นี่เป็นคนฟังเพลงที่โชคดีมาก ๆ ย้ำว่ามาก ๆ มาเสมอ ตรงที่เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังเบื่อกับเพลย์ลิสต์โปรดหรือ Track เก่งที่เปิดฟังซ้ำ ๆ ทุกวันขึ้นมาเมื่อไหร่ ขอแค่ได้บ่นกับถอนหายใจแปปเดียวเท่านั้นแหละ หน้า Youtube หรือ Streaming จะสลับอัลกอริทึมบางอย่าง เพื่อจูงมือวงหรือเพลงซึ่งเราไม่เคยฟังมาก่อนมาให้ โดยที่จะเป็นเพลงแบบโคตรถูกใจทุกครั้ง “แน่นอนว่า Balming Tiger เป็นหนึ่งในวงนั้น นั้น นั้น นั้น .. (โปรดอ่านด้วยเสียงเอคโค่กังวาลที่สุด)” ขออุทานให้กับวันแรกที่รู้จักกันเมื่อปีที่แล้วก่อนเลย โอ้โห เพลง SEXY NUKIM แม่งระเบิดความเบื่อที่อยู่เต็มสมองของเรากระจุยเหมือนถูกลูกซองบรรจุความคิดสร้างสรรค์อันวายป่วยยิงแบบลากหัวคม ๆ นี่มันใช้คำว่า Hip-Hop มานิยามชองร่า (กระแดะปะ) ได้อยู่มั้ย แล้วอะเรนจ์ให้เมนแรปของวงสุดแมสที่สุดในโลกนี้อย่าง BTS ให้เท่ขนาดนั้นได้ไงอะ ที่สำคัญอีกคำถาม เอ็มวีต้องเท่เกินไปทุกตัวแบบนี้เลยเหรอไง ? ทุกคนที่แสดงคือศิลปินรึเปล่า มันเหมือนตัวละครจากหนัง Art เวียร์ด ๆ มากกว่าเยอะเลย วงอะไรไม่รู้แต่โคตรเบียวเลยเว้ย !!! นี่คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ Geesuch
เมื่อพูดถึงช่วงกลางของยุค 2000s ช่วงเวลาที่ซีนดนตรีอันเดอร์กราวด์ Emo / Screamo / Metal เบ่งบานในไทย มันเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากคุณถามผู้คนที่ทันใช้ชีวิตอยู่ในตอนนั้น แล้วไม่มีใครพูดชื่อ Sweet Mullet ออกมา และการไม่พูดถึงเพลงตอบ / หลับข้ามวัน / เพลงของคนโง่ ยิ่งเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ตั้งแต่ที่อัลบั้มแรก Light Heavyweight (2007) ของ Sweet Mullet ปล่อยออกมา เวลาก็เลยผ่านมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ผ่านการสร้างความทรงจำต่อวงและแฟนคลับ จนมาถึงปี 2023 คงไม่มีเรื่องไหนสำคัญต่อแฟนคลับและวงเองได้เท่ากับการที่พวกเขาตัดสินใจว่าจะประกาศยุบวงผ่านการหายไปเงียบ ๆ อีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโชคดีหรือว่าอะไรก็ตาม การที่เราได้นั่งคุยกับพวกเขาเพื่อเขียนเป็นบทความนี้อยู่ นั่นแสดงว่ามันไม่เกิดขึ้นจริง และพวกเขาไม่ได้หายไป หนำซ้ำเรายังสามารถใช้คำว่า “Sweet Mullet กลับมาแล้ว” ได้อีกด้วย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับการกลับมาของ Sweet Mullet เท่าที่เด็กซึ่งโตในยุค
ยังจำวันนั้นได้ดีอยู่เลย วันหนึ่งของเมื่อ 3 ปีก่อน วันที่ฝนตกหนักจนเราเพื่อนต้องพากันไปหลบอยู่ที่แมคโดนัลสาขาลาดพร้าววังหิน บทสนทนามากมายลื่นไหลไปท่ามกลางเสียงเคี้ยวของเฟรนช์ฟรายล้อกับเสียงฝนข้างนอกที่กระทบหน้าต่างของร้าน จนบทสนทนามาถึงจุดที่ใครคนหนึ่งพูดขึ้นมาอย่างนี้ “มึงว่าวงไหนจะเป็น Bodyslam ของยุคต่อไป” คำถามที่หากว่ากันตามประสาของคนอ่านหนังสือการ์ตูน มันคือคำถามระดับที่เรียกว่าว่า “ราชาโจรสลัดคนต่อไปจะเป็นใครกันนะ ?” และวันนั้นเราไม่ได้ตอบคำถามออกไป ถึงแม้คนอื่น ๆ จะโยนวงที่เป็นตัวเลือกมามากมาก็ตาม … เวลาของปี 2020 ผ่านไปจนเกือบจะปลายปี เร็วแบบกะพริบตาครั้งเดียวทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เราเองก็เปลี่ยนไป คำตอบของเราชัดเจนในแบบที่ถ้าถามคนอื่น (ในช่วงเวลานั้น) ก็น่าจะตอบเหมือนกันว่าคือวง Three Man Down ถ้าอัลบั้มแรก This City Won’t Be Lonely Anymore ตอนปี 2021 เป็นการแล่นเรือ Going Merry เข้าสู่น่านน้ำของ Grand Line ในปี 2023 พวกเขาก็ได้ขึ้นเรือลำใหม่ Thousand Sunny ของตัวเอง ผ่านอัลบั้มที่มีชื่อว่า 28
ภาพยนตร์หรือซีรีส์ แน่นอนว่ากว่าจะเกิดขึ้นมาเป็นภาพที่เราได้รับชมมันจะต้องประกอบไปด้วยทีมงานหลายชีวิต ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง, ผู้กำกับ, ช่างภาพ, ช่างไฟ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏออกมาจะไม่สมบูรณ์แบบเลย หากขาดซึ่งสกอร์หรือซาวด์ประกอบเพื่อช่วยเพิ่มบรรยากาศให้ภาพยนตร์หรือซีรีส์ ตอบโจทย์อารมณ์ของแต่ละฉากได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะเผลอมองข้ามความสำคัญของอีกหนึ่งตำแหน่งเบื้องหลังที่สำคัญไป แต่ไม่ต้องห่วง เพราะวันนี้ Unlockmen จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “ต๋อย-เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน” เจ้าของ อาณาจักร Banana Sound Studio ผู้ผลิตสกอร์ให้กับภาพยนตร์และซีรีส์ชื่อดังมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เลือดข้นคนจาง, เด็กหอ, สี่แพร่ง, ห้าแพร่ง, วัยรุ่นพันล้าน, ขุนพันธ์ภาค 1 และ 2, 4Kings รวมไปถึงการร่วมงานกับ Jay Chou ซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังจากประเทศไต้หวันในภาพยนตร์เรื่อง “Secret” การทำงานของผู้ผลิตสกอร์จะสนุกขนาดไหน มาติดตามไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ จากนักดนตรีกลางคืนสู่ผู้ทำสกอร์แบบไม่คาดฝัน “ต๋อย-เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน” เดิมทีไม่เคยมีความคิด หรือแม้แต่มีความฝันในเส้นทางการผลิตซาวด์ประกอบอยู่ในหัวมาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งในขณะที่กำลังเรียนปี 2 ณ
** คิดว่าน่าจะสปอยล์ยับ ๆ ไปเลยนะ แต่เอาจริงส่วนตัวคิดว่าไปอ่านสปอยล์หนัง 100% แบบ 2 นาทีจบเลยก็ไม่พลาดอะไรหรอก ** ไม่ได้ตั้งใจจะรีวิวเกรี้ยวกราดเอายอดอ่านอะไรแบบนั้น แต่ถ้าทุกคนจะเอาเวลาเกือบ 8 ชั่วโมง นั่งตั้งใจดูซีรีส์เรื่องนี้อาจจะไม่คุ้มเท่าไหร่ (กันไว้ก่อนเผื่อมีคนดูที่ชอบซีรีส์เข้ามาอ่าน) เว้นแต่ว่าจะอยากเห็นรอยยิ้มโลกสดใสของคุณ Mei Nagano นั่นก็เป็นอีกเรื่องนึงล่ะ Burn The House Down เป็นซีรีส์ที่ดัดแปลงมาจากมังงะชื่อเดียวกันของอาจารย์ Moyashi Fujisawa ที่เขียนตอนปี 2021 ซึ่งเราเชื่อว่าดีกว่าฉบับซีรีส์แน่นอน ดูสิ เพียงแค่ 2 ปีก็ถูกเอามาทำเป็นซีรีส์ออริจินัลของเน็ตฟลิกซ์เลย เนื้อเรื่องของ Burn The House Down เริ่มต้นขึ้นด้วยเหตุการณ์เลวร้ายของครอบครัว Mitarai ที่บ้านหลังใหญ่ของพวกเขาถูกไฟไหม้จนไม่เหลืออะไร ท่ามกลางกลองเพลิงที่มีชาวบ้านรายล้อมอยู่นั้น Satsuki Mitarai แม่ของลูกสาวสองคนผู้เป็นเจ้าของบ้าน ได้แต่คุกเข่าขอโทษลูก ๆ และสามีตัวเอง เพราะเชื่อว่าเธอเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านถูกไฟไหม้จากการลืมปิดเตาแก๊สตอนทำกับข้าว … เหตุการณ์ผ่านไป 13 ปีจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เปลี่ยนหลายสิ่งอย่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ อย่างแรกคือการที่
เข้าใจได้เลยว่าทำไมหนังเรื่องนี้มันถึงไวรัลทันทีที่ Netflix ปล่อยภาพนิ่งเมื่อต้นเดือนก่อน เอาจริง ๆ ถ้าแค่มีคนมาเล่าเรื่องย่อให้ฟังแบบยังไม่เห็นภาพอะไรเลย ประมาณว่า ‘ทราย’ สาวอีสานบ้านทุ่งที่ไปทำงานบัญชีในกรุงเทพ กับ ‘เอิร์ล’ ผัวฝรั่งในบริษัทเดียวกัน บึ่งรถกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดอีกครั้งในช่วงเวลาพายุใหญ่ประจำฤดูกำลังจะถล่มต่างจังหวัด แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันรอคอยพวกเขาอยู่ นั่นคือฆาตกรต่อเนื่อง กับศพของเกือบทุกคนในคืนนั้น จบ. อีพิคมาก ! อีสานกายะก็มีแล้ว อีสาน Hip-Hop ก็มาแล้ว มาคราวนี้บ้านเรามี ‘อีสานฆาตกรรม’ ที่หมายถึงหนังไทยชอง Mystery & Suspence แคปเจอร์ภาพวัฒนธรรมความเป็นคนอีสานเอาไว้ โดย ‘วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง’ ที่เซตติ้งคือทุกอย่าง “Setting is god !” อย่าเรียกว่ารีวิวเลยละกันนะ เพราะคงไม่ได้ใส่ fact อะไรมากเท่าไหร่ ยิ่งความดีงามของผู้กำกับผู้ส่งหนังเข้าเทศกาลเมืองคานส์คนแรกของไทย การวิเคราะห์หนังเรื่องล่าสุดของเขาอ้างอิงกับหนังไอคอนิกเรื่องก่อน ๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เราขอพูดถึงสิ่งที่ชอบไม่ชอบเพียว ๆ ไปเลย ให้เข้าใจง่ายดีเด้อ อีสานเซอร์เรียลสไตล์ เมอร์เด้อเหรอ คือหนังอีกเรื่องที่เป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของผู้กำกับ ส่วนตัวเราชอบอารมณ์ของเรื่องนี้มาก บ้านไม้เก่า
เหตุการณ์เดิมวนซ้ำ ๆ กับมนุษย์สตริมมิ่ง Netflix ที่ต้องการจะหาหนังหรือการ์ตูนดูสักเรื่องหลังจากทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน ไล่จากลิสต์รายการ (ดอง) โปรดก็แล้ว , อ่านรีวิวจากเพจ Neflix Review ก็แล้ว , คอลกลุ่มไปถามเพื่อนก็แล้ว ก็ยังไม่รู้จะดูอะไรดี โอเคนั้นต้องงัดไม้ตายมาใช้ คนอื่นทำไงไม่รู้ แต่เราใช้วิธีเข้าที่ช่อง ‘ค้นหา’ ซ้ายบนของจอ แล้วเลือกเรื่องค้นหายอดฮิตที่อยู่ซ้ายบนทุกรอบ และนั่นทำให้เราเจอกับ Nimona อนิเมชั่นหมวดเด็ก ที่ผู้ใหญ่ควรได้ดู (เนื้อหาหลักเริ่มบรรทัดต่อไปนะ ข้างบนไม่ต้องอ่านก็ได้) ก่อนจะเป็น Nimona ใน Netflix อนิเมชั่นเรื่องนี้เคยเป็นกราฟิกโนเวลมาก่อน เคยถูกวางเป็นโปรเจคต์ใหญ่ของ Blue Sky Studios แต่ถูกสั่งยกเลิกการถ่ายทำไปในวันก่อนจะเปิดกล้องไม่นาน … การที่ Nimona ได้สตรีมมิ่งให้เราดูอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแม้แต่นิดเดียว แต่เป็นเรื่องราวของเหล่าผู้คนที่ไม่ทิ้งความฝัน พร้อมกับต้องการมอบสิ่งที่ดีให้โลกใบนี้ ND Stevenson และนิโมน่าในชีวิตจริงของเธอ ย้อนกลับไปในปี 2015 สำหรับสายนิยายภาพทุกคน ถ้าลองเสิร์ชหา Best Graphic Novel ประจำปีนั้นดู
ย้อนเวลากลับไป 1 เดือนก่อนหน้านี้ (ในความทรงจำนะไม่ใช่ไทม์แมชชีน) ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับวงชื่อ 100 gecs เลย จริง ๆ ต้องบอกว่าไม่เคยได้ยินชื่อวงมาก่อนด้วยซ้ำ อาจจะเพราะว่าเพิ่งผ่านมา 1 เดือน ผมจึงจำวันแรกที่รู้จักคู่หู Laura Les กับ Dylan Brady สองสมาชิกของวงได้ไม่มีทางลืม มันเป็นวันที่หาเพลงฟังจากคอลัมน์ Albums Review ของเว็บไซต์ Pitchfork ซึ่งในตอนนั้นเอง อัลบั้มที่ใช้ชื่อแปลก ๆ ว่า 10,000 gecs ติดโผ Best Album ได้คะแนนรีวิวสูงถึง 8.2 แหน่ะ ! ผมก็เลยกดฟังอัลบั้มนี้ผ่าน Spotify โดยไม่อ่านรีวิวทันที แต่คะแนนไม่ได้เป็นเหตุผลหลัก แล้วเหตุผลหลักเป็นเพราะอะไรน่ะหรอ ก็เพราะปกอัลบั้มไง ถ้าจะให้เขียนอธิบายเหตุผลคงยากเกินไปที่จะบอกความรู้สึก ดูภาพประกอบข้างล่างเอาเลยง่ายกว่า เข้าใจแล้วใช่มั้ยว่าทำไมถึงกดฟัง เชื่อว่าคุณก็ต้องกดฟังกันแล้วล่ะ มีใครไปตามดูเอ็มวีแล้วอ้วกบ้างรึยังครับ 555 เมื่อใช้เวลา 26 นาที 53
“Magic Moment ในคอนเสิร์ตที่คุณชอบที่สุดคือการแสดงของศิลปินคนไหน ?” ไม่ว่าของคุณจะเป็นโชว์ไหน แต่อันดับ 1 ในใจของเราคือตอนที่ Frank Ocean แสดงที่ FYF Fest ใน L.A. เมื่อปี 2017 อย่างแรกเลยคือเวทีคือเซ็ทสวยมาก มีลำโพงล้อมรอบกับอุปกรณ์ทำเพลงแบบอนาล็อคที่เหมือนกับว่ายกสตูดิโออัดเสียงของโอเชียนมาไว้ตรงนั้น แล้วให้นักดนตรีนั่งล้อมเป็นวงกลมเข้าหากัน เหมือนว่ากำลังซ้อมอยู่ยังไงอย่างนั้น ชั่วโมงต้องมนตร์เกิดขึ้นในเพลง Close To You เพลงต้นฉบับจาก The Carpenter ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะถูกเมดเล่ย์ต่อด้วยเพลง Never Can Say Goodbye ของ The Jackson 5 ได้อย่างเนียนกริบราวกับว่าเป็นเพลงเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ในระหว่างช่วงต้นของการบรรเลง จอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ที่ฉายภาพของโอเชียนและสิ่งที่เกิดขึ้นบนเวทีมาตลอด ก็ค่อย ๆ แพนกล้องออกไปที่ขอบส่วนหนึ่งของเวที ที่ตรงนั้นเอง มีผู้ชายกำลังนั่งโทรศัพท์อยู่ คือผู้ชายที่ไม่มีใครคาดฝันว่าจะอยู่ตรงนั้นได้ เพราะเขาคือ Brad Pitt จอมอนิเตอร์ Close Up ไปที่พิทต่อไปเรื่อย ๆ
สาย J-ROCK ไม่ควรพลาด ขอแนะนำวงร็อกสายเลือดญี่ปุ่นที่มีดีเอ็นเอชาวร็อกสุดขั้วที่มองจากดาวอังคาร ยังรู้ว่าเป็นดนตรีร็อกจากประเทศญี่ปุ่น Wagakki Band ซึ่งแปลได้ตรงตัวว่า “วงเครื่องดนตรีญี่ปุ่น” ถ้าให้พูดถึง J-ROCK ทุกคนคงจะนึกถึง X-Japan หรือไม่ก็ ONE OK ROCK แต่สำหรับ Wagakki Band นั้นแตกต่างออกไป พวกเขาเป็นวงดนตรีร็อกแนวใหม่ที่ผสมผสานการขับร้องและเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งดนตรีที่เล่นนั้นเป็นการ Contemporary ของดนตรีทั้งสองแนว นั่นคือ ROCK + Original Japan ที่ผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ซึ่งเข้ากับศิลปะของ shigin (บทกวีของญี่ปุ่น) อีกด้วย สิ่งที่น่าสนใจของวงนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เพลง แต่ยังมี MV สุดฉีกที่โคตรจะ Epic และเซนส์ด้านแฟชั่นของพวกเขานั้นยากที่จะละสายตา ที่เมื่อเห็นก็ต้องตะโกนออกมาว่า ญี่ปู๊น ญี่ปุ่น ! เหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในอดีตเลยทีเดียว ด้วยความเท่สุดแหวกแนวนี้ทำให้วงได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ (แถมวงนี้ยังไม่ธรรมดาอีกด้วยนะ เพราะเคยได้ร่วมแสดงบนเวทีกับนักร้องในตำนานอย่าง Amy Lee วง EVANESCENCE –
พอดีได้ยินคำว่า “เด็กหนวด” ตามเพจคอนเทนต์เกมบน Facebook ทีไร เป็นต้องสะดุ้งตกใจทุกทีเลย แต่ก็เป็นความตกใจด้วยความดีใจล่ะ เพราะต้องยอมรับว่าช่วงเวลาจุดเริ่มต้นเครื่องคอนโซลของ Playstation ไม่ว่าจะ PS1 หรือ PS2 เป็นการเล่นเกมครั้งหนึ่งที่สนุกที่สุดในชีวิตจริง ๆ ที่นอสตอลเจียแบบนี้มันมีเหตุผลอยู่นะ ก็เพราะว่าในเดือนกรกฎาคมของปี 2023 นี้ เป็นวันครบรอบ 20 ปีของหนึ่งในเกมกีฬา Extreme Sport ที่เราอยากให้ Remake มากที่สุดเกมหนึ่ง คือ Downhill Domination นั่นเอง โอ้โห ตัวเลข 20 ปีนี่คือไม่รู้จะเด็กหนวดยังไงแล้ว ! Sony Computer Entertainment วางจำหน่าย Downhill Domination ตอนปี 2003 ในอเมริกาก่อน แล้วจึงตามมาด้วยประเทศแถมยุโรปในปี 2004 ซึ่งปี 2003 นั้นเรียกว่าเป็นช่วงรุ่งเรืองของ Play Station มาก ๆ มีเกมตัวเด็ดเป็นลิสต์ยาวเป็นหางว่าว
ในวรรณกรรมดิสโทเปียชื่อ Fahrenheit 451 โดยนักเขียนชาวอเมริกัน Ray Bradbury นั้น เล่าเรื่องของโลกที่รัฐบาลลงมติว่า ‘หนังสือ’ คือสิ่งผิดกฎหมาย ประชาชนห้ามอ่านเด็ดขาด ถึงขนาดว่ามีหน่วยชื่อ Firemen คอยเผาหนังสือทุกที่ที่มีอยู่ในสังคมให้หมดไป Guy Montag ตัวเอกของเรื่องก็คือหนึ่งในหน่วยสุมเพลิงนั้น ก่อนที่เขาจะค่อย ๆ ตั้งคำถามว่าสิ่งที่รัฐบาลบอกว่าผิด ใครที่เป็นแฟนคลับตัวยงของมังงะโจรสลัด One Piece น่าจะรู้ถึงความโหดร้ายของรัฐบาลโลกในเรื่องดี ซึ่งหนึ่งในสิ่งชั่วร้ายที่รัฐบาลคอยทำมาตลอดตั้งแต่เล่มที่ 1 ของมังงะเรื่องนี้ คือการปิดบังข้อมูลกับประชาชน จากตัวอักษรโบราณที่ชื่อว่า ‘โพเนกรีฟ’ เพราะกลัวว่าประชาชนจะล่วงรู้ประวัติศาสตร์แห่งความว่างเปล่าหลายร้อยปีก่อนที่อาจจะมีศพซุกซ่อนอยู่ใต้พรหมที่ตัวเองซุกซ่อนเอาไว้ ถึงขนาดว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนที่อ่านตัวอักษรนี้ทิ้งไปเลย เรื่องแต่งว่าด้วยการห้ามอ่านของหนังสือ 2 เล่มที่กล่าวไปในข้างต้น มีจุดเชื่อมโยงน่ากลัวร่วมกันอยู่ตรงที่ ‘พลังของตัวอักษร’ มีพลังสามารถเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกคนอ่านแบบฉับพลันโดยใช้เวลาเพียงจบหน้ากระดาษ 100-300 หน้าเท่านั้น และการห้ามอ่านมันเกิดขึ้นในชีวิตจริงของพวกเราด้วย ! ในปี 1982 จำนวนหนังสือที่ถูกแบนจากห้องสมุดโรงเรียน และจากรัฐบางรัฐในอเมริกามีปริมาณที่สูงขึ้นมาก ถึงขนาดทำให้องค์กร Free-Speech หลายแห่งรวมตัวกันตั้ง ‘งานสัปดาห์หนังสือที่ถูกแบน (Banned Books Week)’ ครั้งที่