Survival
SKILLS EVERY MAN SHOULD KNOW
  • Survival

    ทำไมเราถึงรู้สึกแย่เมื่อขี้เกียจ ? รู้จัก INTERNALIZED CAPITALISM และวิธีรับมือกับมัน

    By: unlockmen April 21, 2021

    ถ้ารู้สึกว่า ตัวเองยังขยัน เก่ง ฉลาด หรือ ยังตามคนอื่นไม่ทัน และมักรู้สึกผิดเมื่อเอาเวลาว่างมาพักผ่อนทำเรื่องไร้สาระไปวัน ๆ บางทีคุณอาจกำลังเป็น Internalized Capitalism อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งอาการนี้ไม่ได้ถูกอธิบายในพจนานุกรมใด ๆ แต่เป็นคำที่ใช้อย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ เพื่ออธิบายถึงปัญหาของการใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยม (Capitalism) ที่บีบบังคับให้คนต้องแสดงความโปรดักทีฟ และพยายามเอาชนะคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้คนเอาความโปรดักทีฟมาเป็นตัวประเมินคุณค่าของตัวเอง ดังนั้น พอคนที่ออกอาการ Internalized Capitalism ใช้เวลาทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยโปรดักทีฟ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวเล่น หรือว่า กิจกรรมพักผ่อนจิตใจอื่น ๆ พวกเขาเลยมักรู้สึกเครียด หรือ รู้สึกแย่จากการทำสิ่งเหล่านั้นอยู่เสมอ แถมบางคนที่มีอาการนี้ยังมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพตัวเองด้วย เช่น อ่านหนังสือจนดึกดื่น กดดันตัวเองอย่างหนัก กินข้าวไม่เหมาะสม ฯลฯ มันจึงเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง และควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วยิ่งดี  ซึ่งในบทความนี้ เราได้นำวิธีในการฟื้นฟูตัวเองมาฝากทุกคนด้วย จะมีวิธีอะไรบ้าง ลองไปดูกันเลย ใส่ใจกับตัวเองมากขึ้น บางทีพอเราโฟกัสกับงานมากเกินไป จนเกิดความไม่สบายใจ หรือ ความเครียดในระหว่างการทำงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเป็นอุปสรรค์ต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตของเราด้วย ดังนั้น

    อ่านต่อ
  • Survival

    เห็นโลกใบนี้น่ากลัวเกินจริงรึเปล่า ? รู้จัก Mean World Syndrome เมื่อข่าวร้ายทำให้เรามองโลกแย่เกินไป

    By: unlockmen April 19, 2021

    บางทีการใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์นาน ก็อาจทำให้เราเสียขวัญและตื่นกลัวกับโลกแห่งความเป็นจริงมาเกินไปก็เป็นได้ เพราะเรามักเอาสิ่งที่เห็นบนโลกออนไลน์ มาใช้ในการอธิบายโลกแห่งความจริง ดังนั้น ถ้าเรารับฟัง อ่าน หรือ ดูแต่เรื่องราวความรุนแรงที่ไม่น่าสบายใจบ่อย ๆ ก็สามารถนำไปสู่อาการคิดว่าโลกเต็มไปด้วยเรื่องเลวร้ายและน่ากลัวได้เหมือนกัน ซึ่งอาการนี้มีชื่อเรียกว่า Mean World Syndrome และส่งผลเสียต่อเราได้ไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องการอยู่ร่วมกับคนอื่น เราเลยอยากจะมาอธิบายเรื่องนี้ให้ทุกคนฟัง    Mean World Syndrome คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อ เรารับสื่อที่มีเนื้อหารุนแรงมากเกินไป เช่น หนังโหด ซีรีส์สยองขวัญ หรือ ข่าวฆาตกรรม จนกระทั่ง เราเอาสิ่งที่เห็นในสื่อเหล่านั้นมามองโลกนี้ว่าโหดร้ายทารุณมากกว่าความเป็นจริง  อาการนี้ได้รับการศึกษาโดย George Gerbner ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ซึ่งได้สนใจและศึกษาเรื่องความรุนแรงที่พบเห็นได้ในทีวีมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1967 จนเขาได้พบว่า ความรุนแรงที่พบเห็นได้ในสื่ออย่าง ทีวี ส่งผลต่อมุมมองเรื่องความรุนแรงในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป กล่าวคือ มันทำให้คนมองโลกเป็นที่ที่น่ากลัวและอันตรายเกินกว่าความเป็นจริง และก่อกำเนิดอาการ Mean World Syndrome ขึ้นมา คนที่มีอาการ Mean World Syndrome มักจะคิดไปเองว่า อัตราการก่ออาชญากรรมกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย

    อ่านต่อ