Life
MINDSET IS EVERYTHING
  • Life

    GIVE-UP-ITIS ภาวะยอมแพ้แล้วตาย ความห่อเหี่ยวใจ 5 ขั้นสู่การตายที่แพทย์ชี้ว่าเกิดขึ้นได้จริง

    By: anonymK December 27, 2018

    ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าบทความนี้ไม่ใช่การอุปมาอุปมัยอะไรทั้งนั้น แต่เป็นเรื่องจริงที่วิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาตรวจสอบทั้งสิ้น ในชีวิตนี้เรามักได้สนทนากับเพื่อนฝูงกันบ่อยว่า “การตรอมใจ” มันทำให้ตายได้จริงไหม หรือการรู้สึกยอมจำนนกับโลกใบนี้และสิ่งที่ถาโถมเข้าใส่แต่ไม่ลุกมาเอามีดกดบนผิวเนื้อมันจะทำให้เราอยู่ต่อไปได้นานแค่ไหน เมื่อในทางการแพทย์เรายังไม่อาจตายได้จนกว่าหัวใจจะหยุดเต้น สมองจะหยุดสั่งการ แต่วันนี้เราพบคำตอบแล้วว่า คุณตายจริงแน่นอนหากยอมยกธงขาวให้กับการใช้ชีวิตตามระดับขั้นตอนเหล่านี้ ซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นอาการที่เรียกว่า Give-up-itis หรือการตรอมใจตาย และจะตายภาย 3 วันหลังจากได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการยอมแพ้ต่อการมีชีวิตอยู่ Dr. John Leach จาก University of Portsmouth ได้ศึกษาปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “give-up-itis” ซึ่งใช้เรียกแทนอาการ “จิตตาย” ทางการแพทย์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงและแตกต่างจากสิ่งที่เรียกว่าฆ่าตัวตาย แถมมันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องอาการซึมเศร้าด้วยแต่เป็นการหมดอาลัย ยกธงขาวให้กับการใช้ชีวิตเสียเฉย ๆ ซึ่งสิ่งนี้มักเชื่อมโยงกับสมองส่วนหน้าของเราและเป็นเงื่อนไขให้เราตายได้จริง แพทย์สันนิษฐานความตายจาก give-up-itis ว่ามันคือสิ่งที่เปลี่ยนวงจรของ anterior cingulate cortex ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่มีส่วนต่อการคาดการณ์การตัดสินใจ การควบคุม และตอบสนองต่อความเครียด เรียกง่าย ๆ ว่าปกติเวลาที่เราเจอความผิดปกติส่วนนี้ เรามักจะข้ามผ่านมันได้เพราะว่ามีแรงกระตุ้นของความรู้สึกอยากมีชีวิตต่อไปเป็นแรงขับเคลื่อนจูงใจ แต่ถ้าคิดว่าวันนึงมันไม่มีอะไรไปรักษาแล้วเพราะไม่อยากอยู่แล้ว การเยียวยาทั้งระบบก็ไม่เกิด และมันจะยับยั้งการหลั่งสารโดพามีนซึ่งกระทบกับการทำงานของสมองและร่างกายในที่สุด Dr. Leach ได้อธิบาย 5 ขั้นของการยอมแพ้ทางใจที่จะนำเราไปสู่ความตายตามลำดับดังนี้ Social withdrawal

    อ่านต่อ
  • Life

    ใจบางต้องจ่าย ส่องเหตุผลทางจิตวิทยา “ทำไมเราอยากใช้เงินเยียวยาเวลารู้สึกแย่”

    By: anonymK December 27, 2018

    ของบางชิ้นเราซื้อไปก็ไม่รู้ว่าทำอะไร แต่พอซื้อมาแล้วมันรู้สึกดีกว่าไม่ซื้อ และแม้หลายคนจะบอกว่ามึงมันบ้าวัตถุเราก็ยังยินดีจะซื้อต่อไปมากกว่าอยู่ดี ถ้าคุณคือคนหนึ่งที่ทุ่มทุนจ่ายเงินเพื่ออะไรสักอย่างไม่สิ้นสุดโดยไม่รู้ตัวว่าทำไมถึงทำ ก่อนจะโหมซื้อของให้รางวัลตัวเองจนกระเป๋าแฟบ ลองอ่านบทความนี้อีกทีเพราะมันอาจจะทำให้คุณเข้าใจตัวเองและคนรอบข้างได้ดีขึ้นและบางทีอาจเปลี่ยนทัศนคติให้คุณเก็บเงินเพิ่มในปีนี้ได้ด้วย ผลงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Psychology เผยว่าคนใจบางหรือรู้สึกไม่มั่นคงต่อสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์และการใช้ชีวิตมักใช้วิธีซื้ออะไรบางอย่างถมหลุมความรู้สึกของตัวเอง เพราะเขาคิดว่าการซื้อวัตถุสักชิ้นมาครอบครองจะสร้างความมั่นคงทดแทนช่องว่างในใจได้ ของยิ่งเยอะ ใจยิ่งร้าวราน? ที่มาของการทดลองนี้เริ่มต้นจากความคิดตั้งต้นเรื่องการช้อปบำบัดว่ามีผลมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงทางใจของนักซื้อทั้งหลาย และความรู้สึกอยากครอบครองนี้คาดว่ามาจากความไม่มั่นคงทางใจ ซึ่งน่าจะเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวและคนรอบข้างที่ไม่ดีนัก เรียกง่าย ๆ ว่าไม่สมหวังในความรัก ไม่สามารถครอบครองความรักก็หันมาครอบครองของแทน เพราะอกหักไปของก็ยังอยู่กับเราเป็นความสัมพันธ์ที่มั่นคงถาวร หรือคนขาดความอบอุ่นในครอบครัวก็มีแนวโน้มที่จะหันมาซื้อของทดแทนความรู้สึกนั้นแทน ของที่ไม่เคยได้ในวัยเด็กกลายเป็นอะไรที่ต้องพิชิตในวันที่มีเงินซื้อ Ying Sun และเพื่อนร่วมงานจาก Beijing Key Laboratory of Experimental Psychology จึงทำการทดลองพิสูจน์สมมุติฐานนี้ โดยทำการทดลองกับคนจำนวน 237 คน ถามคำถามเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนรอบข้าง และคนรัก แล้วนำมาเปรียบเทียบกับคำถามที่ว่าด้วยสิ่งสำคัญในชีวิตที่มีตัวแปรเป็นทั้งสิ่งที่ชี้ว่าเป็นเราเป็นคนประเภทวัตถุนิยมและไม่ใช่วัตถุนิยม ตัวอย่างคำถามบางส่วนที่อยู่ในแบบทดสอบเหล่านี้ พวกเราคิดคำตอบไว้ในใจดูก่อนไปดูผลวิจัยได้ “เรารู้สึกกังวลว่าคู่รักของเราไม่แคร์เราเท่าที่เราแคร์เขา” “เรารู้สึกกังวลเวลาคู่รักเข้าใกล้” “เราชอบใช้ของหรูหรามีระดับ” “ชีวิตของเราจะดีขึ้นเมื่อได้เป็นเจ้าของบางอย่างที่เราไม่มี” เมื่อตอบคำถามเหล่านี้เสร็จผู้วิจัยจะเริ่มวัดความเป็น “วัตถุนิยม” ในตัวของผู้ทดสอบด้วยการโชว์ชุดคำบางอย่างบนจอคอมพิวเตอร์อย่างคำว่า “เงิน” “ท้องฟ้า” รวมทั้งคำที่ไร้ความหมายอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกดคำที่เขาคิดว่ามีความหมายกับชีวิตและกดเลือกคำที่คิดว่าไม่มีความหมายอะไร ผลการทดลองชี้ชัดว่าใครที่มีอ่อนไหวกับเรื่องความสัมพันธ์มักให้ความสำคัญกับสิ่งของที่เป็นวัตถุมากกว่า

    อ่านต่อ