“การเรียนรู้ไม่มีวันหยุด” ใครหลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้บ่อยพอ ๆ กับประโยคที่ว่า “การเรียนรู้ไม่มีพรมแดน” แต่ 2 ประโยคนี้ก็คล้ายเป็นเรื่องนามธรรมที่กรอกหูผู้ชายอย่างเราไปแกน ๆ ว่า เฮ้ย มึงอย่าหยุดเรียนรู้นะเว้ย การเรียนรู้แม่งดีว่ะ โดยไม่ได้สร้างแรงจูงใจมากไปกว่านั้น แต่ในช่วงที่เราต้องออกนอกบ้านน้อยลงเพื่อลดความเสี่ยงจากไวรัสโควิด-19 หรือใครหลายคนที่กำลังรู้สึกไม่มั่นคงกับตำแหน่งการงานเพราะสภาวะเศรษฐกิจ จนร้อน ๆ หนาว ๆ ไม่รู้จะโดนปลดออกเมื่อไร คำว่า “การเรียนรู้ไม่มีวันหยุด” ก็คล้ายจะเริ่มเป็นรูปธรรมแจ่มชัดขึ้นมา แทนที่จะปล่อยเวลาให้หมดไปกับความเครียดหรือกังวล UNLOCKMEN ชวนมาปลดล็อกศักยภาพ พัฒนาตัวเองให้สุดขีดด้วยคอร์สออนไลน์ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ช่วยเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ในวันที่หน้าที่การงานอาจสั่นคลอนเมื่อใดก้ได้ หรืออย่างน้อยที่สุดการมีความรู้ประดับตัวไว้จะหยิบจับอะไรก็คล่องตัวกว่าคนที่ไม่รู้เป็นแน่ edX ลึก ๆ ในใจเราทุกคนล้วนแต่ต้องเคยอยากเข้าเรียน หรืออย่างน้อยก็อยากรู้ว่ามหาวิทยาลัยคุณภาพระดับโลกนั้นเขาเรียน เขาสอนอะไรกัน? แล้วถ้าเราบอกว่า edX คือแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์จากมหาวิทยาลัยคุณภาพคับแก้วอย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดคุณจะสนใจไหม? edX ไม่ใช่แค่มีคอร์สมาจากมหาวิทยาลัยคุณภาพเท่านั้นแต่ยังฟรีหมดอีกต่างหาก! ไม่ใช่แค่ได้เรียนคอร์สจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยเครือข่าย (ที่ดังและคุณภาพระดับโลก) เท่านั้น แต่เราชอบคอร์สออนไลน์ของ edX ตรงที่เราได้เห็นบรรยากาศการเรียนในคลาสนั้น ๆ ไปด้วย เช่น
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-2019 ในตอนนี้ ทำเอาธุรกิจหลายภาคส่วนต้องหยุดชะงัก หลัก ๆ ที่เห็นผลกระทบกันชัด ๆ ก็จะเป็นเรื่องงานอีเว้นต์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่รวมผู้คนเอาไว้มากมาย ต้องถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไป เพื่อเป็นหนึ่งมาตรการควบคุมการะบาดของไวรัส แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจอีกหลายประเภทก็ยังต้องรันกันต่อ เพราะหากอยู่เฉยสงบนิ่งรอให้ไวรัสหายขาดอาจจะต้องประสบภัยในฐานะผู้ยากไร้ ซึ่งเป็นอะไรที่ปวดใจไม่แพ้ภาวะโรคระบาดสักเท่าไหร่ ดังนั้นในเมื่อยังต้องลุยงานไปพร้อม ๆ กับป้องกันตัวจากการระบาดของ COVID-2019 หลากหลายบริษัทจึงตัดสินใจใช้แนวทาง Work from Home ให้งานยังไปต่อได้ แน่นอนว่าสำหรับบางที่ นี่อาจเป็นเรื่องปกติเพราะ Work from Home กันเป็นกิจวัตรอยู่แล้ว แต่ที่แน่นอนยิ่งกว่าคือสำหรับอีกหลาย ๆ ออฟฟิศมันถือเป็นเรื่องใหม่มาก ๆ แม้เทคโนโลยียุคนี้จะพร้อมรองรับการทำงานทางไกลหลายรูปแบบ แต่ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ นา ๆ อาจทำให้อีกหลายบริษัท อีกหลาย ๆ องค์กรไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสการทำงานแบบ Work from Home จริง ๆ จัง ๆ จนมาถึงวันนี้ วันที่วิกฤติบีบคั้นให้ต้องลองกันสักที เราจึงมีวิธีเตรียมตัวเบื้องตน
ช่วงนี้คนที่กำเงินไปลงทุน หัวใจคงเต้นไม่เป็นจังหวะเพราะเห็นชัดว่าเศรษฐกิจขาลงสุด ๆ พอร์ตก็แดง บิตคอยน์ก็ร่วงหลายกิจการได้รับผลกระทบเรื่องโควิด-19 จนเซกันเป็นแถวไม่ทางตรงก็ทางอ้อม UNLOCKMEN เชื่อว่าทุกคนคงเกิดคำถามและพยายามหาคำตอบว่าควรตั้งหลักอย่างไรกับเงินที่มีและการลงทุนช่วงนี้ ยิ่งวันนี้ SET ลงแตะ 1,100 จุดแล้ว เบรกแตกจนไม่รู้ว่าจะแหกโค้งไปถึงไหน! เพื่อไขข้อสงสัยด้านการลงทุน จะมีอะไรดีไปกว่าการถามกูรูการลงทุนหนุ่มเจ้าของหมวกกันน็อกที่ปิดบังหน้าตา แต่เป็นเจ้าของหนังสือและสื่อออนไลน์ที่วิเคราะห์ด้านการลงทุน “ลงทุนแมน” กับ 4 คำถามที่เราเชื่อว่าหลายคนสงสัยไม่ต่างกัน Q1: มนุษย์เงินเดือนที่อยากลงทุนตอนนี้ ควรลงทุนด้านไหนถึงจะดี หรือควรเก็บเงินสดไว้ในมือก่อน ลงทุนแมน: ทุกช่วงเวลา มีโอกาสลงทุนได้เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความเข้าใจในสิ่งที่เราลงทุนมากแค่ไหน การลงทุนที่เหมาะสมของแต่ละคนอาจต่างกัน บางคนรับความเสี่ยงได้น้อย บางคนรับความเสี่ยงได้มาก หลายคนคิดว่าลงทุนต้องให้ผลตอบแทนมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้วการลงทุนเราต้องได้ผลตอบแทนภายใต้สิ่งที่เราสบายใจด้วย ต่อให้ได้ผลตอบแทนเป็น 100% แต่ถ้านอนไม่หลับ เครียด มานั่งวิตกรายวัน ไม่แนะนำ เพราะสภาพจิตใจของเราสำคัญกว่าตัวเงินเสียอีก ความสบายใจในการลงทุนของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ขึ้นกับความเข้าใจในสิ่งที่ลงทุน ในธุรกิจเดียวกันบางคนอาจเข้าใจเป็นอย่างดี แต่บางคนอาจไม่เข้าใจเลย ดังนั้นคำตอบของเรื่องนี้ก็คือ ต้องถามกลับว่าเราเข้าใจในสิ่งที่เราจะลงทุนมากแค่ไหน สินทรัพย์นั้นคืออะไร ทำธุรกิจอะไร โครงสร้างรายได้คืออะไร กรณีเลวร้ายที่สุดของธุรกิจนั้นคืออะไร ถ้าเราเข้าใจดีแล้ว
“รู้เท่าไม่ถึงการณ์” คือการ์ดยอดฮิตติดอันดับของมนุษย์ผู้ทำผิดพลาด แล้วไม่รู้จะรับมือกับความผิดพลาดนั้นอย่างไร แม้จะมีคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วทำผิดพลาดอยู่จริง (ซึ่งถ้าพลาดครั้งแรก สังคมก็พร้อมรับฟังและให้โอกาส) แต่ก็มีมนุษย์บางจำพวกที่พูดคำว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” เป็นรอบที่สิบ ไม่ว่าผิดกี่ครั้ง ไม่ว่าพลาดกี่หนก็พูดพล่อย ๆ เพื่อเอาตัวรอดให้พ้น ๆ ไป แล้วก็ปล่อยความผิดพลาดยุ่งเหยิงนั้นให้ยังอยู่ต่อไป ผู้ชายอย่างเรา ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่ทุกวัน ก็ย่อมต้องผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดา หรือบางครั้งเราไม่ใช่คนพลาด แต่คนในปกครองหรือคนในความรับผิดชอบทำพลาด เราเองก็ต้องเป็นคนออกหน้า ในฐานะที่เราก็เบื่อคนพูดว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” เต็มทน เพราะเหมือนพูดแบบขอไปที UNLOCKMEN ขอเสนอคำพูดที่ผู้ชายอย่างเราใช้รับมือเมื่อเจอภาวะวิกฤต หรือทำผิดพลาด โดยเป็นคำพูดหรือวิธีการที่ดูเป็นรุ่นใหญ่ใจนิ่ง แถมดูเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่แค่ปัดความรับผิดชอบให้พ้น ๆ ตัว โลกยุค 5G ทุกอย่างต้องแสดงออกเร็วนะ! หากเกิดทันยุคที่ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างมาจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์เท่านั้น เราจะเข้าใจได้ทันทีว่าข้อมูลในยุคนี้ไหลเร็วขนาดไหน ไม่ใช่ระดับเวลาเช้า-เย็น เหมือนข่าวภาคเช้าและภาคค่ำอีกต่อไป แต่ข่าวนั้นเชี่ยวกรากกันเป็นระดับนาที! ดังนั้นเมื่อเราทำพลาดและมีคนพบข้อผิดพลาดนั้นแล้ว ให้รีบ Take Action ให้เร็วที่สุด แต่ละนาทีที่เราปล่อยเวลาให้ผ่านไป หมายถึงคอมเมนต์คาดเดาไปสารพัด หมายถึงการบอกกันปากต่อปาก
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ความสำเร็จ’ เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายการทำงานของผู้ชายหลายคน แล้วถ้าคุณหรือใครอยากประสบความสำเร็จบ้าง วิธีที่ง่ายที่สุดคือเลียนแบบชีวิตการทำงานของคนที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จ แต่หากลองทำตามคำแนะนำของ Warren Buffett, Oprah Winfrey หรือแม้แต่ Bill Gates แล้วยังไม่เวิร์ก วันนี้ UNLOCKMEN มีกิจวัตรง่าย ๆ มานำเสนอ รับประกันว่าถ้าทำได้ ชีวิตการทำงานของคุณจะเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรืออาจเข้าใกล้ความสำเร็จในหน้าที่การงานมากขึ้นอีกก้าว อธิบายประเด็นหลักก่อนประชุม การประชุมแต่ละครั้งอาจไม่ใช่แค่ประชุมตามกำหนดการหรือถกเถียงประเด็นกันแบบไม่รู้จักจบสิ้น Jack Dorsey ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Twitter จึงแนะนำให้ส่งประเด็นผ่าน Google-Docs กับผู้เข้าร่วมประชุมก่อนเริ่มประชุมจริง ประมาณ 10 นาที วิธีนี้จะช่วยให้คนในห้องประชุมเห็นภาพเดียวกันและเข้าใจเนื้อหาการประชุมเบื้องต้น แม้จะยังไม่ได้เข้าประชุม ทั้งยังทำให้พวกเขาได้คิดและวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้วิจารณญาณ อาจคอมเมนต์กันผ่าน Google-Docs ได้ทันที เอื้อประโยชน์ให้การประชุมราบรื่น ไม่ยืดเยื้อ และมีประสิทธิภาพสูง เรียนรู้ที่จะพูดคำว่า “ไม่” อีกเรื่องที่เราอยากให้หนุ่ม ๆ ทำกันจนเป็นกิจวัตร คือการเรียนรู้ที่จะพูดคำว่า “ไม่” ในสถานการณ์จำเป็น เพราะบางครั้งคำว่า “ไม่” ไม่ได้แปลว่าคุณเกี่ยงงานหรือไร้ความสามารถเสมอไปหรอกนะครับ งานวิจัยของ
ใครรักวันจันทร์ยกมือขึ้น? ถามแบบนี้กับมนุษย์ร้อยคน เราเชื่อว่าอาจไม่มีสักคนที่ชูมือขึ้นมาแสดงตัว แต่ถ้าถามว่า ใครเกลียดวันจันทร์เข้าไส้? เราก็มั่นใจว่ามนุษย์ร้อยทั้งร้อยจะพร้อมใจกันยกมือ เพราะวันจันทร์หมายถึงการต้องกลับมาเริ่มต้นทำงานอีกหน ต้องกลับมาเผชิญหน้ากับการวิ่งวุ่น ซึ่งตรงข้ามกับการพักผ่อนอย่างฉ่ำใจในวันเสาร์อาทิตย์โดยสิ้นเชิง แต่ในสภาวะวิกฤตไวรัสฯ ที่ลุกลามไปทั่วโลก รวมถึงเศรษฐกิจที่ไม่ได้สวยงามอย่างที่ใครหลายคนฝัน การมีวันจันทร์ให้เราได้ตื่นไปทำงานนั้น ก็ย่อมดีกว่าวันจันทร์แรกหลังการถูกเลย์ออฟ โดนเชิญออก หรือเตะฝุ่นหางานอย่างไร้จุดหมาย ดังนั้นแม้วันจันทร์จะไม่ใช่วันที่เรารักที่สุด แต่ในช่วงนี้เราก็คงต้องบอกตัวเองว่า “อย่างน้อยก็ยังมีงานทำ” อย่างไรก็ตามในวันอังคารหรือพุธเราอาจเริ่มทำใจได้ และวันพฤหัสหรือศุกร์เราก็เริ่มลิงโลดใจอีกหนที่จะได้กลับไปพักผ่อน นั่นจึงไม่แปลกเลยที่วันจันทร์จะกลายร่างเป็นปีศาจร้ายที่ตามหลอกหลอนเรา แต่การเกลียดวันจันทร์ไม่ช่วยอะไร การรับมือกับวันจันทร์อย่างถูกวิธีต่างหากที่จะทำให้เราเกลียดวันจันทร์น้อยลงและทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วันจันทร์ไม่ได้เริ่มที่วันจันทร์ วันจันทร์เริ่มที่วันศุกร์หรือวันอาทิตย์ เคยมาถึงออฟฟิศแล้วยังรู้สึกเหมือนตัวเองไม่ตื่นจากวันหยุดสุดสัปดาห์ไหม? กว่าจะนั่งที่โต๊ะ กว่าจะรื้อฟื้นความทรงจำว่าทำอะไรค้างคาไว้ หรืองานไหนคืองานเร่งที่ต้องรีบต่อให้ติด ปัญหามึน ๆ งง ๆ ในเช้าวันจันทร์เหล่านี้จะหมดไปถ้าเราระลึกได้ว่าวันจันทร์ไม่ใช่การเริ่มต้น แต่เราควรเตรียมการเริ่มต้นที่ดีไว้ตั้งแต่เย็นวันศุกร์ก่อนเลิกงาน หรือเย็นวันอาทิตย์ก่อนมาทำงาน เราสามารถจดสิ่งเร่งด่วน งานคั่งค้าง หรือลิสต์สั้น ๆ ว่าเราควรเริ่มต้นลงมือทำอะไร วิธีนี้จะช่วยให้เราจัดการกับการเริ่มต้นวันจันทร์ได้ราบรื่นขึ้น ไม่ต้องรอถึงเที่ยงกว่าจะได้ลงมือทำงานจริง เราสามารถดูลิสต์และการเตรียมการที่เราจดเอาไว้ เราจะรู้ตั้งแต่มาถึงออฟฟิศเลยว่าเราต้องเริ่มทำอะไร ทำให้สามารถทำงานให้ลื่นไหนและต่อเนื่องได้เร็วกว่าเดิม ทำหนึ่งสิ่งเล็ก ๆ ในวันจันทร์ เพื่อเป็นรางวัลให้สมอง สมองเราชอบความสำเร็จ เมื่อไรที่เราลงมือทำอะไรที่ตั้งใจให้สำเร็จไปหนึ่งอย่าง สมองจะตื่นตัวและเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำอะไรให้สำเร็จต่อจากนี้ก็ได้ โดยความสำเร็จนั้นไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่แต่อย่างใด
ต้องยอมรับว่าการใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย นอกจากต้องต่อกรกับการจราจรที่ติดแหง็กไปยันชาติหน้าแล้ว ผู้ชายเรายังต้องสู้รบฟาดฟันกับกองงานมหึมาที่หัวหน้าขยันโยนมาให้ไม่รู้จบ ที่ยากไปกว่านั้นคือต้องเคลียร์งานทั้งหมดให้เสร็จภายในเวลางาน 8 ชั่วโมงนี่สิ ไม่รู้ว่าจะโทษวัฒนธรรมองค์กรแสนยืดหยุ่นที่เอื้อประโยชน์ให้เรามาทำงานสายจนเคลียร์งานไม่ทัน หรือโทษตัวเองที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานกันแน่ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดว่าการบริหารเวลาในชีวิตเข้าขั้นวิกฤตหรือล้มเหลว UNLOCKMEN มีเทคนิคง่าย ๆ มาแบ่งปัน รับประกันว่าถ้าทำได้ ชีวิตการทำงานของคุณจะ productive ยิ่งขึ้นแน่นอน! ‘60-30-10’ เป็นทฤษฎีการแบ่งเวลายอดนิยมที่ทำให้ใครหลายคนประสบความสำเร็จมานักต่อนัก ทฤษฎีนี้ว่าด้วยการแบ่งเวลาทำงานเป็นสามส่วน คือ 60, 30 และ 10 เริ่มที่เวลา 60% แรกจะใช้สำหรับงานที่สำคัญหรือมีมูลค่าต่อบริษัท เวลา 30% ถัดมาจะใช้ไปกับงานเร่งด่วนที่มูลค่ารองลงมาจากงานแรก และจบลงที่เวลา 10% สุดท้ายสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ หรือการเตรียมพร้อมทำงานในวันต่อไป 60% เพื่องานสำคัญ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานของหนุ่ม ๆ หลายคนไม่สำเร็จลุล่วงตามที่หวัง อาจเป็นเพราะคุณใช้เวลาทั้งวันไปกับงานยิบย่อยหรืองานที่ไม่สำคัญ จนไม่มีเวลามากพอจะทำงานหลักที่สำคัญยิ่งกว่า เราแนะนำให้คุณแบ่ง 60% ของเวลาทำงานไว้สำหรับทำงานสำคัญหรืองานชิ้นใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้เวลาทำมากกว่างานอื่น แต่ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ว่างานไหนสำคัญที่สุด ลองพิจารณาดูว่างานนั้น ๆ สอดคล้องกับภาพรวมงานใหญ่หรือไม่ และมันเอื้อประโยชน์ต่อเป้าหมายเบื้องหน้าที่คุณตั้งไว้หรือเปล่า เช่น ถ้าคุณเป็นพนักงานขายและมีโจทย์ให้ปิดยอดให้ได้ 300,000 บาทต่อสัปดาห์
“เฮ้ย วันนั้นที่ประชุมนี่ต้องทำอะไรส่งวันไหนนะ จำได้ป่ะ?” หลายคนเวลาประชุมเสร็จออกมานอกห้องไม่ทันไรก็เจอปัญหาแบบนี้ เคยสังเกตไหมว่าเวลาประชุมมันเหมือนการจับปู (ไอเดีย) มาใส่กระด้ง ต่างคนต่างเสนอ ใครอยากพูดอะไรก็พูด บางทีก็ออกทะเลจนหาน้ำหาเนื้อไม่ได้ เวลาทำงานเลยหดหาย พอหาเทคนิคสลับมากำหนดเวลาให้กระชับการประชุม เราก็ดันจำไม่ได้ว่าใครต้องทำอะไรเวลาไหน ติดตามอะไรไม่ได้ สุดท้ายที่ประชุมไปเลยไร้ความหมาย เพื่อการประชุมงานให้ได้งานจริง ๆ และคุ้มค่าความคิดกับไอเดียที่สุด UNLOCKMEN แนะนำให้ทุกคนใช้เทคนิค “จด Minutes” หรือจดวาระการประชุมด้วย 4 ข้อต่อไปนี้ แต่ถ้าสิ่งนี้มันไม่ใช่หน้าที่ของคุณ ลองส่งบทความนี้ไปให้กับคนที่จดมัน รับรองว่าจบประชุมไปครั้งหน้า สมาชิกทุกคนจะแอ็กทีฟอย่างแน่นอน จด MINUTES เพื่อที่ประชุมด้วยวิธีการพิมพ์ การวิจัยบอกว่าถ้าจดรายงานการประชุมใด ๆ ด้วยมือจะทำให้จำหัวข้อที่ซับซ้อนได้ดีกว่าก็จริง แต่ถ้าเป็นการจดเพื่อทุกคนที่อยู่ในที่ประชุม การจดให้ตัวเองจำได้แล้วต้องไปนั่งพิมพ์กรอกอีกครั้งดูเป็นวิธีการที่ซ้ำซ้อนเกินไปหน่อย ที่สำคัญยังเปลืองทรัพยากรอย่างกระดาษและไม่ได้ทำให้ทุกคนจำได้ด้วย ดังนั้นสิ่งที่แนะนำให้ทำจึงเป็นการพิมพ์ เพื่อให้ขั้นตอนสุดท้ายเราสามารถโชว์สิ่งที่จดให้ทุกคนในที่ประชุมดูได้เลยทันที จับไฮไลต์มาจด จดรายงานการประชุม ไม่ใช่การจดทุกคำ แต่จดเฉพาะไฮไลต์ให้เร็ว เพราะระหว่างที่แต่ละคนทยอยออกความเห็นน้ำจะมากกว่าเนื้ออยู่แล้ว ทริกอยู่ที่คำที่เลือกจด จะต้องบอกได้ทันทีว่าเราจะพูดถึงเรื่องอะไร ต้องมีวาระการตัดสินใจและการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ตัวอย่าง “เราอยากให้ทุกคนป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19 เพราะตอนนี้มีคนเสียชีวิตแล้ว 1 คนเป็นชายไทย อายุเพียง
ท่ามกลางสมรภูมิการทำงานที่แต่ละบริษัทสู้รับกันอย่างดุเดือด มองเผิน ๆ แล้วเราอาจแบ่งบริษัทได้เป็นสองประเภทหลัก คือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานนับร้อยพ่วงมากับเงินทุนหลายล้าน ซึ่งดูเป็นบริษัทที่มั่นคงและค่อนข้างมีระเบียบ ในทางกลับกันก็มีบริษัทขนาดย่อมที่รวมพนักงานทั้งหมดแล้วยังไม่ถึงครึ่งแผนกของบริษัทแรก แต่สิ่งที่ได้เปรียบคือพนักงานจำนวนน้อยนิดนั้นทำงานเข้าขากันสุด ๆ แต่ถ้าจะให้วัดประสิทธิภาพการทำงานของทั้งสองบริษัทข้างต้น อาจตอบไม่ได้เต็มปากว่าบริษัทไหนจะเจ๋งกว่ากัน เพราะบริษัทใหญ่อาจไม่ได้เป็นต่อเสมอไป และการทำงานในบริษัทเล็กก็คงไม่ได้แปลว่าด้อยกว่าไปเสียทุกเรื่อง แล้วอยากรู้ไหมครับว่าการทำงานในบริษัทเล็กดีกว่าบริษัทใหญ่ตรงไหนกัน? ทีมเล็ก ๆ ก็แก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ได้ การทำงานในทีมเล็ก ๆ ไม่เพียงทำให้คนในทีมรู้จักสนิทสนมกันมากกว่าทีมใหญ่ หากยังช่วยให้มองเห็นทักษะของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนได้อย่างใกล้ชิด พร้อมเรียนรู้และนำความสามารถของกันและกันไปแก้ปัญหาอย่างตรงจุด เมื่อต้องตัดสินใจแก้ปัญหาเรื่องอะไรสักเรื่อง ทุกคนในทีมเล็ก ๆ มีแนวโน้มจะเข้าใจและเห็นภาพตรงกันมากกว่าทีมใหญ่ ทำให้สามารถตัดสินใจเรื่องยากได้ดีขึ้นในขอบเขตเวลาที่สั้นลง ทุกคนโฟกัสในเรื่องเดียวกัน เมื่อคนเยอะ ปัญหาก็เยอะขึ้น และความคิดเห็นที่แตกต่างอาจนำมาสู่การถกเถียงกันไม่จบสิ้น กลับกันถ้าทีมของคุณมีเพียงไม่กี่คน พนักงานทุกคนคงจะโฟกัสการทำงาน การประชุม และทำให้หลาย ๆ ความคิดกลมเกลียวกว่าเดิม มีงานวิจัยด้านจิตวิทยาอ้างว่า เมื่ออยู่ในทีมที่มีขนาดเล็กลงจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละคนเพิ่มขึ้นตามมา เพราะถ้าทำงานในทีมใหญ่ ๆ ก็อาจไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็น และบางคนมักจะรู้สึกว่าตนไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การสื่อสารที่ง่ายและราบรื่นกว่า การสื่อสารเป็นกำแพงพื้นฐานที่ทุกคนในบริษัทต้องทลายมันร่วมกัน เนื่องจากการทำงานที่ดีต้องอาศัยทักษะการสื่อสารที่เป็นระบบ ซึ่งการทำงานในทีมเล็ก ๆ ก็มีลักษณะแกมบังคับให้คุณต้องแสดงความคิดเห็นและสื่อสารกับคนในทีมแบบเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือทุกคนจะทำงานเข้าขากันมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในทีมใกล้ชิดกันกว่าที่เคย และมีโอกาสที่ทุกคนในทีมจะรักใคร่ปรองดอง ตลอดจนเคารพซึ่งกันและกันมากกว่า
ในวันที่เศรษฐกิจไม่คล่องตัวอย่างใจฝัน เงินไม่ได้ลอยเข้ากระเป๋าผู้ชายอย่างเราง่าย ๆ การทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำเพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเองและคนที่เรารักจึงเป็นคำตอบแรก ๆ ที่เราต้องทำ ยิ่งงานเยอะ ก็ยิ่งได้เงินมาก แต่สิ่งที่นับวันยิ่งลดน้อยลง ๆ จนน่าใจหายคือ “เวลาพัก” แต่จะให้ลดเวลาทำงานเพื่อมานอนยาว ๆ ก็อาจไม่ตอบโจทย์ เพราะชีวิตตอนนี้ เวลาเป็นเงินเป็นทองให้หยุดหาเงินก็คล้ายหยุดหายใจ UNLOCKMEN จึงชวนทุกคนมาโกงความตาย ทำงานสู้ฟัด พร้อม ๆ กับหนทางนอนน้อยแต่ได้มากในวันที่เราทุกคนต้องฝ่าฟันทุกวิกฤตนี้ไปด้วยกัน เพราะนอนมาก ไม่สำคัญเท่า “นอนให้มีคุณภาพ” เหตุผลอย่างหนึ่งที่เรามักบ่นกันเสมอว่าช่วงนี้ไม่ค่อยได้นอนเลย หรือบอกว่านอนน้อย ๆ เป็นประจำ นั่นเพราะเรามีมาตรฐานการนอนที่บอกต่อ ๆ กันมา ฟังตาม ๆ กันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กว่า “เราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง” เราจึงเข้าใจว่าเมื่อไรที่เรานอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงนั้นหมายความว่าเรานอนไม่พอ เรานอนน้อย แต่ในความเป็นจริง 8 ชั่วโมงนั้นคือเวลามาตรฐานโดยเฉลี่ย แต่ไม่ใช่กฎตายตัวเพราะมนุษย์แต่ละคน แต่ละช่วงวัยนั้นมีช่วงเวลาการนอนที่พอเหมาะแตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่อบทความชื่อ Sleep quality versus sleep quantity: Relationships
คงต้องยอมรับว่ากว่าที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้นคงไม่ง่ายแบบในละคร และชีวิตการทำงานก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่เราคิดเสมอไป หากมากไปด้วยขวากหนามและอุปสรรคแสนท้าทายที่กำลังทดสอบตัวคุณอยู่ อีกหนึ่งบททดสอบในชีวิตการทำงานคงหนีไม่พ้นโปรเจกต์ยาก ๆ ที่ไม่มีเพื่อนร่วมงานหน้าไหนอยากจะรับมาทำ แต่ท่านหัวหน้าสุดที่รักดันโยนโปรเจกต์นี้มาให้คุณ ความรู้สึกแรกอาจประหม่าเล็กน้อยและกระวนกระวายจนทำอะไรไม่ถูก แต่ถ้านั่งนึกดูดี ๆ แล้วนี่ถือเป็นโอกาสสำคัญในเส้นทางความสำเร็จของคุณเลยด้วยซ้ำ วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำ 4 เทคนิคที่ช่วยให้หนุ่ม ๆ พิชิตโปรเจกต์ยาก ๆ ได้ราวกับปอกกล้วยเข้าปาก อย่าเพิ่งดูถูกตัวเองไป เพราะไม่มีอะไรที่ผู้ชายอย่างคุณทำไม่ได้! ค้นหาข้อจำกัด จริงอยู่ที่การจะคิดงานใหญ่ต้องมีใจนิ่งสงบ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือคุณต้องค้นหาข้อจำกัดของโปรเจกต์นั้น ๆ เสียก่อน อย่างเช่นถ้าคุณต้องทำโปรเจกต์ใหญ่ ใช้คนจำนวนมาก ใช้เวลามาก แต่มีงบประมาณจำกัด คุณควรทำอย่างไร? การค้นหาข้อจำกัดจะทำให้คุณเห็นภาพใหญ่ขึ้นว่าทรัพยากรหรือเงินทุนที่มี สามารถนำไปทำอะไรได้บ้างและทำอะไรไม่ได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุด และไม่เปลืองพลังงานที่ต้องเสียไปกับการคิดอะไรที่ทำไม่ได้ แถมยังเหลือเวลาให้คุณไปทุ่มเทพลังกายพลังใจทั้งหมดกับงานทำได้จริง กำหนดระยะเวลาการทำงานอย่างเป็นระบบ การทำโปรเจกต์ยาก ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นอกจากต้องอาศัยพลังงานมหาศาลแล้ว สิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้กำหนดการต่าง ๆ ราบรื่นได้คือการกำหนดระยะเวลาทำงานที่เป็นระบบ สมมติถ้าโปรเจ็กต์นี้มีเวลาให้คุณทำเพียงหกเดือน หนุ่ม ๆ ควรคิดและวางแผนว่าแต่ละเดือนจะทำอะไร และงานยิบย่อยต่าง ๆ ควรทำให้เสร็จภายในวันไหน กลับกันถ้าไม่มีเดดไลน์หรือการวางแผนงานที่แน่ชัด อาจมีแนวโน้มที่คุณจะต้องทำงานด่วนงานร้อน
ในยุคที่งานไม่ได้หาง่าย ๆ แถมหลายองค์กรยังปลดคนออกเพื่อความคล่องตัว การสมัครงานแล้วโดนปฏิเสธจึงอาจเกิดขึ้นได้กับใครหลาย ๆ คน บางคนโดนปฏิเสธเพราะคุณสมบัติไม่ถึง เพราะตำแหน่งในองค์กรไม่ว่าง หรือเพราะความต้องการไม่ตรงกัน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการปฏิเสธที่ผู้ชายอย่างเราเข้าใจได้ แต่เมื่อโดนปฏิเสธไม่รับเข้าทำงานด้วยเหตุผล “คุณดีเกินไป” หรือ OVERQUALIFIED เรามักจะงงเป็นไก่ตาแตก คิดว่าจะมีแค่คนรักเท่านั้นที่บอกปฏิเสธเราด้วยเหตุผลนี้ อ้าว แต่ที่ทำงานไม่ต้องการคนดี ๆ หรอกเหรอ? ดีเกินไปมันเกินไปอย่างไร? ความหมายที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ใต้คำว่า OVERQUALIFIED คืออะไรกันแน่ UNLOCKMEN พาสำรวจความหมายที่ซ่อนอยู่ใต้คำว่า “ดีเกินไป” ที่องค์กรใช้ปฏิเสธไม่รับเราเข้าทำงาน ไม่ได้ดีเกินไป แต่เราจ่ายคุณไม่ไหว บางทีคำว่าดีเกินไป หรือ OVERQUALIFIED นั้นไม่ได้หมายความว่าเรามีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบเกินที่เขาต้องการแต่อย่างใด แต่อาจหมายความว่าคุณสมบัติเรานั้นก็ตรงกับประกาศรับสมัครของตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่เขาไม่สามารถจ่ายค่าคุณสมบัติที่เราเรียกไปได้ไหว แล้วจริง ๆ เขาต้องการอะไร? เขาต้องการคนที่คุณสมบัติเท่านี้แต่เรียกค่าตอบแทนต่ำกว่าเรา รวมถึงยินดีรับคนที่คุณสมบัติไม่ถึง (แต่บอกว่าจะทำตามคุณสมบัตินั้นให้ถึง) และเรียกค่าตอบแทนต่ำกว่า ดังนั้นไม่ต้องมัวกังวลว่าเราดีเกินไป หรือสิ่งที่เรามีมันแย่ แต่แค่ความต้องการเขากับเราเรื่องค่าตอบแทนต่อคุณสมบัติที่เหมาะสมนั้นไม่ตรงกัน แม้ประสบการณ์และการเรียนรู้จะสำคัญกว่าค่าตอบแทน แต่การทำงานในองค์กรที่ไม่เห็นคุณค่าของความสามารถเรา ก็เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มเสี่ยง เพราะหมายความว่าทัศนคติขององค์กรอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับความสามารถคนทำงานมากพอ และนั่นอาจทำให้คุณทุกข์ทรมานมากกว่ามีความสุข คุณดีพอนะ แต่เรากลัวว่าคุณจะจากเราไปไว คำว่าดีเกินไปจากบางองค์กร คือการบอกว่าเรานี่แหละดีมาก เหมาะสมที่สุด