ในช่วงเวลาปีแรกของการทำงาน (ประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว) เราซื้อหนังสือเรื่อง The Catcher in the Rye ของ J. D. Salinger จากร้านหนังสือออนไลน์แห่งหนึ่ง โดยมีเหตุผลไม่ได้ซับซ้อนว่า เป็นหนังสือที่ถูก Name Drop ในหนังไฮสคูลอเมริกันหลายเรื่อง ในแง่ที่ว่าเป็นหนังสือนอกเวลาที่ต้องใช้อ่านเพื่อเขียนเรียงความส่ง ซึ่งหนังที่เรารักที่สุดในชีวิตอย่าง The Perks of Being a Wallflower (2012) ก็พูดถึงวรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้เช่นกัน เราได้อ่านหนังสือเล่มนี้จริง ๆ ตอนออกจากงานแรกที่พูดถึงในรรทัดก่อน แปลกดี (1) หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มวัยมัธยม Holden Caulfield กับช่วงเวลาการเติบโตสั้น ๆ ขณะขึ้นรถไฟไปนิวยอร์ก ซึ่งเต็มไปด้วยการตะโกนโหวกเหวกโวยวายของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง แปลกดี (2) หลังจากผ่านไป 3 เดือนที่อ่านหนังสือเล่มที่ว่าจบ เราอ่านหนังสือเล่มไหนต่อไม่ได้เลย เพราะเรื่องราวของโฮลเดนยังค้างคาในจิตใจของตัวเอง วนเวียนอยู่ในความทรงจำเป็นระยะ ๆ ตลอดมา UNLOCKMEN ขอแนะนำให้เหล่าหนอนหนังสือได้รู้จักกับ Book
การฟังเพลงหรือฟังดนตรี นอกจากจะได้ความบันเทิงและความเพลิดเพลินแล้ว บางครั้งมันส่งผลต่ออารมณ์ของเราให้ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราได้ฟังแนวดนตรีที่เราชื่นชอบ ก็ยิ่งทำให้เรามีความสุขกับท่วงทำนองที่ได้ยินง่ายดายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทาง Unlockmen จึงขอหยิบยกประเด็นนี้มาเล่าให้ทุก ๆ คนได้ทราบกันว่าดนตรีส่งผลต่อเราได้แบบไหนกันบ้าง ดนตรีส่งผลต่อความเครียด ความเครียดไม่มีใครอยากเจอ แต่มันก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ในชีวิตมนุษย์จริง ๆ ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องคอยหาวิธีรับมือกับความเครียด เพื่อไม่ให้มันย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราจนป่วยทั้งกายและใจ ซึ่งดนตรีก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี แถมยังใกล้ตัวที่สุด ส่วนแนวเพลงที่เหมาะกับการฟังให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น เพลงคลาสสิก ที่จะช่วยปรับอารมณ์ของคุณให้สงบมากยิ่งขึ้น หรือจะลองฟังเป็นแนวเพลงดรีมป๊อป ก็น่าจะช่วยให้คุณเคลิบเคลิ้มไปกับเมโลดี้ได้เช่นกัน แต่หากคุณเป็นคอเพลงหนักกระโหลกอย่างเฮฟวี่เมทัล แม้ตัวเพลงจะรุนแรง แต่หากมันคือสิ่งที่คุณชอบแถมยังตรงจริต ก็เปิดฟังในช่วงเครียด ๆ รับรองว่าช่วยได้อย่างแน่นอน นอกจากนั้นแล้วเพลงที่มีเนื้อหาให้กำลังใจก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะทำให้คุณรู้สึกเข้มแข็งได้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน ดนตรีส่งผลต่อการกระตุ้นความทรงจำ เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยผ่านพบเจอเหตุการณ์แบบนี้ คุณเคยรู้สึกใช่ไหมหากเราได้ยินเพลงเก่า ๆ ที่เราเคยฟังในวัยเด็ก สิ่งที่ตามมาคือภาพความทรงจำในช่วงเวลานั้น ๆ จะย้อนกลับมาให้เรานึกถึงราวกับฉากในภาพยนตร์เลยทีเดียว ตัวเพลงเองก็เปรียบเสมือนลิ้นชักของความทรงจำของเรา บางครั้งมันก็กระตุ้นอดีตอันแสนสุข บางครั้งมันก็กระตุ้นวิถีชีวิตที่เราใช้ในช่วงเวลาเหล่านั้น แต่ในบางครั้งมันก็กระตุ้นความทรงจำเศร้าที่เราเคยพบเจอมาได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราอยากรำลึกถึงความทรงจำไหนซักเรื่อง ลองเปิดเพลงในช่วงเวลาเหล่านั้นดู รับรองได้ว่าภาพจะแฟลชแบ็คกลับมาอย่างแน่นอน เพลงเศร้าทำให้เราหายเศร้า แม้บางคนฟังเพลงเศร้าตอนที่กำลังเศร้าอาจจะทำให้อารมณ์ดำดิ่งไปมากกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวในบางคนมันกลับให้ผลลัพธ์ที่ออกมาตรงกันข้าม เพลงเศร้าโดยส่วนมากที่พบเจอมักจะเต็มไปด้วยเรื่องความความผิดหวัง, การสูญเสีย หรือการจากลา ถึงแม้เนื้อหาจะชวนหดหู่ขนาดไหน