ถ้าจะพูดถึงอีกหนึ่งอาชีพที่ถูกพูดถึงมากเป็นอันดับต้น ๆ ของไทยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็คงหนีไม่พ้นอาชีพ “ไลฟ์โค้ช” ซึ่งสถาปนาตนเองว่าข้ารู้ ข้าเก่ง ข้าเจ๋ง ข้าเป็นสุดยอดปรมาจารย์ในด้านนั้น ๆ ที่สุดแล้ว อาจจะเป็นนักเขียนที่ผันตัวมาสอนเคล็ดวิชาว่าเขียนยังไงถึงจะเขียนได้เทพแบบเขา อาจจะเป็นนักธุรกิจ (ที่อ้างตัวว่า) ทำรายได้ระดับร้อยล้านและอยากให้ทุกคนสู้ อดทน และเดินตามรอยความร่ำรวยไปด้วยกัน (ด้วยการจ่ายเงินค่าเข้าคอร์สเรียนมาซะ!) เรื่องเทคนิคการสอนหรือการถ่ายทอดวิชาความรู้ก็ว่ากันไปว่าใช้ได้ผลจริงหรือไม่ได้ผลจริง แต่ลักษณะหนึ่งที่ไลฟ์โค้ชตัวท็อปฮิตของไทยมักจะมีคล้าย ๆ กัน คงหนีไม่พ้นการโพสต์คำคมสร้างแรงบันดาลใจรายวัน หรือบางท่านก็ถึงขั้นโพสต์รัวรายชั่วโมง คอยปลุกพลังงานในตัวคนด้วยคำสวยหรู หรือใช้ศัพท์ยาก ๆ ให้ดูฉลาด ๆ เข้าไว้ เคยสงสัยไหมว่าคำคมหรือคำพูดวกไปวนมาพวกนี้ มันจะพาเราไปถึงความสำเร็จได้จริงหรือเปล่า ? ไม่ใช่แค่ไลฟ์โค้ชที่ทำตัวเป็นเครื่องจักรผลิตคำคมเท่านั้น แต่ถ้าเราเลื่อนฟีดเฟซบุ๊กในแต่ละวัน เราก็จะเจอเหล่าเฟรนด์ลิสต์ที่แห่กันแชร์คำคมคูล ๆ เหล่านั้นมาสู่สายตาเราทุกวัน จนเราอดสงสัยไม่ได้ว่าชีวิตของเพื่อนคนนั้นจะอุดมไปด้วยแรงบันดาลใจสุดขีดพลังเหมือนคำคมที่แชร์มาจริง ๆ ไหม ? โชคดีที่ไม่ได้มีเราที่สงสัยคนเดียวแต่ Gordon Pennycook นักศึกษาระดับปริญญาเอกและหัวหน้านักวิจัย รวมถึงทีมวิจัยจาก University of Waterloo ใน Ontario ประเทศ Canada เขาก็สงสัยใคร่รู้และอยากหาคำตอบด้วย จึงตัดสินใจทำการศึกษาที่สุดท้ายตีพิมพ์เป็นบทความชื่อ
แม้ว่าเราจะเป็นชายชาตรีที่สุดแกร่ง เข้มแข็งแค่ไหน ก็สามารถเสียน้ำตาได้ทุกคน เมื่อต้องเผชิญกับความสลดกับเหตุการณ์สุดสะเทือนใจทั้งในโลกความเป็นจริง เวลาดูหนังโคตร sad ฟังเพลงโคตรเศร้า ไม่ก็ผิดหวังกับเรื่องหนัก ๆ ในชีวิตทั้งการงาน การเงิน ครอบครัว และความรัก เรารู้ว่าการร้องไห้ซะบ้างไม่ได้เป็นการแสดงถึงความอ่อนแอ ข้อดีของมันก็มีอยู่มาก ทั้งช่วยระบายความเครียด ผ่อนคลายความเจ็บปวด และ ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น (อ่านประโยชน์ของการร้องไห้ได้ที่คอนเทนต์นี้) แต่ถ้าแมน ๆ อย่างเราดันปล่อยโฮออกมากลางวงก็คงจะอายมากหน่อย เรื่องนี้ทีมงาน UNLOCKMEN เข้าใจดี จึงขอแชร์วิธีหยุดร้องไห้ที่ใช้งานได้ผล และสามารถทำได้คนเดียว ไม่ต้องไปอ้อนให้ใครมาปลอบให้เสียเชิง แล้วผมจะหยุดร้องไห้ได้ไง ? เวลาที่บ่อน้ำตาแตกหนัก ๆ มันจะโคตรเขิน รู้สึกสับสนว่ากำลังอ่อนแอหรือเข้มแข็งอยู่ อาจรู้สึกว่าจัดการกับความเครียดได้ยาก รู้สึกทำอะไรไม่ค่อยถูก อ่านสีหน้าคนรอบข้างไม่ออก เพราะฉะนั้น ถ้าเราเรียนรู้วิธีการควบคุมความเครียด ก็จะมีส่วนช่วยควบคุมน้ำตาได้ ถ้าเกิดร้องไห้ขึ้นมา ลองทำตามวิธีการนี้ดู น่าจะหยุดได้ในเวลาอันรวดเร็ว เงยหน้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาร่วงสู้พื้น เงยจนรู้สึกว่าน้ำตาท่วมอยู่บนเปลือกตา ไม่ไหลลงมาอาบแก้ม วิธีนี้ช่วยหยุดการไหลของน้ำตาได้ประมาณหนึ่ง และช่วยให้เราตั้งสมาธิเพื่อปรับความรู้ หยิกบริเวณระหว่างง่ามนิ้วโป้งและนิ้วชี้ให้เจ็บ การกระตุ้นตัวเองแบบนี้สามารถช่วยเบี่ยงเบนความรู้สึกได้ดี นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลว่า การที่เราเกร็งกล้ามเนื้อ จะทำให้ร่างกายและสมองรู้สึกมั่นใจขึ้น