ความมั่นใจในตัวเองถือเป็นคุณสมบัติที่ผู้ขายควรมีติดตัว เพราะมีหลายสถานการณ์เหมือนกันที่ต้องการการติดสินใจของผู้ชาย รวมถึง ความเป็นผู้นำด้วย แต่บางครั้งความมั่นใจที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัวได้ เราไม่รับฟังความคิดเห็นคนอื่น คิดว่าตัวเองสามารถแก้ได้ทุกปัญหา หรือ แก้ปัญหาโดยใช้ความเคยชินของตัวเองมากกว่าที่จะใช้วิธีใหม่ ๆ ที่ได้มาจากคนอื่น สุดท้ายเราก็อาจมานั่งกลุ้มใจทีหลังว่า งานที่ออกมาทำไมมีข้อผิดพลาดมากมายขนาดนี้ ทำไมตอนทำอยู่เราถึงไม่สังเกตเห็นมันกันนะ นี่เป็นตัวอย่างของคนที่มีวิสัยทัศน์อุโมงค์ (Tunnel Vision) ซึ่งเป็นมายเซ็ทที่ส่งผลเสียต่อการทำงานของเราอย่างมาก มันอาจทำให้เราผิดพลาดมากขึ้น ได้ประโยชน์จากงานน้อยลง และส่งผลเสียต่อทีมเวิร์กอีกต่างหาก เราเห็นคนทำงานหลายคนเป็นแบบนี้กัน เลยอยากมาอธิบายซะหน่อยว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยให้เราสามารถออกมาจากอุโมงค์ได้ WHAT IS TUNNEL VISION ? ลองจินตนาการดูว่า เรากำลังขับรถ หรือ นั่งอยู่บนรถสักคันหนึ่ง เมื่อมันเคลื่อนที่เข้าสู่อุโมงค์ที่อยู่เบื้องหน้า แน่นอนว่า การมองเห็นของเราก็คงจะเริ่มแคบลง จากเดิมที่เรามองเห็นถนนกว้าง ๆ บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง หรือ ธรรมชาติ ที่อยู่ริมถนน การเข้าอุโมงค์ก็ทำให้เราเห็นเพียงกำแพง ทางเดินรถแคบ ๆ และรถคันอื่นที่ร่วมทางกับเราเท่านั้น ส่วนสิ่งที่อยู่ภายนอกนั้น เรามองไม่เห็นมันเลยจนกว่าจะออกมาจากอุโมงค์ วิสัยทัศน์อุโมงค์ (Tunnel Vision) จึงเปรียบได้กับการที่เราโฟกัสไปที่ส่วนหนึ่งของปัญหาหรืองานอย่างหนัก จนเราไม่ได้โฟกัสไปที่ปัญหาอื่น ซึ่งสุดท้ายเราอาจจะแก้ไขปัญหานั่นไม่ได้ หรือ
เวลาเราเจอกับเรื่องแย่ ๆ ในชีวิต เช่น ตกงาน สอบตก หรือว่า อกหัก หลายคนมักจะเกิดอารมณ์แย่ ๆ ขึ้นมาหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความเศร้า ความกังวล บางคนอาจมีอาการถามตัวเองซ้ำ ๆ ว่าทำไมเรื่องเหล่านั้นถึงเกิดขึ้น และอยากย้อนเวลากลับไปแก้ไขมันเสียเหลือเกิน แต่เมื่ออดีตเป็นเรื่องที่ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้ การคิดถึงมันบ่อย ๆ จึงไม่ช่วยอะไร นอกจากทำให้เรายิ่งคิดมาก มูฟออนยาก และติดอยู่ในลูปของความเศร้าที่ไม่รู้จะจบลงเมื่อไร เรามีวิธีรับมือกับเรื่องแย่ ๆ ที่ดีกว่านั้นมาแนะนำนั่นคือการใช้ Gratitude หรือ การขอบคุณนั่นเอง สกิลนี้จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมากขึ้น และจะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้นด้วย เดี๋ยวเราจะอธิบายให้ฟังว่าเราจะพัฒนาสกิลนี้ได้อย่างไร WHAT IS GRATITUDE ? ถ้าแปลคำว่า Gratitude จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยตรง ๆ ความหมายของมัน คือ ความกตัญญู หรือ ความรู้สึกขอบคุณ ซึ่งมีหลายคนเหมือนกันที่มองว่า มันเป็นสกิลในการเอาตัวรอด (Survival Skill) จากความยากลำบากต่าง
ถึงแม้ว่าแรงกดดัน เช่น เวลาในการทำงานที่จำกัด จะช่วยให้เราเกิดความโปรดักทีฟมากขึ้นได้ แต่ในทางกลับกัน มันก็อาจทำให้เราเกิดอาการแพนิค และทำงานแย่ลงได้เหมือนกัน เพราะเวลาเรากลัวว่าตัวเองจะทำงานไม่ทัน เรามักรีบคิดและรีบปั่นงานให้เสร็จโดยไว ผลสุดท้าย งานที่ออกมาอาจไม่ได้รับการตรวจที่ถี่ถ้วนมากพอ จนมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เมื่อแรงกดดันเป็นเหมือนกับดาบสองคม มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราเลยจำเป็นต้องรับมือกับมันให้ได้อย่างดี บทความนี้ UNLOCKMEN จึงนำเทคนิคดี ๆ มาฝากทุกคนกัน ซึ่งถ้ารู้แล้ว เราจะทำงานภายใต้ความกดดันได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน ตั้งสติก่อนสตาร์ท !!! เวลาเราทำงานในช่วงที่เดดไลน์ใกล้เข้ามาแล้วนั้น เรามักจะโคตรเครียด เสียสติ และไม่คิดหรือตรวจงานให้ดี สุดท้ายงานที่ออกมามันก็แย่ หากใครเจอกับอะไรแบบนี้ เราอยากให้ลองตั้งสติ และพยายามเปลี่ยนโฟกัสจากความเครียดความกังวล มาเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเราดู ลองถามตัวเองว่าตอนนี้เรากำลังเห็นอะไร ? กำลังได้ยินอะไร ? เราหายใจเป็นยังไง ? แบบนี้จะช่วยให้เรารู้สึกถึงแรงกดดันน้อยลง มีสติมากขึ้น และแก้ปัญหาได้ดีกว่าด้วย มองย้อนกลับไปทบทวนความกดดันที่ผ่านมา ความกดดันมักเกิดขึ้นแบบเป็นแพทเทิร์น และเราอาจเจอกับแพทเทิร์นนั้นซ้ำ ๆ อยู่ก็ได้ ดังนั้น แทนที่จะปล่อยให้ประสบการณ์ความกดดันเหล่านั้นผ่านไปเฉย ๆ เราควรใช้เวลาในการเรียนรู้ และวิเคราะห์หาแพทเทิร์นของความกดดันจะดีกว่า เพราะมันจะช่วยให้เราหาแผนรับมือกับความกดดันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพบว่า
เมื่อว่าด้วยเรื่องการไปให้ถึงเป้าหมายของทีม นอกเหนือจากการสร้างจุดแข็งตนเองและศึกษาคู่แข่งอย่างรอบด้านแล้ว ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็เป็นทักษะสำคัญที่คนทำงานยุคนี้ต้องมี โดยเฉพาะคนที่อยากก้าวขึ้นมาเป็น “ที่หนึ่ง” ในโลกการทำงานที่มีการแข่งขันสูงและเจอกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คำตอบของการสร้างเสริมทักษะดังกล่าวเริ่มต้นจากสิ่งที่เรียกว่า Opportunity Mindset ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่ากระบวนการปลดล็อกความคิดสู่การหาทางออกจากวิกฤติในชีวิตประจำวันนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดของสมอง 4 แบบ ได้แก่ Defeatist Mode ความรู้สึกหวาดวิตก เครียด หรือกังวลเมื่อเจอปัญหา กลัวว่าถ้าลองทำแบบนี้ไป อาจทำให้ทุกอย่างแย่ลงกว่าเดิม Sustainer Mode ความคิดที่ว่าสิ่งที่จะทำไม่มีทางเป็นไปได้ คิดมากเกินไปทั้งที่ยังไม่ลองทำ ทำให้สมองถูกบล็อก ไม่กล้าก้าวออกจาก comfort zone มาลองทำสิ่งใหม่ Dreamer Mode ความรู้สึกเป็นอิสระจากเงื่อนไขทุกอย่าง ทุกสิ่งที่คิดมีโอกาสเป็นไปได้เสมอ นำไปสู่ความคิดที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง Opportunity Mode ความรู้สึกมั่นใจ คิดบวก และมาพร้อม can-do attitude ก่อให้เกิดการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งคิดแก้ไขข้อบกพร่องมากกว่าจะล้มเลิกทุกอย่างเมื่อผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่หวัง แน่นอนว่าคนเราจะคิดแก้ไขปัญหาได้ก็ต่อเมื่อสมองอยู่ในภาวะ Dreamer Mode และ Opportunity Mode ซึ่งนำไปสู่การสร้าง Opportunity Mindset คนที่มีชุดความคิดแบบนี้จะรู้จักพลิกแพลงวิธีการทำงานให้ผ่านไปได้ด้วยดีในสถานการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ
ช่วงนี้หลายคนน่าจะมีความเครียดและความกังวลกัน เพราะทุกอย่างในตอนนี้ดูไม่แน่นอนเสียเหลือเกิน ไม่มีใครรู้ว่า COVID-19 จะหายไปเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรเราจะได้ใช้ชีวิตกันแบบปลอดภัยไม่กลัวโรค ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่สถานที่ต่าง ๆ จะเลิกโดนสั่งปิด ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรเราถึงจะได้ทำในสิ่งที่อยากทำได้อย่างเต็มที่ซะที เหล่านี้คงทำให้หลายคนรู้สึกดาวน์ และไม่อยากทำงานกันบ้างแหละ การทำงานที่ไม่อยากทำอาจทำให้เราเกิดความขี้เกียจ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราไม่โปรดักทีฟแล้ว งานวิจัยบอกเราว่า ความขี้เกียจในระยะยาวอาจทำให้เรามีสุขภาพแย่ลง ร่ำรวยน้อยลง และมีความสุขน้อยลงด้วย แต่การออกจากงาน หรือ เปลี่ยนงานในช่วงนี้ คงเป็นเรื่องที่หลายคนรู้สึกว่า ยังไม่ปลอดภัยที่จะทำมัน เพราะอาจทำให้ถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพ ไม่สู้งาน และขัดขวางความก้าวหน้าในการทำงาน บางคนจึงเลือกที่จะเก็บมันไว้ในใจ มากกว่าที่จะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง และเผชิญหน้ากับปัญหานี้เพียงลำพังต่อไป ฟังดูเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนซัฟเฟอร์ แต่โชคดีที่มันยังมีวิธีการประคับประคองตัวเองให้ทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน เราได้นำวิธีเหล่านั้นมาแชร์กับทุกคนในบทความนี้ ลองทำตามดูแล้วดูว่ามันได้ผลมากแค่ไหน !! ตอบให้ได้ว่าทำไมเราถึงยังต้องทำงานนี้อยู่ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ควรจะมีการตั้งเป้าหมาย เพราะถ้าไม่ เราอาจรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไร้ค่าไร้ความหมาย และหมดแพสชั่นในการทำมันได้อย่างรวดเร็ว ในการทำงานที่เรารู้สึกว่าไม่อยากทำก็เช่นกัน ถ้าเราจมอยู่กับความรู้สึกที่ว่าทำไมเราถึงยังตัองทำงานนี้ต่อไป ทุกอย่างมันก็คงมีแต่จะแย่ลง เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราควรทำเป็นอย่างแรก คือ การหาให้ได้ว่าทำไมเราถึงยังต้องทำงานที่น่าเบื่อหน่ายอยู่ ? เพราะเงิน? เพราะความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน? เพราะฐานะสังคม? เมื่อเป้าหมายในการทำงานเราชัดแล้ว กำลังใจมันก็มักจะมาเอง แต่ข้อควรระวังเมื่อเราจะตั้งเป้าหมายในการทำงาน คือ
ในวงการแต่งรถ ทั่วทั้งโลกต้องรู้จักและยอมรับฝีมือของ 3 จตุรเทพจากประเทศญี่ปุ่น หนึ่งคือ Nakai-san แห่งสำนัก RWB ผู้เชี่ยวชาญด้าน air-cooled Porsche สองคือ Kato-san แห่งสำนัก LB-Performance หรือ Liberty Walk เจ้าแห่งสไตล์ Wide body และสามคือ Kei Miura-san ผู้ออกแบบ Rocket Bunny หรือ Pandem หนึ่งในสินค้าภายใต้บริษัท T.R.A. Kyoto เจ้าแห่งการผสมผสานความ Classic ให้เข้ากับทุกดีไซน์ทันสมัยจากฝั่งญี่ปุ่นและตะวันตก ในสามจตุรเทพนี้ ดูเหมือน Kei Miura จะเป็นคนที่ติสท์ พูดน้อยที่สุด ออกสื่อน้อยที่สุด เรื่องราวส่วนตัวของเค้าเป็นสิ่งที่หาได้ยากแม้กระทั่งในโลกออนไลน์ปี 2021 ติสท์กระทั่งที่มาของโลโก้ Rocket Bunny ยังไม่ค่อยจะตรงกันซะทีเดียว บ้างก็ว่ามาจากแก้วกาแฟทรงกระต่างที่เขาใช้ดื่มบ่อย ๆ บ้างก็ว่ามาจากการทำมือสัญลักษณ์ Ok เริ่มต้นจากการแต่งรถ Honda
เราเชื่อว่ามีหลายคนที่ย้อนหันกลับไปมองอดีตของตัวเอง แล้วรู้สึกเสียใจที่ละทิ้งความฝัน และเส้นทางชีวิตที่โคตรจะเป็นตัวเองไป เพื่อที่จะหันกลับมาเดินอยู่ในเส้นทางที่ปลอดภัย และใคร ๆ เขาก็ทำกันในแบบที่สังคม ผู้ใหญ่ ทุก ๆ คนรอบข้างได้สร้างมาตรฐาน ตีกรอบ รวมถึงกฎเกณฑ์ขึ้นมา และนำมันมาใช้ตัดสินคุณว่า สุดท้ายแล้ว ชีวิตคุณดีหรือไม่ดีในสายตาพวกเขา แต่ก็มีคนบางคนที่เลือกจะไม่หวั่นไหวต่อคำพูดใด ๆ เมื่อพวกเขาได้รู้ว่า เส้นทางที่พวกเขาเลือกที่จะเดินไป มันมีเส้นชัยรออยู่ถึงแม้ว่าคนอื่นจะมองไม่เห็นเหมือนพวกเขาก็ตาม ถ้าหากให้พูดตรง ๆ เราคงจะบอกว่า มันคงจะรู้สึกโคตรแย่ ถ้าเกิดมาทั้งที รู้ว่าตัวเองทำอะไรได้ดี แต่ไม่กล้าที่จะทำ เพียงเพราะสิ่ง ๆ นั้น มันแตกต่าง นอกกรอบ และดูออกจะอิสระเกินไปสำหรับใครบางคน และนั่นเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นชีวิตของผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งในวันนี้เราได้นำเอาเรื่องราวที่น่าสนใจในชีวิตของเขาที่สามารถช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับคนที่กำลังหมดไฟได้เป็นอย่างดีมาให้ได้อ่านกัน และผู้ชายคนนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็น Wataru Kato ชายชาวญี่ปุ่น และเจ้าสำนักแต่งรถชื่อดังระดับโลก “Liberty Walk” เห็น ๆ เกริ่นมาแบบนี้ อย่าเพิ่งมองว่าชีวิตจะไปมีอะไร วัน ๆ ก็แค่แต่งรถ ถ้าหากคุณคิดแบบนี้ล่ะก็ ลองอ่านดูให้จบซักรอบแล้วผู้ชายคนนี้จะสอนให้คุณรู้ว่า ความสำเร็จที่อยู่นอกกรอบ มันเป็นอย่างไร
ตอนนี้หลายประเทศเริ่มทยอยได้ฉีดวัคซีน COVID-19 กันแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ อังกฤษ หรือ รัสเซีย และในอนาคตอันใกล้คนไทยก็จะได้ฉีดวัคซีนแล้วเช่นกัน แต่พอพูดถึงเรื่องวัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้มันก็มีอยู่หลายแบรนด์ เราเลยอยากมาพูดถึงความคืบหน้าของวัคซีนแต่ละตัวว่ามันไปถึงไหนแล้ว โดยได้หยิบยก 6 แบรนด์วัคซีนที่อยู่ในความสนใจของคน ณ ตอนนี้ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงประสิทธิภาพ และมีความเข้าใจในเรื่องวัคซีนอย่างถ่องแท้ Pfizer-BioNTech วัคซีนตัวแรกที่เราอยากพูดถึงชื่อว่า ‘BNT162b2’ หรือ ‘Tozinameran‘ ซึ่งเป็นวัคซีนประเภท m-RNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์แบบใหม่ที่ใช้การส่งสารเคมีที่ชื่อว่า Messenger RNA เช้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรตีนและภูมิคุ้มกัน วัคซีนตัวนี้เป็นผลงานร่วมของสองบริษัท ได้แก่ Pfizer บริษัทด้านเภสัชกรรมสัญชาติอเมริกัน และ BioNTech บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากเยอรมัน หลังจากมีการเปิดตัววัคซีน เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาคนทั่วโลกก็ฮือฮากับมันมาก เพราะมีการเคลมว่า วัคซีนตัวนี้มีประสิทธิภาพในการหยุดยั้ง COVID-19 ได้สูงถึง 95% เลยทีเดียว (ข้อมูลจากการทดลองในเฟส 3 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการทดลองราว 4 หมื่นคน) เรียกได้ว่าเป็นวัคซีนแห่งความหวังของใครหลายคน สำหรับข้อมูลจำเพาะของวัคซีนนี้คือเหมาะกับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ต้องมีการฉีดถึง 2
ช่วงนี้คนทำงานต้อง ‘เวิร์กฟอร์มโฮม’ บ้านใครใหญ่ก็อาจทำงานได้สะดวกหน่อย แต่คนที่ทำงานอยู่ในห้องพักเล็ก ๆ อาจต้องปวดหัว และเกิดอาการไม่อยากทำงานกันบ้าง เพราะไม่รู้จะไปนั่งทำงานตรงไหน สุดท้ายก็ตัดสินใจออกไปนั่งทำงานข้างนอกอยู่ดี บทความนี้เรามีเทคนิคที่จะช่วยให้ทุกคนทำงานจากบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในพื้นที่แคบและจำกัด เริ่มตั้งแต่ วิธีการจัดบ้าน ไปจนถึง การรับมือกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการอยู่ในที่แคบ กำหนดพื้นที่ทำงานที่ชัดเจน สิ่งแรกที่เราควรทำเวลาจะต้องทำงานนอกออฟฟิศ แถมที่ทำงานยังมีพื้นที่น้อยด้วย คือ การแบ่งพื้นที่ในการทำงานที่ชัดเจน เพราะสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการทำงานของเรา เรามักจะรู้สึกอยากนอนมากขึ้นเมื่ออยู่ในห้องนอน หรือ อยากอู้มากขึ้นเมื่ออยู่ในห้องนั่งเล่น ดังนั้น การจัดสรรพื้นที่ที่ชัดเจนจึงช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้นได้ เราสามารถใข้ฉากกั้นห้อง พรม หรือ ถ้าลงทุนหน่อยก็การทาสีกำแพงใหม่ มาช่วยในการแบ่งความแตกต่างของแต่ละส่วนได้เช่นกัน แต่ที่สำคัญ เราต้องไม่ใช้งานแต่ละส่วนเกินหน้าที่ของมันด้วย เช่น ไม่ใช้ห้องนอนเป็นห้องทำงาน ไม่ใช้ห้องนั่งเล่นเป็นที่ทำงาน เพราะมันจะทำให้เราไม่รู้สึกว่าอยู่ในบรรยากาศของการทำงานจริง ๆ จัดที่นั่งให้ดี นอกจากการกำหนดพื้นที่ในการทำงานที่ชัดเจนแล้ว ที่นั่งทำงานกับท่านั่งทำงานก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าเราจัดที่นั่งไม่ดี เราก็นั่งทำงานได้แบบไม่สะดวกสบาย แถมการนั่งทำงานผิดท่าก็อาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาอีกด้วย เช่น อาการปวดหลัง ดังนั้น เลือกโต๊ะ หรือ ที่วางคอมที่เหมาะสมตามความสูงของเรา วางหน้าจอคอมหรือแล็ปท็อปให้อยู่ในระดับสายตา ถ้ามันเตี้ยเกินไปก็อาจหาหนังสือมารองด้านใต้เพื่อเพิ่มความสูง หรือ ซื้อขาตั้งแล็ปท็อปมาช่วย จัดตำแหน่งของคีย์บอร์ดและเมาส์ให้ไหล่และแขนรู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการรุกรานของ COVID-19 ทำให้เราทั้งหลายได้พบเจอกับข้อดีมากมายจากการทำงานอยู่บ้าน หรือ Work From Home แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียอีกไม่น้อยซ่อนอยู่ ยกตัวอย่างเช่นการไม่ต้องรีบเดินทางไปทำงานตั้งแต่เช้าก็ถือเป็นเรื่องดีที่ทำให้มีเวลาให้นอนต่ออีกนิด แต่เวลานอนมากขึ้นนั้นทำให้หลายคนกลับต้องประสบปัญหาการนอนหลับเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังจาก Work From Home ด้วยเหตุที่ว่าเตียงนอนดูดวิญญาณมันดันอยู่ในระยะทำการ ที่พร้อมให้พุ่งตัวไปนอนเมื่อไหร่ก็ได้ โดยที่มีคำว่า ‘Power Nap’ หรืองีบเอาแรงสักหน่อยเป็นข้ออ้าง จนทำให้งีบไปงีบมาสุดท้ายกลายเป็นว่ากลางวันก็ไม่สดชื่น แถมกลางคืนก็ไม่สามารถข่มตาหลับได้ซะอย่างนั้น จากปัญหานี้ทำให้หลายคนกลับมาตั้งคำถามกันอีกครั้งว่าจริง ๆ แล้วการงีบหลับช่วงกลางวัน มันคือการ Power Nap ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หรือเป็นตัวทำลายนาฬิกาชีวิตจนส่งผลให้เกิดปัญหานอนไม่หลับกันแน่ ซึ่งข้อสงสัยนี้ถูกไขให้กระจ่างโดย Dr. Roxanne J Prichard, Professor of Neuroscience and Psychology จาก University of St. Thomas ที่ได้เปิดเผยถึงประโยชน์ของการงีบหลับว่า “ความเหนื่อยล้าอันหนักหน่วงจนร่างกายส่งสัญญาณอาการง่วงออกมานั้น ไม่มีวิธีแก้วิธีไหนที่จะดีไปกว่าการนอนหลับให้รู้แล้วรู้รอดไป” “และสำหรับใครที่ไม่มีเวลานอนหลับมากมาย เพราะยังมีงานอีกหลายชิ้นให้ต้องเคลียร์ การงีบหลับถือเป็นทางออกที่น่าสนใจ แม้มันจะไม่ได้ประสิทธิผลเท่ากับการนอนหลับตามปกติในเวลากลางคืน แต่การหาเวลา Nap Sleep คือวิธีฟื้นฟูสมองและร่างกายให้กลับมา
เมื่อไม่มีใครรู้ว่าการระบาดของ COVID-19 จะจบลงเมื่อไหร่ หลายคนคงใช้ชีวิตแบบไม่มีความสุขกัน เพราะในสภาวะไม่ปกติแบบนี้ หลายคนต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน อยากไปเที่ยวที่ไหนก็ไปไม่ได้ แถมยังต้องระมัดระวังสิ่งรอบข้างตลอดเวลา การต้องใช้ชีวิตด้วยความอดทนและอยู่ภายใต้ความกลัวโรค จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สภาพจิตใจของเราจะแย่ลงทุกวัน ๆ แม้สถานการณ์จะบั่นทอนความสุขของเราเหลือเกิน แต่การสิ้นหวังก็ไม่ได้ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น มาลองดูวิธีรับมือกับอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤต COVID-19 ก่อน ซึ่งเราเชื่อว่า หากทุกคนทำตามแล้ว จะมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นอย่างแน่นอน เช็คข่าวให้ดีก่อนเชื่อ ยุคนี้ข่าวปลอมเยอะมาก ซึ่งบางข่าวก็เน้นไปที่การสร้างความตื่นตระหนกด้วย แถมพอเราเชื่อและนำข่าวนั้นไปบอกคนอื่นต่อ ความตื่นตระหนกมันก็จะยิ่งแพร่กระจายในวงกว้างมากขึ้นอีก เราเลยต้องเลือกเสพข่าวกันหน่อย พร้อมกับเช็คความถูกต้องของข้อมูลด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้รับข่าวจากคนในทวิตเตอร์ เราก็อาจนำข้อมูลนั้นไปเช็คกับแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เช่น สำนักข่าวใหญ่ หรือ มีเดียของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อให้เราได้รับข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด และป้องกันความแพนิคที่เกิดขึ้นจากการเชื่อข่าวปลอม รวมถึง การส่งต่อความแพนิคไปยังคนอื่นด้วย ควบคุมปริมาณการเสพข่าวของตัวเอง แม้การตื่นตัวเรื่อง COVID-19 จะเป็นเรื่องดี แต่เราไม่จำเป็นต้องเสพข่าวเรื่อง COVID-19 ตลอดเวลา เพราะพวกข้อมูลที่บอกว่าโรคระบาดแพร่เร็วแค่ไหน ? คนป่วยและตายมีจำนวนเท่าไหร่ ? สามารถเพิ่มความวิตกกังวลให้กับเราได้ การเสพข่าวประเภทนี้ตลอดเวลา จึงทำให้จิตใจเกิดภาระอย่างหนักได้เช่นกัน ดังนั้น จำกัดเวลาในการเสพข่าว และเอาเวลาที่เหลือมาทำในสิ่งที่เราชอบดีกว่า เช่น
ในชีวิตนี้มันต้องมีสักคนแหละที่เราอยู่ด้วยแล้วรู้สึกทำตัวไม่ถูก รู้สึกเหนื่อย รู้สึกอึดอัด รู้สึกกลัวเวลาอยู่กับเขา รู้สึกแย่กับตัวเอง ฯลฯ โดยสาเหตุที่เรารู้สึกแบบนั้น อาจเป็นเพราะนิสัยของเขาไม่ถูกจริตเราอย่างแรง คนที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ เราอาจเรียกเขาว่าเป็นคนท็อกซิก (Toxic Peoples) ซึ่งบางครั้งก็สามารถแยกออกจากคนปกติได้ยากเหมือนกัน เราเลยอยากมาแนะนำวิธีการมองคนท็อกซิก 10 ประเภท เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถแยกแยะคนประเภทนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น 1.The Strait Jacket ประเภทแรกที่อยากให้ทุกคนรู้จักกันไว้ คือ สเตรทแจ็คเก็ต ซึ่งเป็นประเภทของคนที่ชอบควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต เปรียบได้กับ สเตรทแจ็คเก็ต ซึ่งเป็นชุดแขนยาวที่ใช้ในการควบคุมผู้ต้องขังหัวรุนแรงและผู้ป่วยทางจิต โดยชุดนี้จะมีที่รัดมือเพื่อไม่ให้ผู้สวมใส่ขยับตัวได้สะดวก คนประเภทนี้จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้คุณเห็นด้วยกับเขา และคุณต้องเห็นด้วยกับเขาเท่านั้น จะเห็นต่างไม่ได้ การอยู่ร่วมกับคนแบบนี้สร้างความท็อกซิกให้กับเราแน่นอน เพราะทำให้เรารู้สึกไม่มีอิสระ ไม่เป็นตัวของตัวเอง 2.The Drama Magnet ประเภทต่อมาเรียกได้ว่าเป็น แม่เหล็กดึงดูดทุกดราม่า พวกเขามักจะบ่นถึงปัญหา และเรียกร้องแค่ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร คำปลอบประโลมจากคุณเท่านั้น ไม่ได้ต้องการคำแนะนำหรือแนวทางแก้ไขจากคุณ สิ่งที่พวกเขาทำตลอดเวลา คือ บ่นและบ่นอยู่เสมอ เพื่อให้คนอื่นเห็นว่าเขากำลังตกเป็นเหยื่อของปัญหา และยังทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากพอที่คนอื่นจะต้องสนใจด้วย 3.The JJ JJ ย่อมาจาก ‘Jealous-Judgmental’ หรือ