Survival
SKILLS EVERY MAN SHOULD KNOW
  • Survival

    นอนหลับเพียงพอแล้วทำไมยังหมดแรง ? รู้จัก Social Jetlag ภาวะที่ร่างกายสับสนเวลานอน

    By: unlockmen November 16, 2020

    เคยเป็นรึเปล่า ? ไม่ว่าจะ นอนน้อย นอนปกติ นอนมาก เราก็ยังรู้สึกเหนื่อยล้า ยังง่วงเหงาหาวนอนเหมือนเดิม อาการนี้อาจเกิดขึ้นจากภาวะที่เรียกว่า Social Jetlag ซึ่งเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการนอนไม่เป็นเวลา Social Jetlag คือ อาการที่เกิดขึ้นจากการมีช่วงเวลานอนที่แตกต่างกันจำนวน 2 เวลาขึ้นไป เช่น เข้านอนสายตื่นสายในวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่ตื่นเช้านอนหัวค่ำในวันปกติ เป็นต้น ซึ่งพวกเราแต่ละคนจะได้รับผลกระทบจาก Social Jetlag แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Chronotype หรือเส้นเวลาชีวิตของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น คนที่มักนอนดึก และไม่ตื่นจนกระทั่งเวลา 10 – 11 โมงเช้า หรือ ที่เรียกกันว่า กลุ่มนกฮูก (Owls) จะ Social Jetlag บ่อยกว่า คนที่นอนเร็วตื่นเช้า หรือ กลุ่มนกจาบฝน (Larks) Social Jetlag ถือเป็นภาวะที่ส่งผลเสียต่อเราหลายอย่าง ไม่ว่าจะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แถมยังทำให้เรามีโอกาสเป็นโรคต่าง

    อ่านต่อ
  • Survival

    อยากได้กราฟิกสวย ๆ แต่ขอโลโก้ใหญ่หน่อย ทำไมโจทย์ที่ขัดแย้งกันถึงทำให้ความคิดสร้างสรรค์บรรเจิด

    By: unlockmen November 16, 2020

    เคยต้องแก้โจทย์ที่มีความขัดแย้งกันไหม ? เช่น ต้องให้บริการสุขภาพที่ดีที่สุดในราคาที่ถูกที่สุด หรือ ต้องทำงานศิลปะที่ทีความหมายมากที่สุดและหารายได้ได้มากที่สุด เป็นต้น หลายงานวิจัยได้ชี้ว่า ปัญหาประเภทนี้อาจทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าปกติ งานวิจัยเผยการคิดขัดแย้งอาจช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1996 อัลเบิร์ต โรเธนเบิร์ก (Albert Rothenberg) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้สัมภาษณ์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจำนวน 22 คน ควบคู่กับการวิเคราะห์ภูมิหลังของเหล่านักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงโลกที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อนำข้อมูลมาทำเป็นงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งผลการวิจัยของ โรเธนเบิร์ก พบว่า นักคิดที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกได้เสียเวลาจำนวนมากไปกับการสร้าง ‘ความคิดคู่ตรงข้าม’ หรือ ‘สิ่งที่ตรงกันข้ามกัน’ ยกตัวอย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ก็เคยครุ่นคิดหาคำตอบว่า วัตถุจะสามารถเคลื่อนที่และหยุดนิ่งไปพร้อม ๆ กันขึ้นอยู่กับผู้สังเกตได้อย่างไร จนเป็นที่มาของทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relativity Theory) อันโด่งดังของเขา โรเธนเบิร์ก ยังพบอีกว่า แม้แต่นักเขียนมากรางวัลก็มักมีบ่อเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการครุ่นคิดถึงไอเดียที่ไม่มีความสอดคล้องกัน ยกตัวอย่างเช่น บทละครเรื่อง The Iceman Cometh ของ ยูจีน โอนิล (Eugene O’Neill)

    อ่านต่อ