ตอนนี้คุณกำลังมีความสุขในการทำงานอยู่รึเปล่า ? ถ้าคุณตอบได้อย่างมั่นใจว่ามี คุณก็ข้ามบทความนี้ไปเลยก็ได้ แต่ถ้าคุณไม่มั่นใจว่ากำลังมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ เพราะเจอกับเรื่องชวนปวดหัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงานที่ช่วยอะไรไม่ค่อยได้ หรือ รู้งานหนักเกินจนแทบไมได้พัก เป็นต้น คุณอาจจะอยู่ใน toxic workplace อยู่ก็เป็นได้ เราขอแนะนำให้คุณลองอ่านบทความนี้ เพราะเราจะพาคุณไปทำความเข้าใจ และแนะนำวิธีการแก้ไข ปัญหาที่ทำงานเป็นพิษ หรือ toxic workplace เพื่อช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างสบายใจโดยไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องลาออก ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจถึงองค์ประกอบที่ทำให้เกิด toxic workplace เสียก่อน ซึ่งมันเกิดได้ทั้งจาก พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี เช่น ไม่ตั้งใจทำงาน หรือ บรรยากาศในการทำงานที่ไม่ดี เช่น มีการกลั่นแกล้ง หรือ นินทากัน รวมไปถึง ตัวงาน เช่น งานหนักเกินไปจนไม่ได้พัก ซึ่งหากมีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือ มากกว่าปัจจัยหนึ่งรวมกันแล้ว ทำให้คุณใช้ชีวิตได้ลำบาก อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังอยู่ใน toxic workplace อยู่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาจากการอยู่ใน toxic workpace มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
สำหรับทุกบริษัท การนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ปัญหาที่หลายบริษัทต้องเจอคือการที่คนในบริษัทไม่ยอมเสนอไอเดีย ไม่แสดงความคิดเห็น ร้ายที่สุด คือ พวกเขาไม่ยอมรายงานปัญหา Conflict ที่พบเจอในที่ทำงานให้ผู้ใหญ่ได้รับทราบ ปล่อยให้มันลุกลามจนเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องที่ยากจะแก้ไข ปัญหานี้ UNLOCKMEN มองว่าเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากจะพาทุกคนไปดูว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกน้องไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน และจะแก้ไขอย่างไรดี ขาดความมั่นใจที่จะแบ่งปันไอเดีย มันจะมีกรณีที่บางคนรู้สึกไม่มั่นใจเวลาที่จะแบ่งปันไอเดีย ถ้าในที่ประชุมมีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนเกินไป หรือมักจะกับคนนอกหน้าที่ที่พยายามเสนอไอเดียว่ามันไม่ใช่เรื่องของพวกเขา หรือให้สนใจแต่หน้าที่ของตัวเอง ฯลฯ พอได้ยินคำพูดแบบใส่บ่อยๆ พวกเขาก็รู้สึกว่า การแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานจะทำให้พวกเขาถูกตำหนิ ปิดปากเงียบไว้ดีกว่า ท้ายที่สุดพวกเขาก็เลยไม่เสนอไอเดียใหม่ ๆ อีกเลย Solution: ก่อนอื่นเลย คนที่เป็นหัวหน้าต้องเข้าใจก่อนว่า มันมีอะไรบ้างที่จะทำลายความมั่นใจของลูกน้องได้ (เช่น การห้าม การตำหนิ ฯลฯ) บอกกับทีมให้เปิดใจรับฟังไอเดียจากคนทุกแผนกดูบ้าง เพราะเค้าอาจจะมีไอเดียอะไรในมุมมองที่เราคาดไม่ถึง และพยายามไม่ตำหนิหรือ Kill idea ในที่ประชุม แล้วลูกน้องจะกล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานมากขึ้นเอง ไม่คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ในเวลานั้น บางบริษัทไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเรื่องไหนที่นับว่าเป็นปัญหา หรือ ปัญหาแบบไหนบ้างที่ควรรายงาน บางคนเลยไม่รู้ว่าสิ่งที่เจอเป็นปัญหาที่ควรรายงานหรือเปล่า อีกทั้งบางบริษัทเองก็ไม่ได้สนับสนุนวัฒนธรรมการรายงานในทุก ๆ
ถนนทุกสายมุ่งตรงสู่ “ความสำเร็จ” เราต่างพร้อมเผชิญขาขึ้นของธุรกิจที่ปั้นมากับมือ เรายินดีอ้าแขนรับหน้าที่การงานที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักที่จะเตรียม “แผนแห่งการล้มเหลว” เอาไว้ ไม่มีใครอยากผิดพลาด ล้มเหลว แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อเราเผชิญความผิดพลาด (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่) การมีแผนแห่งการล้มเหลวรอไว้อยู่แล้ว จะช่วยให้เรารับมือ แก้ไข ไปจนถึงพลิกสถานการณ์กลับมาได้ราบรื่นกว่าการไม่เตรียมแพลนอะไรไว้เลย ลำดับขั้นของความล้มเหลว ขีดเส้นที่เราจะไม่มีวันข้ามเอาไว้ หลายครั้งที่ความล้มเหลวไม่ได้จู่ ๆ สาดเข้ามาตูมเดียวเหมือนภูเขาไฟระเบิด แต่เกิดจากการที่เราค่อย ๆ เลือกทางเดินที่ผิด แล้วตอนแรกมันก็ยังดูไม่เสียหายมากนัก เราเลยไปต่อ แต่เหมือนว่ายิ่งไปต่อ ความล้มเหลวก็คล้ายจะขมวดกลายเป็นปมที่แก้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้ตัวอีกทีธุรกิจเราก็พังเกินกว่าจะกู้คืนแล้ว ดังนั้นแผนแห่งการล้มเหลวที่เราควรเตรียมตัวเองไว้เพื่อหน้าที่การงานหรือธุรกิจของเรา คือการไล่ลำดับขั้นแห่งความล้มเหลวไว้แต่ต้น เช่น ขั้นที่หนึ่งเราเริ่มกู้หนี้ยืมสินมามากเกินกำลังจะจ่ายไหว ขั้นที่สองเราเริ่มทำทุกทางเพื่อให้ธุรกิจหรืองานเราไปรอด โดยยินดีทำลายทุกความสัมพันธ์ในชีวิต ฯลฯ การกำหนดลำดับขั้นความล้มเหลวอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่ผ่านการพิจารณาของเรามาอย่างดี เมื่อเรากำหนดไว้ ก็คิดวิธีแก้ หรือวิธีที่เราจะจัดการต่อไปถ้าเราไปถึงจุดนั้น การทำแบบนี้เราจะค่อย ๆ เห็นว่าเรากำลังเดินทางเข้าสู่ขาลง เราจะเข้าใจมากขึ้นว่าเส้นไหนที่เราข้ามไปได้ (และข้ามไปอย่างไร) หรือเส้นไหนที่เราถามตัวเองไว้แต่ต้นแล้วว่าจะไม่มีวันข้ามไปเด็ดขาด เพราะจะไม่ใช่แค่ความล้มเหลวเล็ก ๆ แต่อาจไปสู่หายนะยิ่งใหญ่ได้ สถานการณ์ที่แย่ที่สุดคืออะไร? แล้วเราจะรับมืออย่างไร? ความล้มเหลวบางรูปแบบก็อาจมาในลักษณะหนังสยองขวัญที่เราเคยดู ตัวละครอาจจะแสนซวย
ตอนนี้หลายคนอาจนิยามตัวเองว่าเป็น คนเปิดเผย (Extrovert) หรือเป็น คนเก็บตัว (Introvert) หรือ อยู่ระหว่าง 2 ฝั่งนี้ (Ambivert) ซึ่งในการทำงาน introvert หลายคนอาจจะเจอปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเข้าสังคม หรือสมาธิในการทำงาน ดังนั้น UNLOCKMEN เลยอยากแบ่งปันเคล็ดลับการเอาตัวรอดในที่ทำงานสำหรับชาว Introvert ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจนิยามก่อนว่า Introvert คือกลุ่มคนที่มีบุคลิกภาพเก็บตัว คนกลุ่มนี้จะมีโลกส่วนตัวสูง มักใช้เวลาอยู่กับความคิดของตัวเองมากกว่าจะไปสุงสิงกับคนอื่น ส่วน Extrovert จะตรงกันข้าม คือ รักการเข้าสังคม ชอบแสดงออกมากกว่าคิดอยู่กับตัวเอง และชอบเป็นจุดสนใจด้วย ความแตกต่างระหว่าง Introvert และ Extrovert ไม่ได้อยู่ที่นิสัยอย่างเดียว (ซึ่งเวลาพูดว่า introvert และ extrovert ต่างกันที่นิสัย หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ปรับกันได้) แต่ทั้ง 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันในทางชีววิทยาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น – การตอบสนองต่อ Dopamine (สารสื่อประสาทที่ทำให้เรารู้สึกดีเวลามองหารางวัลจากปัจจัยภายนอก) แม้ว่าการหลั่งของ dopamine ในสมอง
ในสภาวะแบบนี้การยังมีงานให้ทำ มีโปรเจกต์ให้คิด มีลูกค้าที่ตั้งตารอเราส่งไอเดียไป ถือเป็นเรื่องน่าอิจฉา อย่างไรก็ตามแม้จิตวิญญาณเราจะพร้อมลุย พร้อมรับงานไม่ยั้ง คิดงานไม่มีหยุด แต่คล้ายว่าสมองของเราไม่ได้ทำตามสั่งได้ง่ายดายแบบนั้น หลายครั้งที่เดดไลน์ก็ใกล้เข้ามา วันพรีเซนต์ไอเดียก็จ่ออยู่ไม่ไกล แต่สมองเราก็มึนตึ้บทึบตัน จนคล้ายว่าจะไม่มีไอเดียดี ๆ หลั่งไหลพุ่งกระฉูดออกมาให้เรา (เจ้านาย และลูกค้า) ได้ชื่นใจสักนิด ปัญหา “สมองตัน คิดงานไม่ออก” จึงไม่ใช่ปัญหาเล่น ๆ บางครั้งเราอาจแก้ปัญหาได้แบบวินาทีสุดท้าย แต่ใครจะรู้ว่าถ้าวันหนึ่งเราคิดอะไรไม่ออกเลยขึ้นมาจะเป็นอย่างไร? UNLOCKMEN ชวนมาดูหนทางรับมือ และป้องกันเมื่อสมองตันคิดอะไรไม่ออกว่าเราทำอะไรได้บ้าง คิดงานไม่ออกอย่าดันทุรัง “การเดิน” เพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ได้อีก 60% เราเข้าใจดีว่าความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่นั้นหนักหนาเพียงใด การคิดงานไม่ออกจึงไม่ต่างจากความกดดันที่หนักไม่แพ้กัน เมื่อไรก็ตามที่เราคิดงานไม่ออก เราจึงมักบอกตัวเองว่า ห้ามขยับไปไหน! ต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะหรือหน้าจอจนกว่าจะคิดงานออกนั่นแหละ! แต่จริง ๆ แล้วเมื่อใดก็ตามที่เราคิดงานไม่ออก เราไม่ควรดันทุรังนั่งต่อไป ลอง “เดิน” ดูบ้าง จะเดินไปเดินมาในออฟฟิศ หรือเดินข้ามไปแผนกข้าง ๆ แล้วจะพบว่าการเดินช่วยให้ความคิดไหลลื่นอย่างไม่น่าเชื่อ เราไม่ได้คิดเองเออเองแต่อย่างใด Give Your Ideas Some Legs:
ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอผลวิจัยว่า คนมองโลกตามความเป็นจริง มีความสุขมากกว่ามองโลกแง่บวก เกี่ยวกับผลเสียที่จะเกิดจากการเป็นคนที่มองโลกในแง่บวกมากเกินไป (overly optimistic) และมีการพูดถึงสอบถามเข้ามาค่อนข้างเยอะ เราจึงอยากนำเสนอเพิ่มเติม ซึ่งการมองโลกในแง่บวกมากเกินไป ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว โดย Amy Morin นักจิตบำบัดและนักเขียนชิ่อดังในฟลอริดา ในปี 2017 ในบทความของเธอบนเว็บไซต์ Bussiness Insider ที่ชื่อว่า ‘3 times optimism does you more harm than good’ ในบทความนี้ เธอได้อธิบายถึงผลเสียของการมองโลกแบบ overly optimistic ว่า แม้มันจะทำให้เรารู้สึกดีก็จริง (เพราะความคิดลบถูกกลบ) แต่มันก็ทำให้เราต่อต้านการรับฟังเหตุผลในอีกแง่มุม เพราะเหตุการณ์จริงอาจจะไม่ได้ง่าย หรือโรยด้วยกลีบกุหลาบแบบที่เราคิดเอาไว้ได้เหมือนกัน – คิดบวกเกินจริง (exaggerating the positive.) มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่เรื่องดีๆ ไปหมด เช่น คิดว่าทุกคนชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ หรือคนที่เราชอบเป็นคนที่แสนดีมากๆ เป็นต้น ซึ่งคนประเภทนี้อาจเจอกับปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น ไม่ยอมรับข้อผิดพลาด ไม่พัฒนาปรับปรุงตัวเอง หรือตกเป็นเหยื่อถูกคนอื่นหลอกได้ง่าย
โลกของการทำงานไม่เคยง่าย ล้านโปรเจกต์ที่รอให้เราเร่งทำให้สำเร็จ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจลุ่ม ๆ ดอน ๆ ยิ่งขยัน ยิ่งทำงานให้มีคุณภาพมากเท่าไรยิ่งดี แต่ในทางกลับกันโลกปัจจุบันก็เต็มไปด้วยสิ่งบันเทิงและสิ่งเร้าที่ชวนให้ไขว้เขวอย่างง่ายดาย หันซ้ายก็สมาร์ตโฟนและเหล่าโซเชียลมีเดียสารพัดที่รอให้เราเปิดไปไถอัปเดตเรื่องราว หันขวาก็พร้อมหลุดโฟกัสได้ง่าย ๆ คล้ายกับว่าโลกใบนี้มีสิ่งดึงดูดใจให้ทุ่มเวลาให้ไม่รู้จบ (ยกเว้นการทุ่มเวลาทำงาน) ถ้าอย่างนั้นในวันที่โลกเต็มไปด้วยสิ่งรบกวนมากขนาดนี้ จะมีวิธีไหนที่เราจะฝึกสมองของเราไม่ให้ไหลไปกับสิ่งเหล่านั้นได้บ้าง? UNLOCKMEN ชวนมาปลดล็อกด้วย เคล็ดลับฝึกสมองให้โฟกัส ทำงานได้แม้มีสิ่งยั่วใจ กลับไปทำงานครั้งหน้า จะได้รู้ว่าต้องจัดการกับสมองและการโฟกัสได้อย่างไร ความลับของสมองที่ไม่เคยมีใครบอกเรา หลายคนมักเข้าใจว่าถ้าอยากได้งานเยอะ ๆ ก็ต้องทำงานหนัก ทำงานต่อเนื่องหรือทำงานยาวนาน แต่จริง ๆ แล้วถ้าเราอยากได้งานที่มีคุณภาพนั้นไม่เกี่ยวกับความยาวนาน หรือเรื่องระเวลา แต่เป็นการที่เราสามารถโฟกัสกับงานอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพต่างหาก เมื่อเราสามารถโฟกัส เราจะได้งานที่มีคุณภาพ และมีเวลาเหลือไปทำสิ่งอื่นอย่างมีคุณภาพได้เช่นกัน ไม่ว่าจะพักผ่อน เดินเล่น หรือใช้เวลากับคนที่เรารักโดยไม่ต้องกังวลเรื่องงานให้เสียเวลาพัก และไม่เอาการพักไปปนในเวลางาน การโฟกัสงานให้ได้จึงเป็นหัวใจสำคัญของคนที่อยากทำงานให้มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามการมีสมาธิจดจ่อกับงานหรือโฟกัสกับการทำอะไรสักสิ่งได้ ไม่ใช่แค่การบังคับตัวเองเท่านั้น แต่เป็นความสามารถของสมองที่จะจดจ่อด้วย และสมองก็มีธรรมชาติของมัน โดยหลายคนบอกแค่ว่าก็นั่ง ๆ ทำงานไปเถอะ อย่าไปคิดอะไร แต่ถ้าเราเข้าใจวิธีการทำงานของสมองเราก็จะทำงานอย่างมีคุณภาพได้มากขึ้น งานวิจัย “Brief and rare mental
หลายคนอาจได้ยินบ่อยๆ ว่า เวลาไม่กล้าตัดสินใจทำอะไร เพราะกลัวผลลัพธ์ออกมาไม่ดี ให้พยายามมองโลกในแง่บวกเข้าไว้ ประโยคนี้อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่ดีก็เป็นได้ เมื่องานวิจัยล่าสุดบอกว่าคนที่มองโลกตามความเป็นจริงจะมีความสุขในระยะยาวมากกว่าคนที่มองโลกในแง่บวก งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Personality and Social Psychology Bulletin (PSPB) โดย ทีมวิจัยได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังด้านการเงินในชีวิตของคนกับผลลัพธ์ที่ออกมาตามความเป็นจริงในช่วงเวลาหลายสิบปี พวกเขาได้นำข้อมูลจากแบบสำรวจชาวอังกฤษที่ทำในระยะยาวชื่อว่า British Household Panel Survey ซึ่งได้มีการติดตามคนจำนวนกว่า 1,600 คนเป็นเวลากว่า 18 ปี มาวิเคราะห์ และเพื่อดูว่าใครที่มีความสุขในระยะยาวมากกว่ากันระหว่าง คนที่มองโลกในแง่ดี (optimists) คนที่มองโลกในแง่ร้าย (pessimists) และ คนที่มองโลกตามความเป็นจริง (realists) นักวิจัยได้นำข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างรายงานด้วยตัวเองเกี่ยวกับความสุขในชีวิตและความกังวลทางจิตวิทยามาหาคำตอบ พบว่าผู้ที่คาดหวังผลลัพธ์ที่มากเกินความเป็นจริง จะมีความสุข (well-being) น้อยกว่าผู้ที่คาดหวังอะไรตามความเป็นจริง ซึ่งตัวงานวิจัยเองก็ยังชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการตัดสินใจโดยอิงจากความแม่นยำและการประเมินแบบไม่มีอคติด้วยเช่นกัน ทีมวิจัยกล่าวถึงสาเหตุที่ optimists และ pessimists ไม่ค่อยมีความสุขว่า ในท้ายที่สุดความผิดหวังจะครอบงำความคาดหวังในสิ่งที่ดีที่สุด และทำให้ optimists มีความสุขน้อยลง ส่วน pessimists ที่คาดหวังแต่ผลลัพธ์ที่แย่ๆ จะเอาชนะอารมณ์ด้านบวก จนทำให้พวกเขาพยายามไม่พยายามจะทำชีวิตให้ได้ดีกว่าที่คาดหวังเอาไว้
เคยรู้สึกว่าอยากมีความแข็งแกร่งสามารถยกของหนักๆ ได้ นานๆ แต่ขี้เกียจออกกำลังกายรึเปล่า? บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีจากเยอรมัน อาจทำให้ฝันของเราเป็นจริงได้ เมื่อเร็วๆ นี้ ทางบริษัทได้เริ่มจำหน่ายชุดพาวเวอร์สูทตัวใหม่ ที่ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหว และเสริมพลังของผู้สวมใส่ให้สามารถยกของหนักได้มากขึ้นและนานขึ้นกว่าปกติ The 4th generation cray x ชุดสมาร์ทพาวเวอร์สูทรุ่นใหม่ของบริษัท german bionic ที่ผสมผสานสติปัญญาของมนุษย์กับพลังงานจักรกล ถูกผลิตขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่ว่า จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงาน สมาร์ทพาวเวอร์สูทชุดนี้มาพร้อมกับ servo motors ประสิทธิภาพสูงที่จะช่วยเพิ่มความสามารถของผู้สวมใส่ให้สามารถยกของหนักสูงสุด 28 กก. พร้อมแบตเตอร์รี่ที่ใช้งานได้ยาวนานถึง 8 ชม. แต่ชุดนี้ก็ไม่ได้มีดีแค่ทำให้เรายกของหนักได้มากขึ้นเพียงอย่างเดียว มันยังมาพร้อมกับระบบอัพเดทซอฟแวร์อัตโนมัติ และระบบ Predictive Maintanance ที่จะช่วยให้เราแน่ใจได้ว่าสมาร์ทเวอร์สูทจะทำงานได้อย่างยาวนานที่สุด แถมผู้ใช้ยังสามารถเชื่อมต่อสมาร์ทพาวเวอร์สูทกับระบบของโรงงานอัจฉริยะ (smart factory) เพื่อกระตุ้น productivity สุขภาพ รวมถึงความปลอดภัยของคนงานได้อีกด้วย ความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของสมาร์ทพาวเวอร์สูทชุดนี้ คือ มันมีส่วนประกอบของคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแกร่งที่มากกว่าเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบา มันจึงเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ (aerospace) รวมถึง การแข่งขัน Formula 1
เจ้านายใจแคบไม่เคยรับฟังผมเลย, ใช่สิ เรามันไม่ใช่พนักงานคนโปรดนี่นา หัวหน้าถึงไม่เคยรับฟังเราเลย ประโยคตัดพ้อทำนองนี้และอีกสารพัดสารพันประโยชน์อาจเกิดขึ้นกับคนทำงานได้ เพราะมีความตั้งใจเต็มเปี่ยมที่จะพูด แต่กลับขาดคนรับฟัง โดยเฉพาะหลาย ๆ เรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญ ต้องการสื่อสารกับระดับหัวหน้างาน หรือ CEO เท่านั้นถึงจะคลี่คลายไปได้ หลายครั้งพูดไปก็ดูคล้ายไม่เคยถูกรับฟัง หรือบางครั้งยังพูดไปไม่ถึงไหน CEO ก็ต้องเจียดเวลาไปทำงานอื่นเสียแล้ว แทนที่จะตัดพ้อต่อไป UNLOCKMEN ชวนมาปลดล็อกศักยภาพการทำงานไปอีกขั้นด้วยกลวิธีที่อาจทำให้ CEO ต้องหยุดฟังคุณมากขึ้น หยุดชักแม่น้ำทั้งห้า “ว่าด้วยสิ่งที่ CEO ยังไม่รู้และต้องรู้” เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เมื่อต้องการนำเสนอ หรือโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่ออะไรสักอย่างที่เราต้องการจะสื่อเราจะเกริ่นสารพัดสิ่งให้ดูน่าเชื่อถือ ให้อีกฝ่ายมีอารมณ์ร่วม หรือคล้อยตาม โดยเฉพาะเมื่อตั้งใจจะโน้มน้าว CEO ด้วยแล้ว เราก็ยิ่งเผลอขุดทุกสกิลชักแม่น้ำทั้งห้ามาเพื่อบอกว่าเชื่อเราสิ เราถูกนะ สิ่งที่เราคิดมันใช่แหละ แต่อย่าลืมว่าคนระดับ CEO หรือหัวหน้างานวัน ๆ หนึ่งเขามีสิ่งที่ต้องทำ มีผู้คนให้ต้องพบปะพูดคุยมากเท่าไร ถ้าเรามัวแต่เกริ่นแม่น้ำมาครบทุกสาย ก็ไม่แปลกใจที่จะถูกตัดสินว่าเรื่องเรามีแต่น้ำ และยังไม่มีอะไรสำคัญเร่งด่วน รวมถึงหลาย ๆ หนที่เราเกริ่นไปยืดยาวก็เป็นสิ่งที่ CEO ไม่เข้าใจว่าจะมาบอกเขาทำไม เพราะเขารู้อยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องเกริ่นเพื่อโน้มน้าวให้เปลืองเวลามากนัก อะไรที่ CEO
เราต่างหายใจอยู่บนโลกยุคที่เห็นความสำเร็จของคนอื่นผ่านหน้าจอมือถือได้ตลอด 24 ชั่วโมง เราเห็นความสุขที่เพื่อน ๆ ใช้เงินมหาศาลแลกกับการพักผ่อนหรูหราในวันที่เราแสนเศร้า เราเห็นคนรู้จักก้าวหน้าในหน้าทีการงานแบบก้าวกระโดด แต่เรายังอยู่ที่เดิม นี่คือโลกที่เรามองเห็นคนอื่นได้ง่ายดาย แต่กลับยิ่งทำให้เราใจหายกับสิ่งที่เราเป็นมากขึ้นทุกวัน ๆ เมื่อชีวิตคนอื่นก้าวไปไกล เมื่อเห็นใคร ๆ ประสบความสำเร็จ เมื่อเห็นผู้คนมากมายที่เข้าถึงความสุขแบบที่เราเข้าไม่ถึง เราจึงอดเอาตัวเองไปเทียบไม่ได้ เราไขว่คว้า วิ่งไล่ตาม อยากสุขแบบนั้น สำเร็จแบบนี้ มีเงินแบบโน้น ซึ่งการกระหายที่จะดีขึ้นนั้นก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่การวิ่งไล่ตามความสำเร็จของคนอื่น อาจทำเราแสนเหนื่อยแสนท้อ โดยหลงลืมไปว่า จริง ๆ แล้วแต่ละคนมีบริบทที่ไม่เท่ากัน มีต้นทุนชีวิตที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่าเวลาในการประสบความสำเร็จก็ไม่เท่ากันด้วย ก่อนที่จะวิ่งไล่ล่าความสำเร็จในแบบคนอื่นจนหมดแรงไปเสียก่อน เราอยากชวนคุณมาพักทบทวนความสำเร็จ ทบทวนจุดยืน ทบทวนคุณค่าด้วยหนังสือ 5 เล่มที่จะพาไปสำรวจความสำเร็จในมุมอื่น ๆ ที่ต่างออกไป หลังอ่านจบ เราอาจตระหนักได้มากขึ้นว่าเราล้วนมีความสำเร็จในแบบของเรา และมันไม่จำเป็นต้องมาถึงในเวลาเดียวกับที่คนอื่นเขามาถึงก็ได้ วิทยาศาสตร์แห่งความสำเร็จ “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” อาจเพราะเราเติบโตมากับคำสอนแบบนี้ตั้งแต่จำความได้ จึงไม่แปลกที่ทุกครั้งที่เราเห็นเพื่อนเราสำเร็จ ได้ดิบได้ดี เราจะเชื่อว่าเพราะเขาพยายาม ในขณะเดียวกันเราก็โบยตีและโทษตัวเองซ้ำ ๆ ว่าเพราะเราไม่พยายามหรือพยายามไม่พอถึงยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ วิทยาศาสตร์แห่งความสำเร็จ
ในหนึ่งชีวิตการทำงานของมนุษย์มีคุณสมบัติหลายต่อหลายอย่างที่นำไปสู่ “การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน” แต่หลายครั้งเราก็อดถามตัวเองไม่ได้ว่า จบมหาวิทยาลัยที่น่าเชื่อถือก็แล้ว ประวัติการทำงานน่าชื่นชมก็แล้ว เก่งก็เก่งแล้ว ทำงานหนักก็ทำแล้ว แต่ทำไมยังไม่พอ? ทำไมเราถึงไม่ไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเสียที? ทำไมหัวหน้าไม่เคยเห็นความพยายามนี้? ทำไมเรายังดูเป็นค่าเฉลี่ยทั่ว ๆ ไป ทั้ง ๆ ที่เราก็พยายามในทางของเรา? อาจเป็นเพราะบางครั้งแค่เก่ง และทำงานหนักอาจยังไม่พอ การที่มนุษย์ประสบความสำเร็จ หรืออย่างน้อยก็โดดเด่นพอให้คนมองเห็นความสามารถนั้น ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย UNLOCKMEN อยากชวนมาปลดล็อกศักยภาพการทำงานไปอีกขั้น ที่เก่งและทำงานหนักก็ดีอยู่แล้ว แต่เราอยากชวนมาทบทวนตัวเอง เผื่อหลงลืมปัจจัยบางสิ่งไป จะได้ไหวตัวทัน หาทางปรับตัวอีกตั้ง แล้วลองมุ่งสู่ความสำเร็จหรือการเติบโตที่เราตั้งใจ ก่อนจะท้อหรือหมดไฟ เพราะคิดว่าเก่งไปก็เท่านั้น ขยันไปก็ไม่ได้อะไร เก่งและทำงานหนัก แต่ยึดติดพื้นที่เดิม ๆ “ต้องกล้าเริ่มในพื้นที่ใหม่ ๆ บ้าง” การเป็นคนทำงานที่มีเครดิตดี ดูเป็นคนเก่ง แถมพ่วงด้วยการทำงานหนักมาตลอดก็มีราคาที่ต้องจ่าย หนึ่งในนั้นคือ “ค่าความกลัวที่จะออกจากคอมฟอร์ตโซน” เพราะการที่เรารู้ว่าถ้าเราทำงานหนักในแบบของเรา ในพื้นที่ของเรา มันคือสูตรที่เราคุ้นเคย คือพื้นที่ที่เรามั่นใจในความสามารถของเราเต็มเปี่ยม เราจะทำงานหนักไปอีกกี่ปี เราก็รู้ว่าเราไม่มีทางผิดพลาดแน่ ๆ แต่วิธีการทำงานแบบนี้เองก็เป็นกับดักของคนเก่งและทำงานหนัก เพราะความสำเร็จใหม่ ๆ