การปฏิเสธงานเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเสมอ เพราะหลายคนกลัวว่าการเซย์โน หรือ การโยนงานให้คนอื่น จะทำให้ตัวเองสูญเสียความน่าเชื่อถือ หรือ ทำให้ตัวเองดูไม่ดีในสายตาของเพื่อนร่วมงาน จนการงานไม่มีความมั่นคง สุดท้ายก็เลยรับงานที่ไม่พร้อมจะทำมาสะสมไว้ จนนาน ๆ เข้า เราก็ต้องปวดหัวกับ to-do list ที่ยาวเป็นหางว่าว และประกอบไปด้วยงานที่ดูดพลังอย่างแสนสาหัส เราจึงจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้เรากำจัดงานที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิต นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรมี รายการของสิ่งที่ไม่ควรทำ (not-to-do-list) รายการของสิ่งที่เราไม่ควรทำ หรือ ควรหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด วิธีการทำ not-to-do-list สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการจัดการเวลา not-to-do-list จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยได้มาก เพราะมันเหมือนเป็นกรอบ หรือ ตัวช่วยเตือนเราถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ เราจะกำจัดงานที่ไม่มีคุณค่าได้ง่ายขึ้น สามารถโฟกัสกับงานที่สำคัญได้มากขึ้น และท้ายที่สุดเราก็จะมีเวลาในการหายใจหายคอมากขึ้น มันยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้นิสัยแย่ ๆ (เช่น การผลัดวันประกันพรุ่ง หรือ การไม่กล้าปฏิเสธงานคนอื่น) ได้อย่างอยู่หมัด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการทำ not-to-do-list ที่ทุกคนสามารถทำกันได้ง่ายแต่ให้ประโยชน์มหาศาล 1.เริ่มจากการกำหนดสิ่งที่ควรอยู่ใน not-to-do-list งานที่เราไม่ถนัด งานที่ทำให้เราไม่มีสมาธิ งานที่เราไม่จำเป็นต้องทำ งานที่เราให้คนอื่นทำแทนได้ งานที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา
ชีวิตของผู้ใหญ่มักเต็มไปด้วยความวุ่นวายอยู่เสมอ ไหนจะต้องเลี้ยงดูคนรอบข้าง ไหนจะต้องเครียดเรื่องงานและค่าใช้จ่าย ไหนจะต้องเสพข่าวร้าย ๆ จากโซเชียลมีเดีย ปัญหาชีวิตเหล่านี้อาจทำให้เราเหมือนตกอยู่ในความวุ่นวาย จนรู้สึกเหนื่อยและหมดไฟในการเรื่องต่าง ๆ ได้ในที่สุด บางคนจึงเลือกใฝ่หาความสงบ เพื่อพักผ่อนจิตใจ หรือ ทุ่มเทให้กับการคิดถึงเรื่องสำคัญ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะหาความสงบในชีวิตเจอได้ เพราะบางคนอาจทำงานยุ่งทั้งวันจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น UNLOCKMEN จึงอยากมาแนะนำวิธีการเพิ่มความโปรดักทีฟชื่อว่า ‘Monk Mode’ ซึ่งได้รับการเคลมจากหลายคนแล้วว่าช่วยชีวิตพวกเขาเอาไว้ได้มาก Monk Mode คือ อะไร Monk Mode คือ การกำหนดช่วงเวลาที่เราจะใช้ในการทุ่มเทสมาธิ และพลังงานของเราไปยังเป้าหมายที่เราต้องการทำให้สำเร็จ เช่น การกำหนดเวลาในการนั่งสมาธิเพื่อเลิกเหล้า หรือ การกำหนดเวลาในการออกกำลังกาย เพื่อให้เรามีรูปกายที่สมบูรณ์แบบ หรือ การกำหนดเวลาในการฝึกฝนทักษะเพื่อรองรับการทำงานสายใหม่ เป็นต้น Monk Mode จะไม่เหมือนกับการทำตามเป้าหมายตรงที่ว่า มันให้ความสำคัญกับการกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต และการใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยตลอดเวลาที่เราเข้าสู่ Monk Mode เราจะโฟกัสแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของเรา (เช่น การอ่านหนังสือ หรือ การออกกำลังกาย เป็นต้น) โดยไม่สนใจสิ่งรบกวนอื่น เช่น
คนทำงานประจำ 5 วันต่อสัปดาห์ มักรู้สึกฮึกเหิมในการทำงานในวันศุกร์มากกว่าวันอื่น เพราะวันถัดไป คือ เริ่มต้นวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งมักทำให้เรารู้สึกว่าทำงานอีกนิดเดียวก็จะได้พักผ่อนแล้ว!! หลายคนจึงเกิดแรงบันดาลใจอยากเคลียร์งานทั้งหมดให้จบในวันนี้กัน อย่างไรก็ตาม วันหยุดสุดสัปดาห์จริง ๆ อาจมีแค่วันเสาร์ เพราะวันอาทิตย์อยู่ใกล้กับวันจันทร์ และเป็นเหมือนสัญญาณว่าวันหยุดกำลังจบลง มันจึงทำให้เราได้พักผ่อนน้อย พร้อมกับมีอาการแย่ ๆ ที่เรียกว่า Sunday Blues หรือ ภาวะประสาทกินในวันอาทิตย์ได้เหมือนกัน หากชีวิตของใครกำลังอยู่ในวงจรนี้ อาจได้รับผลกระทบจาก Weekend Effect เสียแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย เพราะมันอาจทำให้สุขภาพจิตของคุณเสื่อมเสียเร็วกว่าปกติ จากการที่คุณรู้สึกว่าต้องอดทนทำงานไปวัน ๆ เพื่อให้มีชีวิตรอดถึงสุดสัปดาห์ เราจึงอยากมาแนะนำวิธีการเอาชนะ Weekend Effect เพื่อปลดล็อคความสุขในทุกวัน ทำไมสุดสัปดาห์ถึงเป็นเหมือนสวรรค์ของใครหลายคน แต่ก่อนอื่นเลย เราอยากทำให้ทุกคนเข้าใจสาเหตุที่ทำให้ Weekend Effect เกิดขึ้นก่อน โดยเรามีงานวิจัยเรื่องนี้ในบริบทของการทำงานมาช่วยอธิบายให้ทุกคนฟัง งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Social and Clinical Psychology (2010) ได้ติดตามชีวิตของผู้ใหญ่จำนวน 74
หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของ ‘ผู้นำ’ คือ การนำพาทีมหรือองค์กรไปสู่ความสำเร็จให้ได้ในที่สุด ซึ่งการจะไปถึงจุดนั้นต้องอาศัยหลายทักษะ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะในกำกับดูแลผู้อื่น ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจน ไปจนถึง ทักษะในการให้กำลังใจคนอื่น แต่ในองค์กรมักจะมีหัวหน้าประเภทหนึ่ง ที่เมื่อเลือนขั้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำในองค์แล้ว พวกเขากลับไม่ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเหมาะสม พวกเขาเลือกที่จะเพิกเฉยต่อทีมทำงานของตัวเอง ไม่ยอมกำกับการทำงาน หรือ ดูแลสารทุกข์สุขดิบของลูกน้องเลย เอาแต่สนใจผลประโยชน์รวมถึงอภิสิทธิ์ที่ได้รับจากตำแหน่ง เราเรียกหัวหน้าประเภทนี้ว่าเป็น absentee leader ซึ่งเป็นผู้นำประเภทที่ทำลายองค์กรได้อย่างร้ายกาจ ความร้ายกาจของ absentee leader หลายคนคิดว่า หัวหน้าที่ปล่อยให้ลูกน้องทำอะไรตามอำเภอใจ ไม่ค่อยจู้จี้จุกจิก หรือ สนใจการทำงานของลูกน้องมาก จะทำให้ลูกน้องมีความสุขมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง absentee leader อาจทำให้ลูกน้องไม่มีความสุขในการทำงานเลย เพราะพฤติกรรมต่าง ๆ ของพวกเขา (เช่น ไม่ยอมควบคุม หรือ กำกับการทำงานของลูกน้องในระดับที่น้อยมาก มักตัดสินใจล่าช้าอยู่ ไม่มี performance feedback หรือ ไม่เคยกระตุ้นให้พนักงานทำงาน เป็นต้น) สามารถทำให้ลูกน้องเจอกับปัญหากับเพื่อนร่วมงานบ่อยขึ้น เกิดความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้ง่ายขึ้น ถูกกลั่นแกล้งได้มากขึ้น และรู้สึกหมดไฟกับการทำงานได้ง่ายขึ้น เมื่อปัญหาเหล่านี้
ในชีวิตนี้เราคงผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เรามีความสุขมามากมาย เช่น ตอนที่ได้ของขวัญวันเกิด ตอนที่ได้รางวัลใหญ่ ตอนที่จีบสาวติด หรือ ตอนที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จ เหตุการณ์เหล่านั้นคงทำให้หลายคนเกิดอาการดีใจเบิกบาน ร่าเริง และมีกำลังใจในการใช้ชีวิตไปอีกหลายวัน แม้ความสุขดูจะเป็นสิ่งที่ดีจนทำให้หลายคนพยายามตามหามัน แต่วิทยาศาสตร์กลับบอกเราว่า การให้ความสำคัญกับความสุขมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อเราได้ในหลายด้านเหมือนกัน เช่น ทำให้เราเผชิญหน้ากับปัญหาได้แย่ลง ทำให้เราไม่มีความสุข ร้ายที่สุดมันอาจทำให้เราตายไวขึ้นด้วย ความสุขที่มากเกินไปอาจไม่ดีต่อหัวใจ ความสุขที่มากเกินไปอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจของเราอ่อนแรงลงได้ไม่ต่างจากคนอกหัก ทีมวิจัยจาก University Hospital Zurich พบว่า ช่วงเวลาแห่งความสุขอาจทำให้เราเกิด ภาวะใจแหลกสลาย (Takotsubo syndrome) หรือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงแบบเฉียบพลันได้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย Takotsubo syndrome จำนวน 485 ราย แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยจำนวนกว่า 96% มีเหตุการณ์เศร้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ส่วนอีก 4% มีอาการจากเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขาดีใจสุดขีด งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ความเศร้าที่เป็นภัยต่อหัวใจ แต่ความสุขก็ทำให้ชีวิตตกอยู่ในอันตรายได้เหมือนกัน ความสุขที่มากเกินไปอาจทำให้เราแก้ปัญหาได้แย่ลง แม้ความปิติยินดีจะเป็นแรงผลักดันให้เราใช้ชีวิต และทำให้เราทำอะไรหลายอย่างได้ดีขึ้น แต่ถ้าเราถูกครอบงำด้วยความสุขมากเกินไป ผลที่เกิดขึ้นอาจมีร้ายมากกว่าดี งานวิจัยเมื่อปี 2008 ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ คือ
เมื่อก่อน ‘กัญชา’ สมุนไพรแห่งความผ่อนคลายที่โลกรู้จักสรรพคุณมาอย่างนานนม มักถูกกล่าวโทษด้วยคำพูดต่าง ๆ นา ๆ อยู่เสมอ เช่น ทำให้ก่ออาชญากรรมได้ง่ายขึ้นหรือ ทำให้คนขี้เกียจและไร้เรี่ยวแรงในการทำงาน เป็นต้น ปัจจุบันเริ่มมีการพิสูจน์แล้วว่าข้อเสียของกัญชาบางข้ออาจไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป เช่น งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร SAGE Journals (2020) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการสูบกัญชาหลังเลิกงานไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานในวันรุ่งขึ้น การทดลองที่เริ่มต้นโดย Jeremy B. Bernerth และ H. Jack Walker นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยซานดิเอโกสเตท และ มหาวิทยาลัยออเบิร์น ประเทศสหรัฐฯ ต้องการศึกษาเอฟเฟคของกัญชาที่มีต่อความสามารถในการทำงานของคน (เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกต่อเพื่อนร่วมงาน หรือ ทัศนคติที่มีต่องาน เป็นต้น) โดยการสอบถามคนทำงานจากสถานที่ทำงานทั่วไปจำนวนกว่า 281 คนถึงพฤติกรรมการใช้กัญชา พร้อมให้หัวหน้าของพนักงานเหล่านั้นประเมินผลการทำงานของพวกเขา พนักงานทุกคนจะต้องรายงานเรื่องการใช้กัญชาแก่นักวิจัย (เช่น ความถี่และช่วงเวลาในการบริโภคกัญชา) ส่วนหัวหน้าจะเป็นคนประเมินผลการทำงานของพนักงานเหล่านั้นโดยใช้ 3 เกณฑ์ ได้แก่ ความสามารถในการทำงานให้สำเร็จ ทัศนคติที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน และทัศนคติที่มีต่อตัวงาน เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว สุดท้ายนักวิจัยก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า
เวลาป่วยหลายคนอาจไม่กล้าที่จะลางานด้วยหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาด้านการเงิน ภาระงานที่กองเป็นภูเขา หรือ การอยู่ในสังคมที่มองคนลาหยุดไม่ดี สุดท้ายพวกเขาก็พยายามพาตัวเองมาทำงานในสภาพที่ไม่พร้อมเต็มที่ และทำผิดพลาดได้บ่อยขึ้นในที่สุด ปัญหาเรื่องพนักงานไม่ยอมลาหยุดงาน และมาทำงานตอนป่วย หรือ บาดเจ็บ เราเรียกกันว่า ‘Presenteeism’ ซึ่งสามารถทำลาย Productivity ในการทำงานของคนได้มากถึง 1 ใน 3 แถมปัญหานี้ยังอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดด้วย มีคนทำงานชาวไทยจำนวนมากที่ไม่ยอมลาป่วย และมาทำงานในสภาพที่ไม่พร้อม ส่งผลให้พวกเขาทำงานได้ไม่เต็มที่ อ้างอิงจาก การสำรวจของบริษัทประกันซิกน่า (2018) พบว่า คนไทยราว 89% ยังคงไปทำงานแม้ตัวเองจะป่วย หรือ มีสภาพจิตใจที่ไม่พร้อม ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาลดลงเหลือเพียง 74% เท่านั้น นอกจากจะทำให้งานเสียแล้ว ปัญหานี้อาจนำไปสู่ปัญหาหนักข้ออื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องความเหนื่อยล้าของพนักงาน หรือ ปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้นอย่างการแพร่ระบาดของโรคในออฟฟิศ Presenteeism จึงเป็นปัญหาที่ส่งผลเสียต่อภาคธุรกิจอย่างมาก และคนระดับผู้นำไม่ควรมองข้ามปัญหานี้ ทำไมพนักงานถึงไม่ยอมลาป่วย ? ภาระงานที่มากเกินไป นโยบายที่กระตุ้นให้พนักงานลาหยุดน้อยลง วัฒนธรรมที่สนับสนุนการทำงานหนัก จนถึง มุมมองที่มีต่อการลาหยุดว่าเป็นเรื่องเลวร้าย ล้วนกระตุ้นให้เกิด
ผู้ชายอย่างเรามักมีภาระกองเท่าภูเขา ไหนจะภาระค่าใช้จ่าย ภาระครอบครัว หรือ ภาระเรื่องงาน ปัญหาเหล่านี้มักทำให้เราปวดหัว เกิดอาการกังวลจนทำตัวไม่ถูกกันอยู่บ่อย ๆ อยู่เหมือนกัน แต่ด้วยเทคนิค การจัดลำดับ (Scheduling) เราจะรับมือกับพวกมันได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน Scheduling คือ ทักษะในการเรียงความสำคัญของกิจกรรมที่เราต้องทำในแต่ละวัน มันจะทำให้เรารู้ว่าควรทำอะไรก่อนและควรทำอะไรหลัง และสามารถลงมือทำอย่างเป็นลำดับที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด หลายคนอาจคุ้นเคยกับมันอยู่แล้ว เช่น การทำตารางเวลา หรือ จดบันทึกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันในรูปแบบของ to-dolist แม้ Scheduling จะทำได้ง่าย และหลายคนทำเป็นอยู่แล้ว แต่มันก็มีทิปที่เราควรรู้ไว้ เพื่อให้เราทำมันได้ดีขึ้นเหมือนกัน UNLOCKMEN อยากมาแนะนำเทคนิคที่ช่วยพัฒนา Scheduling เพื่อชีวิตที่จัดการได้อย่างราบรื่นมากขึ้น กำหนดเวลาที่เราจะเริ่มคิด schedule ทุกวัน ก่อนนอนควรเป็นช่วงเวลาที่เราพร้อมสำหรับการพักผ่อน ถ้าช่วงนั้นหัวเราไม่โล่ง เต็มไปด้วยความกังวลถึงเรื่องต่าง ๆ เราจะมีปัญหาเรื่องการนอน และตื่นมาในสภาพนอนไม่พอได้ ดังนั้น เราจึงไม่ควรทำ to-dolist ก่อนนอน แต่ควรทำก่อนหน้านั้น เพื่อไม่ให้ความกังวลรบกวนการนอนของเรา เราอาจเริ่มทำมันตอนที่สมองเรายังพร้อมรับความกังวลอยู่ เช่น ช่วงก่อนเลิกงาน 10 นาที
โลกใบนี้มีความกังวลสารพัดรูปแบบ บางความรู้สึกสามารถคลี่คลายได้ด้วยการจัดการอย่างเป็นระบบ แต่บางความรู้สึกพัฒนาจนเป็นภาวะเรื้อรังที่อาจส่งผลกระทบกับชีวิต หรือนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ตามมาได้ ในขณะที่โลกมีคนหลงตัวเอง มีคนที่คิดว่าทำดีเท่าไรก็ยังไม่พอ บนโลกใบนี้ก็มีคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว หรือให้ทำอะไรก็ทำได้ไปหมด ดูไม่ติดขัดอะไร แต่ลึก ๆ แล้วพวกเขากลับรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้เก่งจริง ๆ แค่ฟลุคทำได้เฉย ๆ ดังนั้นจึงรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความสำเร็จหรือคำชื่นชมที่ได้รับมาเลย ภาวะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Imposter Syndrome แม้จะไม่ได้ถูกจัดเป็นอาการป่วย แต่การลดทอนคุณค่าและความสามารถของตัวเองก็บั่นทอนสุขภาพจิตจนทำให้เสียการเสียงานหรือป่วยได้เช่นกัน ดังนั้นอย่ามัวปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำ มาเอาชนะมันไปด้วยกัน “จดบันทึกความสำเร็จ” เพราะทุกชัยชนะ ควรค่าแก่การจดจำ ในสังคมที่สอนให้เราเอาแต่ถ่อมตัว บางครั้งเราก็ถ่อมตัวตามมารยาท แต่หลายครั้งก็เป็นปฏิกิริยาตอบกลับเหมือนถูกฝังอยู่ในสมอง เวลาใครชมว่าเก่งแล้วต้อง “ไม่หรอกครับ” “ผมไม่เก่งเลย” อยู่ตลอด จนหลายครั้งตัวเราเองก็อาจเชื่อไปด้วยจริง ๆ ว่าเราไม่เก่ง เราอาจแค่โชคดี อาจมีคนช่วย วิธีการหนึ่งที่จะทำให้เรายอมรับความสำเร็จของตัวเรามากขึ้น คือการจดบันทึกความสำเร็จลงไป โดยความสำเร็จที่ว่าไมจำเป็นต้องรอให้เป็นความสำเร็จใหญ่ ๆ หรือแค่เรื่องหน้าที่การงานเท่านั้น ทุกความสำเร็จล้วนมีความหมาย การจดบันทึกทำให้เราเห็นความสามารถและชัยชนะของเราแต่ละวัน ฝึกให้เราเคารพศักยภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้นถ้าสามารถจดเป็นสถิติเป็นตัวเลขได้ ก็จะยิ่งทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราชมตัวเองลอย ๆ แต่เราทำงานนั้น ๆ แบบมีมาตรฐานจริง
Mindset ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเวลาทำงาน เพราะคนที่มีมายเซทเติบโต หรือ Growth Mindset มักจะแก้ไขปัญหาในชีวิตหรือการทำงานได้ดีกว่าคนอื่นเสมอ แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้เรียนเรื่องนี้กันมากเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากประสบการณ์และการขวนขวายด้วยตัวเองมากกว่า UNLOCKMEN จึงอยากแนะนำวิธีการพัฒนา growth mindset เพื่อให้เรากลายเป็นคนที่แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น และมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นตามมา Growth Mindset คืออะไร? Growth Mindset เป็นคำที่ Carol Dweck ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเจ้าของหนังสือ Mindset ใช้อธิบายประเภทของคนที่เชื่อว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับเวลาและความพยายาม พวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองสามารถพัฒนาได้ หากทุ่มเทเวลา ความพยายาม และพลังงานให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง หากมีความวิริยะอุตสาหะ พวกเขาจะไม่ย่อท้อต่อุปสรรค ความท้าทาย และคำวิจารณ์โดยง่าย และมองหาแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของคนอื่นเพื่อเอามาปรับใช้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ คำว่ายอมแพ้ จะไม่มีอยู่ในหัวของคนที่ Mindset ดี คนกลุ่มนี้จะแตกต่างจากคนที่มี Fixed Mindset ซึ่งเชื่อว่า ตัวเองจะดีหรือแย่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติแต่กำเนิด พวกเขาจะไม่เผชิญหน้ากับความท้าทาย ไม่พยายามฝึกฝนเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง หลีกเลี่ยงคำวิจารณ์ และยอมแพ้ต่ออุปสรรค์อย่างง่ายดาย มี Growth Mindset แล้วดีอย่างไร ? งานวิจัยเมื่อปี
หลายคนน่าจะเคยดูหนังชีวิตของนักรบสปาตันอันน่าเกรงขาม ความแข็งแกร่ง ความมีระเบียบวินัยของพวกเขาในช่วงยุคกรีก แม้ปัจจุบันนักรบ Spartan จะกลายเป็นตำนานไปแล้ว แต่วิถีชีวิตและแนวคิดของพวกเขา ก็ยังมีแง่มุมที่สามารถนำมาปรับใช้กับผู้ชายในยุคปัจจุบันได้อยู่เหมือนกัน ในบทความนี้เรามีวิธีการนำ Spartan Mindset การปลดล็อกเลือดนักรบที่พร้อมปะทะทุกปัญหาและความท้าทายอย่างลูกผู้ชาย มาใช้ในการพัฒนาตัวเอง เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตและหน้าที่การงานในยุคที่แสนจะยากเย็น ฝึกฝนทักษะเพียงหนึ่งจนเชี่ยวชาญ สมัยนี้เราเห็นกลุ่มคนที่เป็น ‘เป็ด’ มากขึ้น เป็ดคือการสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง แต่อาจจะไม่เก่งสักอย่าง หรือ เก่งแบบไม่สุดสักด้าน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร หลายคนก็ประสบความสำเร็จได้แม้จะเก่งแบบเป็ดก็ตาม ในยุคกรีก เราอาจไม่เห็นคนกลุ่มนี้มากนัก เพราะชาวสปาตันมักจะฝึกฝนทักษะการทำงานหลักของตัวเองจนเกิดความเชี่ยวชาญสูงสุด แม้ว่าคนที่มีอาชีพอื่น เช่น กวี นักดนตรี พ่อค้า หรือ นักปรัชญา จะต้องฝึกต่อสู้เพื่อป้องกันเมืองในยามฉุกเฉิน แต่ก็เทียบไม่ได้กับเหล่านักรบสปาตันที่ทุ่มเทให้กับการฝึกฝนทักษะการต่อสู้อย่างหนักเพียงอย่างเดียวเป็นเวลาหลายสิบปี การทำสงครามกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือดของพวกเขา และเป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีที่สุด นักรบสปาตันจึงมีประสบการณ์การทำสงครามมากกว่าใคร นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรพัฒนาทักษะในการทำงานและการใช้ชีวิตไปทีละอย่าง ฝึกสกิลทีละด้านอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่ลองสัมผัสเพียงผิว ๆ แล้วก็เปลี่ยนทางโดยยังไม่เข้าถึงแก่นกลางของสกิลใด ๆ เลย สุดท้ายก็เสียเวลาผ่านไปเปล่า ๆ อย่างไร้ประโยชน์ เราควรจะพัฒนาสกิลด้านใดด้านหนึ่งจนถึงที่สุดก่อน ทักษะด้านนั้นจึงจะกลายเป็นความโดดเด่นที่เรามีเหนือกว่าใคร ซึ่งจะทำให้เราได้เปรียบและเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมากขึ้นอีกด้วย ควบคุมอารมณ์ให้เป็น การอุทิศตัวเองให้กับวิถีแห่งนักรบ
ต้องมีสักครั้งในชีวิต ที่เราตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตแล้วรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในภวังค์ให้ความรู้สึกที่เหมือนกับกำลังอยู่ในฝัน บางครั้งความรู้สึกนี้ก็ทำให้เราสับสนว่า “กำลังตื่น หรือ หลับอยู่กันแน่นะ” ซึ่งอาการนี้ ทางการแพทย์ เรียกว่า ความจริงวิปลาส และถ้าประสบกับมันบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคจิตเวชได้ ความจริงวิปลาสคืออะไร ปกติแล้ว ภาวะความจริงวิปลาส (Derealization) นับเป็นหนึ่งในอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative Disorders) เช่นเดียวกับบ ภาวะบุคลิกภาพแตกแยก (Depersonalization) ทำให้บางครั้งสองอาการนี้ก็ถูกใช้แทนกันด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอาการไม่ได้มีความเหมือนกันซะทีเดียว แต่มีความแตกต่างกันอยู่ดังต่อไปนี้ Derealization จะเป็นอาการที่เรารู้สึกขาดการเชื่อมต่อกับความเป็นจริงหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว จนเกิดอาการเช่น สิ่งที่อยู่รอบตัวดูเชื่องช้า หรือ ทุกอย่างดูพร่ามัวไปหมด เราจะรู้สึกเหมือนสิ่งที่อยู่รอบตัวไม่มีอยู่จริง เหมือนกำลังอยู่ในโลกจำลอง หรือ โลกแห่งความฝัน ไม่สามารถประมวลผลหรือทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวของเราได้ จนเราเกิดความไม่คุ้นเคยกับสถานที่เราอยู่ และเกิดความสับสันระหว่างโลกแห่งความฝันและความเป็นจริง ส่วน Depersonalization คือ ภาวะที่เรารู้สึกตัดขาดจากร่างกาย อารมณ์ และความคิดของตัวเอง คนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนเป็นภาชนะว่างเปล่า เป็นเพียงผู้ชมร่างกายตัวเอง หรือ เป็นหุ่นยนต์ที่คอยรับคำสั่งจากคนอื่น ไม่สามารถบังคับร่างกายของตัวเองได้อีกต่อไป แม้พวกเขาจะขยับแขนขยับขา หรือ รู้สึกถึงอารมณ์ของตัวเองได้ก็ตาม