรายละเอียดว่ามันให้อะไรเราบ้าง มีเงื่อนไขอะไร ขอย้อนกลับมาถึงจุดเริ่มต้นร่าง พรบ​. ฉบับนี้ก่อนว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร เหตุผลการเกิดของมันเกิดจากสภาพสังคมตอนน้ีที่หลายคนคงเคยได้ยินว่า “ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” แต่ปัญหาตอนนี้ที่มียังคงแก้ไม่ตกคือ ผู้สูงอายุหลายคนในไทยยังมีเงินไม่พอใช้สำหรับวัยเกษียณ ซึ่งหมายความว่า แม้เราจะต้องแก่และตายไปพร้อมกัน แต่ก่อนจะเตรียมพร้อมถึงวันหมดลมหายใจ เงินที่มีไม่พอมันจะพาเราไปอยู่สภาพไหนก็ไม่รู้   ดีอย่างไร? จะสมทบแบบไหน?

    อ่านต่อ