ในช่วงปี 1960 – 1970 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของ Steve McQueen นักแสดงชายชาวอเมริกันผู้มีบทบาทการแสดงที่โดดเด่นจนถูกขนานนามว่าเป็น “King of Cool” หรือ ราชาแห่งความเจ๋ง ซึ่งหนังหลายเรื่องที่เขาแสดงนั้นได้รับเสียงตอบรับดีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น The Sand Pebbles หรือ The Magnificent Seven แต่นอกจากเรื่องการแสดงแล้ว การฟิตหุ่นของ Steve McQueen ก็น่าสนใจเหมือนกัน เพราะหุ่นของเขาในช่วงนั้นเรียกได้ว่าเฟิร์ม และเป็นแรงบันดาลใจให้คนได้ไม่น้อย ว่ากันว่า เขาเริ่มออกกำลังกายเรื่อยมาตั้งแต่ยุค 1950s เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นนักแสดง โดยเขาจะออกกำลังกายในตอนเช้าของทุกวัน และใช้เวลาออกกำลังกายราววันละ 2 ชั่วโมงต่อวัน ก่อนที่เขาจะล้มป่วยลงด้วยโรคมะเร็งและเสียชีวิตในวัย 50 ปี ในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากพาไปดูว่าเขาเคยออกกำลังกายอะไรมาบ้าง พร้อมแนะนำเคล็ดในการออกกำลังกายสำหรับมือใหม่ด้วย จ๊อกกิ้ง แม้ McQueen จะไม่ชอบการ Cardio สักเท่าไหร่ แต่เขาก็สามารถทำได้เมื่อจำเป็นต้องทำ โดยในระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Tom Horn ปี
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตอนนี้เราอยู่ในยุคที่ไม่มีความมั่นคง ชีวิตของเราสามารถเจอเรื่องที่ไม่คาดฝันได้ตลอดเวลา แน่นอนว่า ความเครียด ความกังวล หรือ ความเศร้า ก็เป็นสิ่งที่เราเจอกันบ่อยขึ้นด้วย เพราะเมื่อเราเจอกับเรื่องที่ไม่คาดฝัน ความรู้สึกแย่ ๆ ก็มักเกิดขึ้นตามมาเป็นธรรมชาติ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเอาชีวิตรอดจากยุคใหม่ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับ Antifragile Mindset แนวคิดที่จะช่วยให้เราทนทานต่อเรื่องเลวร้าย และสามารถเติบโตขึ้นอย่างสง่างาม Antifragile หรือ ความสามารถในการต้านทานความเปราะบาง เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ที่ได้รับการกล่าวถึงโดย Nassim Nicholas Taleb นักเขียนและนักคิดด้านการเงินผู้มีชื่อเสียง เขาได้อธิบายในหนังสือที่ชื่อ “Antifragile: Things That Gain from Disorder” (2012) ว่า Antifragile ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญต่อธุรกิจ รัฐบาล และบุคคลที่อยากมีความก้าวหน้าในโลกที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงง่าย ทักษะนี้จะช่วยให้เรารับมือกับ Black Swan (เหตุการณ์ผิดปกติและคาดเดาไม่ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเราอย่างใหญ่หลวง) ได้อย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทำให้เรากลัวมันน้อยลง และสามารถทำใจยอมรับมันเป็น บทเรียน หรือ ประสบการณ์ ได้ง่ายขึ้น Antifragile
แม้ญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยดินแดนแห่งโอกาส แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะโดดเด่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศได้ในเวลาไม่นาน หลายปีที่ผ่านมา ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบการดูกีฬาหรืออ่านหนังสือพิมพ์กีฬาอยู่บ่อย ๆ จะต้องเคยได้ยินหรือได้เห็นชื่อของ อิเคเอะ ริคาโกะ (Ikee Rikako) อยู่เสมอ ชื่อของนักว่ายน้ำดาวรุ่งที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี เธอสามารถพาตัวเองไต่ทะยานไปตามเส้นทางนักกีฬา ควบคู่กับการพาธงชาติญี่ปุ่นไปให้โลกได้รู้จัก ในฐานะประเทศที่มีนักว่ายน้ำหญิงอายุน้อยที่เปี่ยมด้วยพรสวรรค์อันแสนน่าจับตามอง เส้นทางชีวิตของริคาโกะถูกชาวญี่ปุ่นยกย่องชื่นชม หลายปีก่อน คนใกล้ชิดต่างแนะนำให้เธอลงชื่อเป็นหนึ่งในตัวแทนคัดเลือกนักกีฬาทีมชาติญี่ปุ่นในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก เพราะอยากให้เป็นตัวแทนแข่งขันในปีที่บ้านเกิดของตัวเองเป็นเจ้าภาพ สื่อและนักวิจารณ์ในญี่ปุ่นต่างมั่นใจว่าดาวรุ่งคนนี้จะต้องได้สิทธิเข้าแข่งมาอย่างไม่ยากเย็น ทว่าชีวิตของนักกีฬาหญิงคนนี้กลับต้องเปลี่ยนไปตลอดกาล เมื่อเธอไปตรวจร่างกายแล้วพบว่าตัวเองกำลังเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ ‘ลูคีเมีย’ โรคร้ายส่งผลให้เส้นทางชีวิตอันรุ่งโรจน์ของ อิเคเอะ ริคาโกะ หยุดชะงักกลางคัน ฝันที่วางไว้อาจไม่มีวันเป็นจริงอีกต่อไป คนไทยที่ไม่ได้ตามข่าววงการว่ายน้ำอาจไม่รู้ว่า อิเคเอะ ริคาโกะ ประสบความสำเร็จมากถึงขั้นไหน เธอหัดว่ายน้ำก่อนจะเรียนรู้ตัวอักษรคันจิเสียอีก เด็กสาวชื่นชอบการว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ และไม่ใช่แค่การว่ายเล่นเอาสนุก เธอหมั่นฝึกฝนอย่างหนักเป็นประจำ ข้อได้เปรียบใหญ่ที่ทำให้เธอโดดเด่นกว่านักกีฬาว่ายน้ำคนอื่น ๆ คือ ริคาโกะพบความฝันของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันว่ายน้ำเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี และคว้าแชมป์ระดับประเทศในประเภทที่ตัวเองแข่งขัน ถือเป็นใบเบิกทางให้เธอติดหนึ่งในเยาวชนทีมชาติ เธอเป็นเด็กสาวที่มีความสามารถ เปี่ยมด้วยความมั่นใจ และขยันทำลายสถิติการว่ายน้ำท่าต่าง ๆ อยู่เสมอ แม้จะเต็มไปด้วยพรสวรรค์ที่มาคู่กับความพยายาม แต่คนที่เพอร์เฟกต์ที่สุดย่อมต้องเคยพบกับความผิดหวัง
ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกเหมือนชีวิตห่อเหี่ยว โฟกัสกับชีวิตประจำวันไม่ค่อยได้ และช่างไม่มีความสุขเอาเสียเลย เพราะความเครียด ความกังวล หรือ ความกลัวที่เกิดขึ้นจากปัญหา COVID-19 ได้ทำร้ายจิตใจเรามาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ซึ่งอาการนี้อาจไม่ใช่สัญญาณของภาวะซึมเศร้า หรือ เบิร์นเอ้าท์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของ Languishing ภาวะเฉื่อยชาที่ระบาดมากขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤต COVID-19 ก็เป็นได้ ภาวะนี้ได้รับการพูดเป็นครั้งแรกโดย Corey Keyes นักสังคมวิทยา ในงานวิจัยของเขาที่เผยแพร่ทางออนไลน์ในวารสาร Journal of Health and Social Research เมื่อปี 2002 และได้กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในปี 2021 เพราะบทความของสำนักข่าว New York Times ได้กล่าวถึงมัน โดย Languishing จะไม่ถือเป็นความผิดปกติทางจิต เพราะแม้คนที่มีอาการนี้จะตกอยู่ในสภาพไร้เป้าหมายในชีวิต ขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่มีความสุขหรืออารมณ์ด้านบวกอื่น ๆ กับชีวิตเลย ไปจนถึง จิตใจทำงานได้แย่ ซึ่งคล้ายกับภาวะซึมเศร้า แต่คนที่มีอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติการเป็นภาวะซึมเศร้าในช่วงก่อนหน้าด้วย เพราะฉะนั้นจึงเรียก Languishing ว่าเป็นความเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตใจเหมือนซึมเศร้าไม่ได้ แต่เป็นเพียงอาการที่คาบเกี่ยวระหว่าง ’ภาวะซึมเศร้า’
บางทีการดูตลกก่อนเข้าประชุม ก่อนไปพรีเซ้นงานให้ลูกค้าฟัง หรือ ก่อนไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ก็ถือเป็นการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าได้เหมือนกัน เพราะตลกนอกจากจะช่วยให้เราอารมณ์ดีแล้ว ยังช่วยให้เราคิดได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันแล้วโดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัยเมื่อปี 2010 ที่ทำโดย Ruby Nadler นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนทาริโอ ประเทศแคนาดา ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองที่เป็นเด็กนักเรียน ดูคลิปวิดีโอทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทลบ (การรายงานข่าวแผนดินไหวในประเทศจีน) ประเภทปกติ (รายการทีวี Antiques Roadshow) และประเภทบวก (คลิปเด็กทารกหัวเราะอย่างมีความสุข) และหลังจากนั้นผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนต้องทำแบบทดสอบแบ่งหมวดหมู่ภาพที่มีรูปแบบซับซ้อน แล้วนักวิจัยจะนำข้อมูลมาประเมินผลงานของผู้เข้าร่วมการทดลองต่อไป ซึ่งผลการทดลองออกมาว่า คนที่หัวเราะคลิปเด็กทารกสามารถทำผลงานได้ดีกว่าคนอื่น ข้อมูลนี้ช่วยยืนยันความเชื่อก่อนหน้าที่ว่า อารมณ์ด้านบวก ช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึง ความสามารถในการคิดอย่างรอบคอบ โดยสาเหตุที่อารมณ์ขันช่วยให้เราทำงานได้ดี เป็นเพราะ cognitive flexibility หรือ ความสามารถในการรับข้อมูลใหม่ และนำมาปรับใช้กับสิ่งที่เราอยู่แล้ว ได้รับการพัฒนามากขึ้น หลังจากที่เราได้ชมสิ่งที่ตลก หรือ เรียนรู้ที่จะเล่นมุกตลก กิจกรรมเหล่านี้ช่วยฝึกสมองให้รู้จักคิดไว (nimble thinking) ซึ่งก็สมเหตุสมผลอยู่ เพราะทักษะอย่างหนึ่งอย่างการรับส่งมุกตลก ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้ไหวพริบพอสมควร นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่น
ถ้ารู้สึกว่า ตัวเองยังขยัน เก่ง ฉลาด หรือ ยังตามคนอื่นไม่ทัน และมักรู้สึกผิดเมื่อเอาเวลาว่างมาพักผ่อนทำเรื่องไร้สาระไปวัน ๆ บางทีคุณอาจกำลังเป็น Internalized Capitalism อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งอาการนี้ไม่ได้ถูกอธิบายในพจนานุกรมใด ๆ แต่เป็นคำที่ใช้อย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ เพื่ออธิบายถึงปัญหาของการใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยม (Capitalism) ที่บีบบังคับให้คนต้องแสดงความโปรดักทีฟ และพยายามเอาชนะคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้คนเอาความโปรดักทีฟมาเป็นตัวประเมินคุณค่าของตัวเอง ดังนั้น พอคนที่ออกอาการ Internalized Capitalism ใช้เวลาทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยโปรดักทีฟ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวเล่น หรือว่า กิจกรรมพักผ่อนจิตใจอื่น ๆ พวกเขาเลยมักรู้สึกเครียด หรือ รู้สึกแย่จากการทำสิ่งเหล่านั้นอยู่เสมอ แถมบางคนที่มีอาการนี้ยังมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพตัวเองด้วย เช่น อ่านหนังสือจนดึกดื่น กดดันตัวเองอย่างหนัก กินข้าวไม่เหมาะสม ฯลฯ มันจึงเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง และควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วยิ่งดี ซึ่งในบทความนี้ เราได้นำวิธีในการฟื้นฟูตัวเองมาฝากทุกคนด้วย จะมีวิธีอะไรบ้าง ลองไปดูกันเลย ใส่ใจกับตัวเองมากขึ้น บางทีพอเราโฟกัสกับงานมากเกินไป จนเกิดความไม่สบายใจ หรือ ความเครียดในระหว่างการทำงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเป็นอุปสรรค์ต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตของเราด้วย ดังนั้น
เวลาทำงานร่วมกับคนอื่น เรามีโอกาสเจอปัญหาได้สารพัดอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ปัญหาเรื่องระยะเวลาในการทำงาน ปัญหาเรื่องบัดเจท ไปจนถึง ปัญหาเรื่องความสะอาดของที่ทำงาน และเมื่อปัญหามีจำนวนมากอย่างที่บอกไป ‘การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า’ คงเป็นเรื่องที่ทำให้เหนื่อยพอสมควร ดังนั้น PROACTIVE MINDSET (แนวคิดการทำงานเชิงรุก) เลยเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนทำงาน เพราะมันจะช่วยให้เรา handle ปัญหาเหล่านั้นได้ล่วงหน้า และปลดล็อกประสิทธิภาพในการทำงานของเราด้วย PROACTIVE MINDSET คือ แนวคิดในการทำงานอย่างมีเป้าหมายและการวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยคนที่มี PROACTVE MINDSET มักจะมองการณ์ไกล และพยายามทำอะไรบางอย่าง เพื่อควบคุมสถานการณ์ให้เป็นไปดั่งที่หวัง ต่างจากคนที่มี REACTIVE MINDSET ที่มักรอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยลงมือแก้ แต่คนกลุ่มนี้ก็มีข้อดีตรงที่ว่ามีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม คนที่มี REACTIVE MINDSET มักจะสะดุดเมื่อ ‘ปัญหาจำนวนมาก’ เข้ามารุมเร้าต่อเนื่อง ทำให้พวกเขาเหมือนต้องเล่นวิ่งไล่จับกับปัญหาอยู่ตลอดเวลา และเกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจได้ เราอยากแนะนำให้ทุกคนนำ PROACTIVE MINDSET มาปรับใช้ เพราะมันจะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาได้ล่วงหน้า และมีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาเหล่านั้นมากขึ้น แถมงานวิจัยบางชิ้นยังบอกว่าคนที่มีลักษณะ PROACTIVE จะทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย สำหรับใครที่อยากพัฒนา
บางทีการใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์นาน ก็อาจทำให้เราเสียขวัญและตื่นกลัวกับโลกแห่งความเป็นจริงมาเกินไปก็เป็นได้ เพราะเรามักเอาสิ่งที่เห็นบนโลกออนไลน์ มาใช้ในการอธิบายโลกแห่งความจริง ดังนั้น ถ้าเรารับฟัง อ่าน หรือ ดูแต่เรื่องราวความรุนแรงที่ไม่น่าสบายใจบ่อย ๆ ก็สามารถนำไปสู่อาการคิดว่าโลกเต็มไปด้วยเรื่องเลวร้ายและน่ากลัวได้เหมือนกัน ซึ่งอาการนี้มีชื่อเรียกว่า Mean World Syndrome และส่งผลเสียต่อเราได้ไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องการอยู่ร่วมกับคนอื่น เราเลยอยากจะมาอธิบายเรื่องนี้ให้ทุกคนฟัง Mean World Syndrome คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อ เรารับสื่อที่มีเนื้อหารุนแรงมากเกินไป เช่น หนังโหด ซีรีส์สยองขวัญ หรือ ข่าวฆาตกรรม จนกระทั่ง เราเอาสิ่งที่เห็นในสื่อเหล่านั้นมามองโลกนี้ว่าโหดร้ายทารุณมากกว่าความเป็นจริง อาการนี้ได้รับการศึกษาโดย George Gerbner ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ซึ่งได้สนใจและศึกษาเรื่องความรุนแรงที่พบเห็นได้ในทีวีมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1967 จนเขาได้พบว่า ความรุนแรงที่พบเห็นได้ในสื่ออย่าง ทีวี ส่งผลต่อมุมมองเรื่องความรุนแรงในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป กล่าวคือ มันทำให้คนมองโลกเป็นที่ที่น่ากลัวและอันตรายเกินกว่าความเป็นจริง และก่อกำเนิดอาการ Mean World Syndrome ขึ้นมา คนที่มีอาการ Mean World Syndrome มักจะคิดไปเองว่า อัตราการก่ออาชญากรรมกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ในยุคนี้ ความสุขดูเป็นเรื่องที่ไขว่คว้าได้ยากเหมือนกัน เพราะมองไปทางไหนก็เจอแต่ข่าวร้ายมากกว่าข่าวดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่อง COVID-19 ที่น่าจะทำให้หลายคนจิตตกกันมากที่สุดในช่วงนี้ เราเลยอยากมาแนะนำทฤษฎีสร้าง well-being (สุขภาวะ) ที่เรียกว่า PERMA เพื่อให้ทุกคนสามารถ survive ช่วงนี้ไปได้อย่างราบรื่นกันถ้วนหน้า อะไร คือ PERMA THEORY PERMA Theory เป็นทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) ที่พัฒนาโดย Martin Seligman นักจิตวิทยาชาวสหรัฐฯ และเจ้าของหนังสือแนว Self-Help ยอดนิยม Flourish (2011) ซึ่งทฤษฎีนี้อธิบายสิ่งที่ทำให้มนุษย์เจริญรุ่งเรือง (human flourishing) หรือ มีความสุข (well-being) ทั้งหมด 5 อย่าง สามารถแบ่งได้ตามตัวอักษร PERMA ได้แก่ Postive Emotion (อารมณ์บวก) , Engagement (การมีส่วนร่วม) , Relationships (ความสัมพันธ์), Meaning (ความหมาย)
การระบาดของ COVID-19 คงทำให้หลายคนเกิดความทุกข์ใจกับหลายเรื่อง รวมถึง เรื่องงาน บางคนอาจต้องทำงานหนักขึ้น มีเวลาส่วนตัวน้อยลง เพราะพิษเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก pandemic ดังนั้น UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการบริหารชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพที่ชื่อว่า Work/Life Integration ให้ทุกคนรู้จัก และบอกเลยว่า มันจะช่วยให้ชีวิตของคนทำงานทุกคนดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน !! WHAT IS WORK/LIFE INTEGRATION ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราคงได้ยินกันบ่อยเรื่อง Work/Life Balance หรือ การสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นสกิลที่ว่ากันว่าสำคัญต่อคนทำงาน เพราะถ้าเราสามารถบริหารเวลาได้ดี เราก็จะใช้ชีวิตได้ราบรื่น แต่ Work/Life Balance มีปัญหาตรงที่ว่า มันทำให้เรื่อง งาน กับ ชีวิต ถูกแยกออกเป็น 2 ขั้ว ไม่สามารถหลอมหลวมกันได้ เหมือนกับว่า ถ้าเราต้องใช้เวลาทำงาน เราต้องเสียเวลาในการใช้ชีวิตส่วนตัว ในทางตรงข้าม ถ้าเราใช้เวลาส่วนตัว เราต้องเสียเวลาในการทำงาน ซึ่งอีกแนวคิดหนึ่งบอกเราว่า เราไม่จำเป็นต้องแยก 2 เรื่องนี้ออกจากกันก็ได้ กล่าว คือ
พอใกล้ถึงวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สงกรานต์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ หลายคนอาจเริ่มยิ้มที่มุมปาก เพราะรู้สึกว่าจะได้วันพักผ่อนยาวแล้ว แต่สำหรับบางคนวันหยุดเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้พวกเขามีความสุขมากนัก กลับกัน พวกเขากลับยิ่งรู้สึกเครียดและกังวลมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมันทำให้พวกเขาเกิดความไม่สบายใจหลายอย่าง เช่น ต้องคิดมากเรื่องการซื้อของขวัญ ต้องไปพบเจอกับคนที่ไม่ค่อยอยากเจอ หรือ บางคนอาจคาดหวังกับวันหยุดสูงเกินไป จนสร้างความไม่สบายใจให้ตัวเอง วันหยุดเลยกลายเป็นสิ่งที่ทำลายสุขภาพจิตของพวกเขาได้เหมือนกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการรับมือกับความเครียดและความกังวล เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในช่วงวันหยุดนี้ได้ อย่าหวังสูงเกินไป บางครั้งเราก็ไม่สามารถทำให้วันหยุดของเราสวยงามเหมือนในหนัง หรือ ภาพบนโซเชียลมีเดียของคนอื่นได้ บางครั้งเรามีที่ที่อยากไปเที่ยวหลายที่ แต่ด้วยเรื่องเงิน หรือ เวลา ก็อาจทำให้เราไปได้ไม่หมด การตั้งความหวังว่าวันหยุดของเราจะเพอร์เฟตจึงเป็นเหมือนการทำร้ายตัวเองอย่างหนึ่ง แทนที่จะตั้งความหวังสูง เราควรมีการวางแผนวันหยุดไว้ล่วงหน้าจะดีกว่า เพื่อที่เราจะได้ไม่คิดไปเรื่อยเปื่อย และสามารถใช้เวลาวันหยุดได้คุ้มค่าถึงที่สุด เลิกกังวลตลอดเวลา เวลากังวล เรามักสูญเสียพลังงานกันเยอะ เพราะเราต้องคิดมาก ต้องเครียด ฯลฯ ดังนั้น ถ้าเรากังวลทั้งวัน เราจะหมดเรี่ยวหมดแรงจนไม่เป็นอันทำอะไรแน่นอน สิ่งที่ควรทำมากกว่า คือ การจัดสรรเวลาเฉพาะสำหรับการ ‘กังวล’ เพื่อให้เราทุ่มเทกับมันได้อย่างเต็มที่ และเอาเวลาในการกังวลไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น แต่ที่สำคัญ ก่อนที่เราจะให้เวลาตัวเองกังวล เราควรหาเวลาในการผ่อนคลายตัวเองด้วย
เมื่อต้องอยู่กับปัญหาโลกแตก และไม่สามารถ MOVE ON ได้เป็นเวลานาน สิ่งที่มักเกิดขึ้นกับเรา คือ การสูญเสียความสามารถในการมองเห็นคุณค่าชีวิตของตัวเอง เราอาจเริ่มรู้สึกเหมือนไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ส่งผลให้เราใช้ชีวิตได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ปัญหานี้เรียกกันว่า “Existential Crisis” WHAT IS EXISTENTIAL CRISIS? Existential Crisis คือ ภาวะที่เราเกิดความไม่สบายใจในเรื่องความหมาย ทางเลือก และอิสระในชีวิตของตัวเอง โดยคำนี้มีรากมาจาก ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ให้ความสำคัญกับทางเลือกหรือการใช้ชีวิตอย่างมีเสรีภาพของมนุษย์ ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ เมื่อเราเจอกับปัญหาชีวิตหรือความยากลำบากที่สามารถแก้ไขได้ยาก ต่อให้หาคำตอบมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ยังไม่เจอทางออกที่น่าพอใจสักที และพอเราจมอยู่กับปัญหานาน เราก็จะไม่สบายใจจนรู้สึกสิ้นหวังเรื้อรัง และสูญเสียความสุขในการใช้ชีวิตอย่างหนัก นอกจากนี้มันยังเกิดขึ้นได้เมื่อเรารู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต สูญเสียคนรัก ไม่พอใจในตัวเอง หรือ เก็บกักความรู้สึกแย่ ๆ เอาไว้ในใจเป็นเวลานานเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้มักทำให้เราจมปัก และรู้สึกสิ้นหวังกับชีวิตได้ คนที่เป็น Existential Crisis มักจะรู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไร้ค่าไร้ความหมาย และเกิดอาการสิ้นหวังในการใช้ชีวิต เพราะเหมือนกับว่า โลกทั้งใบของพวกเขาได้พังลงแล้ว จะทำอะไรต่อไปก็คงไม่ดีขึ้น พวกเขาจึงตั้งคำถามกับการมีตัวตนของตัวเอง เช่น ”เกิดมาเพื่ออะไร” หรือ