เคยรู้สึกสงสัยไหมว่า ทำไมคนอื่นมีสิ่งที่ดีกว่าเราตลอดเวลา จนเราไม่สามารถพอใจหรือหยุดกับสิ่งที่เรามีอยู่ได้ ต้องค้นหาเป้าหมายใหม่ต่อไปอีกเรื่อย ๆ เราเรียกอาการนี้ว่าเป็น ‘Grass is Greener Syndrome’ ตัวการขัดขวางการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของเรา ที่คนในปัจจุบันเป็นกันมากมายโดยไม่รู้ตัว WHAT IS GRASS IS GREENER SYNDROME ‘Grass is Greener Syndrome’ คือ อาการที่เราเชื่อว่าตัวเองกำลังพลาดหรือขาดอะไรที่ดีกว่าสิ่งที่ตัวเองมีในตอนนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสด้านการงานที่ดี หรือ ประสบการณ์ที่วิเศษ จึงเกิดแรงกระตุ้นที่จะหาสิ่งที่ตัวเองคิดว่าขาดให้เจอ ชื่อของอาการนี้มีที่มาจากสำนวนของฝรั่งที่ว่า “the grass is always greener on the other side of the fence” (สนามหญ้าที่อยู่อีกฝั่งของรั้วบ้านมักเขียวกว่าของเรา) หมายความว่า เรามักมองชีวิตคนอื่นดีกว่าของตัวเองเสมอนั่นเอง อาการนี้มักมีที่มาจากความกลัวส่วนบุคคล อาทิ ความกลัวเรื่องการผูกมัดกับงานประจำที่ไม่ดีพอ หรือความสัมพันธ์ที่อาจจะย่ำแย่ในอนาคต ซึ่งในความเป็นจริง ชีวิตของคนที่มีอาการนี้ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร มีแต่พวกเขาที่คิดไปเองว่าตัวเองกำลังมีปัญหา นอกจากอาการคิดไปเองแล้ว คนที่เป็น Grass
พอโตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว หลายคนต้องออกจากบ้านมาอยู่คนเดียว และห่างเหินกับคนรอบตัวมากขึ้น ทำให้พอเจอปัญหารุมเร้าแล้วเครียด ก็ไม่สามารถรับมือกับมันได้เหมือนเดิม จะมองซ้ายมองขวาก็ไม่เห็นใครที่จะขอคำปรึกษาได้ ถ้าใครกำลังมีช่วงเวลาแบบนี้ เราอยากแนะนำให้ทุกคนเริ่มให้กำลังใจตัวเองกัน ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยให้เราดีขึ้นได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาใคร ให้เวลากับตัวเอง ในแต่ละวันเราอาจวุ่นอยู่กับการทำตามใจคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น เจ้านาย คนในครอบครัว หรือ เพื่อน จนลืมที่จะทำอะไรเพื่อตัวเองไป นาน ๆ เข้าก็อาจรู้สึกเหมือนหลงทาง ดังนั้น เพื่อให้เรากลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความหมายดังเดิม เราควรหาเวลาว่างอย่างน้อย 10 – 15 นาทีในการอยู่กับตัวเอง ซึ่งเราสามารถใช้เวลาตรงนั้นทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น นอน นั่งสมาธิ หรือ เดินไปรอบห้อง แต่จำไว้ว่าพอยซ์ของกิจกรรมนี้ คือ การทำให้เราหันมาสนใจและตอบสนองความต้องการของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เราเกิดแรงจูงใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นได้ อย่าคิดว่ากำลังแข่งกับคนอื่นอยู่ นิสัยอย่างหนึ่งที่หลายคนมักชอบทำ คือ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เช่น เห็นคนอื่นก้าวหน้ากว่า แล้วเกิดอาการดูถูกตัวเอง เป็นต้น ซึ่งปัญหานี้ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเรา คือ มันบั่นทอนกำลังใจ และทำให้เรามองข้ามสิ่งสำคัญที่เราต้องทำอยู่เสมอ ดังนั้น เราควรโฟกัสที่ตัวเองมากกว่าคู่แข่ง และหาทางว่าจะทำให้ผลงานของตัวเองดียิ่งขึ้นอย่างไรจะดีกว่า เปลี่ยนความคิดเรื่องความล้มเหลวใหม่ เพราะความสิ้นหวังมักทำให้เราไม่กล้าลงมือทำอะไรใหม่ ๆ
ตั้งแต่เด็กจนโต หลายคนคงเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจในตัวเองกัน ไม่ว่าจะเป็น ได้คะแนนสอบต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ จีบสาวไม่ติด วิ่งแข่งแพ้เพื่อน หรือ โดนวิจารณ์เรื่องรูปร่างหน้าตา ฯลฯ ซึ่งตอนแรก ๆ ที่เจอกับเหตุการณ์เหล่านี้ เราคงเริ่มสงสัยในตัวเองอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่สิ้นหวัง และรู้สึกว่าตัวเองสามารถพัฒนาต่อได้ แต่พอเจอกับเหตุการณ์แบบนี้บ่อย ๆ เข้า ความคิดของเรามักจะเปลี่ยนไปจากเดิม และเริ่มเชื่อว่า “ตัวเองแย่จริง” หรือ เชื่อว่า “ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้อีกแล้ว” และนิสัยเกลียดตัวเอง (self-loathing) ก็เริ่มปรากฎออกมาอย่างเห็นได้ชัด เรามองว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะคนที่เกลียดตัวเองมักไม่มีความสุขในชีวิต และยังขาดสกิลทางจิตใจต่าง ๆ ด้วย เราเลยอยากจะมาแนะนำวิธีที่จะช่วยให้เราเลิกเกลียดตัวเอง และสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้เหมือนเดิม WHAT IS SELF-LOATHING ? อาการเกลียดตัวเอง (self-loathing) คือ การที่เราเกลียดอะไรบางอย่างของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น นิสัย พฤติกรรม หรือ รูปร่างหน้าตา โดยคนที่มีอาการเกลียดตัวเองมักชอบพูดว่า ตัวเองไม่ดีอย่างนั้น หรือ ยังดีไม่พอสำหรับเรื่องนี้ พูดง่าย ๆ คือ
ดูเหมือนว่าชีวิตของเราจำเป็นจะต้องมีความเร่งและรีบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางที่เราต้องตื่นเช้าเพื่อขึ้นรถเมล์ในช่วงที่คนไม่เยอะ หรือ ขับรถในช่วงที่การจราจรไม่ติดขัด รวมถึง การพูดคุยตอบคำถามกับคนอื่น ซึ่งถ้าเราตอบกลับอีกใฝ่ายช้า เรามักจะถูกมองว่าเป็นคนไม่จริงใจ อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นใหม่ที่เพิ่งตีพิมพ์ใน Journal of Personality and Social Psychology งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยนักวิจัยจากสถาบัน Grenoble Ecole de Management และมหาวิทยาลัย James Cook University ซึ่งพวกเขาได้เริ่มทำการทดลองทั้งหมด 14 ครั้งกับผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 7,565 คนที่มาจากประเทศทางฝั่งยุโรปอย่าง สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ซึ่งในแต่ละการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะได้ทำสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ ฟังไฟล์เสียง ดูวิดีโอ หรือ อ่านการตอบสนองของคนที่มีต่อคำถามง่าย ๆ อย่างเช่น ชอบเค้กที่เพื่อนทำหรือไม่ ? หรือ ขโมยเงินจากที่ทำงานมารึเปล่า ? เป็นต้น เวลาในการตอบสนองของคนจะแตกต่างกันไปในแต่ละซีนาริโอ เช่น บางคนสามารถตอบคำถามได้ในทันที ในขณะที่บางคนตอบดีเลย์ไป 10 วินาที เป็นต้น
แม้หลายคนจะยอมรับได้แล้วว่า “ชีวิตไม่ยั่งยืน” ยังไงสักวันหนึ่งเราก็ต้องตายจากคนที่เรารักไป แต่ในใจของเรากลับพยายามหนีจากความตายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะมนุษย์จะกลัวความตายเป็นธรรมชาติ เราเลยพยายามใช้ชีวิตกันอย่างระมัดระวังที่สุด เพื่อให้ชีวิตของตัวเองยืนยาว ซึ่งเป็นเรื่องที่เฮลตี้ แต่บางคนอาจได้รับผลกระทบจากความกลัวมากเกินไป จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งเดี๋ยวเราจะอธิบายในช่วงท้ายของบทความว่าจะมีวิธีอะไรบ้างในการรับมือกับ ‘อาการกลัวความตาย’ มากเกินไปเพื่อให้เรากลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ดั่งเดิม ที่มาที่ไปของอาการกลัวตาย อาการกลัวตาย (หรือ thanatophobia) เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงตั้งแต่สมัย ซิกมันด์ ฟรอยด์ แล้ว และมีความชัดเจนมากขึ้น เมื่อ เอิร์นเนส เบกเกอร์ มนุษยวิทยา ได้เสนอว่า มนุษย์ทุกคนกลัวตาย เพราะไม่สามารถยอมรับความคิดเกี่ยวกับการตายหรือความตายได้ จนเป็นที่มาของทฤษฎี Terror Management Theory (TMT) ซึ่งอธิบายว่า มนุษย์ต้องต่อสู้กับความขัดแย้งภายในตัวเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความขัดแย้งว่านี้ คือ ความขัดแย้งระหว่างความปราถนาที่จะมีชีวิตอยู่ และการรับรู้ว่าความตายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การรับรู้ว่าสักวันหนึ่งเราต้องตาย กระตุ้นให้มนุษย์พยายามรักษาความเชื่อหรืออุดมการณ์ของตัวเองไว้อย่างหนาแน่น เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองมีความหมาย เลยจำเป็นที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมัน นอกจาก TMT แล้วยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่พยายามอธิบายอาการกลัวตายเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น Separation Theory ที่พยายามชี้ว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่ออาการกลัวความตายในวัยผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่บางคน แม้จะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว พวกเขาก็ยังชอบเรียกร้องความสนใจเหมือนเด็ก ๆ อยู่ การเรียกร้องความสนใจมีหลายวิธี อาทิ การวิจารณ์คนอื่นในแง่ลบเพื่อให้คนอื่นโฟกัส เป็นต้น ซึ่งนิสัยแบบนี้มักสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้าง และนำไปสู่ปัญหาเรื่องการอยู่ร่วมกับคนอื่นตามมา ในบทความนี้เราเลยอยากพาทุกคนไปเข้าใจพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจของมนุษย์มากขึ้น รวมถึงอธิบายวิธีการรับมือเวลาที่เราอยากเรียกร้องความสนใจจากคนอื่นด้วย WHAT IS ATTENTION SEEKING ? เรียกร้องความสนใจ (Attention-seeking) คือ การที่เราทำอะไรบางอย่างโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนอื่นหันมาสนใจเรา ยกตัวอย่างเช่น แกล้งทำตัวอ่อนแอเพื่อให้คนอื่นช่วยเหลือ พูดเรื่องแย่ ๆ เกี่ยวกับตัวเอง (บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องจริง) เพื่อให้คนอื่นปลอบใจ หรือ การแสดงความเห็นต่าง เพราะอยากให้คนอื่นหัวร้อน และพุ่งความสนใจมาที่เราแบบ Intense ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราอิจฉาและรู้สึกแย่เมื่อเห็นคนอื่นได้รับความสนใจมากกว่าเรา เราจึงพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยมีจุดประสงค์ให้คนอื่นเปลี่ยนโฟกัสมาที่ตัวเรา นอกจากความอิจฉาแล้ว มันยังเกิดขึ้นได้จากการที่เรารู้สึกว่าตัวเองถูกคนอื่นมองข้ามเหมือนกัน เพราะเมื่อเรารู้สึกแบบนั้นแล้ว (หรือ เราเอาคุณค่าของตัวเองไปไว้ที่คนอื่น) เรามักจะพยายามเรียกร้องความสนใจ เพื่อเรียกคุณค่าในตัวเองกลับมา นอกจากนี้ ความโดดเดี่ยวก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเรียกร้องความสนใจได้เช่กัน เพราะคนเหงามักรู้สึกไม่สบายใจกับการอยู่คนเดียว เลยต้องเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น อีกทั้ง ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ เช่น Histrionic Personality Disorder, Borderline
คำพูดของเราสามารถสร้างความขัดแย้งได้เสมอ เพราะเราอยู่สังคมที่เต็มไปด้วยคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างต่างกัน ถ้าเราไม่รู้วิธีการรับมือกับคำพูดหรือความเห็นต่างอย่างถูกต้อง ความขัดแย้งมันก็ยิ่งหนักหนาสาหัสมากขึ้นได้ ในบทความนี้ UNLOCKMEN เลยอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่า ทำไมการแสดงความคิดเห็นถึงทำให้คนทะเลาะกันได้ พร้อมกับ แนะนำวิธีการแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่อาจกระทบกับอีกฝ่าย โดยป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น และช่วยให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้นานๆ ทำไมการแสดงความคิดเห็นถึงทำให้คนทะเลาะกันได้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีกับคนที่เห็นต่างจากเรา อาจเพราะเราสามารถได้รับความเจ็บปวดจากคำพูด หรือ คำด่า ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า คำพูดสามารถสร้างความเจ็บปวดได้ไม่ต่างจากการถูกตีด้วยไม้หรือทุบด้วยก้อนหิน และอาจมีผลรุนแรงจนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Friedrich Schiller University Jena ได้ทำการทดลองทั้งหมด 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทีมนักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง 16 คน อ่านคำพูดที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด เช่น “plaguing” (ภัยพิบัติ) “tormenting” (ทรมาน) “grueling” (ทรหด) พร้อมกับ จินตนาการถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคำ ๆ นั้นไปด้วย ส่วนในการทดลองที่สอง ผู้เข้าร่วมการทดลองถูกขอให้ทำการทดลองเดิมอีกครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งนี้จะมีการใช้ brain-teaser เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมการทดลองด้วย โดยในการทดลองทั้งสองครั้ง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกสแกนสมองด้วยเครื่อง functional magnetic resonance imaging (fMRI)
เดี๋ยวนี้ความเศร้าเป็นเรื่องที่สังเกตได้ยาก เพราะคนยุคนี้เก็บซ่อนความรู้สึกกันเก่งขึ้น จากการที่เรามีโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นดั่งพื้นที่โอ้อวดชีวิต และทำให้เราเปรียบเทียบกับคนอื่นมากขึ้น ซึ่งมันก็ทำให้เราปฏิเสธความอ่อนแอทางจิตใจอย่างภาวะซึมเศร้ามากขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันคนเศร้าจำนวนมากเลยเลือกที่จะปิดบังความเจ็บปวดทางใจของตัวเองเอาไว้ให้ใครเห็น และเกิดอาการที่เรียกว่า smiling depression ขึ้นมา WHAT IS SMILING DEPRESSION? ยิ้มซึมเศร้า หรือ Smling Depression เป็นคำอธิบายอาการที่เราพยายามซ่อนภาวะซึมเศร้าไว้ในใจ โดยการเสแสร้งว่าตัวเองโคตรมีความสุขกับชีวิต ซึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขาไม่อยากทำให้คนอื่นกังวล อับอายที่ตัวเองเป็นซึมเศร้า คิดว่าการเป็นซึมเศร้าจะทำให้ตัวเองดูอ่อนแอ หรือ รับไม่ได้ที่ตัวเองมีความผิดปกติ พวกเขาจึงเลือกที่จะปิดบังอาการเศร้า และแสดงออกมาในทางตรงกันข้าม คนที่เป็น Smiling Depression มักเจอความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น เพราะไม่มีใครรับรู้อาการของพวกเขา และพาพวกเขาไปรับการรักษาที่ถูกต้อง เมื่อพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับอาการซึมเศร้าเพียงลำพัง โอกาสในการหายจากอาการซึมเศร้าก็น้อยลง และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าปกติ HOW TO COPE WITH SMILING DEPRESSION ? การรับรู้ว่าอาการซึมเศร้าของตัวเอง และยอมรับมัน อาจเป็นก้าวแรกที่จะทำให้เรามีอาการดีขึ้น เพราะเมื่อเรารู้ว่าตัวเองมีปัญหาแล้ว เรามักจะพยายามค้นหาวิธีแก้ปัญหาเสมอ มันจึงช่วยลดโอกาสในการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายที่เกิดจากการมีภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งคนที่เป็นซึมเศร้ามักมีอาการเหล่านี้ ได้แก่ น้ำหนักลด ความอยากอาหารน้อยลง นอนไม่หลับ
ในยุคนี้เราสามารถหาข้อมูลได้ทุกเรื่องเพียงแค่ปลายนิ้ว เรามีอาการป่วยแบบไหน เพียงแค่เข้า Google และเสิร์ชคียเวิร์ด เราก็จะพบกับคำตอบมากมายให้เราค้นคว้าต่อ แต่บางครั้งการใช้อินเทอร์เน็ตในการวินิจฉัยปัญหาด้านสุขภาพก็อาจทำให้เราเกิดอาการคิดไปเองว่า ‘ตัวเองป่วยเป็นโรคร้ายแรง’ เพราะอาการที่ตัวเองเป็นไปคล้ายกับอาการของโรคนั้นส่วนหนึ่ง และส่งผลให้เกิดอาการ Cyberchondria ที่มาขัดขวางความสุขในชีวิตของเรา WHAT IS CYBERCHONDRIA ? Cyberchondria คือ ความกังวลในเรื่องสุขภาพ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เราใช้อินเทอร์เน็ตในการหาข้อมูลทางการแพทย์ กล่าวคือ เมื่อเราเกิดอาการป่วยอะไรบางอย่าง เช่น ปวดหัวรุนแรง หรือ มีผืนขึ้นตามตัว แล้วเราใช้กูเกิ้ลในการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่เราเป็น เราอาจพบว่าตัวเองสามารถเป็นได้หลายโรค ไม่ว่าจะเป็น ไข้ออกผื่น หัดเยอรมัน หรือ โรคไข้เลือดออก และเมื่อเราเห็นลิสต์โรคเหล่านี้ เราก็มักจะโฟกัสไปที่โรคที่รุนแรงมากที่สุดด้วย ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลในเรื่องสุขภาพอย่างหนัก คล้ายกับโรคคิดไปเองว่าป่วย (hypochondria) งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ และผลเสียของ Cyberchondria ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยจากบริษัท Microsoft (2008) ซึ่งได้วิเคราะห์พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้งาน search engine ของบริษัท และพบว่า 1 ใน 3 ของคนที่ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ มักจะหาข้อมูลที่หนักขึ้น
เพราะเรามีโซเชียลมีเดีย เราเลยชอบเปรียบเทียบกันและแข่งขันกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความสัมพันธ์ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน รวมถึง การใช้ชีวิต ปรากฎการณ์นี้อาจทำให้คนรุ่นใหม่เจอกับอาการ FOMO และไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขดังเดิมได้ เพราะมันนำมาซึ่งปัญหาด้านความรู้สึกที่หนักหน่วง FOMO คืออะไร ? อาการ FOMO มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Fear Of Missing Out คือ อาการที่เรากลัวว่าตัวเองจะพลาดโอกาสดี ๆ ที่คนอื่นกำลังเจออยู่ ไม่ว่าจะเป็น กลัวว่าเพื่อนจะไปเฉลิมฉลองกันโดยที่ไม่ชวนเรา หรือ กลัวว่าคนอื่นกำลังทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกัน ๆ โดยที่ไม่มีเราอยู่ในนั้น ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นเพราะความอิจฉา และส่งผลให้เรามีความภูมิใจในตัวเอง หรือ self-esteem ต่ำลงด้วย โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook หรือ Instagram ดูจะเป็นตัวการที่ทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้น เพราะมันทำให้เราเห็นเรื่องราวชีวิตของคนอื่นมากขึ้น และแน่นอนว่ามันก็ทำให้เราเปรียบเทียบกับคนอื่นมากขึ้นเช่นกัน เราอาจเห็นภาพของเพื่อนที่กำลังใช้เวลาดี ๆ ร่วมกันได้ง่ายขึ้น เช่น กำลังปาร์ตี้กันอยู่ หรือ กำลังจะได้เลือนขั้น แต่เรายังนั่งทำงานอยู่
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ชอบความรู้สึกแย่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความเศร้า หรือ ความกังวล เราจึงมีกลไกทางจิตที่เรียกว่า ‘กลไกป้องกันตนเอง’ เพื่อใช้ในการหนีจากความความรู้สึกเหล่านี้ ปัญหา คือ บางครั้งกลไกเหล่านี้ก็ทำให้เราแก้ปัญหาชีวิตได้แย่ลงเหมือนกัน UNLOCKMEN จึงอยากให้ทุกคนเข้าใจเรื่องกลไกป้องกันตนเองมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เรารับมือกับมันได้ดีขึ้นด้วย กลไกป้องกันตนเอง คือ อะไร? กลไกป้องกันตนเอง (defense mechanisms) เป็นทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์อันโด่งดัง แนวคิดนี้จะพูดถึงกลยุทธ์ทางจิตที่กระตุ้นให้ มนุษย์ แสดงพฤติกรรมอะไรบางอย่างเพื่อหลีกหนีจากเหตุการณ์ ความคิด หรือ การกระทำที่ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่พอใจ หรือ ยากที่จะยอมรับได้ ซึ่งกลยุทธ์ทางจิตนี้จะเป็นตัวช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากภัยคุกคาม และหลังจากที่ ฟรอยด์ ทำให้โลกรู้จักทฤษฏีนี้แล้ว มันก็ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ และมีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ โดยว่ากันว่า กลไกป้องกันตนเองที่เราพบเห็นได้บ่อยมีทั้งหมด 10 แบบ ได้แก่ ปฏิเสธ (Denial) – มันคือการที่เราไม่ยอมรับความจริงหรือข้อเท็จจริงอะไรเลย เพราะเรากลัวว่าถ้าให้ความสนใจกับเรื่องเหล่านั้นแล้ว มันจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด หรือ ไม่มีความสุข
หนึ่งในปัญหาหนักใจของชายไทยหลายคน น่าจะเป็นความรู้สึกที่ต้องแข่งขันกันเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องงาน การเรียน การเงิน ครอบครัว ฯลฯ ปัญหานี้อาจทำให้เรารู้สึกไม่สามารถพอใจกับอะไรง่าย ๆ อาจทำให้เรารู้สึกต้องวิ่งนำหน้าคนอื่นอยู่ตลอดเวลา และสามารถนำไปสู่ภาวะไม่พอใจเรื้อรังที่เรียกว่า CD ได้ ซึ่งภาวะนี้เป็นมลพิษทางใจที่ยิ่งใหญ่ และอยู่ใกล้ตัวเรามากพอสมควร WHAT IS CHRONIC DISSATISFACTION (CD) ? Chronic Dissatisfaction (CD) คือ อาการที่เราไม่มีความสุขกับชีวิตมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่เรามักเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นเสมอ และไม่เคยพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่เลย เราเห็นคนรุ่นราวคราวเดียวกันประสบความสำเร็จ เราก็อยากประสบความสำเร็จให้ได้แบบพวกเขาบ้าง เราเห็นคนรอบตัวแต่งงานมีครอบครัว เราก็อยากเป็นแบบนั้นบ้าง เพราะเราต้องการให้คนอื่นยอมรับในตัวเราอยู่เสมอ เราอยากสู้กับคนอื่นได้ และอยากไปถึงจุดที่ทัดเทียมหรือเหนือกว่าคนอื่นอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาคือ ต่อให้เราเริ่มมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น หรือ เริ่มหาแฟนได้แล้ว มันก็ไม่ทำให้เราพอใจหรือมีความสุขได้อยู่ดี เพราะเรารู้สึกว่ายังสู้คนอื่นได้ CD สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราโฟกัสกับสิ่งที่เราขาดมากกว่าสิ่งที่เรามีอยู่ได้เหมือนกัน เพราะนิสัยแบบนี้ทำให้ ไม่ว่าเราจะก้าวหน้ามากขึ้นแค่ไหนก็ตาม เราก็ไม่มีทางมีความสุขกับมันได้เลย เพราะเราจะรู้สึกว่าตัวเองขาดอะไรบางอย่างอยู่เสมอ และต้องหาอะไรมาเติมเต็มตัวเองเรื่อย ๆ นอกจากนี้ CD ยังเกิดขึ้นได้จากความเชื่อ (เช่น เชื่อว่าตัวเองต้องมีความสุขตลอดเวลา