Work
IMPROVE YOURSELF
  • Work

    อยากตั้งใจทำงาน แต่สมาธิหลุดบ่อย! ดูข้อควรรู้ที่จะช่วยให้เราโฟกัสได้ตลอดทั้งวัน

    By: unlockmen November 18, 2020

    “สมาธิ” เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรารักษาไว้ได้ยากที่สุด และหลายคนน่าจะเคยสมาธิหลุดโดยไม่ได้ตั้งใจบ่อย ซึ่งพอสมาธิหลุดแล้ว ผลที่ตามมาก็มักจะเป็นการทำงานต่อที่ยากขึ้น วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการรับมือและป้องกันอาการเสียสมาธิ เพื่อให้เราสามารถโฟกัสได้ตลอดทั้งวัน และจะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดวัน   เกิดอะไรขึ้นในสมองเวลาที่เราจดจ่อกับอะไรบางอย่าง ? ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ อธิบายไว้ว่า เวลาที่เราจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมองส่วนที่ถูกกระตุ้นจะเป็นสมองส่วน Prefrontal cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพ่งความสนใจไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยตั้งใจ อ้างอิงจากงานวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) การเพ่งความสนใจไปยังใบหน้า และสถานที่ที่อยู่รอบตัวเรา จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของ Inferior frontal junction (IFJ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Prefrontal cortex และมีบทบาทในการควบคุมระบบการให้ความสนใจของสมอง และทำงานควบคู่ไปกับสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึก ประมวลผลใบหน้า และตีความเหตุการณ์ที่เรากำลังเผชิญหน้ากับมันอยู่ ส่วนความสนใจแบบอัตโนมัติจะเกี่ยวข้องกับสมองส่วนที่เรียกว่า Parietal cortex ซึ่งจะทำงานในเวลาที่เราได้ยินเสียงดัง หรือ ถูกจู่โจมโดยสัตว์ร้าย สมองส่วนนี้จะปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจแบบอัตโนมัติ ซึ่งกลไกนี้ทำให้ เราสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ว่ากันว่า สมองของเราสามารถโฟกัสได้นานถึง 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นต้องมีการพักสมองสัก

    อ่านต่อ
  • Work

    ทำไมยิ่งเห็นใจคนอื่น ตัวเองกลับเหนื่อยล้า และเราจะกลับมาเยียวยาตัวเองอย่างไรดี

    By: unlockmen November 16, 2020

    เราถูกสั่งสอนกันมาว่าการเข้าอกเข้าใจคนอื่นเป็นเรื่องดี เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะมันเป็นสิ่งที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข แต่ทว่า ความเห็นอกเห็นใจ (compassion หรือ empathy) ก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่ทำให้เราตกอยู่ในภาวะ Compassion Fatigue ได้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? และเราจะป้องกันมันได้อย่างไร? Unlockmen จะอธิบายให้ฟัง ภาวะเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (compassion fatigue) หรือ secondary traumatic stress (STS) คือ ความเครียด ความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจที่เกิดจากการเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากเกินไปจน ทำให้เราให้ความสำคัญกับตัวเองน้อยลง โดยสาเหตุของ compassion fatigue อาจเกิดจากการรับฟังเรื่องราวของคนที่มีบาดแผลทางจิตใจบ่อย ๆ เช่น คนที่เคยประสบอุบัติเหตุ หรือการสูญเสีย และรู้สึกว่าทำไมเราจึงช่วยเหลืออะไรคนเหล่านั้นไม่ได้เลย และพอความรู้สึกนั้นถูกเก็บสะสมความรู้สึกมาเรื่อย ๆ ก็เกิดความเหนื่อยล้าและความทุกข์ทรมานที่เรียกว่าเป็น compassion fatigue ตามมา แม้เมื่อก่อน ภาวะ compassion fatigue จะพบในกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เช่น พยาบาล (ซึ่ง Carla Joinson ได้นิยามคำว่า compassion

    อ่านต่อ