ในสังคมของเราเต็มไปด้วยผู้คนที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยม ความเชื่อ วิถีชีวิต ฯลฯ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้เห็นได้อย่างชัดเจนในกลุ่มคนที่มีช่วงวัย หรือ generation ที่ต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกวันนี้เราจะเห็นคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันทะเลาะกัน เพราะมีความเห็นไม่ตรงกันบ่อยๆ ความแตกต่างของคนต่าง Generation กัน มักทำให้คนในสังคมเดียวกันไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความขัดแย้ง และการทะเลาะเบาะแว้ง มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปจนมีการนิยามคำว่า The generation gap ขึ้นมาอธิบายมันเลยทีเดียว ในบทความ UNLOCKMEN เลยอยากพูดถึงวิธีการทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับคนต่าง Generation เพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ลดการทะเลาะเบาะแว้ง และรับมือกับคนที่แตกต่างจากเราได้ดียิ่งขึ้น ทำไมคนต่างวัยกันถึงได้เหมือนอยู่กันคนละโลก ? ถ้าใครกำลังหนักใจและสงสัยว่าทำไมพ่อแม่ของเราคิดไม่เหมือนเรา? และไม่รู้จะแก้ไขยังไงดี เราอยากแนะนำว่า อย่าเพิ่งคิดหนีออกจากบ้าน หรือถ้ามีปัญหานี้กับหัวหน้าในที่ทำงาน ก็อย่าเพิ่งคิดจะเปลี่ยนงาน เพราะเราเชื่อว่าโอกาสที่เราจะเจอกับปัญหาแบบเดิมน่าจะยังมีสูงอยู่ ตราบใดที่เรายังต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคมอยู่ดี เราจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจปรากฎการณ์นี้และรับมือกับมันให้ได้อย่างถูกต้องมากกว่า คำว่าช่องว่างระหว่างยุคสมัย หรือ The generation gap เป็นคำที่นักสังคมวิทยาใช้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างคนยุคหนึ่งกับคนอีกยุคหนึ่ง เช่น พ่อแม่ กับ ลูก ในเรื่องของความเชื่อ แนวคิดทางการเมือง รวมถึง
เรารู้จักการโกหกกันมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก เราอาจเคยโกหกพ่อแม่ เวลาทำข้าวของในบ้านเสียหาย เพราะกลัวโดนดุ พอโตขึ้นมาหน่วยเป็นวัยรุ่น เราอาจโกหกครูประจำชั้นว่ารอยช้ำบนหน้าเกิดจากการหกล้ม ไม่ได้ทะเลาะวิวาทกับใครมา พอเข้าวัยทำงาน เราอาจเคยโกหกเจ้านายว่าป่วย เพื่อขอโดดงาน กล่าวได้ว่าคนทุกเพศทุกวัยรู้จักการโกหก แต่การโกหกก็มีพร้อมราคาที่ต้องจ่ายอยู่เสมอ! UNLOCKMEN อยากอธิบายเรื่องนี้ผ่านหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่าการโกหกทำงานกับสมองของเราอย่างไร การโกหกคืออะไร ? แบบไหนถึง เรียกว่า การโกหก… การโกหก (lying) เป็นการหลอกลวงแบบหนึ่งที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน การโกหกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า การโกหกทั้งหมด หรือ ‘lies of commission’ เป็นการพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเลย เช่น โกหกพ่อแม่ว่าไปอ่านหนังสือ เพื่อจะได้ไปเที่ยวกลางคืน หรือ โกหกเจ้านายว่าป่วย เพื่อที่จะได้หยุดงาน เป็นต้น บางเคสการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว (half – truth) ก็ถือว่าเป็นการโกหกเหมือนกัน เช่น สมมติว่าเราจะซื้อรถมือ 2 แล้ว พนักงานขายรถบอกเราว่า รถยนต์คันนี้เพิ่งผ่านการใช้งานไม่นาน เจ้าของไปนอก สภาพเหมือนใหม่ แต่เขาไม่ได้บอกเราว่า รถคันนี้เคยจมน้ำหรือชนจนเสียหายยับเยิน เพราะอยากขายรถให้เราให้ได้ แบบนี้เป็นการโกหกประเภทที่เรียกว่า การโกหกด้วยการละเว้น หรือ