Work
IMPROVE YOURSELF
  • Work

    ทำงานดีหรือแค่สูบบุหรี่เก่ง? ผลวิจัยชี้ “ผู้ชายสูบบุหรี่กับหัวหน้า”มีโอกาสก้าวหน้าเร็วกว่า

    By: PSYCAT December 13, 2019

    “บุหรี่” ถือเป็นอีกเชื้อเพลิงสำคัญที่ขับเคลื่อนผู้ชายอย่างเราให้ทำงานได้คล่องตัวขึ้น อาจเพราะนิโคตินที่เราเสพ อาจเพราะช่วงเวลาพักสั้น ๆ ที่ได้ออกมาสูดอากาศนอกบรรยากาศการทำงาน อาจเพราะได้มองผู้คนจากออฟฟิศอื่นที่ก็ลงมาสูดควันเข้าปอดเหมือนกัน แต่เชื่อว่าผู้ชายหลายคนคงไม่ทันนึกว่า “การสูบบุหรี่” สามารถเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในอาชีพการงานได้ งานวิจัยจาก National Bureau of Economic Research สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานในสถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ โดยผลการสำรวจชี้ว่าพนักงานผู้ชายที่ใช้เวลาสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้ชายของพวกเขานั้นมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งเร็วกว่า และเงินเดือนขึ้นเร็วกว่า ในมุมหนึ่งเรื่องนี้อาจดูไม่น่าแปลกใจนักเพราะสิงห์อมควันรู้ดีว่าการสูบบุหรี่กับใครสักคนไม่ได้หมายความแค่การสูดควันเข้าปอดข้าง ๆ กัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่กับเพื่อนร่วมงาน ระหว่างห้วงเวลาในควันเทาทึมนั้นมักมีบทสนทนาลื่นไหลที่บางบทสนทนานั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบรรยากาศการทำงานในออฟฟิศได้เลย การสูบบุหรี่จึงไม่ต่างจากสารกระตุ้นความผ่อนคลายบางอย่าง แต่ก็เจือบรรยากาศเปิดเผยอย่างจริงใจ จึงไม่แปลกที่ผู้ชายอาจได้แสดงวิสัยทัศน์หรือตัวตนให้หัวหน้าประทับใจ จนนำไปสู่ความก้าวหน้าทางอาชีพการงานได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ก็ทำให้เกิดข้อถกเถียงเป็นวงกว้าง เพราะถ้าทุกคนได้แสดงความคิดเห็นหรือทำให้หัวหน้าเห็นศักยภาพบางอย่างระหว่างสูบบุหรี่จริง ทำไมพนักงานผู้หญิงถึงไม่ได้เลื่อนขั้นเร็วขึ้นอย่างพนักงานผู้ชาย? หรือทำไมการที่พนักงานไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้หญิง แล้วถึงไม่ได้มีใครมีอัตราการเลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้น? การตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศระหว่างการทำงาน ไม่ได้เกิดขึ้นกับการสูบบุหรี่เป็นกรณีแรก ทฤษฎี “old boys’ club” ที่ตั้งคำถามกับกิจกรรมแบบผู้ชาย ๆ ที่เอื้อประโยชน์กันแค่ในหมู่ผู้ชายและสร้างโครงข่ายคอนเนคชั่นทอดยาวไม่รู้จบนั้นมีมานานแล้ว ถ้าจินตนาการไม่ออกให้ลองนึกถึงการไปตีกอล์ฟแบบผู้ชาย ๆ หรือการไปกินดื่มเที่ยวในสถานบันเทิงบางรูปแบบที่มีแต่ผู้ชาย เพราะไม่สามารถชวนพนักงานผู้หญิงหรือเจ้านายผู้หญิงไปมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อในทฤษฎี “old boys’ club” แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เชื่อแน่ ๆ และเถียงหัวชนฝา พวกเขาตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่า “ที่พนักงานผู้ชายได้ขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่งเร็วกว่าตอนที่ทำงานกับหัวหน้าผู้ชายก็เพราะว่าหัวหน้าผู้ชายเข้าใจเราและรู้จักวิธีบริหารดีกว่าไงล่ะ” สมมติฐานนี้คล้ายจะฟังขึ้น

    อ่านต่อ
  • Work

    UNLOCK CORP: งานทำให้ใครตายได้จริงไหม ? มองอีกมุมผ่านการทำงานของญี่ปุ่นสังคมเป๊ะ สุดกดดัน

    By: anonymK December 12, 2019

    ญี่ปุ่นเป็นประเทศเล็ก ๆ บนเกาะที่หลายคนลงความเห็นว่าน่าอยู่และเจริญที่สุดประเทศหนึ่ง บางคนก็มองว่ามีเสน่ห์น่าหลงใหลเพราะความตั้งใจจริงของคนในชาติ แต่เราเชื่อว่าหลายคนยังคงตั้งคำถามว่า การอยู่ในกรอบสังคมญี่ปุ่นที่เป๊ะไปเสียทุกอย่างมันสร้างความกดดัน และเกี่ยวพันกับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น หลังจากมีโอกาสพูดคุยกับ ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ เราพบมุมมองที่น่าสนใจว่า “งานไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการตาย” และมีคำอธิบายมุมมองที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่ทำให้รู้ว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้องค์กรของญี่ปุ่นเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ยอดฆ่าตัวตาย ไม่ได้มาจากคนตั้งใจทำงาน “ครูมองว่ามันต้องแยกกันค่ะ คนที่ตั้งใจทำงานอาจจะเป็นคนละกลุ่มกัน มันไม่ได้แปลว่าคนที่ตั้งใจทำงานจะทำงานหนักจนต้องฆ่าตัวตาย” บางคนอาจเชื่อมโยงสถิติการฆ่าตัวตายวันจันทร์เข้ากับเรื่องการทำงานท่ามกลางสภาพความกดดัน เป๊ะ ๆ ของสังคมญี่ปุ่น แต่นั่นคือภาพมองแบบเหมารวม เพราะหากเราติดตามรายละเอียดจริง ๆ สถิติการตายเหล่านี้มีคณะวิจัยระบุว่าอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในช่วงที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น นั่นแปลว่าเขารู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เครียด เมื่อไร้การทำงานจนต้องจบชีวิตตัวเองต่างหาก การทำงานเป็น A MUST สำหรับคุณ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน แม้จะมีความเป็นไปได้ที่บางคนรู้สึกทุกข์ทนถึงขนาดหดหู่ที่ต้องตื่นลืมตามาทำงาน แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นในองค์กรญี่ปุ่นทุกองค์กร เพราะตามประสบการณ์ที่ ดร. กฤตินี พบแม้จะทำงานหนักแค่ไหน แต่ผู้คนในญี่ปุ่นกลับรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของการทำงานจนไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำคือการทำงาน เธอยกตัวอย่างของเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่ทำเว็บไซต์การทำอาหารและส่งเสริมให้คนรับประทานอาหารในบ้านมากขึ้น เพราะเชื่อว่าการทำอาหารคือการส่งมอบความรัก แม้ ดร. กฤตินีให้คำแนะนำว่าสังคมไทยเป็นสังคมรับประทานอาหารนอกบ้านและเสนอให้จ้างอินฟลูเอนเซอร์ตามค่านิยมการตลาดไทย แต่เพื่อนยืนยันว่าจะทำงานหนักแทนโดยให้เหตุผลว่า “เราต้องทำให้คนรักจากหัวใจ” “เขามานั่งทำงานหนักมา ปรับโปรแกรม ปรับเว็บไซต์ให้คนไทยใช้งานง่าย

    อ่านต่อ