ในวงการ Creator ของไทย ณ ปัจจุบัน เต็มไปด้วยเหล่าคนทำคอนเทนต์ทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ที่ต่างก็นำเสนอเนื้อหาในแบบของตัวเอง มีการใส่ความ Creative ลงไปในงานและเพิ่มตัวตนให้เป็นที่น่าจดจำ แต่ถ้าให้พูดถึง Creator ที่มีสไตล์การเล่าที่โดดเด่น ย่อยง่าย มีความเป็นตัวเองสูง ไม่มีใครไม่นึกถึงเธอคนนี้อย่างแน่นอน ‘Gift Lee’ Creator สายอาร์ต เจ้าของเพจ Gift Lee ที่กำลังมาแรงที่สุดในตอนนี้ บทความนี้เราจะพาไปดูมุมมองและ Inspiration ของเธอกันดีกว่า ว่าก่อนจะมาถึงจุดนี้ อะไรคือสิ่งที่ทำให้กิฟท์กลายมาเป็นกิฟท์ในวันนี้ได้ ตามไปพบกับบทสัมภาษณ์สุด Exclusive จาก UNLOCKMEN ได้เลยครับ ‘วริษฐา ลีลเศรษฐพร’ ‘กิฟท์’ ‘Gift Lee’ นี่คือ Creator คุณภาพหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในวงการมีเดีย ณ ตอนนี้ กิฟท์ ก็คือคนทำงานทั่วไปเหมือนเรา ๆ นี่แหละ มีทั้งสิ่งที่ต้องทำ เพื่อจะได้ไปทำสิ่งที่อยากทำ และในอีกด้านหนึ่ง เธอก็มีงานอดิเรกของตัวเองอย่างการวาดสีน้ำ เด็ก ‘ถาปัตย์คนนี้ใช้เวลาว่างไปกับการละเลงศิลปะ โดยมีพื้นที่เล็ก
“ดากานดา ฉันรักแกว่ะ”น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักประโยคอมตะจากปากของ ‘ไข่ย้อย’ ตัวละครจาก ‘เพื่อนสนิท’ ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกที่ส่งให้ชื่อของ ‘ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์’ ปรากฎขึ้นมาบนสารบบของนักแสดงหน้าใหม่ที่น่าจับตาของประเทศไทย และด้วยภาพยนตร์เรื่องเดียวกันนี้เอง ที่ทำให้ผู้ชายคนนี้ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากคม ชัด ลึก อวอร์ด ประจำปี 2548 แม้จะเปิดฉากอาชีพนักแสดงได้อย่างสวยงาม แต่รางวัล ชื่อเสียง คำชื่นชมที่ได้รับมาตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ซันนี่โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิง ไม่เคยทำให้ผู้ชายคนนี้ปล่อยตัวเองให้หยุดอยู่กับความสำเร็จเก่า ๆ แต่เขายังคงมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองเพื่อทำอาชีพนักแสดง ที่เขามักจะพูดอยู่เสมอว่านี่คืออาชีพที่เขารัก ได้อย่างมีคุณภาพสมบทบาทในทุกผลงาน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะผลักดันศักยภาพตัวเองให้ไปข้างหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ มีโอกาสได้รับเลือกให้มารับหน้าที่แบรนด์แอมบาสเดอร์คนใหม่ของไซโก (ประเทศไทย) ภายใต้แคมเปญ “Keep Going Forward” ไม่สิ้นสุดถ้าไม่หยุดไปต่อ ซึ่งสะท้อนตัวตนวิธีคิดของซันนี่ออกมาได้อย่างชัดเจน หลังจากที่แบรนด์แอสบาสเดอร์รุ่นพี่อย่าง ‘อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม’ ที่เคยมีผลงานร่วมกันในภาพยนตร์เรื่อง ‘ชัมบาลา’ นั้นประสบความสำเร็จอย่างมากกับแคมเปญ “Move your adventurous mind further” และ “Discover Your Planet” ของทางไซโก
ตอนนี้หลายคนอาจกำลังเป็น “Passive Employee” คือเป็นพนักงานบริษัทที่ทำงานไปวันๆ และไม่มีความทะเยอทะยานใดๆ ในหน้าที่การงาน ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้จากภาวะผู้นำในองค์กรที่ไม่ดี ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลเสียต่อเราได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ไม่มีความสุขในการทำงาน หรือ คุณภาพของงานที่ทำตกต่ำ ซึ่งเราเห็นว่าการอยู่ในสถานะของผู้นำจะช่วยทุกคนแก้ไขปัญหานี้ได้ ด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่ง UNLOCKMEN จะอธิบายต่อไป การเป็นผู้นำจะทำให้เรามีความสุขในการทำงาน คนที่พยายามเป็นผู้นำในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้เสนอไอเดียใหม่ๆ หรือ ผู้ดูแลโปรเจคใหญ่ของบริษัทหรือองค์กร แสดงให้เห็นว่ามีความทะเยอทะยาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่จะทำให้พวกเขาเติบโตและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน นอกจากนี้คนที่มีความทะเยอะทะยานจะมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่มีความทะเยอทะยานด้วย ซึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคนสองกลุ่ม ได้แก่ 1.คนที่ตั้งเป้าหมายแบบทะเยอทะยาน (ambitious goals) และ 2.คนที่ตั้งเป้าหมายแบบเซฟตัวเอง (conservative goals) และพบว่า คนที่ตั้งเป้าแบบทะเยอทะยานจะมีความสุขในระยะยาวมากกว่าคนอีกกลุ่ม งานวิจัยชิ้นนี้ทำการทดลอง 2 ครั้ง โดย ครั้งแรกจะให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเล่นเกมเลือกหุ้น (stock-picking) และการทดลองครั้งสุดท้ายจะให้ผู้เข้าร่วมการทดลองแก้ไขปริศนา (puzzles) ในการทดลองแรก ผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 134 ราย จะต้องกำหนดอัตราผลตอบแทน (target rate of
หลายคนอาจไม่ค่อยชอบสิ่งที่เรียกว่า ‘ความกลัว’ เท่าไหร่ เพราะมันทำให้เราทุกข์ และบางครั้งมันก็รบกวนชีวิตเราจนเราไม่เป็นอันทำอะไร แต่รู้ไหมว่า ความกลัวส่วนใหญ่มักไม่เกิดขึ้นจริง เป็นเพียงสิ่งที่เราคิดไปเอง และความกลัวก็มีประโยชน์ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์จากมัน ซึ่งในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้อธิบายเรื่องเหล่านี้ให้ทุกคนฟัง หลายคนอาจคุ้นเคยกับแนวคิดที่ว่า ‘ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง’ เพราะเคยดูภาพยนตร์แนวไซไฟเรื่อง ‘After Earth (2013)’ ซึ่งมีฉากหนึ่งที่ ตัวละครเอก Cypher Raige (Will Smith) ผู้บัญชาการหน่วยยูไนเต็ด เรนเจอร์ ได้สั่งสอนลูกชายของเขา Kitai Raige (Jaden Smith) ถึงเรื่องของความกลัวไว้ได้อย่างคมคายว่า “ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง ความกลัวอยู่ได้แค่ในการคิดถึงอนาคตของเราเอง มันเป็นผลผลิตของจินตนาการ ทำให้เรากลัวในสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลยในปัจจุบัน และอาจจะไม่มีวันเกิดขึ้น (Fear is not real. The only place that fear can exist is in our thoughts of the future.
ถ้าพูดถึง CEO ไฟแรงที่น่าจับตามองในขณะนี้ สปอตไลท์คงต้องส่องไปที่ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ หรือพี่แท๊ป ผู้บริหารไฟแรง แห่งบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด เจ้าของเพจ Mission to the moon ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 300,000 คน เจ้าของ Podcast ชื่อดังอย่าง Superproductive Podcast และหนังสือติดอันดับมากมายอย่าง Marketing ลิงกลับหัว, คิดจะไปดวงจันทร์ อย่าหยุดแค่ปากซอย, Superproductive และอีกหลายเล่มที่คุณต้องไปติดตาม เกริ่นมาขนาดนี้แล้ว เราคงไม่พลาดที่จะมาเจาะลึก สูตรสำเร็จในการบริหารจัดการสไตล์พี่แท๊ปกันว่า มีเคล็ดลับการบริหารจัดการอย่างไรให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านการทำงาน รวมถึงการได้ทำสิ่งที่ตนเองรักอีกด้วย วิธี Motivate ตัวเอง ให้เป็นคนที่ Superproductive ตลอดเวลา สม่ำเสมอโดยไม่ท้อไม่หมดแรง พี่แท๊ป : จริง ๆ ต้องบอกว่าก็ไม่ได้ productive ตลอดเวลาขนาดนั้น ก็มีวันที่หนืด ๆ นอนเฉย ๆ
ความเครียดอยู่คู่กับมวลมนุษยชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะในยุคที่เราต้องแข่งกันทำงาน ฟาดฟันกันทางธุรกิจ ความเครียดย่อมรุมเร้าเป็นเงาตามตัว ความเครียดในระดับที่เหมาะสมอาจหมายถึงเราได้เผชิญความท้าทาย ได้ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซน แต่ความเครียดที่พุ่งทะลุขีดก็อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพที่ตามมา หรืองานที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ การจัดการกับความเครียดให้อยู่หมัดจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรเรียนรู้และฝึกฝน ไม่ใช่เพื่อให้ชีวิตนี้ไม่มีเรื่องเครียดมากวนใจ แต่เมื่อมีปัญหาและเรื่องเครียดมาทักทายแล้วเราสามารถรับมือกับมันได้อย่างที่มนุษย์ที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คนเขาทำกัน อย่ามัวคลายเครียด แต่หาสาเหตุแล้วกำจัดต้นตอของมัน กิจกรรมผ่อนคลายความเครียดไม่ได้ผิดอะไร เราสามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นเวลาเราต้องการเพิ่มความรู้สึกรื่นรมย์ให้ชีวิต หรือเมื่อความเครียดนั้นอยู่ในระดับแค่เบี่ยงเบนความสนใจก็ดีขึ้น แต่เราไม่สามารถหาทางคลายเครียดเพื่อหนีความเครียด หรือกำจัดมันให้พ้นไปตลอดกาลได้ ดังนั้นหนทางสำคัญจึงเป็นการหาที่มาของความเครียดนั้นให้เจอ และจัดการกับมันอย่างตรงจุด การศึกษาวิจัยตลอดทศวรรษที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ที่ประสบความสำเร็จจากหลายแขนง ทั้งนักธุรกิจ ผู้นำการทหาร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กระทั่งนักกีฬามากความสามารถล้วนแต่โฟกัสไปที่การแก้ปัญหา ตั้งแต่ที่สถานการณ์เริ่มสร้างความตึงเครียดให้พวกเขา วิธีการก็คือการพยายามระบุแหล่งที่มาของความเครียดให้ได้ จากนั้นจึงจัดการกับมันอย่างตรงจุด เช่นกรณีของศัลยแพทย์ที่ต้องผ่าตัดครั้งสำคัญ นอกจากความยากของการผ่าตัดที่เป็นความท้าทายครั้งสำคัญซึ่งเลี่ยงไม่ได้แล้ว การนอนไม่พอหรือการหายใจผิดจังหวะจากความเครียดของตัวเองก็อาจทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลงไปอีก ดังนั้นทางแก้ที่พวกเขาเลือกจึงเป็นการนอนให้เพียงพอก่อนวันผ่าตัด การฝึกการหายใจเพื่อให้รับมือกับความเครียดในห้องผ่าตัดได้ดีขึ้น หรือกรณีของนักธุรกิจที่ต้องเครียดจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร เขาจะไม่เลือกเพิกเฉย แล้วรอแก้ปัญหาที่ตามมา แต่เลือกหาสาเหตุของปัญหาเหล่านั้นและรีบคลี่คลายมันก่อนที่ทุกอย่างจะลุกลาม คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก จึงไม่ได้เลือกทางที่ความเครียดเกิดขึ้นแล้วหาทางบรรเทาอารมณ์ความรู้สึกนั้นแต่พวกเขาจะพยายามหาสาเหตุของความเครียดที่พวกเขารู้สึกเป็นอันดับแรก แล้วหาทางมาจัดการกับต้นตอนั้นให้เร็วที่สุด อารมณ์เชิงลบ ไม่ได้แย่เสมอไป ถ้าใช้ให้ถูกวิธี เชื่อว่าหลายคนเคยได้รับคำแนะนำเรื่องการจัดการความเครียดที่เน้นให้เราควบคุมอารมณ์เชิงลบของตัวเอง การไม่โกรธ การไม่ผิดหวัง คำแนะนำที่อยากให้เราผ่อนคลายอารมณ์จากความเครียดอันเผาไหม้ ด้วยการให้มองโลกมุมใหม่ การพยายามหามุมมองที่เป็นบวกกว่าให้ตัวเอง วิธีเหล่านั้นได้ผลในหลาย ๆ กรณี โดยเฉพาะเมื่อเราเผชิญความเครียดจากเรื่องที่เราไม่อาจควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงมันได้อีกแล้ว
หลายคนคงเคยเจอสถานการณ์ประมาณว่า “งานจะต้องส่งพรุ่งนี้แล้ว แต่วันนี้ยังทำไม่เสร็จ และรู้สึกขี้เกียจเป็นอย่างมาก” อันเกิดจากการไม่ยอมทำงานให้เสร็จตั้งแต่เนิน ๆ แต่ได้ขยับ timeline ไปเรื่อย ๆ จนถึงหนึ่งวันก่อนส่งงาน บางคนอาจเริ่มโทษความขี้เกียจของตัวเอง ว่ามีมากเกินไปจนไม่ยอมทำงานให้เสร็จและรู้สึกกระวนกระวายกลัวจะทำงานเสร็จไม่ทัน ความขี้เกียจเป็นปัญหาหรือไม่? แล้วเราจะทำให้ตัวเอง productive ขึ้นมาได้อย่างไร? UNLOCKMEN จะไขข้อข้องใจเหล่านี้เพื่อให้ทุกคนได้ปลดล็อกศักยภาพให้เอง ความขี้เกียจเกิดจากอะไร? ว่ากันว่ามนุษย์ขี้เกียจกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดั้งเดิมจำเป็นต้องเก็บสะสมพลังงานเพื่อความอยู่รอด หลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า ร่างกายของมนุษย์ใช้พลังงานในการทำงานเยอะมาก (อย่างสมองมีน้ำหนักราว 2% ของร่างกาย แต่กินพลังงานที่ร่างกายได้รับต่อวันทั้งหมดถึง 20%) ความขี้เกียจจึงอาจเข้ามาช่วยให้มนุษย์ไม่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองเกินไปนั่นเอง แต่ต้นเหตุของความขี้เกียจก็ไม่ได้เกิดจากสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ความขี้เกียจเข้าครอบงำ ได้แก่ ความกลัว (fear) ความขี้เกียจและความกลัวดูจะมีความสัมพันธ์กัน ความขี้เกียจเปรียบเหมือนพื้นที่ปลอดภัย (comfort zone) สำหรับหนีความกลัวที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น กลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ กลัวว่าจะล้มเหลว กลัวว่าจะตอบสนองความคาดหวังของคนอื่นไม่ได้ ความกลัวในลักษณะนี้หนักหน่วง และเป็นภาระต่อร่างกาย ทำให้เกิดความเครียด เราจึงต้องขี้เกียจ และผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) เพื่อปัองกันการเผชิญหน้ากับความกลัวทั้งๆ ที่เรายังไม่พร้อม ซึ่งบางคนกว่าจะรู้สึกพร้อมก็ใช้เวลานานพอสมควร ภาวะซึมเศร้า
คราวที่แล้วเราได้แนะนำเรื่อง 5 CHECKLISTS ระบุสัญญาณว่าที่ทำงานของคุณเต็มไปด้วย TOXIC WORKPLACE ไปแล้ว และอย่างที่สัญญาว่าเราจะมานำเสนอวิธีเอาตัวรอด ถ้าเช็คแล้วพบว่าที่ทำงานของคุณมันช่างเต็มไปด้วยความ Toxic Workplace ซึ่งในสถานการณ์ที่งานเป็นสิ่งหายาก จะลาออกเพื่อหนีปัญหาก็ไม่น่าจะเป็นทางออกที่ดีนัก เลยอยากจะแนะนำเคล็ดลับที่จะทำให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขได้ แม้จะอยู่ใน toxic workplace ก็ตาม ซึ่งมีหลักง่ายๆ ดังต่อไปนี้ หลีกเลี่ยงดราม่า (avoid drama) ไม่นินทา หรือ ตัดสินคนอื่นจากคำนินทาเพียงอย่างเดียว ควรตัดสินจากข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งจากประสบการณ์ของเราเอง และ ประสบการณ์ของคนอื่น หากเป็นไปได้ มีอะไรก็ควรพูดคุยกันตรง ๆ ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน หรือ เจ้านายที่มีปัญหา เพื่อให้ปัญหานั้นได้รับการแก้ไข ไม่ถูกซุกอยู่ใต้พรม ซึ่งยิ่งมีปัญหาคาใจซุกไว้มาก ยิ่งจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมาคุเสียเปล่า ๆ ตัวบริษัทเองก็ควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ทำให้เกิดการพูดถึงปัญหาด้วย เช่น อาจจะทำเป็นช่องทางการสื่อสารแบบลับๆ ที่จะทำให้ผู้รายงานปัญหาไม่รู้สึกว่า จะถูกคุกคามในอนาคตเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ สร้างขอบเขตในการทำงานที่ชัดเจน (establish boundaries) ในบางกรณีที่อยู่ใน toxic workplace ก็ยากที่จะปฏิเสธการทำงานเกินเวลา หรือทำงานในวันที่ควรจะได้พัก จึงต้องมีการกำหนดขอบเขตในการทำงานและการใช้ชีวิตที่ชัดเจน
ตอนนี้คุณกำลังมีความสุขในการทำงานอยู่รึเปล่า ? ถ้าคุณตอบได้อย่างมั่นใจว่ามี คุณก็ข้ามบทความนี้ไปเลยก็ได้ แต่ถ้าคุณไม่มั่นใจว่ากำลังมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ เพราะเจอกับเรื่องชวนปวดหัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงานที่ช่วยอะไรไม่ค่อยได้ หรือ รู้งานหนักเกินจนแทบไมได้พัก เป็นต้น คุณอาจจะอยู่ใน toxic workplace อยู่ก็เป็นได้ เราขอแนะนำให้คุณลองอ่านบทความนี้ เพราะเราจะพาคุณไปทำความเข้าใจ และแนะนำวิธีการแก้ไข ปัญหาที่ทำงานเป็นพิษ หรือ toxic workplace เพื่อช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างสบายใจโดยไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องลาออก ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจถึงองค์ประกอบที่ทำให้เกิด toxic workplace เสียก่อน ซึ่งมันเกิดได้ทั้งจาก พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี เช่น ไม่ตั้งใจทำงาน หรือ บรรยากาศในการทำงานที่ไม่ดี เช่น มีการกลั่นแกล้ง หรือ นินทากัน รวมไปถึง ตัวงาน เช่น งานหนักเกินไปจนไม่ได้พัก ซึ่งหากมีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือ มากกว่าปัจจัยหนึ่งรวมกันแล้ว ทำให้คุณใช้ชีวิตได้ลำบาก อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังอยู่ใน toxic workplace อยู่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาจากการอยู่ใน toxic workpace มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
สำหรับทุกบริษัท การนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ปัญหาที่หลายบริษัทต้องเจอคือการที่คนในบริษัทไม่ยอมเสนอไอเดีย ไม่แสดงความคิดเห็น ร้ายที่สุด คือ พวกเขาไม่ยอมรายงานปัญหา Conflict ที่พบเจอในที่ทำงานให้ผู้ใหญ่ได้รับทราบ ปล่อยให้มันลุกลามจนเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องที่ยากจะแก้ไข ปัญหานี้ UNLOCKMEN มองว่าเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากจะพาทุกคนไปดูว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกน้องไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน และจะแก้ไขอย่างไรดี ขาดความมั่นใจที่จะแบ่งปันไอเดีย มันจะมีกรณีที่บางคนรู้สึกไม่มั่นใจเวลาที่จะแบ่งปันไอเดีย ถ้าในที่ประชุมมีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนเกินไป หรือมักจะกับคนนอกหน้าที่ที่พยายามเสนอไอเดียว่ามันไม่ใช่เรื่องของพวกเขา หรือให้สนใจแต่หน้าที่ของตัวเอง ฯลฯ พอได้ยินคำพูดแบบใส่บ่อยๆ พวกเขาก็รู้สึกว่า การแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานจะทำให้พวกเขาถูกตำหนิ ปิดปากเงียบไว้ดีกว่า ท้ายที่สุดพวกเขาก็เลยไม่เสนอไอเดียใหม่ ๆ อีกเลย Solution: ก่อนอื่นเลย คนที่เป็นหัวหน้าต้องเข้าใจก่อนว่า มันมีอะไรบ้างที่จะทำลายความมั่นใจของลูกน้องได้ (เช่น การห้าม การตำหนิ ฯลฯ) บอกกับทีมให้เปิดใจรับฟังไอเดียจากคนทุกแผนกดูบ้าง เพราะเค้าอาจจะมีไอเดียอะไรในมุมมองที่เราคาดไม่ถึง และพยายามไม่ตำหนิหรือ Kill idea ในที่ประชุม แล้วลูกน้องจะกล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานมากขึ้นเอง ไม่คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ในเวลานั้น บางบริษัทไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเรื่องไหนที่นับว่าเป็นปัญหา หรือ ปัญหาแบบไหนบ้างที่ควรรายงาน บางคนเลยไม่รู้ว่าสิ่งที่เจอเป็นปัญหาที่ควรรายงานหรือเปล่า อีกทั้งบางบริษัทเองก็ไม่ได้สนับสนุนวัฒนธรรมการรายงานในทุก ๆ
ในช่วงที่ประเทศไทยต้อง Lock Down เพื่อควบคุม Coronavirus ที่ระบาดหนักในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา น่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกสำหรับเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ เจ้าของ SME รวมไปถึงพนักงาน พ่อค้าแม่ค้า หรือแม้แต่แรงงาน ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลกที่ต้องเจอกับความท้าทายครั้งใหญ่ครั้งใหม่ บางคนปรับตัวประคับประคองมาได้ ท่ามกลางข่าวธุรกิจที่ปิดตัวไม่เว้นแต่ละวัน สำหรับประเทศไทย ต้องบอกว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าอีกหลายประเทศ เราสามารถควบคุมการระบาดของ Coronavirus ได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันการใช้ชีวิตเริ่มกลับมาเป็นเหมือนปกติ ธุรกิจกลับมารัน คนออกมาทำงาน แต่ในขณะเดียวกัน เราก็เห็นความไม่ปกติที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังมากมาย โดยเฉพาะในหมู่เจ้าของธุรกิจ ที่ต้องเจอกับรายได้ลดลงน้อยกว่ารายจ่ายอย่างต่อเนื่องแม้จะผ่านช่วงปิดเมืองไปแล้ว ต้องพยายามลดต้นทุนเพื่อรักษา Cash flow ยื้อชีวิตเอาไว้ให้นานที่สุด ความยากลำบากในการบริหารพนักงานที่สูญเสียกำลังใจ เชื่อว่าคนทำธุรกิจหลายท่านน่าจะรู้สึกเครียด คิดไม่ออกว่าจะทำยังไงต่อไปดี เราจึงสร้าง ‘THE ART OF BUSINESS’ รายการที่จะไปถามผู้บริหารตัวจริง ประสบความสำเร็จจริง เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะกับสถานการณ์แต่ละช่วง สำหรับผู้บริหารคนแรกของ THE ART OF BUSINESS เราได้ คุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แสนสิริ
ถนนทุกสายมุ่งตรงสู่ “ความสำเร็จ” เราต่างพร้อมเผชิญขาขึ้นของธุรกิจที่ปั้นมากับมือ เรายินดีอ้าแขนรับหน้าที่การงานที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักที่จะเตรียม “แผนแห่งการล้มเหลว” เอาไว้ ไม่มีใครอยากผิดพลาด ล้มเหลว แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อเราเผชิญความผิดพลาด (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่) การมีแผนแห่งการล้มเหลวรอไว้อยู่แล้ว จะช่วยให้เรารับมือ แก้ไข ไปจนถึงพลิกสถานการณ์กลับมาได้ราบรื่นกว่าการไม่เตรียมแพลนอะไรไว้เลย ลำดับขั้นของความล้มเหลว ขีดเส้นที่เราจะไม่มีวันข้ามเอาไว้ หลายครั้งที่ความล้มเหลวไม่ได้จู่ ๆ สาดเข้ามาตูมเดียวเหมือนภูเขาไฟระเบิด แต่เกิดจากการที่เราค่อย ๆ เลือกทางเดินที่ผิด แล้วตอนแรกมันก็ยังดูไม่เสียหายมากนัก เราเลยไปต่อ แต่เหมือนว่ายิ่งไปต่อ ความล้มเหลวก็คล้ายจะขมวดกลายเป็นปมที่แก้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้ตัวอีกทีธุรกิจเราก็พังเกินกว่าจะกู้คืนแล้ว ดังนั้นแผนแห่งการล้มเหลวที่เราควรเตรียมตัวเองไว้เพื่อหน้าที่การงานหรือธุรกิจของเรา คือการไล่ลำดับขั้นแห่งความล้มเหลวไว้แต่ต้น เช่น ขั้นที่หนึ่งเราเริ่มกู้หนี้ยืมสินมามากเกินกำลังจะจ่ายไหว ขั้นที่สองเราเริ่มทำทุกทางเพื่อให้ธุรกิจหรืองานเราไปรอด โดยยินดีทำลายทุกความสัมพันธ์ในชีวิต ฯลฯ การกำหนดลำดับขั้นความล้มเหลวอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่ผ่านการพิจารณาของเรามาอย่างดี เมื่อเรากำหนดไว้ ก็คิดวิธีแก้ หรือวิธีที่เราจะจัดการต่อไปถ้าเราไปถึงจุดนั้น การทำแบบนี้เราจะค่อย ๆ เห็นว่าเรากำลังเดินทางเข้าสู่ขาลง เราจะเข้าใจมากขึ้นว่าเส้นไหนที่เราข้ามไปได้ (และข้ามไปอย่างไร) หรือเส้นไหนที่เราถามตัวเองไว้แต่ต้นแล้วว่าจะไม่มีวันข้ามไปเด็ดขาด เพราะจะไม่ใช่แค่ความล้มเหลวเล็ก ๆ แต่อาจไปสู่หายนะยิ่งใหญ่ได้ สถานการณ์ที่แย่ที่สุดคืออะไร? แล้วเราจะรับมืออย่างไร? ความล้มเหลวบางรูปแบบก็อาจมาในลักษณะหนังสยองขวัญที่เราเคยดู ตัวละครอาจจะแสนซวย