การแบ่งเวลาไม่ดีสามารถส่งผลเสียให้เราได้หลายอย่าง เช่น ทำให้เราทำงานได้น้อยลง ช้าลง หรือ ใช้เวลาในการทำงานมากจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น เป็นต้น ดังนั้น ในยุคที่เรามีอะไรต้องทำอะไรหลายอย่าง จึงต้องมี Work life-balance และทักษะการบริหารเวลาที่ดีมีความสำคัญต่อชีวิตเรา ในบทความนี้ UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำเทคนิคการบริหารเวลาแบบหนึ่งชื่อว่า Time blocking ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้มีชื่อเสียงในระดับโลกใช้กัน เช่น Elon Musk เพื่อให้ทุกคนสามารถบริหารเวลาของตัวเองได้ดีขึ้น และมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นตามมา Time Blocking คือ อะไร? Time blocking คือ เทคนิคการบริหารเวลาโดยการแบ่งวันในแต่ละสัปดาห์ออกเป็นส่วนย่อยๆ หรือ บล็อก สำหรับการทำงานที่เฉพาะเจาะจง มันเป็นเทคนิคที่มีความเก่าแก่พอๆ กับหลักฐานการใช้งานปฎิทินในยุคทองแดง (Bronze Age) ซึ่งในยุคนั้นมีการใช้ปฏิทินเพื่อกะเวลาในการทำเกษตรกรรม ไม่มีใครทราบว่า ผู้คิดค้น Time blocking คือใคร แต่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า คนแรกๆ ที่ใช้วิธีการนี้ในการบริหารเวลาชีวิต คือ Benjamin Franklin โดยเขาได้มีการแบ่งกิจกรรมต่างๆ ที่เขาจะทำในแต่ละชั่วโมงของวัน Time blocking จะเป็นวิธีการที่ให้ความสำคัญกับการทำอะไรทีละอย่าง
ในสังคมของเราเต็มไปด้วยผู้คนที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยม ความเชื่อ วิถีชีวิต ฯลฯ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้เห็นได้อย่างชัดเจนในกลุ่มคนที่มีช่วงวัย หรือ generation ที่ต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกวันนี้เราจะเห็นคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันทะเลาะกัน เพราะมีความเห็นไม่ตรงกันบ่อยๆ ความแตกต่างของคนต่าง Generation กัน มักทำให้คนในสังคมเดียวกันไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความขัดแย้ง และการทะเลาะเบาะแว้ง มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปจนมีการนิยามคำว่า The generation gap ขึ้นมาอธิบายมันเลยทีเดียว ในบทความ UNLOCKMEN เลยอยากพูดถึงวิธีการทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับคนต่าง Generation เพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ลดการทะเลาะเบาะแว้ง และรับมือกับคนที่แตกต่างจากเราได้ดียิ่งขึ้น ทำไมคนต่างวัยกันถึงได้เหมือนอยู่กันคนละโลก ? ถ้าใครกำลังหนักใจและสงสัยว่าทำไมพ่อแม่ของเราคิดไม่เหมือนเรา? และไม่รู้จะแก้ไขยังไงดี เราอยากแนะนำว่า อย่าเพิ่งคิดหนีออกจากบ้าน หรือถ้ามีปัญหานี้กับหัวหน้าในที่ทำงาน ก็อย่าเพิ่งคิดจะเปลี่ยนงาน เพราะเราเชื่อว่าโอกาสที่เราจะเจอกับปัญหาแบบเดิมน่าจะยังมีสูงอยู่ ตราบใดที่เรายังต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคมอยู่ดี เราจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจปรากฎการณ์นี้และรับมือกับมันให้ได้อย่างถูกต้องมากกว่า คำว่าช่องว่างระหว่างยุคสมัย หรือ The generation gap เป็นคำที่นักสังคมวิทยาใช้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างคนยุคหนึ่งกับคนอีกยุคหนึ่ง เช่น พ่อแม่ กับ ลูก ในเรื่องของความเชื่อ แนวคิดทางการเมือง รวมถึง
เราควรตัดสินใจด้วยอารมณ์ไหม? . . คำถามนี้หลายคนพยายามหาคำตอบกันมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบัน เริ่มมีคำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นว่า การตัดสินใจด้วยเหตุผลอย่างเดียวอาจไม่เวิร์ก… ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น UNLOCKMEN จะอธิบายให้ฟัง ความเป็นเหตุผลเป็นผลทำให้เราสามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อยู่บนฐานของความเป็นจริงมากที่สุด เช่น หลักฐานหรือข้อมูล หลายคนจึงพยายามข่มอารมณ์ เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อย่างที่คิดว่าควรจะเป็น แต่ที่จริงอารมณ์ก็ช่วยให้ความสามารถในการตัดสินใจของเราเพิ่มขึ้นได้เหมือนกันนะ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ความสุข (ช่วยให้เราเห็นตัวเลือกในการตัดสินใจที่มากขึ้น และทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น) หรือความกลัว (ทำให้เราตัดสินใจได้อย่างระมัดระวังมากขึ้น) นอกจากนี้ อารมณ์ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้เฝ้าระวังความผิดปกติด้วย ซึ่งจะทำให้เรารับรู้ปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างสถานการณ์หนึ่ง เป็นการนำเสนอโปรเจกต์ของคนอื่นที่เราต้องนำไปต่อยอด และเราในฐานะผู้ชี้เป็นชี้ตายโปรเจคนั้น ขณะฟังและคิดตาม อยู่ ๆ ก็รู้สึกอึดอัดแบบไม่ทราบสาเหตุ นั่นคืออารมณ์กำลังเตือนเราว่ากำลังมีสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น และเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหาที่มาและวิธีการแก้ไข อาจเริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น เรามีอคติกับคนพูดหรือเปล่า? หรือ การบรรยายโปรเจกต์นั้นมีข้อผิดพลาดอะไรรึเปล่า? เมื่อเราเข้าใจ เราก็จะตัดสินใจเกี่ยวกับโปรเจกต์นั้นได้อย่างถี่ถ้วนมากขึ้น เช่น ถ้าเรารู้ว่าตัวเองมีอคติกับคนพูด เราก็อาจจะถามความเห็นจากคนอื่นเกี่ยวกับโปรเจ็กต์นั้นมากขึ้น หรือ ถ้ารู้ว่าโปรเจ็กต์นั้นมีข้อผิดพลาด ก็อาจจะยังไม่ลงมือทำ แต่พยายามคิดหาทางแก้ไข หรือ
“เดดไลน์” คำนี้เป็นได้ทั้งแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ และเป็นมวลอารมณ์แห่งความสยองพองขนสำหรับใครหลายคน ตอนยังไม่ใกล้กำหนดส่งความชิลทั้งหลายจะเกาะกุมหัวใจของเรา บางทีก็ปัด ๆ การทำงานไว้ก่อนบ้าง และบางหนก็เพราะว่ายังไม่ใกล้เดดไลน์ไอเดียอะไร ๆ ก็ยังไม่พุ่งกระฉูด แต่เมื่อเดดไลน์คลืบคลานเข้ามา จนถึงขั้นไล่ล่า แม้ทางหนึ่งไอเดียจะพรั่งพรูทะลักล้น แต่อีกทางหนึ่งความเครียดก็สับขารัวตามมาติด ๆ ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ต้องตื่นตระหนกไปความเครียดจากเดดไลน์นั้นไม่ใช่สิ่งที่เรารู้สึกอยู่เพียงลำพัง แต่จากผลสำรวจผู้คนวัยทำงานพบว่า 38% ล้วนต้องเผชิญกับความเครียดอันเนื่องมาจากการปั่นงานให้ทันกำหนดส่งกันแทบทั้งนั้น แล้วเราพอจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้าง? การบอกให้ “ก็ทำงานให้เสร็จก่อนกำหนดนาน ๆ สิ” ดูเหมือนจะเป็นคำแนะนำง่าย ๆ ที่ใครก็แนะนำได้ แต่จะให้ทำจริงนั้นยากแสนยาก (ก็เพราะไอเดียดี ๆ มันมาตอนใกล้จะส่งงานไง!) ดังนั้น UNLOCKMEN ภูมิใจนำเสนอวิธีรับมือกับความเครียดจากเดดไลน์แบบอยู่หมัด ปั่นงานส่งครั้งหน้าอย่างน้อยถ้าจิตใจยังไหว จะอะไรก็สู้! อย่าประมาทความคาดหวัง ยังไม่ลงมือทำก็ได้ แต่ต้องเข้าใจตัวเองให้ดี ความเครียดว่าจะทำงานเสร็จทันหรือไม่ (อาจเพราะลงมือทำช้า) เป็นเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักเครียดเมื่อเดดไลน์ใกล้เข้ามา คือการที่เราค้นพบว่าสิ่งที่โปรเจกต์นี้ต้องการจากเรามันช่างมากล้น มากล้นจนไม่ใช่แค่เวลาก็ไม่พอ แต่ศักยภาพเราไปไม่ถึงงานนี้ การสำรวจความคาดหวังของเราต่องานหนึ่ง ๆ ที่รับมาแต่แรกจึงสำคัญมาก เราไม่ได้กำลังแนะนำให้คุณต้องรีบลงมือทำงานเพื่อให้ทันเดดไลน์ แต่เรากำลังบอกคุณว่าตั้งแต่ตอนรับงานเราต้องชัดเจนแต่แรกว่าเราคาดหวังอะไรจากงานนี้? เราต้องชัดเจนกับตัวเอง เพื่อที่ถ้ารู้แต่ต้นว่างานนี้มันเกินศักยภาพของเรา เราจะได้ปฏิเสธ
หลายคนอาจไม่ค่อยชอบสิ่งที่เรียกว่า ‘ความกลัว’ เท่าไหร่ เพราะมันทำให้เราทุกข์ และบางครั้งมันก็รบกวนชีวิตเราจนเราไม่เป็นอันทำอะไร แต่รู้ไหมว่า ความกลัวส่วนใหญ่มักไม่เกิดขึ้นจริง เป็นเพียงสิ่งที่เราคิดไปเอง และความกลัวก็มีประโยชน์ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์จากมัน ซึ่งในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้อธิบายเรื่องเหล่านี้ให้ทุกคนฟัง หลายคนอาจคุ้นเคยกับแนวคิดที่ว่า ‘ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง’ เพราะเคยดูภาพยนตร์แนวไซไฟเรื่อง ‘After Earth (2013)’ ซึ่งมีฉากหนึ่งที่ ตัวละครเอก Cypher Raige (Will Smith) ผู้บัญชาการหน่วยยูไนเต็ด เรนเจอร์ ได้สั่งสอนลูกชายของเขา Kitai Raige (Jaden Smith) ถึงเรื่องของความกลัวไว้ได้อย่างคมคายว่า “ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง ความกลัวอยู่ได้แค่ในการคิดถึงอนาคตของเราเอง มันเป็นผลผลิตของจินตนาการ ทำให้เรากลัวในสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลยในปัจจุบัน และอาจจะไม่มีวันเกิดขึ้น (Fear is not real. The only place that fear can exist is in our thoughts of the future.
หลายคนคงเคยมีช่วงเวลาที่เรียกตัวเองว่าเป็น ไอ้ขี้แพ้ (Losers) อยู่บ้าง บางคนอาจจะเรียกตัวเองแบบนั้นเพียงชั่วคราว เพราะเจอกับความล้มเหลวมา แต่พอเวลาผ่านไปสักพักก็อาจลืมมันไป แต่สำหรับบางคนอาจเจอกับปัญหาที่ซับซ้อนกว่านั้น จนอาจตัดสินไปแล้วว่าตัวเองเป็นไอ้ขี้แพ้ตัวจริง และไม่มีวันที่จะเป็นผู้ชนะได้ (winners) หรือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ซึ่งในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากอธิบายให้ฟังทุกคนเข้าใจว่า ไอ้ขี้แพ้ อาจเป็นสิ่งที่เราสร้างกันขึ้นมาเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงกันได้ ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจความหมายของคำว่า ‘ไอ้ขี้แพ้’ (Losers) ตรงกันก่อน ในบทความนี้เราหมายถึง “คนที่อยากเป็นเหมือนกับคนอื่นที่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่ยอมลงมือทำอะไรเพื่อให้ตัวเองไปอยู่ในจุดเดียวกับคนเหล่านั้น อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีพรสวรรค์ หรือความสามารถเหมือนคนอื่น (แต่ก็ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง) กล่าวโทษเรื่องนั้น เรื่องนี้ว่าเป็นอุปสรรค์ (แต่ก็ไม่ยอมลงมือแก้ไข)” ซึ่งที่มาของ losers เราเชื่อว่า ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับนิสัยขี้แพ้ แต่พวกเขาล้วนเคยผ่านประสบการณ์แย่ๆ มาก่อน เช่น เคยถูกผู้ที่มีอำนาจ (เช่น ครู หรือผู้ปกครอง) คุกคาม เคยถูกกลั่นแกล้งในวัยเด็ก เคยอกหักจากคนรัก หรืออาจเคยพยายามทำงานที่ยิ่งใหญ่ให้ประสบความสำเร็จ แต่สุดท้ายต่อให้พยายามยังไงก็ล้มเหลวอยู่ดี เหตุการณ์นี้จึงกลายเป็นปมในใจของเขา และทำให้เขาสูญเสียความทะเยอทะยานในการทำสิ่งต่างๆ ไป เป็นต้น ประสบการณ์แย่ ๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมให้พวกเขากลายเป็นไอ้ขี้แพ้
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราเห็นคนยากคนจน หรือคนป่วยหนักจนใช้ชีวิตลำบากแล้วรู้สึกสงสาร พร้อมจะควักเงินในกระเป๋ามอบให้เพื่อช่วยเหลือทันที หรือเห็นคอมเม้นด้านลบในโพส Facebook ของเพื่อนเราแล้วอยากช่วยปกป้อง พฤติกรรมเหล่านี้คือการช่วยเหลือคนอื่น หรือ Altruism ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งวันนี้ UNLOCKMEN จะอธิบายให้ฟังว่า Altruism คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และจะพัฒนาให้ช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจนไม่เดือนร้อนตัวเองได้อย่างไร? Altruism คือ ลักษณะของมนุษย์ที่ใส่ใขความอยู่เย็นเป็นสุข และทำในสิ่งที่ช่วยเหลือผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น อาจจะยอมสละชีวิตเพื่อปกป้องคนอื่น หรือ บริจาคเงินช่วยเหลือให้มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น โดย altruism มักจะมาพร้อมกับลักษณะของมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง คือ ความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ที่เกิดควบคู่กัน ในสถานการณ์ที่เราพบกับคนที่ตกอยู่ในสถานการณที่ยากลำบาก เราเกิดความเข้าอกเข้าใจเขา พร้อมความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ส่วนเหตุผลที่ทำให้เราเป็นคนที่มี altruism นั่นมีหลากหลาย โดย นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ยกทฤษฎี และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น – เหตุผลทางชีววิทยา (biological reasons) ตามที่หลักทฤษฏีวิวัฒนาการว่าด้วยการคัดเลือกโดยญาติ (Kin Selection) ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์มักช่วยเหลือคนที่มีสายเลือดเดียวกันมากกว่าคนอื่น เพราะมีความต้องการที่จะส่งต่อพันธุกรรมของเผ่าพันธ์ุตัวเองไปยังคนรุ่นถัดไป ดังนั้น
หลายคนคงเคยหรือกำลังรู้สึกกังวลกับอาการ ‘คิดมาก’ ของตัวเอง เพราะมันช่างรบกวนชีวิตของเราเหลือเกิน เวลาทำงานก็ไม่ค่อยมีสมาธิ เพราะเอาแต่คิดเรื่องอื่น เวลาจะนอนก็นอนไม่หลับ เพราะสมองยังไม่หยุดคิดสักที UNLOCKMEN เห็นว่าอาการคิดมากเป็นปัญหาใหญ่ของหลายคน และอยากให้ทุกคนก้าวข้ามมันไปได้ จึงอยากเล่าให้ฟังว่า ต้นเหตุของการคิดมากเกิดมาจากอะไร และเราจะแก้ไขมันอย่างไรได้บ้าง ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามของคำว่า คิดมาก (Overthinking) ก่อน มันหมายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่หมกหมุ่นกับการคิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งปกติอาการคิดมากจะจำแนกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบแรกคือ “ครุ่นคิด (rumination)” ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตซ้ำไปซ้ำมา และ แบบที่สอง “คือความกังวลอย่างหนักต่อเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” บางคนอาจจะเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางคนอาจจะเป็นทั้งสองแบบ โดยสาเหตุหลักของการคิดมากเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การขาดความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง(self-doubt), ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง (self-esteem), เคยเจอกับเรื่องร้ายๆ ในอดีต และกลัวว่าจะทำผิดซ้ำซากอีกครั้ง รวมไปถึง นิสัยชอบวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ ด้วย ความสามารถในการคิด (thinking) เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มนุษย์โดดเด่นกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มันทำให้มนุษย์สามารถประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และทำการตัดสินใจได้เหมาะกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาการคิดมากจะได้รับผลกระทบจากการคิดมากกว่าคนทั่วไป เพราะพวกเขามักจะจมอยู่กับปัญหามากกว่าคิดหาทางออกให้กับปัญหานั้น (problem-solving)
หันมองคนรอบตัวเราตอนนี้ ถ้ามีใครสักคนที่งานยังรุ่ง การเงินยังพุ่งแรง ธุรกิจยังทะยานไปข้างหน้าได้แบบไม่ตก คงต้องคารวะอย่างสุดจิตสุดใจ แต่ข้อเท็จจริงคือคนเหล่านั้นไม่ใช่คนส่วนใหญ่ สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง ส่งผลต่อสภาพธุรกิจที่ไม่แข็งแรง จนหลายองค์กรต้องปรับตัวขนานใหญ่ (และปรับอยู่บ่อย ๆ เพื่อตามสถานการณ์ให้ทัน) สภาวะคับขันแบบนี้องค์กรจึงยิ่งต้องการคนทำงานที่ประสิทธิภาพมากพอที่จะพาองค์กรเติบโตหรือยังไปต่อได้ ดังนั้นใครที่ยังมีงานประจำ ยิ่งต้องกอดงานตัวเองไว้ให้แน่น เพราะการปรับเปลี่ยนพนักงาน ปรับโครงสร้างก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่องค์กรเลือกปรับ ถ้าคนทำงานไม่ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ขององค์กรได้ คำถามก็คือในสภาวะที่ไม่มั่นคงแบบนี้ เราจะรักษามาตรฐานอย่างไรถึงจะเป็นคนทำงานที่องค์กรต้องการตัวเราอยู่เสมอให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เราทำงานอยู่ หรือเผื่อต้องหางานใหม่ในอนาคต? มาตรฐานสูงเข้าไว้ (และอย่าให้มาตรฐานตก!) สิ่งที่ต้องจำให้แม่นมั่นในสถานการณ์อันยากลำบากแบบนี้คือเราต้องเป็นคนที่ดีที่สุด ต้องเป็นคนที่มีมาตรฐานที่สูงที่สุดในพื้นที่การทำงานของเรา หมั่นรักษาทักษะและศักยภาพที่มีให้สดใหม่และรักษาความแข็งแกร่งเดิมไว้ให้ได้ เพราะในขณะที่ตลาดงานหดตัวลง (คนต้องการทำงานเยอะ องค์กรมีอัตราการจ้างต่ำ) นายจ้างยิ่งมีทางเลือกมากขึ้นดังนั้นองค์กรมักเลือกคนที่ดีที่สุดมากกว่าเลือกคนที่ทำงานไปวัน ๆ อย่างไรก็ตามคำว่า “มาตรฐานสูง” ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราเป็นระดับจูเนียร์แล้วจะข้ามไปซีเนียร์ ไปทำงานบริหาร แต่หมายความว่าเราต้องทำดีที่สุดในพื้นที่ของเรา ( เช่น ถ้าพูดถึงตำแหน่งนี้ของจูเนียร์ เราต้องเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ผู้บริหารพูดถึง) ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในระดับไหนของตำแหน่งที่เราทำ เป็นระดับปฏิบัติการ เป็นระดับบริหาร เป็นะดับอาวุโส ฯลฯ เราต้องรักษามาตรฐานให้สูงที่สุดในพื้นที่ของเรา ด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอ พัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่สำคัญต่องานที่เราทำอยู่
ถ้าพูดถึง CEO ไฟแรงที่น่าจับตามองในขณะนี้ สปอตไลท์คงต้องส่องไปที่ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ หรือพี่แท๊ป ผู้บริหารไฟแรง แห่งบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด เจ้าของเพจ Mission to the moon ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 300,000 คน เจ้าของ Podcast ชื่อดังอย่าง Superproductive Podcast และหนังสือติดอันดับมากมายอย่าง Marketing ลิงกลับหัว, คิดจะไปดวงจันทร์ อย่าหยุดแค่ปากซอย, Superproductive และอีกหลายเล่มที่คุณต้องไปติดตาม เกริ่นมาขนาดนี้แล้ว เราคงไม่พลาดที่จะมาเจาะลึก สูตรสำเร็จในการบริหารจัดการสไตล์พี่แท๊ปกันว่า มีเคล็ดลับการบริหารจัดการอย่างไรให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านการทำงาน รวมถึงการได้ทำสิ่งที่ตนเองรักอีกด้วย วิธี Motivate ตัวเอง ให้เป็นคนที่ Superproductive ตลอดเวลา สม่ำเสมอโดยไม่ท้อไม่หมดแรง พี่แท๊ป : จริง ๆ ต้องบอกว่าก็ไม่ได้ productive ตลอดเวลาขนาดนั้น ก็มีวันที่หนืด ๆ นอนเฉย ๆ
ความเครียดอยู่คู่กับมวลมนุษยชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะในยุคที่เราต้องแข่งกันทำงาน ฟาดฟันกันทางธุรกิจ ความเครียดย่อมรุมเร้าเป็นเงาตามตัว ความเครียดในระดับที่เหมาะสมอาจหมายถึงเราได้เผชิญความท้าทาย ได้ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซน แต่ความเครียดที่พุ่งทะลุขีดก็อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพที่ตามมา หรืองานที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ การจัดการกับความเครียดให้อยู่หมัดจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรเรียนรู้และฝึกฝน ไม่ใช่เพื่อให้ชีวิตนี้ไม่มีเรื่องเครียดมากวนใจ แต่เมื่อมีปัญหาและเรื่องเครียดมาทักทายแล้วเราสามารถรับมือกับมันได้อย่างที่มนุษย์ที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คนเขาทำกัน อย่ามัวคลายเครียด แต่หาสาเหตุแล้วกำจัดต้นตอของมัน กิจกรรมผ่อนคลายความเครียดไม่ได้ผิดอะไร เราสามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นเวลาเราต้องการเพิ่มความรู้สึกรื่นรมย์ให้ชีวิต หรือเมื่อความเครียดนั้นอยู่ในระดับแค่เบี่ยงเบนความสนใจก็ดีขึ้น แต่เราไม่สามารถหาทางคลายเครียดเพื่อหนีความเครียด หรือกำจัดมันให้พ้นไปตลอดกาลได้ ดังนั้นหนทางสำคัญจึงเป็นการหาที่มาของความเครียดนั้นให้เจอ และจัดการกับมันอย่างตรงจุด การศึกษาวิจัยตลอดทศวรรษที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ที่ประสบความสำเร็จจากหลายแขนง ทั้งนักธุรกิจ ผู้นำการทหาร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กระทั่งนักกีฬามากความสามารถล้วนแต่โฟกัสไปที่การแก้ปัญหา ตั้งแต่ที่สถานการณ์เริ่มสร้างความตึงเครียดให้พวกเขา วิธีการก็คือการพยายามระบุแหล่งที่มาของความเครียดให้ได้ จากนั้นจึงจัดการกับมันอย่างตรงจุด เช่นกรณีของศัลยแพทย์ที่ต้องผ่าตัดครั้งสำคัญ นอกจากความยากของการผ่าตัดที่เป็นความท้าทายครั้งสำคัญซึ่งเลี่ยงไม่ได้แล้ว การนอนไม่พอหรือการหายใจผิดจังหวะจากความเครียดของตัวเองก็อาจทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลงไปอีก ดังนั้นทางแก้ที่พวกเขาเลือกจึงเป็นการนอนให้เพียงพอก่อนวันผ่าตัด การฝึกการหายใจเพื่อให้รับมือกับความเครียดในห้องผ่าตัดได้ดีขึ้น หรือกรณีของนักธุรกิจที่ต้องเครียดจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร เขาจะไม่เลือกเพิกเฉย แล้วรอแก้ปัญหาที่ตามมา แต่เลือกหาสาเหตุของปัญหาเหล่านั้นและรีบคลี่คลายมันก่อนที่ทุกอย่างจะลุกลาม คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก จึงไม่ได้เลือกทางที่ความเครียดเกิดขึ้นแล้วหาทางบรรเทาอารมณ์ความรู้สึกนั้นแต่พวกเขาจะพยายามหาสาเหตุของความเครียดที่พวกเขารู้สึกเป็นอันดับแรก แล้วหาทางมาจัดการกับต้นตอนั้นให้เร็วที่สุด อารมณ์เชิงลบ ไม่ได้แย่เสมอไป ถ้าใช้ให้ถูกวิธี เชื่อว่าหลายคนเคยได้รับคำแนะนำเรื่องการจัดการความเครียดที่เน้นให้เราควบคุมอารมณ์เชิงลบของตัวเอง การไม่โกรธ การไม่ผิดหวัง คำแนะนำที่อยากให้เราผ่อนคลายอารมณ์จากความเครียดอันเผาไหม้ ด้วยการให้มองโลกมุมใหม่ การพยายามหามุมมองที่เป็นบวกกว่าให้ตัวเอง วิธีเหล่านั้นได้ผลในหลาย ๆ กรณี โดยเฉพาะเมื่อเราเผชิญความเครียดจากเรื่องที่เราไม่อาจควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงมันได้อีกแล้ว
พูดถึงสารเคมีในเครื่องดื่มที่ทำให้เราตาสว่าง สิ่งนั้น คือ ‘คาเฟอีน’ (caffeine) ที่เราบริโภคกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะมีอยู่ในเครื่องดื่มหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โค้ก ชา หรือ กาแฟ เป็นต้น แต่สงสัยไหมว่า ในเมื่อคาเฟอีนมีอยู่ในเครื่องดื่มหลายชนิด ทำไมกาแฟจึงทำให้เรารู้สึกตื่นได้ดีที่สุด? UNLOCKMEN จะอธิบายให้ทุกคนฟัง พร้อมแนะนำวิธีการดื่มกาแฟให้ตื่นอย่างแท้จริงด้วย ทำไมต้องดื่มกาแฟ? คาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (หรือ สมอง) ทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือ โดปามีน (dopamine) ส่งผลให้ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ไปจนถึงระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้น เราจึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเมื่อได้รับสารคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ในเครื่องดื่มแต่ละชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนที่ต่างกัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูง เมื่อเที่ยบกับเครื่องดื่มประเภทอื่น เช่น ชา ค่าปกติปริมาณคาเฟอีนในกาแฟจะอยู่ที่ 40 มก./100 กรัม ส่วนชาจะอยู่ที่ 11 มก./100 กรัม ซึ่งความแตกต่างในเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะธรรมชาติของตัวเมล็ดกาแฟ หรือใบชา แต่เกิดจากวิธีการชงกาแฟใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า