ถึงแม้ว่าแรงกดดัน เช่น เวลาในการทำงานที่จำกัด จะช่วยให้เราเกิดความโปรดักทีฟมากขึ้นได้ แต่ในทางกลับกัน มันก็อาจทำให้เราเกิดอาการแพนิค และทำงานแย่ลงได้เหมือนกัน เพราะเวลาเรากลัวว่าตัวเองจะทำงานไม่ทัน เรามักรีบคิดและรีบปั่นงานให้เสร็จโดยไว ผลสุดท้าย งานที่ออกมาอาจไม่ได้รับการตรวจที่ถี่ถ้วนมากพอ จนมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เมื่อแรงกดดันเป็นเหมือนกับดาบสองคม มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราเลยจำเป็นต้องรับมือกับมันให้ได้อย่างดี บทความนี้ UNLOCKMEN จึงนำเทคนิคดี ๆ มาฝากทุกคนกัน ซึ่งถ้ารู้แล้ว เราจะทำงานภายใต้ความกดดันได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน ตั้งสติก่อนสตาร์ท !!! เวลาเราทำงานในช่วงที่เดดไลน์ใกล้เข้ามาแล้วนั้น เรามักจะโคตรเครียด เสียสติ และไม่คิดหรือตรวจงานให้ดี สุดท้ายงานที่ออกมามันก็แย่ หากใครเจอกับอะไรแบบนี้ เราอยากให้ลองตั้งสติ และพยายามเปลี่ยนโฟกัสจากความเครียดความกังวล มาเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเราดู ลองถามตัวเองว่าตอนนี้เรากำลังเห็นอะไร ? กำลังได้ยินอะไร ? เราหายใจเป็นยังไง ? แบบนี้จะช่วยให้เรารู้สึกถึงแรงกดดันน้อยลง มีสติมากขึ้น และแก้ปัญหาได้ดีกว่าด้วย มองย้อนกลับไปทบทวนความกดดันที่ผ่านมา ความกดดันมักเกิดขึ้นแบบเป็นแพทเทิร์น และเราอาจเจอกับแพทเทิร์นนั้นซ้ำ ๆ อยู่ก็ได้ ดังนั้น แทนที่จะปล่อยให้ประสบการณ์ความกดดันเหล่านั้นผ่านไปเฉย ๆ เราควรใช้เวลาในการเรียนรู้ และวิเคราะห์หาแพทเทิร์นของความกดดันจะดีกว่า เพราะมันจะช่วยให้เราหาแผนรับมือกับความกดดันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพบว่า
ขึ้นชื่อว่าการเจรจาต่อรองแล้ว ไม่ว่าจะในเชิงธุรกิจที่ขับเคี่ยวกันดุเดือด หรือหน้าที่การงานที่ต้องสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด เราทุกคนล้วนแต่ต้องการเจรจาต่อรอง แลกเปลี่ยนให้ผลที่ได้ออกมาพอใจร่วมกันทุกฝ่าย โดยปกติการเจรจาต่อรองก็ย่อมต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ จะไปแบบมั่ว ๆ ไม่รู้อะไรเลยไม่ได้อยู่แล้ว แต่การเจรจาต่อรองที่ “เรามีอำนาจต่อรองน้อยกว่า” หรือรู้ทั้งรู้ว่าเราก็ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรไปแลกกับอีกฝ่ายมากนัก ยิ่งเป็นความท้าทายที่หลายคนเผลอถอดใจไปล่วงหน้า (ก็ดูรูปการณ์แล้ว ไม่น่าจะไปต่อรองอะไรกับเขาได้) แต่เราอยากชวนมาปลดล็อกความเข้าใจผิด ๆ เสียใหม่ อย่างน้อยก็ต้องลองสักตั้งก่อนถอดใจ แม้หลายการต่อรอง เราอาจเลี่ยงได้ แต่กับบางสถานการณ์คับขันตรงหน้าต่อให้รู้ว่าอำนาจน้อยกว่าก็ต้องกระโจนลงไปอยู่ดี ดังนั้นลองเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ เพราะแม้จะไม่ได้มีอำนาจล้นมือ แต่ถ้ารู้เท่าทัน การเจรจาต่อรองให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการก็อาจไม่ยากอย่างที่คิด “ผลลัพธ์ที่ต้องการอาจไม่ได้มีแค่หนึ่ง” การเป็นฝ่ายเหนือกว่าในการเจรจาต่อรอง ไม่ว่าจะทางธุรกิจ หน้าที่การงาน หรือเรื่องไหน ๆ คือการที่เราสามารถพูดคุยไปถึงจุดที่ “เราได้ในสิ่งที่เราต้องการ” หลายครั้งเมื่อเราดูมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า หรือไม่น่ามีอะไรไปแลกจนอีกฝั่งพึงพอใจได้ เราจึงมักคิดว่าเราเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่เสมอ แต่จริง ๆ แล้ว การเจรจาเพื่อ “ได้ในสิ่งที่เราต้องการ” นั้นไม่ได้มีเพียงหนึ่งทาง การนึกถึงผลลัพธ์ในหลากหลายหนทาง หลาย ๆ วิธีไว้ล่วงหน้า ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้เราเจรจาต่อรองได้ลื่นไหลมากขึ้น ถ้ามัวยึดอยู่แค่ว่าจะไปเอาผลลัพธ์นี้อยู่ผลลัพธ์เดียวและยึดติดกอดไว้ โดยไม่ทันนึกภาพผลลัพธ์อื่น ๆ ทันทีที่โดนอีกฝ่ายพลิกเกมไปทางที่เขาได้ประโยชน์ หรือเขาปฏิเสธทางที่เราเสนอไว้ เราจะตัน ไปต่อไม่ได้