เราแต่ละคนมีวิธีการนำคนอื่นที่ต่างกัน บางคนชอบการออกคำสั่งให้คนอื่นทำตาม หรือ บางคนอาจชอบการตัดสินใจโดยการรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะวิธีไหน แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน UNLOCKMEN เลยอยากให้ทุกคนได้รู้จัก ทฤษฎีผู้นำ 6 สไตล์ (6 Leadership Style ) ของ แดเนี่ยล โกลแมน (Daniel Goleman) และการนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ใครคือ ‘แดเนี่ยล โกลแมน’ แดเนี่ยล โกลแมน (Daniel Goleman) เป็นนักจิตวิทยาสหรัฐฯ และเจ้าของหนังสือยอดฮิตอย่าง ‘Emotional Intelligence’ (1995) ซึ่งที่ผ่านมาเขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น การทำสมาธิ การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม การหลอกลวงตัวเอง ไปจนถึง ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับทฤษฎีผู้นำ 6 สไตล์ เป็นทฤษฎีที่ได้รับการอธิบายในหนังสือชื่อ ‘Primal Leadership’ (2002) ซึ่งเป็นหนังสือที่โกลแมน เขียนร่วมกับเพื่อนอีกสองคน ได้แก่ ริชาร์ด โบยาทซิส
ช่วงนี้เรากำลังเจอกับปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น COVID-19 ความขัดแย้งทางการเมือง หรือ ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้หลายคนต้องรู้สึกห่อเหี่ยวและทำงานได้ลำบากมากขึ้น ในช่วงวิกฤตแบบนี้ ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจ (Compassionate leadership) จะเป็นทักษะที่ทำให้ผู้นำองค์กรหรือธุรกิจก้าวผ่านปัญหาไปได้มากขึ้น ทำไมผู้นำถึงต้องมีความเห็นอกเห็นใจ ? เมื่อก่อนองค์กรหรือบริษัทอาจโฟกัสแค่ความสามารถในการทำงานของพนักงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขามากนัก กล่าวคือ เน้นประเมินพนักงานจากความสามารถหรือผลงานที่พวกเขาทำ แต่พอเกิดวิกฤต COVID-19 ขึ้นมา เรื่องความเป็นอยู่หรือสุขภาพจิตของพนักงานก็เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะมันส่งผลต่อการทำงาน และความเห็นอกเห็นใจก็เป็นเรื่องที่หัวหน้าควรมีเช่นกัน ความเห็นอกเห็นใจ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจคนอื่นด้วยความปราถนาดี ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ความรู้สึก หรือ ปัญหาที่แต่ละคนกำลังเผชิญอยู่ และตอบสนองความต้องการของคนอื่นได้ ทักษะนี้จะช่วยให้ผู้นำได้รับความร่วมมือ หรือ ความเชื่อใจมากขึ้น เพราะลูกน้องจะรู้สึกว่า หัวหน้าอยู่เคียงข้างพวกเขาและตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของพวกเขาจริง หัวหน้ามีที่ทั้งภาวะผู้นำและความเห็นอกเห็นใจ เราเรียกว่า ‘Compassionate Leadership’ ซึ่งมักจะมีลักษณะเหล่านี้ ได้แก่ เรียนรู้และเติบโตจากการรับฟังความคิดเห็นหรือ feedback ของคนอื่น ไม่สร้างกำแพงกับลูกน้อง พยายามเข้าใจลูกน้องมากกว่าดูที่ตัวผลงาน ทำให้ลูกน้องมีวิธีคิดแบบใหม่หรือเกิดแพสชั่นในการทำงานได้ รวมถึงเข้าใจความสาคัญของการทำงานเป็นทีม การบริหารลูกน้องด้วยความเห็นอกเห็นใจสามารถทำได้อย่างไรบ้าง ?
ปกติเวลาเราแก้ปัญหา เรามักคิดวิธีแก้ปัญหาจากประสบการณ์หรือความรู้ที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งบางครั้งมันก็อาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถค้นพบวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ ที่อาจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ประโยชน์เราได้มากกว่าวิธีคิดแบบเดิม เราเลยอยากมาแนะนำวิธีการฝึกคิดนอกกรอบ หรือ Lateral Thinking เพื่อให้เราสามารถแก้ปัญหาที่เผชิญในชีวิตได้ดีขึ้น Lateral Thinking คืออะไร ? Lateral Thinking เป็นวิธีคิดเชิงสร้างสรรค์ยุคที่เกิดขึ้นในปี 1967 โดยนักจิตวิทยามือรางวัลชื่อว่า Edward de Bono ซึ่งแนวคิดนี้จะสนับสนุนให้มีการมองปัญหาจากมุมมองใหม่ เพื่อให้นักคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ที่อาจถูกซ่อนอยู่ หากลองเปรียบเกมหมากฮอสเป็นปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข ผู้เล่นที่มี Lateral Thinking จะไม่ใช้ตัวหมากฮอสที่มีอยู่ในการแก้ปัญหา แต่อาจจะเปลี่ยนมัน หรือ ใช้อย่างอื่นในการแก้ปัญหาแทน Lateral thinking จะเกี่ยวข้องกับ 4 ทักษะนี้ ได้แก่ การรับรู้ไอเดียหลักที่ส่งผลต่อความเข้าใจในปัญหา การค้นหาวิธีอื่นในการมองสิ่งที่อยู่รอบตัว การทำลายความไม่หยืดหยุ่นทางความคิด และรู้จักใช้โอกาสในการสนับสนุนไอเดียอื่น หากเราพัฒนาทักษะเหล่านี้แล้ว เราจะแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นอย่างแน่นอน เราจะนำ Lateral Thinking มาใช้ได้อย่างไรบ้าง ? ข่าวดี คือ เราสามารถพัฒนา Lateral
เมื่อก่อนพวกเราเรียกร้องอยากทำงานที่บ้าน แต่วันนี้ดูเหมือนการ Work From Home จะกลายเป็นวิถีชีวิตหลักไปเรียบร้อยแล้ว Designer หลายคนจึงหันมาออกแบบเพื่อสร้างประสบการณ์เปลี่ยนบ้านให้เหมาะกับการทำงาน และยังช่วยประหยัดพื้นที่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่หลายคนมีพื้นที่บ้านจำกัด ทีมนักออกแบบจาก OPEN SOHKO DESIGN และ NOSIGNER จึงร่วมกันออกแบบพื้นที่การทำงานคอนเซปต์ใหม่แบบ DIY home office ที่มาในรูปแบบกล่องสี่เหลี่ยม เรียกว่า ‘Re-SOHKO TRANSFORM BOX’ กล่องมหัศจรรย์ที่ทำได้หลากหลายหน้าที่ และสามารถช่วยประหยัดพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แค่กางและพับเก็บ! Re-SOHKO TRANSFORM BOX กล่องมากฟังก์ชันที่พร้อมเปลี่ยนแปลงพื้นที่ภายในให้ตอบโจทย์แต่ละคนได้ เมื่อกางกล่องสี่เหลี่ยมสูงประมาณตู้เย็นออก ก็จะเจอกับ Workspace พร้อมโต๊ะทำงานสำหรับวาง laptop พร้อมขั้นวางของ ตู้เก็บของแบบ Built-in พับเก็บและขยายการใช้งานได้สารพัด สามารถเลือก DIY ฟังก์ชันที่ต้องการแตกต่างกันไป และยกไปใช้งานนอกบ้านได้ง่ายเมื่อพับเก็บ เป็นดีไซน์ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่น ที่ผสมผสานตอบโจทย์ได้ทั้ง Form และ Function เพราะการดีไซน์ที่มีประโยชน์ ไม่ใช่การออกแบบแค่ความสวยงาม แต่ต้องตอบโจทย์ปัญหาที่พวกผู้คนต้องเจอในชีวิตประจำวันให้ดีขึ้นได้ด้วยนั่นเองครับ
เวลาใช้ชีวิตหรือทำงานร่วมกับคนอื่น สิ่งที่เราควรระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ Self-Serving bias เพราะมันจะทำลายความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่นได้ และจะส่งผลเสียต่อการทำงานร่วมกันในอนาคต Unlockmen เลยอยากมาแนะนำวิธีการพิชิต Self-Serving bias เพื่อให้ทุกคนสามารถยอมรับความผิดพลาดได้มากขึ้น และใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข อะไรคือ Self-Serving bias ? Self-Serving bias คือ ปรากฎการณ์ที่เราพยายามเคลมผลงานที่ดีว่าเป็นเพราะฝีมือหรือความสามารถของตัวเอง แต่กลับโทษอย่างอื่นหรือคนอื่นเมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คนที่เชื่อว่าตัวเองได้รับการว่าจ้าง เพราะมีความสามารถ คุณสมบัติ หรือ ผลงานที่เหมาะสมกับการทำงาน แต่ตอนที่ไม่ได้รับเลือกกลับบอกว่า คนคัดเลือกไม่ชอบตัวเอง เป็นต้น ปรากฎการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความพยายามในการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของตัวเอง (self-enhancement) ความพยายามในการรักษาคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) มันอาจเป็นผลพ่วงของการมองโลกในแง่ดีมากเกินไป หรือแม้แต่ปัจจัยอย่างความแตกต่างด้านวัฒนธรรมก็มีผลต่อการเกิด Self-Serving bias ได้เช่นกัน ปัญหาของ Self-Serving bias คือ มันอาจทำให้เรากลายเป็นคนหลงตัวเอง (narcissism) และมีปัญหาในการทำงานหรือใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้ เพราะเวลาทำงานพลาด คนที่ Self-Serving bias มักโทษคนอื่นมากกว่าโทษตัวเอง ซึ่งพฤติกรรมนี้นำไปสู่ความขัดแย้งและความพังทลายของความสัมพันธ์ได้
เวลาที่เราต้องทำงานหลายชิ้นพร้อมกัน เราอาจเกิดอาการคิดมาก และเกิดคำถามกับตัวเอง เช่น จะลงมือทำงานชิ้นไหนก่อนดี หรือ ควรใช้เวลาทำงานแต่ละชิ้นนานแค่ไหน เป็นต้น ซึ่งความสับสนวุ่นวายที่เกิดขึ้นในหัว อาจทำให้เราลงมือทำงานได้ช้า และสามารถจัดการงานได้แย่ลงด้วย UNLOCKMEN เห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ เลยอยากมาแนะนำเทคนิคที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นชื่อว่า ‘GTD’ ซึ่งหากใครรู้จักและรับเทคนิคนี้ไปแล้ว จะทำงานได้ productive มากขึ้นอย่างแน่นอน GTD คืออะไร GTD หรือ Getting Things Done คือ เทคนิคสร้างความโปรดักทีฟที่พัฒนาโดย David Allen ที่ปรึกษาด้านการบริหาร และเจ้าของหนังสือยอดฮิตอย่าง “Getting Things Done” โดยเทคนิคนี้จะเกี่ยวข้องกับการบริหารเวลา (time management) และจัดความสำคัญของสิ่งที่เราต้องทำ (priorities) เพื่อป้องกันอาการสมองรกที่เกิดขึ้นจากการรับมือกับภาระจำนวนมาก และทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดลง สำหรับประโยชน์ของ GTD ที่เห็นได้ชัด คือ มันทำให้เรารู้ว่าควรทำอะไรก่อนและหลัง ช่วยให้เราจัดการกับสิ่งที่อยู่ในหัวได้อย่างเป็นระบบ ป้องกันไม่ให้เราเกิดอาการคิดมาก และสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้มันยังช่วยให้เราสามารถสลับบทบาทในชีวิตของตัวเองได้ดีขึ้น เช่น บางคนอาจจะเป็นทั้งพ่อคน และผู้บริหาร เทคนิคนี้จะช่วยให้ทำหน้าที่ในแต่ละบทบาทได้ดีขึ้น
พอเกิดโรคระบาดขึ้นมา เทรนด์การตลาดออนไลน์ก็เปลี่ยนไปพอสมควร เนื่องจากทุกคนต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น โลกออนไลน์เลยได้รับความสำคัญมากกว่าแต่ก่อน ธุรกิจที่เมื่อก่อนไม่ได้อยู่บนโลกออนไลน์ก็ต้องมาอยู่ในแพลตฟอร์มนี้กันมากขึ้น เมื่อการตลาดออนไลน์เริ่มเป็นพื้นที่แข่งขันทางธุรกิจที่ดุเดือดมากขึ้น และการเอาตัวรอดบนแพลตฟอร์มนี้ดูจะเป็นเรื่องยากมากขึ้นทุกที UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคในการทำ Digital Marketing เพื่อให้นักธุรกิจทุกคนสามารถรอดพ้นจากวิกฤต COVID-19 กันได้ถ้วนหน้า ทำการตลาดออนไลน์หลายช่องทาง การตลาดบน Facebook เพียงช่องทางเดียว ดูจะล้าสมัยไปแล้ว เพราะตอนนี้มีหลายช่องทางที่บูมในช่วงวิกฤต COVID-19 ไม่ว่าจะเป็น TikTok หรือ Clubhouse แถม Facebook เองก็ยังมีปัญหาที่ทำให้คนเริ่มออกไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการปรับอัลกอริทึมที่ทำให้ยอด Organic Reach ของเพจต่าง ๆ ลดลง หรือการใช้ AI ในการตรวจสอบเนื้อหาที่อยู่ในแพลตฟอร์ม ซึ่งพ่วงสารพัดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็น การปฏิเสธโฆษณาที่สุจริต หรือ การลบ เพจ และ กลุ่มที่ไม่ได้มีเนื้อหาละเมิดกฎอะไร ดังนั้นการเอาตัวรอดในโลกออนไลน์ จึงต้องใช้การตลาดออนไลน์หลายช่องทางเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือ แบรนด์ควรสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์บนหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Instagram, Facebook, Youtube, Blockdit
เมื่อก่อนคนทำงานคงได้ยินกันบ่อยเรื่อง Work-Life Balance หรือ การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิต ซึ่งช่วยประคับประคองความสุขในชีวิตให้คงอยู่ไปได้ยาวนาน แต่ในความเป็นจริง Work-Life Balance อาจเกิดได้ยากเกินไป เพราะการทำงาน Overtime (OT) เกิดขึ้นได้เสมอ แถมคนส่วนใหญ่ก็หมดเวลาไปกับการทำงานมากกว่าการใช้ชีวิตอยู่แล้ว ดังนั้น การแบ่งเวลาให้งานและชีวิตอย่างสมดุลจึงเป็นเรื่องที่โหดหิน และทำให้หลายตนเครียดมากกว่าเดิมได้ UNLOCKMEN เลยอยากให้ทุกคนลืมเรื่อง Work-Life Balance ไปสักพัก และมาทำความรู้จักกับ Work-Life Flow ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ Work-Life Balance อะไร คือ Work-Life Flow Work-Life Flow คือ คอนเซ็ปท์ที่แนะนำให้เราทำทุกกิจกรรมโดยไม่ต้องเคร่งเรื่องตารางเวลามาก แต่ให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น หรือ ความสามารถในการปรับวิธีการใช้ชีวิตของตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวันไหนเรารู้ว่าต้องทำงานล่วงเวลาจนดึก เราก็อาจตื่นเช้าขึ้น เพื่อให้มีเวลาทำสิ่งอื่นมากขึ้น เป็นต้น หากเรารับคอนเซ็ปท์นี้มาใช้ในชีวิตจะส่งผลดีต่อตัวเราหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยลดความเครียดในการทำงาน ช่วยให้เราทำงานได้อย่างผ่อนคลายมากขึ้น และช่วยให้เราสามารถจัดการชีวิตได้ดีขึ้นด้วย ถือเป็นแนวคิดที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นอย่างมาก เราจะสร้าง Work-Life Flow
สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องการหลงลืมนัด วันสำคัญ หรือ เวลาส่งงาน จนมำพลาดพลั่งอยู่บ่อยครั้ง ในบทความนี้ UNLOCKMEN มีเทคนิคที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันชื่อว่า ‘Tickler File’ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถจัดการกับภาระที่ต้องทำในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ชีวิตเราเป็นระบบระเบียบได้มากขึ้นอีกด้วย Tickler File หรือ 43 Folders System คือ วิธีการจัดเอกสารโดยกาใช้แฟ้มข้อมูลทั้งหมด 43 โฟลเดอร์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ โฟลเดอร์ที่เรียงตามวันของเดือน (วันที่ 1 – 31 ) จำนวน 31 โฟลเดอร์ และ โฟลเดอร์ที่เรียงตามเดือนของปี (เดือนที่ 1 – 12 ) จำนวน 12 โฟลเดอร์ โดยโฟลเดอร์กลุ่มแรกจะทำหน้าที่ในการใส่สิ่งจำเป็นสำหรับวันนั้น หรือ ต้องการให้มีการแจ้งเตือนในวันนั้น ส่วนแฟ้มเดือนจะทำหน้าที่รวบรวมเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละเดือน วิธีการใช้งาน Tickler File คือ เราเอาเอกสารหรือไฟล์ที่เราอยากให้ความสนใจในวันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น
ร่างกายของเราประกอบไปด้วยฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต อาทิ โดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ช่วยให้เราสามารถโฟกัสและเกิดแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น หากสารตัวนี้หลั่งออกมาในปริมาณมาก มันก็จะทำให้เรายิ่ง productive ในการทำงานมากขึ้นได้ ฉะนั้น เราเลยอยากมาแนะนำวิธีการบูสโดปามีน เพื่อให้ทุกคนรู้สึก feel good ตลอดเวลาทำงานกัน ออกกำลังกาย หากมีเวลาว่าง เราขอแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกันสักหน่อย เพราะการออกกำลังกายมีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้ร่างกายเกิดการสร้างเซลล์สมอง ชะลอความแก่ของเซลล์สมอง แถมยังช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น นอร์เอพิเนฟริน (สร้างความตื่นตัว) เซโรโทนิน (ต้านความเครียด) และโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทที่ช่วยให้อารมณ์ของเราดีขึ้นได้ ซึ่งการออกกำลังกายเราไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานอย่างที่คิดเลย เพียงแค่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นเวลา 10 – 20 นาทีก็เห็นผลแล้ว ทำสมาธิ การทำสมาธิไม่ว่าจะในท่ายืน นั่ง หรือ เดิน ก็เป็นผลดีต่อจิตใจของเราทั้งนั้น เพราะมันช่วยเพิ่มระดับโดปามีนในร่างกายของเราได้ ส่งผลให้เราอารมณดี โฟกัสได้มากขึ้น และมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้แน่ชัดว่า การทำสมาธิช่วยเพิ่มโดปามีนในมือใหม่หรือไม่ แต่ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์แล้วมันเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เราเลยอยากแนะนำให้ทุกคนฝึกการทำสมาธิกันเอาไว้ โดยอาจเริ่มจากการนั่งสมาธิก่อนซึ่งเป็นอะไรที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยมากที่สุด นวด หากพนักงานออฟฟิศคนไหมมีเวลาว่าง อาจลองไปใช้บริการร้านนวดแผนไทยสักร้าน
พอเข้าสู่วัยทำงานแล้ว การนอนดูจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นยากขึ้นทุกที เพราะเวลาทำงานได้เบียดบังเวลานอนพอสมควร บางคนต้องทำงานล่วงเวลาจนดึกดื่น และมีเวลานอนไม่เพียงพอ ส่วนบางคนทำงานแบบ Shift Work คือ ทำงานในเวลาที่คนอื่นนอน และนอนในเวลาที่คนอื่นทำงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่เรียกว่า ‘Shift Work Sleep Disorder’ ได้ เราเลยอยากมาแนะนำวิธีรับมือกับความผิดปกติประเภทนี้ Shift Work Sleep Disorder (SWSD) คือ ความผิดปกติด้านการนอนที่เกิดจากการมีเวลาทำงานที่ไม่ปกติ เช่น แบ่งกะทำงาน (Split Shifts) ทำงานช่วงกลางคืน (Graveyard Shifts) หรือเช้าตรู่ (Early Morning Shifts) ทำให้ร่างกายและนาฬิกาชีวิต (วงจรเซอร์คาเดียน) ทำงานไม่สัมพันธ์กัน ปกตินาฬิกาชีวิตของเราจะทำงานร่วมกับแสงและความมืด ในช่วงพระอาทิตย์ขึ้น ตาของเรารับรู้แสงอาทิตย์ และจะไปกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกมีพลังและตื่นตัว (เช่น คอร์ติซอล) ส่วนในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ สมองจะผลิตฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งที่ทำให้ร่างกายรู้สึกง่วงและผ่อนคลายชื่อว่า ‘เมลาโทนิน’ การทำงานไม่เป็นเวลา ทำให้ตาของเรารับแสงผิดเวลาบ่อยครั้ง ส่งผลให้นาฬิกาชีวิตไม่สอดคล้องกับร่างกาย เราจึงเกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น รู้สึกง่วงอย่างหนักในเวลาที่ควรตื่น
ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในตำแหน่งบริหาร เช่น ผู้บริหาร หรือ ผู้จัดการ คือ ความสามารถในการพาตัวเองออกจากอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง เพราะ 2 สิ่งนี้อาจทำให้เราคิดแบบไม่เป็นเหตุเป็นผล ส่งผลให้การตัดสินใจย่ำแย่ลง และอาจนำไปสู่การแก้ปัญหาผิดพลาด ซึ่งสร้างความเสียหายต่อธุรกิจได้ UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก Professional Detachment ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในเวลาที่เผชิญหน้ากับปัญหา้รื่องงาน อะไร คือ PROFESSIONAL DETACHMENT ? Professional Detachment คือ ความเชี่ยวชาญด้านการแยกตัวเองออกจากอารมณ์และความรู้สึกเมื่อเจอกับความตรึงเครียดสูง เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลมากที่สุด โดยคนที่มีทักษะด้านนี้ มักจะมีความอดทนสูง ใจเย็นได้ในทุกสถานการณ์ และไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้งเวลาจัดการปัญหา Professional Detachment เป็นสกิลที่สำคัญต่อคนที่ทำงานในตำแหน่งบริหารมาก เพราะการทำงานในตำแหน่งนี้ จำเป็นต้องใช้การตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผล และใช้อารมณ์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะถ้าพวกเขาเผชิญหน้ากับปัญหาด้วยอารมณ์ เช่น ความเครียด ความกดดัน หรือ ความตื่นตระหนก มันจะส่งผลเสียต่อการตัดสินใจ วิธีคิด และการลงมือแก้ปัญหา ในทางกลับกัน หากเรามีความอดทน สามารถใจเย็นต่อหน้าปัญหาได้ นอกจากจะสามารถแก้ไขมันได้ดีขึ้นแล้ว มันยังทำให้คนอื่นเคารพและยอมรับในตัวเรามากกว่าเดิมด้วย เราจะตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ให้น้อยที่สุดได้อย่างไร ? มนุษย์มักใช้อารมณ์ในการนำทางชีวิตมาตลอด