ณ เวลานี้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ‘Netflix’ หนึ่งในแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก และสามารถครองใจคนทั่วโลกได้อย่างอยูหมัด (ข้อมูลจาก Parrot Analytics (2021) บอกเราว่า Netflix ครอบครอง demand share ในไตรมาสแรกของปีสูงถึง 50.2% เลยทีเดียว) วิธีการทำธุรกิจของ Netflix ถือว่าน่าสนใจจน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปดูว่า เราได้บทเรียนธุรกิจอะไรจาก Netflix บ้าง เก็บข้อมูลลูกค้าอยู่เสมอ Netflix เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนการกดไลก์หรือดิสไลก์ ความยาวในการดูวิดีโอของแต่ละคน หรือ วิดีโอที่สมาชิกเคยดูในอดีต ฯลฯ ข้อมูลส่วนนี้ช่วยให้พวกเขาเข้าใจความต้องการของลูกค้า และสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้แบบรายคนเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น การแนะนำหนังโดยอ้างอิงจากข้อมูลการดูวิดีโอของเมมเบอร์ ระบบนี้ ทำให้สมาชิกของ Netflix ตัดสินใจดูวิดีโอใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น และใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มนานขึ้นเช่นกัน ทำคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ และเข้ากับช่วงเวลา ความโดดเด่นของ Netflix คือ การสร้างคอนเทนต์ที่แสดงถึงตัวตน และความคิดสร้างสรรค์ของแบรนด์ออกมาได้ดี ยกตัวอย่างเช่น แคมเปญโปรโมทซีรีส์
พอเกิดโรคระบาดขึ้นมา เทรนด์การตลาดออนไลน์ก็เปลี่ยนไปพอสมควร เนื่องจากทุกคนต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น โลกออนไลน์เลยได้รับความสำคัญมากกว่าแต่ก่อน ธุรกิจที่เมื่อก่อนไม่ได้อยู่บนโลกออนไลน์ก็ต้องมาอยู่ในแพลตฟอร์มนี้กันมากขึ้น เมื่อการตลาดออนไลน์เริ่มเป็นพื้นที่แข่งขันทางธุรกิจที่ดุเดือดมากขึ้น และการเอาตัวรอดบนแพลตฟอร์มนี้ดูจะเป็นเรื่องยากมากขึ้นทุกที UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคในการทำ Digital Marketing เพื่อให้นักธุรกิจทุกคนสามารถรอดพ้นจากวิกฤต COVID-19 กันได้ถ้วนหน้า ทำการตลาดออนไลน์หลายช่องทาง การตลาดบน Facebook เพียงช่องทางเดียว ดูจะล้าสมัยไปแล้ว เพราะตอนนี้มีหลายช่องทางที่บูมในช่วงวิกฤต COVID-19 ไม่ว่าจะเป็น TikTok หรือ Clubhouse แถม Facebook เองก็ยังมีปัญหาที่ทำให้คนเริ่มออกไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการปรับอัลกอริทึมที่ทำให้ยอด Organic Reach ของเพจต่าง ๆ ลดลง หรือการใช้ AI ในการตรวจสอบเนื้อหาที่อยู่ในแพลตฟอร์ม ซึ่งพ่วงสารพัดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็น การปฏิเสธโฆษณาที่สุจริต หรือ การลบ เพจ และ กลุ่มที่ไม่ได้มีเนื้อหาละเมิดกฎอะไร ดังนั้นการเอาตัวรอดในโลกออนไลน์ จึงต้องใช้การตลาดออนไลน์หลายช่องทางเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือ แบรนด์ควรสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์บนหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Instagram, Facebook, Youtube, Blockdit
ในโลกของยาเสพติดคงไม่มีชื่อไหนโด่งดังไปกว่า ‘Pablo Escobar’ เจ้าพ่อโคเคนแห่งโคลัมเบีย เขาเปรียบเสมือน Michael Jackson แห่งวงการสิ่งผิดกฎหมาย เรื่องราวของเขาถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์มากมาย แต่ที่ประสบความสำเร็จที่สุดก็ต้องยกให้ซีรีส์ Narcos จาก Netflix ยุค 80 เป็นยุคที่ยาเสพติดกำลังเฟื่องฟูถึงขีดสุด มีผู้ค้ารายใหญ่หลายก๊กหลายเหล่า แต่ Pablo Escobar สามารถพาตัวเองไปอยู่บนจุดสูงสุดของพีระมิดได้ แค่ความใจถึงและเหี้ยมเกรียมคงไม่เพียงพอแน่นอน เขาต้องมีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่ดีด้วย ถึงแม้ว่าธุรกิจของ Pablo Escobar จะเป็นธุรกิจผิดกฏหมาย แต่ก็ต้องยอมรับในความเด็ดขาดและฉลาดในกลยุทธ์ ดังนั้นเราคิดว่าเคล็ดลับการทำธุรกิจของเขาก็มีประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของทุกคนได้แน่นอน Escobar ตั้งใจจะทำให้โคเคนของเขาเป็นโคเคนที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก มีความบริสุทธิ์สูงกว่าเจ้าอื่น ๆ จึงเข้มงวดเรื่องคุณภาพการผลิต เขาไม่เชื่อในกลไกตลาดที่จะต้องตัดราคาแข่งกันเพื่อทำยอดขายให้ได้มากกว่า เพราะถ้าสินค้ามีคุณภาพต่อให้ราคาจะสูง ยังไงลูกค้าก็ยินดีจ่าย โดยเฉพาะในโลกยาเสพติดอย่างโคเคน ที่คุณภาพเป็นสิ่งที่จับต้องได้ไม่ยาก และยิ่งทำให้คนติดงอมแงมมากขึ้นด้วย และข้อนี้ถือว่า Escobar คิดถูก ส่งผลให้ยอดขายโคเคนของเขาพุ่งสูงว่าแก๊งค้ายาใด ๆ บนโลก โดยเฉพาะการขยายไปตลาดอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง ต่อจากข้อด้านบน Escobar รู้ดีว่ากำลังซื้อของตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ในโคลัมเบีย เขาขายโคเคน 1 กรัมได้ราคาแค่
ในขณะที่คุณเลื่อนฟีดส์ในโซเชียลแอปฯ ต่าง ๆ ตอนนี้ คุณเจอโพสต์จากครีเอเตอร์ที่กดติดตามไปทั้งหมดกี่โพสต์แล้ว และส่วนใหญ่คุณก็เลือกจะเสพคอนเทนต์จนจบโดยไม่ไถฟีดส์ผ่านไปเฉย ๆ อีกด้วย เพราะคอนเทนต์จากครีเอเตอร์เหล่านั้นตรงกับความต้องการของคุณ จึงไม่แปลกที่นักการตลาดออนไลน์และแบรนด์ต่าง ๆ หันมาว่าจ้าง KOLs กันมากขึ้น หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า Influencer Marketing อยู่แล้ว ถ้าเราผ่านตากันบ้างก็คงจะเห็นว่าภายใต้คอนเซ็ปต์ใบใหญ่ของ Influencer Marketing ยังแตกออกมาเป็น Micro Influencers, Macro Influencers และ KOLs อีกด้วย แล้ว Influencers กับ KOLs ต่างกันอย่างไร ทั้ง Influencers และ KOLs ล้วนเป็นครีเอเตอร์ที่สร้างคอนเทนต์สำหรับกลุ่มเป้าหมายตนเอง โดย Influencers มีจุดเริ่มต้นสร้างตัวตนทำคอนเทนต์ในแบบตัวเองลงช่องทางสื่อโซเชียล ในขณะที่ KOLs (Key Opinion Leaders) เริ่มต้นสร้างตัวตนและเป็นที่รู้จักจากประเด็นหรือเรื่องราวที่พวกเขาเชี่ยวชาญหรือคลุกคลีอยู่ในวงการวิชาชีพนั้น ๆ อยู่แล้ว ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “คอนเทนต์ในแบบตัวเอง” ของ Influencers ไม่ได้จำกัดแค่ประเด็นหรือแนวเรื่องความสนใจ
ในยุคที่การสร้างแบรนด์มีการแข่งขันสูง การสร้างความแตกต่าง อัตลักษณ์ต่อสินค้าและแบรนด์ การสร้างกลยุทธ์สำหรับช่องทางการขาย เป็นสิ่งสำคัญหลัก ที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี ซึ่งการจะสร้างแบรนด์ ผลิตสินค้าได้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้นั้น อย่างแรกเลยคือ ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ใครจะคิดว่า “เสื่อ” ที่เราเห็นขายทั่วไปไม่กี่ร้อย จะสามารถสร้างคุณค่า พัฒนาดีไซน์อย่างสวยงามจนมาเป็น “พรมเมืองร้อน” พร้อมต่อยอดเป็นสินค้าดีไซน์มากมายเพื่อตอบโจทย์การทำบ้านให้สวย แต่ PDM Brand โดย คุณดิว ดุลยพล ศรีจันทร์ ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้ง PDM Brand พร้อมทั้งพาร์ทเนอร์ คุณแมนรัตน์ สวนศิลป์พงศ์ สามารถพัฒนาต่อยอดไอเดียสินค้ามากมาย สร้างคุณค่างานดีไซน์ของสินค้าไทย ให้ดังไปไกลทั่วโลกได้ “PDM ย่อมาจาก Product Design Matters คือ เราโฟกัสเรื่องของการดีไซน์ พวกสินค้าดีไซน์ต่าง ๆ เดิมทีก่อนที่จะตั้งบริษัทขายของออนไลน์ ทางบ้านเราก็เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่พัฒนาสินค้าช่วยบริษัทอื่น ๆ เพื่องานขาย โดย 7 ปีที่แล้ว เรามีไอเดียพัฒนาสินค้า ซึ่งสินค้าตัวแรกคือ เสื่อ ที่คนเอาไปใช้แต่งบ้านแทนแพรมกันเยอะ เพราะจริง
รับสมัคร AE ทีมีใจรักการทำงาน อึก ถึก ทน มาร่วมทีมสนุกๆ ด่วน
เวลาเราทำงาน เรามักจะทำกันเป็นกลุ่ม เพราะมันช่วยให้เราทำงานใหญ่ได้ดีกว่า เสร็จเร็วกว่า และอาจมีคุณภาพที่มากกว่าการทำงานเดียวคน แต่บางครั้งมันก็ทำให้เกิดการอู้งานได้ง่ายเหมือนกัน เพราะสมาชิกบางคนอาจไม่รู้ว่าตัวเองต้องช่วยงานอะไร แถมยังไม่กล้าถามคนในกลุ่มด้วย หรือ บางคนอาจเห็นว่างานที่ตัวเองทำได้ถูกคนอื่นรับผิดชอบไปหมดแล้ว จึงส่งผลให้เกิดอาการอู้ขึ้นมา แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร การอู้งานส่งผลเสียต่อการทำงานแน่นอน เพราะมันทำให้งานไปต่อได้ช้า อาจเสร็จไม่ทันกำหนด และทำให้คุณภาพของงานกลุ่มลดลงอีกด้วย ดังนั้น เราอยากมาแนะนำวิธีการรับมือกับกลุ่มคนอู้ เพื่อให้งานเสร็จได้เร็วขึ้น และเพื่อให้องค์กรใช้ประโยชน์จากพนักงานได้ถึงขีดสุด สร้างทีมให้เล็กที่สุด หัวหน้าบางคนอาจชอบการทำงานเป็นทีมที่มีคนจำนวนมาก เพราะเชื่อว่ายิ่งมีคนเยอะ ก็ยิ่งช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้มาก แต่ในความเป็นจริง ยิ่งสมาชิกกลุ่มใหญ่เท่าไหร่ จะยิ่งทำให้เกิดอาการขี้เกียจได้มากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากการทำงานเป็นกลุ่ม อาจทำให้บางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่ต้องลงแรงให้กับงานมาก เพราะมีคนอื่นช่วยอยู่แล้ว หรือ บางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนเกิน ไม่มีงานให้ทำ ซึ่งเกิดขึ้นได้จาการกำหนดจำนวนสมาชิกที่ไม่เหมาะสม เราเลยอยากแนะนำให้เปลี่ยนความคิดจาก ‘การสร้างทีมทำงานที่ใหญ่’ เป็น ‘การแตกทีมทำงานที่ใหญ่ออกเป็นทีมย่อย’ โดยกำหนดให้แต่ละทีมมีสมาชิกไม่เกิน 3 – 5 คน และจำไว้ว่ายิ่งทีมเล็กเท่าไหร่ แต่ละคนในทีมจะยิ่งรู้สึกว่าตัวเองต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น และอยากอู้งานน้อยลง สร้างกฎกลุ่มและบทลงโทษทีชัดเจน การทำงานแบบไม่มีการทำข้อตกลงร่วมกัน อาจสร้างคนขี้เกียจได้มากเหมือนกัน เพราะบางคนไม่สนใจว่า อาการขี้เกียจ จะส่งผลเสียต่อทีม แถมไม่กฎอะไรมาลงโทษเมื่อพวกเขาขี้เกียจด้วย จึงอู้กันต่อไป ดังนั้น
เมื่อช่วงที่ผ่านมา OR ได้เข้าซื้อหุ้น 20% ของกิจการ “โอ้กะจู๋” ร้านอาหารสุขภาพเน้นวัตถุดิบคุณภาพ เหมาะกับคนชอบกินผักและสเต๊ก โดยบอร์ดบริหารของกลุ่ม ปตท. ได้วางแผนธุรกิจที่จะขยายแบรนด์ร้านดังกล่าวให้อยู่ในปั๊มน้ำมันในเครือของตนและคาเฟ่อเมซอน แน่นอนว่าการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นที่กล่าวถึงและได้รับความสนใจไม่น้อย เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ทำธุรกิจที่เรียกว่า Inorganic Growth นี่คงเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์น่าจับตามองของแวดวงธุรกิจ วันนี้เลยอยากพาชาว UNLOCKMEN มาทำความรู้จักแนวคิดโมเดลธุรกิจ Inorganic Growth ว่าเป็นอย่างไร แล้วเคยมีเคสไหนที่ทำแล้วเวิร์กและไม่เวิร์กบ้าง ทำความรู้จัก Inorganic Growth เมื่อวางแผนทำธุรกิจขึ้นมาสักอย่าง หลายคนคงตั้งเป้าวัดผลความสำเร็จจากการวิเคราะห์ผลการทำงานพื้นฐานอย่างยอดขายหรืออัตราการเติบโตทางธุรกิจ กว่าจะมาถึงปลายทางดังกล่าวได้ ก็ต้องวางกลยุทธ์ทำการตลาดหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำแคมเปญโปรโมทต่าง ๆ ออกไลน์โปรดักส์ใหม่ หรือพัฒนาการให้บริการลูกค้า ทั้งหมดนี้ถือเป็นการทำธุรกิจที่เน้นสร้างจุดแข็งและการเติบโตจากภายใน หรือที่เรียกว่า Organic Growth จริงอยู่ที่แนวทางการทำธุรกิจแบบ Organic Growth ให้ผลลัพธ์ยั่งยืนกว่า ถึงอย่างนั้น หากเราต้องการขยายฐานการเติบโตของธุรกิจในเวลารวดเร็ว การทำธุรกิจแบบ Inorganic Growth ก็เป็นอีกวิธีที่แบรนด์ดังหลายเจ้ามักใช้กัน Inoraganic Growth คืออะไร ลักษณะเป็นอย่างไร Inorganic Growth ว่าด้วยแนวคิดทำธุรกิจที่ควบรวมบริษัทหรือกิจการอีกเจ้า
การทำงานในยุคใหม่ หัวหน้าควรให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ หรือ การเปิดให้ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น หรือ การเป็นผู้นำในบางเรื่องมากขึ้น เพราะการทำงานแบบมีผู้นำเพียงคนเดียวควบคุมทุกอย่าง อาจทำให้เกิดการไม่รับฟังความเห็นของคนอื่น และคนที่ทำงานร่วมกันสามารถรู้สึก “ถูกทิ้งไว้ข้างหลังได้” UNLOCKMEN อยากจะมาแนะนำรูปแบบการทำงานในยุคใหม่ชื่อว่า “Shared Leadership” ซึ่งจะช่วยให้ทีมทำงานทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วมในงาน และมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม ทำไมถึงต้องมี Shared Leadership ? ระบบการทำงานแบบดั่งเดิม มักจะกำหนดให้มีหัวหน้าทีมเพียงคนเดียว ทำหน้าที่ในการบริหารและตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อการทำงานของทีม บางบริษัทอาจมีนโยบายเปิดประตู (open-door policy) เพื่อสร้างความเชื่อใจระหว่างลูกน้องและหัวหน้า โดยการเปิดให้ลูกน้องสามารถเดินเข้าไปในห้องของหัวหน้าเพื่อขอคำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานได้ แต่การรวมอำนาจในการตัดสินใจไว้ที่คนหนึ่งคน รวมถึง นโยบาย open-door policy ก็มีข้อเสียที่อาจกระทบประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรได้อย่างหนักเหมือนกัน เช่น มันทำให้ลูกน้องต้องพึ่งพาหัวหน้ามากเกินไป บริษัทอาจหยุดนิ่งเพราะไม่มีไอเดียใหม่ ๆ จากลูกน้อง ร้ายยิ่งกว่านั้น มันอาจทำให้เสียงของคนที่อยู่ในระดับล่างของบริษัทไม่ได้รับความสำคัญ จนพวกเขาไม่กล้ารายงานปัญหา หรือ แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทโดยรวม การเป็นผู้นำร่วมกัน (Shared Leadership) จะช่วยให้องค์กรก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้ไปได้ เพราะมันเปิดให้ทุกคนที่ทำงานอยู่ในองค์กร สามารถเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามได้อย่างเท่าเทียมกัน และช่วยให้พวกเขามีอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานของตัวเอง และมันจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมในการทำงานของทุกคนในกลุ่มได้อย่างแน่นอน เพราะทุกคนจะไม่กลัวผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรายงานปัญหาหรือแสดงความคิดเห็น
ถ้าทุกครั้งที่มีช่องว่างให้กรอกว่าความสามารถพิเศษของเราคืออะไร แล้วในหัวมีแต่ความงุนงงว่างเปล่าไม่รู้จะเติมอะไรลงไป จนต้องฮัมเพลง “ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษ”กับตัวเองเบา ๆ ทุกครั้ง เราคือเพื่อนกัน เชื่อเถอะว่าบนโลกที่เรียกร้องให้ใคร ๆ ก็ต้องเก่ง ต้องพิเศษ ต้องเจ๋ง ไม่ได้มีเราคนเดียวแน่ ๆ ที่รู้สึกว่าตัวเองช่างห่วยเหลือเกินที่ไม่มีความสามารถพิเศษอะไรกับเข้าบ้างเลย แต่วันนี้ UNLOCKMEN อยากตะโกนบอกคุณว่า หยุดคิดอย่างนั้นเดี๋ยวนี้นะ! การไม่มีความสามารถพิเศษ หรือสกิลเทพที่โดดเด่นจนใครต้องเหลียวมองมันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คุณคิด แถมวันนี้เรายังพกเอาเคล็ดลับหนึ่งเดียวมาฝาก ต่อให้คุณไม่มีความสามารถพิเศษใด ๆ ก็ประสบความสำเร็จได้ด้วยเคล็ดลับนี้ แม้เราจะกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะเชื่ออยู่ว่า จริงเหรอ? ไม่มีความสามารถพิเศษเด่น ๆ แต่เราก็จะสามารถประสบความสำเร็จเหมือนคนอื่นเขาได้จริง ๆ น่ะเหรอ UNLOCKMEN อยากให้คุณเปิดใจ แล้วค่อย ๆ เรียนรู้วิธีคิดนี้ไปด้วยกัน ข่าวดีอย่างแรกก็คือเราไม่ได้รู้สึกอย่างนี้อยู่คนเดียว การรู้สึกว่าฉันไม่เก่ง ฉันไม่มีความสามารถพิเศษอะไรเป็นความรู้สึกที่แทบทุกคนคิด แม้แต่คนที่ประสบความสำเร็จ ที่สำคัญก็คือในบรรดาคนที่ประสบความสำเร็จนั้นมันมีน้อยคนมากที่มีความสามารถพิเศษสุดในจักรวาลแล้วประสบความสำเร็จ เพราะนอกนั้นเขาก็รวบรวมหลาย ๆ สกิลของตัวเองมาประสบความสำเร็จทั้งนั้น อาจจะยังมองไม่เห็นภาพ ลองนึกถึง Bill Gates เจ้าพ่อไมโครซอฟต์ที่คงไม่มีใครไม่รู้จัก ถามตัวเองดูสิว่า
ดูเหมือนว่าชีวิตของเราจำเป็นจะต้องมีความเร่งและรีบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางที่เราต้องตื่นเช้าเพื่อขึ้นรถเมล์ในช่วงที่คนไม่เยอะ หรือ ขับรถในช่วงที่การจราจรไม่ติดขัด รวมถึง การพูดคุยตอบคำถามกับคนอื่น ซึ่งถ้าเราตอบกลับอีกใฝ่ายช้า เรามักจะถูกมองว่าเป็นคนไม่จริงใจ อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นใหม่ที่เพิ่งตีพิมพ์ใน Journal of Personality and Social Psychology งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยนักวิจัยจากสถาบัน Grenoble Ecole de Management และมหาวิทยาลัย James Cook University ซึ่งพวกเขาได้เริ่มทำการทดลองทั้งหมด 14 ครั้งกับผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 7,565 คนที่มาจากประเทศทางฝั่งยุโรปอย่าง สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ซึ่งในแต่ละการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะได้ทำสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ ฟังไฟล์เสียง ดูวิดีโอ หรือ อ่านการตอบสนองของคนที่มีต่อคำถามง่าย ๆ อย่างเช่น ชอบเค้กที่เพื่อนทำหรือไม่ ? หรือ ขโมยเงินจากที่ทำงานมารึเปล่า ? เป็นต้น เวลาในการตอบสนองของคนจะแตกต่างกันไปในแต่ละซีนาริโอ เช่น บางคนสามารถตอบคำถามได้ในทันที ในขณะที่บางคนตอบดีเลย์ไป 10 วินาที เป็นต้น
คำพูดของเราสามารถสร้างความขัดแย้งได้เสมอ เพราะเราอยู่สังคมที่เต็มไปด้วยคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างต่างกัน ถ้าเราไม่รู้วิธีการรับมือกับคำพูดหรือความเห็นต่างอย่างถูกต้อง ความขัดแย้งมันก็ยิ่งหนักหนาสาหัสมากขึ้นได้ ในบทความนี้ UNLOCKMEN เลยอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่า ทำไมการแสดงความคิดเห็นถึงทำให้คนทะเลาะกันได้ พร้อมกับ แนะนำวิธีการแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่อาจกระทบกับอีกฝ่าย โดยป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น และช่วยให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้นานๆ ทำไมการแสดงความคิดเห็นถึงทำให้คนทะเลาะกันได้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีกับคนที่เห็นต่างจากเรา อาจเพราะเราสามารถได้รับความเจ็บปวดจากคำพูด หรือ คำด่า ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า คำพูดสามารถสร้างความเจ็บปวดได้ไม่ต่างจากการถูกตีด้วยไม้หรือทุบด้วยก้อนหิน และอาจมีผลรุนแรงจนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Friedrich Schiller University Jena ได้ทำการทดลองทั้งหมด 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทีมนักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง 16 คน อ่านคำพูดที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด เช่น “plaguing” (ภัยพิบัติ) “tormenting” (ทรมาน) “grueling” (ทรหด) พร้อมกับ จินตนาการถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคำ ๆ นั้นไปด้วย ส่วนในการทดลองที่สอง ผู้เข้าร่วมการทดลองถูกขอให้ทำการทดลองเดิมอีกครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งนี้จะมีการใช้ brain-teaser เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมการทดลองด้วย โดยในการทดลองทั้งสองครั้ง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกสแกนสมองด้วยเครื่อง functional magnetic resonance imaging (fMRI)