Work
IMPROVE YOURSELF
  • Work

    POMODORO TECHNIQUE กฏการเคลียร์งาน 25 นาทีจบ ที่จะช่วยให้ชีวิตคุณเปลี่ยนไปตลอดกาล

    By: PSYCAT May 31, 2020

    เป็นสถานการณ์สุดฮิตที่เหล่าคนทำงานอย่างเรา ๆ คุ้นชินเป็นประจำ หรือถ้าว่ากันตามตรงก็เป็นกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลนั่นแหละ การผัดวันประกันพรุ่งอาจยังไม่เคยส่งผลกระทบกับใครจัง ๆ แรง ๆ เพราะว่ากันว่าคนผัดวันประกันพรุ่งเนื้อแท้ไม่ใช่คนขี้เกียจแต่มีวิธีจัดการเวลาและลำดับความสำคัญในการทำงานตามรูปแบบของตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าการทำงานให้ทันเดดไลน์จะราบรื่นไปหมดทุกอย่าง ไหนจะความกดดัน ไหนจะความร้อนรน จะดีแค่ไหนถ้ามีเทคนิคการทำงานเพื่อคนชอบผัดวันประกันพรุ่งโดยเฉพาะ ที่รับรองว่าคุณจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมแน่นอน! ‘Pomodoro Technique’ คือชื่อเทคนิคการทำงานทรงประสิทธิภาพที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Francesco Cirillo นักพัฒนาและผู้ประกอบการ ผู้คิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นมาช่วงปี 1980 เนื่องจากเขารู้สึกว่าตอนเรียนมหาวิทยาลัยมันเป็นอะไรที่ยุ่งมาก ทำงานก็ไม่ดี เรียนก็ไม่ได้เรื่อง ชีวิตไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย Pomodoro ก็ไม่ได้มาจากไหน แต่มาจากเครื่องจับเวลาสำหรับการทำอาหารที่ทำเป็นรูปมะเขือเทศของเขานั่นเอง (Pomodoro เป็นภาษาอิตาเลียนที่แปลว่ามะเขือเทศ) แต่อย่าคิดว่านี่เป็นแค่วิธีกิ๊กก๊อกของนักศึกษาธรรมดาคนหนึ่ง เพราะช่วงปี 1990 วิธีนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคการทำงานที่ทำให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับคนที่อยากรู้ว่า ‘Pomodoro Technique’ ทำอย่างไร? ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง? จริง ๆ ก็ง่ายแสนง่ายแค่มีนาฬิกาปลุก สมาร์ทโฟน หรืออะไรที่สามารถตั้งเวลาได้ และความตั้งใจของเราก็พอแล้ว วิธีการก็ง่ายแสนง่ายด้วย 6 ขั้นตอนต่อไปนี้ 1.เลือกงานที่คุณต้องการจะทำให้เสร็จขึ้นมา งานแบบไหนก็ได้ งานเล็ก งานใหญ่ งานที่ค้างไว้เป็นอาทิตย์

    อ่านต่อ
  • Work

    ยิ่งทำงานที่บ้านยิ่งหมดไฟ ‘รับมือ BURNOUT อย่างไร?’ เมื่อพลังถูกสูบหายจนดับมอด

    By: PSYCAT May 30, 2020

    ‘BURNOUT’ ไม่ใช่อาการใหม่ อาการหมดไฟนั้นเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทำงานอย่างเรา ๆ และเราต่างหาวิธีรับมือกับอาการหมดไฟที่มาเยือนอยู่ตลอดเพื่อให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หลายคนเคยผ่านอาการหมดไฟมาได้หลายหน ราวกับได้เกิดใหม่ท่ามกลางเถ้าถ่านมอดดับ แต่หลายคนก็ไม่เคยเผชิญอาการหมดไฟมาก่อนในชีวิต จนกระทั่ง COVID-19 มาเยือน บรรยากาศการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน การย้ายสถานที่ทำงานจากออฟฟิศสู่พื้นที่พักอาศัย การต้องทำงานอย่างเดียวดายปราศจากเพื่อนร่วมงานรายล้อม หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัวที่ไม่เข้าใจเวลาทำงานของเรา สิ่งเหล่านี้นำพาอาการ BURNOUT มาเยือนใครหลายคนที่ก็เคยมีไฟมาตลอด แล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้าง? BURNOUT ใช่ไหม? หรือแค่เหนื่อยใจธรรมดา? ก่อนจะไปถึงวิธีการรับมืออาการหมดไฟเพราะการ Work From Home เป็นเวลานาน ๆ เราอยากชวนคุณมาสำรวจตัวเองไปพร้อมกันก่อนว่าสิ่งที่คุณเป็นนั้นคือความเหนื่อยในแต่ละวันที่พอจะคลี่คลายไปได้ถ้าได้พักผ่อนเพียงพอ หรือคืออาการ BURNOUT หลีกเลี่ยงงานขั้นหนัก: ความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้ แต่ทันทีที่ได้พักผ่อนก็จางหายไป แล้วกลับมามีพลังเพื่อทำงานใหม่ให้ดีดังเดิม แต่หากคุณคือคนหนึ่งที่ทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงงาน อาจสังเกตว่าไม่อยากตอบอีเมลเจ้านายหรือเพื่อร่วมงานจนกล่องข้อความค้างเติ่งจำนวนมาก เข้าประชุมสายเสมอ หรือถ้าเป็นไปได้ก็จะหาข้ออ้างที่จะไม่เข้าประชุม รวมไปถึงอาการผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ๆ งานนี้ยังไม่ต้องทำหรอกน่า งานนี้ขอเลื่อนส่งไปก่อนได้ไหม ความพยายามหลีกเลี่ยงงานอย่างหนักนี้เป็นอาการของการ BURNOUT ที่รุกคืบเข้ามา ทำงานแค่ให้รอด ไม่ได้ทำเพื่อคุณภาพ: วันนี้คุณทำงานเพื่ออะไร? ถ้าคำตอบของคุณคือก็ทำเพื่อให้รอดไปอีกวัน ทำเพื่อให้หัวหน้าเห็นว่าคุณยังมีงานในหนึ่งวัน คุณอาจเข้าข่าย BURNOUT ได้เช่นกัน เพราะงานที่มีคุณภาพ

    อ่านต่อ