หลายคงรู้สึกเซ็งสุด ๆ เวลาที่ตื่นเช้ามาทำงานแล้วหัวไม่แล่น เวลาคิดหรือทำงานอะไรก็ดูจะช้าไปหมด ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการนอนไม่เพียงพออย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่เราอยู่ในภาวะ passive หรือ มีความว่องไวของจิตใจต่ำ (Mental Agility) ได้เหมือนกัน ซึ่งถ้าเราสามารถพัฒนา Mental Agility ได้ เราก็จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น และได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เหมือนกัน WHAT IS MENTAL AGILITY ? ความว่องไวของจิตใจ (Mental Agility) หมายถึง ทักษะในการคิด เรียนรู้ และดูดซับข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสกิลนี้จะมีประโยชน์เวลาที่เราเจอกับสถานการณ์หรือปัญหาใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยมาก่อน รวมถึง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งต้องใช้ความว่องไวและคุณภาพในการคิด หากเรามี Mental Agility เราจะสามารถประเมินสถานการณ์ได้เร็วขึ้น คิดวิธีแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น และตอบสนองต่อปัญหาได้เร็วขึ้น HOW TO IMPROVE IT ? เมื่อ Mental Agility เป็นสกิลที่สำคัญในการทำงาน ร่วมถึง การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ
หลายคนน่าจะเจอเคยเจอกับความรู้สึกที่ว่า “ทำดีไปก็ไม่ช่วยอะไร” พอเจอกับความรู้สึกแบบต้องมีดาวน์ หรือ ไม่อยากทำสิ่งที่ทำอยู่กันบ้าง ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นได้จากปรากฎการณ์ GOLEM EFFECT ที่นอกจากจะส่งผลเสียต่อการทำงานของลูกน้องแล้ว ยังส่งผลเสียต่อผลวานขององค์กรโดยรวมได้ด้วย เราเลยจำเป็นที่จะต้องรู้เท่าทันมัน พร้อมรับมือกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อะไร คือ GOLEM EFFECT ? นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรื่องผลของ “ความคาดหวัง” ที่มีต่อคนมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยจากประเทศอิสราเอล ในปี 1982 ซึ่งพบว่า เด็กนักเรียนที่ถูกคาดหวังต่ำในห้องเรียนที่มีครูเป็นคนอคติสูง จะได้รับการปฏิบัติจากครูที่แย่กว่า และมีผลงานที่เลวร้ายกว่าเด็กนักเรียนคนอื่น ๆ หรือ งานวิจัยในปี 2007 ซึ่งพบว่า ความคาดหวังผลงานของนักเรียนในแง่ลบส่งให้พวกเขาทำผลงานที่ต้องใช้ความคิด ( cognitively based tasks ) ออกมาได้แย่ลง เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้ได้ยืนยันการมีอยู่ของ ‘GOLEM EFFECT’ หรือ ปรากฎการณ์ที่ ‘ความคาดหวังในแง่ลบของคนอื่น’ ส่งผลให้คนที่โดนคาดหวังทำผลงานได้แย่ลงกว่าปกติ เราอาจเห็น GOLEM EFFECT ได้ในห้องเรียนที่ครูแบ่งแยกนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
หลายคนน่าจะเคยมีช่วงเวลาที่โกรธใครสักคนมาก ๆ แล้วลงมือทำร้ายพวกเขาโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว พอนึกย้อนกลับไปก็อาจจะรู้สึกแย่ และคิดว่าไม่น่าทำอย่างนั้นลงไปเลย เหตุการณ์นี้อาจเป็นตัวอย่างของ amygdala hijack ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถควบคุมตัวเองและใช้เหตุผลได้ ส่งผลให้เราทำอะไรบางอย่างตามอารมณ์ และอาจสร้างปัญหาที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ในภายหลัง อะไร คือ AMYGDALA HIJACK ? amygdala hijack เป็นคำที่นิยามโดย แดเนียล โกลแมน (Daniel Goleman) นักจิตวิทยาผู้โด่งดังเรื่องแนวคิด ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ซึ่งคำนี้ใช้อธิบายถึงปรากฎการณ์ที่สมองเทคโอเวอร์ความสามารถในการตัดสินใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็ว ในเวลาที่เราเจอกับปัญหาที่สร้างความเครียดอย่างหนัก ซึ่ง amygdala hijack จะเกิดขึ้นจากการทำงานของ อะมิกดาลา (amygdala) ซึ่งเป็นกลุ่มของเซลล์ที่อาศัยอยู่ในด้านข้างสมองสองซีกของเรา ซึ่งสมองส่วนนี้จะทำงานเกี่ยวข้องกับการจดจำ และการให้ความหมายของอารมณ์แต่ละประเภทที่เรามี และมันยังทำหน้าที่ในการจับคู่อารมณ์กับการตอบสนองทางกายที่เฉพาะเจาะจงด้วย เช่น บางคนที่มีนิสัยชอบทำร้ายคนอื่นเวลาโกรธ ก็อาจจะเกิดจากการทำงานของสมองส่วนนี้ amygdala ยังมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองแบบ สู้หรือหนี (fight-or-flight response) อีกด้วย ซึ่งการตอบสนองประเภทนี้เป็นกลไกเอาตัวรอดสำคัญที่มนุษย์ใช้มาอย่างยาวนาน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่จะมาทำร้ายหรือฆ่าพวกเขา เช่น สัตว์ร้าย หรือ ศัตรูฝั่งตรงข้าม
คนวัยทำงานต้องการหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น สังคมการทำงานที่ดี ประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึง สถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการนั่งทำงาน เช่นไม่มีเสียงรบกวนที่มาดึงความสนใจเราจากงาน แต่บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกรบกวนด้วยเสียง ไม่ว่าจะเป็น เสียงคนคุยกัน หรือ เสียงก่อสร้าง บางครั้งเสียงเหล่านี้ก็ดังมากจนเราเสียสมาธิไม่เป็นอันทำงาน เราเลยอยากจะมาแนะนำวิธีการรับมือกับเสียงรบกวนเหล่านี้ เพื่อฟื้นคืนประสิทธิภาพในการทำงานของเราให้กลับมาดังเดิม สิ่งแวดล้อมที่ไม่สงบส่งผลต่อคุณภาพในการทำงาน ถ้าเราทำงานในที่ที่มีเสียงดัง ประสิทธิภาพในการทำงานอาจจะลดลง อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร British Journal of Psychology (2004) ซึ่งได้ขอให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานปฏิบัติ 2 ภารกิจ ได้แก่ จดจำและนึกถึงงานประพันธ์ และคิดเลขในใจอย่างง่าย โดยในระหว่างการทดลอง ทีมวิจัยได้เปิดบันทึกเสียงรบกวนประเภทที่เกิดขึ้นทั่วไปในออฟฟิศให้ผู้เข้าร่วมการทดลองฟังด้วย ผลการวิจัยพบว่า สิ่งแวดล้อมที่ทำงานที่เต็มไปด้วยเสียงรบกวน (noisy office environments) สามารถลดความแม่นยำในการทำงานของพนักงานลง ได้67% แต่เมื่อเสียงรบกวนที่เกิดจากการสนทนาลดลง ความสามารถในการโฟกัสงานของพนักงานกลับเพิ่มขึ้นมา 48% แถมความเครียดของพนักงานยังลดลง 27% อีกด้วย นอกจากงานวิจัยชิ้นนี้แล้ว ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง (2005) ซึ่งได้เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของคนที่ทำงานในโอเพนออฟฟิศ และคนที่ทำงานในคอกทำงาน (cubicles) และพบว่า คนกลุ่มแรกมีความพึงพอใจในเสียงรบกวนมากกว่าคนกลุ่มที่สอง โดยคนกลุ่มที่สองพบเจอกับปัญหาจากการได้ยินเสียงคนพูดโทรศัพท์ การได้ยินเสียงคนพูดคุยกัน
ถ้าทุกครั้งที่มีช่องว่างให้กรอกว่าความสามารถพิเศษของเราคืออะไร แล้วในหัวมีแต่ความงุนงงว่างเปล่าไม่รู้จะเติมอะไรลงไป จนต้องฮัมเพลง “ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษ”กับตัวเองเบา ๆ ทุกครั้ง เราคือเพื่อนกัน เชื่อเถอะว่าบนโลกที่เรียกร้องให้ใคร ๆ ก็ต้องเก่ง ต้องพิเศษ ต้องเจ๋ง ไม่ได้มีเราคนเดียวแน่ ๆ ที่รู้สึกว่าตัวเองช่างห่วยเหลือเกินที่ไม่มีความสามารถพิเศษอะไรกับเข้าบ้างเลย แต่วันนี้ UNLOCKMEN อยากตะโกนบอกคุณว่า หยุดคิดอย่างนั้นเดี๋ยวนี้นะ! การไม่มีความสามารถพิเศษ หรือสกิลเทพที่โดดเด่นจนใครต้องเหลียวมองมันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คุณคิด แถมวันนี้เรายังพกเอาเคล็ดลับหนึ่งเดียวมาฝาก ต่อให้คุณไม่มีความสามารถพิเศษใด ๆ ก็ประสบความสำเร็จได้ด้วยเคล็ดลับนี้ แม้เราจะกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะเชื่ออยู่ว่า จริงเหรอ? ไม่มีความสามารถพิเศษเด่น ๆ แต่เราก็จะสามารถประสบความสำเร็จเหมือนคนอื่นเขาได้จริง ๆ น่ะเหรอ UNLOCKMEN อยากให้คุณเปิดใจ แล้วค่อย ๆ เรียนรู้วิธีคิดนี้ไปด้วยกัน ข่าวดีอย่างแรกก็คือเราไม่ได้รู้สึกอย่างนี้อยู่คนเดียว การรู้สึกว่าฉันไม่เก่ง ฉันไม่มีความสามารถพิเศษอะไรเป็นความรู้สึกที่แทบทุกคนคิด แม้แต่คนที่ประสบความสำเร็จ ที่สำคัญก็คือในบรรดาคนที่ประสบความสำเร็จนั้นมันมีน้อยคนมากที่มีความสามารถพิเศษสุดในจักรวาลแล้วประสบความสำเร็จ เพราะนอกนั้นเขาก็รวบรวมหลาย ๆ สกิลของตัวเองมาประสบความสำเร็จทั้งนั้น อาจจะยังมองไม่เห็นภาพ ลองนึกถึง Bill Gates เจ้าพ่อไมโครซอฟต์ที่คงไม่มีใครไม่รู้จัก ถามตัวเองดูสิว่า
วันนี้คุณใช้เวลาจัดทำบรีฟงานเท่าไหร่ วางแผนและค้นหาข้อมูลนานแค่ไหนกว่าจะเจอสิ่งที่ใช่สำหรับใช้งานจริง เวลาในการทำงานจริงของคุณใช้ไปมากน้อยแค่ไหนกันแน่ ที่สำคัญ ภายในเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันนั้น คุณใช้ไปกับการทำงานจริงหรือเสียเวลาไปกับการสะสางจัดการธุระที่ไม่เกี่ยวข้องมากกว่ากัน เพราะแค่เข้ามีตติ้งก็แทบกินเวลาครึ่งหนึ่งของการทำงานแต่ละวันแล้วสำหรับบางคน ไหนจะรวม task เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการทำงานหลัก (แต่ก็ต้องทำ) ไม่ว่าจะเป็นการตอบอีเมล โทรนัดลูกค้า และอีกหลายอย่าง คงจะดีไม่น้อยหากเราสามารถจบมีตติ้งและออกมาลุยงานจริงได้เต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลามานั่งคิด เรียบเรียง หรือจัดลำดับสิ่งต่าง ๆ ซ้ำซ้อนอีกครั้ง การเทคโน้ตหรือ Short Note จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรทำเมื่อต้องเข้าประชุมหรือบรีฟงานที่กินเวลานาน นอกจากจะทำให้คุณไม่เบื่อขณะนั่งฟังมีตติ้งนาน ๆ แล้ว ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งในแง่ผลลัพธ์และเวลาการทำงานด้วย ทำไม Short Note ถึงสำคัญสำหรับคนทำงาน ต่อให้คุณเรียนจบมานานแค่ไหน หรือเพิ่งก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน อย่าได้ละทิ้งหรือหลงลืมทักษะเทคโน้ตสมัยเรียนไป เพราะมันถือเป็นสิ่งจำเป็นตลอดชีวิตการทำงานของคุณก็ว่าได้ไม่ว่าจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง การทำงานระดับไหนก็ตาม เพราะ short note ช่วยให้คุณ… มีสมาธิดี ในขณะที่มือเราจด สมองจะได้อ่านทบทวนและคิดตามตัวอักษรที่เขียนออกมา กระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามเมื่อพบข้อความหรือหัวข้อของการประชุมที่ยังไม่เคลียร์ในบางจุด ซึ่งคุณมาร์กส่วนนั้นไว้ถามผู้เข้าร่วมประชุมได้ทันที ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปคุยกันนอกรอบ หรือแจกจ่ายงานทั้งที่ไม่เข้าใจชัดเจนภายหลัง
เมื่อว่าด้วยเรื่องการตัดสินใจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเลือกคนเข้าทีม เจรจาต่อรองกับคู่ค้า หรือแม้แต่ลงทุนทำธุรกิจ ล้วนต้องมีต้นทุนและราคาที่ต้องจ่าย แน่นอนว่าทุกตัวเลือกที่มีในโจทย์หลักต่างมาพร้อม “ความเสี่ยง” ด้วยกันทั้งสิ้น แต่คุณจะเลือกอย่างไรให้เสี่ยงเสียได้น้อยที่สุด และพลิกความเสี่ยงนั้นให้กลายเป็น “โอกาสทอง” แทน นอกจากเชื่อในสัญชาตญาณแล้ว การคิดวิเคราะห์บนพื้นฐานหรือหลักการที่เป็นเหตุเป็นผลจะยิ่งช่วยชั่งน้ำหนักระหว่าง “ความเสี่ยง” กับ “โอกาส” ของตัวเลือกที่มีได้ชัดเจน ทำให้คุณตัดสินใจไม่พลาด จริง ๆ แล้ว การตัดสินใจของคนเราจะผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และวางแผน 5 ขั้น ด้วยกัน ได้แก่ ขั้น 1 วางเป้าหมาย เพราะเป้าหมายเปรียบเหมือนเสาหลักของการร่างแผนการทำงานอื่น ๆ ตามมา ขั้น 2 ศึกษารวบรวมข้อมูล เก็บรายละเอียดของกลวิธีหรือทางเลือกที่จะช่วยไปให้ถึงเป้าหมายนั้น โดยเจาะลึกแต่ละวิธีอย่างละเอียด ขั้น 3 ประเมินตัวเลือก ผู้ที่มีส่วนร่วมต้องร่วมกันชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียของทางเลือกแต่ละแบบ เพื่อตัดสินใจร่วมกัน ขั้น 4 ตัดสินใจเลือกทางที่ใช่ ขั้น 5 ประเมินผลลัพธ์ ดูว่าทางเลือกที่ใช้นั้นให้ผลลัพธ์อย่างไร โดยอาจแบ่งเป็นผลลัพธ์ระยะสั้นและผลลัพธ์ระยะยาว แน่นอนสิ่งที่เราพูดถึงกันตอนนี้อยู่ในขั้นตอนที่สาม หากไม่รู้จะเริ่มต้นยึดหลักการไหน
รู้ไหมว่ามันมีเส้นบาง ๆ ระหว่าง ‘แก้ปัญหา’ กับ ‘กังวล’ หลายคนมักสับสนและมองว่าสองสิ่งนี้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง และทำให้เราคลี่คลายปัญหาได้ต่างกันด้วย UNLOCKMEN เลยอยากมาอธิบายว่า การแก้ปัญหา กับ การกังวล มันต่างกันอย่างไร ? WHAT IS PROBLEM SOLVING ? เวลาเราเผชิญหน้ากับปัญหา แต่ละคนอาจมีวิธีแก้ปัญหาแตกต่างกัน บางคนใช้ ‘ทักษะในการแก้ปัญหา’ (problem solving skills) ในการแก้ปัญหาจริง ๆ แต่หลายคนก็มักใช้ ’ความกังวล’ ในการแก้ปัญหา อาจเป็นเพราะเข้าใจว่า ‘กังวล’ กับ ‘แก้ปัญหา’ เป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ สองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กังวล (worrying) คือ การคิดเพื่อแก้ปัญหาเหมือนกับ problem-solving แต่ต่างกันตรงที่ว่า มันจะโฟกัสกับเรื่องร้าย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเดียว โดยไม่ดูเรื่องดี ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเลย เมื่อเราเกิดความกังวล
หลายคนคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า ถ้าเราอยากจะเข้าใจคนอื่นมากขึ้น เราต้องใช้เวลาร่วมกับเขานาน ๆ จนเกิดความสนิทสนม แต่ในความเป็นจริงประโยคนี้อาจจะผิดก็ได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ยิ่งเราใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเท่าไหร่ เราอาจจะยิ่งเข้าใจและรับฟังกันน้อยลง ปรากฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า ‘closeness communication bias’ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นพอสมควร CLOSENESS COMMUNICATION BIAS เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ถ้าเราถามว่า “ทำไมเราถึงรับฟังกันน้อยลงเมื่อเราสนิทกันแล้ว ?” คำตอบ คือ เมื่อเรารู้จักใครสักคนเป็นอย่างดี จนเรียกได้ว่าสนิทกัน เรามักจะไม่พยายามปรับตัวเข้าหาอีกฝ่ายเหมือนกับตอนแรก ๆ ที่รู้จักกันอีกแล้ว เพราะเราคิดว่าตัวเองจำอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับคน ๆ นั้นได้แล้ว เช่น รู้ว่าเขาจะพูดอะไร หรือ คิดอะไร เราเลยใช้ความเคยชินตอบโต้มากกว่าจะตั้งใจฟังพวกเขาจริง ๆ เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะว่า คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา ในแต่ละวันเราเจอกับอะไรมากมาย ซึ่งบางอย่างก็อาจเปลี่ยนชีวิตเราไปตลอดกาลเลยก็มี ดังนั้น การใช้ความเคยชินรรับมือกับฝ่ายตรงข้ามจึงอาจนำมาซึ่งปัญหาด้านความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ เช่น ความเข้าใจผิด การทะเลาะเบาะแว้ง จนอาจต้องเลิกกันในท้ายที่สุด งานวิจัยชิ้นหนึ่งชื่อว่า “The
เคยรู้สึกไหมว่า แม้จะผ่านช่วงวัยเด็กมา และโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เรายังรู้สึกเหมือนเป็นเด็กอยู่ดี รู้สึกว่ายังไม่โต และบางครั้งรู้สึกว่าไม่อยากโตเลย ถ้าเคย คุณอาจกำลังมีอาการของ Peter Pan Syndrome อยู่ก็ได้นะ ถ้าใครมีอาการนี้อยู่ เราอยากบอกว่า มันสามารถส่งผลเสียความสัมพันธ์และการทำงานของเราได้อย่างหนักหน่วงเลยทีเดียว Peter Pan Syndrome คืออะไร ? แล้วคนที่เป็น Peter Pan Syndrome จะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ไหม ? ลองอ่านบทความต่อไปเดียวเราจะอธิบายให้ฟัง WHAT IS PETER PAN SYNDROME ? หลายคนน่าจะรู้จักตัวละครปีเตอร์ แพนจากหนังการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์อยู่แล้ว ซึ่งความโดดเด่นของตัวละครตัวนี้ คือ เป็นเด็กผู้ชายที่ไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ได้ จึงเป็นที่มาของชื่ออาการ Peter Pan Syndrome ที่ใช้ในการอธิบายผู้ใหญ่ (ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย) ที่เชื่อว่าตัวเองยังไม่โต ไม่สามารถทำตัวแบบผู้ใหญ่ได้ เรียกได้ว่า มีตัวเป็นผู้ใหญ่แต่ใจเป็นเด็ก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการนี้เกิดขึ้นก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เติบโตมากับครอบครัวที่เลี้ยงลูกแบบตามใจและปกป้องมากเกินไป กังวลว่าตัวเองจะไม่สามารถหางานได้ ไม่สามารถหาเงินได้ หรือ
ไม่เพียงโลกที่เกิดปรากฏการณ์มากมายในแต่ละวัน ผู้คนต่างก็ไม่หยุดเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ต้องยอมรับว่า Digital Marketing Skill นับเป็นอีกหนึ่งทักษะยอดนิยมที่ผู้คนให้ความสนใจในยุคนี้ เพราะกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก ที่สำคัญ ยังเป็นสายงานที่อาศัยการลงมือทำจริงและอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เรียกได้ว่าไม่มีหลักสูตรหรือทฤษฎีตายตัวตราบใดที่อัลกอริธึ่มยังพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ Source: Theverge ไม่ว่าคุณจะเป็น first jobber จบใหม่ไฟแรงที่อยากหาความท้าทายในชีวิตการทำงาน หรือกำลังวางแผนเปลี่ยนสายมาทำเกี่ยวกับ Digital Marketing ต่างก็ต้องศึกษากระแสใหม่ ๆ ทั้งในแวดวงธุรกิจที่สนใจและทักษะ Digital เฉพาะทางควบคู่กันไปด้วย นอกจากลงคอร์สเรียนแล้ว การอ่านเกร็ดความรู้หรือติดตามข่าวสารก็จำเป็นเช่นกัน บทความได้รวบรวมบล็อกและเว็บไซต์ Digital Marketing ตามสายงานมาไว้ให้ เอาไว้กด follow หรือ subscribe กัน มาดูกันว่าจะมีเว็บไซต์ไหนที่ตรงกับสายงานในอนาคตของเรากันบ้าง Digital Marketing Skill สายการจัดการ/สายวางแผน Source: 108Novel จริง ๆ แล้ว สายงาน Digital Marketing ที่ต้องใช้ทักษะด้านการจัดการและวางแผนมักเป็นอาชีพที่ต้องทำหน้าที่ติดต่อพบปะกับลูกค้าภายนอกองค์กรและประสานงานกับทีมภายใน
เมื่อเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำงานนอกออฟฟิศได้ง่ายขึ้น เราสามารถทำงานได้จากทุกที ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ร้านอาหาร หรือ ร้านกาแฟ สิ่งที่ตามมา คือ เราอาจเกิดความสับสนระหว่างเวลาในการใช้ชีวิต และนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น ความเครียด ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน จนสุดท้ายราอาจเจอกับความล้มเหลวทั้งในเรื่อง Work และเรื่อง Life บทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนรู้จักวิธีการกำหนด work-life boundaries หรือ ขอบเขตระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารเวลาได้ดีขึ้น และเป็นผู้ชนะทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน WORK-LIFE BOUNDARIES คืออะไร ? ถ้าจะสรุปคอนเซ็ปท์ของ work-life boundaries ให้เข้าใจง่ายที่สุด มันคือการที่เราไม่เอาเวลาทำงานมาทำเรื่องส่วนตัว และไม่เอาเวลาทำเรื่องส่วนตัวมาทำงาน ซึ่งการกำหนด work-life boundaries ที่ชัดเจนก็มีงานวิจัยยืนยันด้วยว่า ส่งผลดีต่อการทำงานเหมือนกัน เช่น งานวิจัยของ เอลเลน เอินส์ท คอสเสก (Ellen Ernst Kossek) จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเพอร์ดู พบว่า การบริหาร work-life