เราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างดูจะเดินทางได้เร็วไปหมด ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย การรับส่งข่าวสาร หรือ การทำงาน ฯลฯ ซึ่งวิถีชีวิตที่เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนนี้ อาจทำให้เรากลัวการใช้ชีวิตแบบ slow life ขึ้นมา ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น กลัวว่าจะตามกระแสไม่ทัน กลัวว่าจะทำงานไม่ทัน เป็นต้น และถ้าความกลัวหนักข้อขึ้น มันจะพัฒนาเป็น Hurry Sickness ได้ ซึ่งอาการนี้กระทบต่อความสุขของเราได้พอสมควร เราเลยอยากมาพูดถึงวิธีการรับมือกับ Hurry Sickness ให้อยู่หมัด Hurry Sickness คือ ภาวะที่เรารู้สึกว่าต้องทำทุกอย่างด้วยความเร่งรีบตลอดเวลา โดยคนที่มีอาการนี้มักจะรู้สึกกดดันหรือตื่นตระหนกเหมือนต้องแข่งขันกับเวลา ส่งผลให้พวกเขาทำทุกเรื่องด้วยความเร่งรีบ ซึ่งสาเหตุที่อาการนี้เกิดขึ้นมา อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าเวลาหนึ่งวันมีน้อยเกินไปสำหรับทำสิ่งต่าง ๆ หรือกลัวว่าถ้าทำอะไรช้าไปแล้ว จะพลาดอะไรบางอย่างไป จึงต้องรีบทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว กล่าวคือ Hurry Sickness เกิดขึ้นจากอาการยอดฮิตอย่าง Fear of Missing Out (FOMO) ได้เหมือนกัน พฤติกรรมที่ชัดเจนในกลุ่มที่เป็น Hurry Sickness คือ
ปัญหาหนึ่งที่พนักงานประจำในองค์กรหรือธุรกิจ มักเจอกัน คือ “การถูกกลั่นแกล้ง” จากคนที่มีตำแหน่งสูงกว่า ซึ่งจอมกลั่นแกล้งเหล่านี้ มักมีลักษณะร่วมกัน คือ มีความสามารถในการประจบคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าเก่ง และการกลั่นแกล้งลูกน้องเป็นเหมือนการโชว์พาวอย่างหนึ่ง พฤติกรรมสุดนี้มีชื่อเรียกว่า “Kiss Up Kick Down” โดย Kiss Up หมายถึง การเอาอกเอาใจคนที่อยู่เหนือกว่า ส่วน Kick Down หมายถึง การเตะหรือทำร้ายคนที่อยู่ต่ำกว่า Kiss Up Kick Down เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ทำงาน ตัวคนทำ รวมถึง ลูกน้องที่เป็นผู้รับการกระทำ ดังนั้น จะเป็นเรื่องดี ถ้าคนทำงานรู้จักพฤติกรรมนี้ และสามารถรับมือกับได้อย่างมีประสิทธิภาพ นิยามดั่งเดิมของ Kiss Up Kick Down คือ สถานการณ์ที่พนักงานระดับกลางในบริษัทหรือองค์กร แสดงความสุภาพ หรือ เลียแข้งเลียขา คนที่มีตำแหน่งสูงกว่า เช่น ผู้บริหาร หรือ CEO แต่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบการแข่งขัน และไม่ชอบการอยู่ในระดับที่ต่ำต้อยกว่าใคร ดังนั้น เมื่อมีใครคนอื่นที่ทำผลงานได้โดดเด่นเกินหน้าเกินตาขึ้นมา พวกเขาอาจรู้สึกไม่สบายใจ และอาจพยายามหาทางขัดแข้งขัดขาคนเก่งเหล่านั้นให้มาอยู่ในสถานะเดียวกับตัวเอง เราเรียกคนที่มีพฤติกรรมประเภทนี้ว่า Underminer ซึ่งเป็นคนเห็นแก่ตัวประเภทหนึ่ง และพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ หรือ Social Undermining ก็ทำร้ายคนอื่นได้อย่างหนักหนาสาหัสเช่นกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะให้ทุกคนรู้จักกับ Social Undermining และวิธีการรับมือกับมัน เพื่อให้ทุกคนมีเกราะป้องกันจากคน Toxic และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุขยาวนาน Social Undermining คือ พฤติกรรมที่คนอื่น ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือ คนในครอบครัว พยายามทำให้เราเกิดความยากลำบากในการทำงาน เช่น พูดถึงชื่อเสียงหรือหน้าที่การงานของเราในเชิงเสีย ๆ หาย ๆ ปิดบังข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานของเรา หรือ ให้ข้อมูลปลอมเพื่อทำให้การงานของเราเสียหาย เป็นต้น ซึ่งจุดประสงค์ที่พวกเขาแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ออกมา มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ต้องการดึงเราให้ลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่า หรือ ไม่อยากให้เราก้าวหน้า ฯลฯ โดยรวมก็ คือ รู้สึกอิจฉาหรือรู้สึกว่ากำลังอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่าเรา เมื่อพวกเขารู้สึกว่าตัวเองไม่อยากเป็นผู้แพ้ เลยพยายามขัดแข้งขัดขา หรือ ดึงเราให้มาอยู่ในสถานะเดียวกันหรือต่ำกว่า
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตอนนี้เราอยู่ในยุคที่ไม่มีความมั่นคง ชีวิตของเราสามารถเจอเรื่องที่ไม่คาดฝันได้ตลอดเวลา แน่นอนว่า ความเครียด ความกังวล หรือ ความเศร้า ก็เป็นสิ่งที่เราเจอกันบ่อยขึ้นด้วย เพราะเมื่อเราเจอกับเรื่องที่ไม่คาดฝัน ความรู้สึกแย่ ๆ ก็มักเกิดขึ้นตามมาเป็นธรรมชาติ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเอาชีวิตรอดจากยุคใหม่ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับ Antifragile Mindset แนวคิดที่จะช่วยให้เราทนทานต่อเรื่องเลวร้าย และสามารถเติบโตขึ้นอย่างสง่างาม Antifragile หรือ ความสามารถในการต้านทานความเปราะบาง เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ที่ได้รับการกล่าวถึงโดย Nassim Nicholas Taleb นักเขียนและนักคิดด้านการเงินผู้มีชื่อเสียง เขาได้อธิบายในหนังสือที่ชื่อ “Antifragile: Things That Gain from Disorder” (2012) ว่า Antifragile ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญต่อธุรกิจ รัฐบาล และบุคคลที่อยากมีความก้าวหน้าในโลกที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงง่าย ทักษะนี้จะช่วยให้เรารับมือกับ Black Swan (เหตุการณ์ผิดปกติและคาดเดาไม่ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเราอย่างใหญ่หลวง) ได้อย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทำให้เรากลัวมันน้อยลง และสามารถทำใจยอมรับมันเป็น บทเรียน หรือ ประสบการณ์ ได้ง่ายขึ้น Antifragile
บางทีการดูตลกก่อนเข้าประชุม ก่อนไปพรีเซ้นงานให้ลูกค้าฟัง หรือ ก่อนไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ก็ถือเป็นการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าได้เหมือนกัน เพราะตลกนอกจากจะช่วยให้เราอารมณ์ดีแล้ว ยังช่วยให้เราคิดได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันแล้วโดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัยเมื่อปี 2010 ที่ทำโดย Ruby Nadler นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนทาริโอ ประเทศแคนาดา ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองที่เป็นเด็กนักเรียน ดูคลิปวิดีโอทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทลบ (การรายงานข่าวแผนดินไหวในประเทศจีน) ประเภทปกติ (รายการทีวี Antiques Roadshow) และประเภทบวก (คลิปเด็กทารกหัวเราะอย่างมีความสุข) และหลังจากนั้นผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนต้องทำแบบทดสอบแบ่งหมวดหมู่ภาพที่มีรูปแบบซับซ้อน แล้วนักวิจัยจะนำข้อมูลมาประเมินผลงานของผู้เข้าร่วมการทดลองต่อไป ซึ่งผลการทดลองออกมาว่า คนที่หัวเราะคลิปเด็กทารกสามารถทำผลงานได้ดีกว่าคนอื่น ข้อมูลนี้ช่วยยืนยันความเชื่อก่อนหน้าที่ว่า อารมณ์ด้านบวก ช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึง ความสามารถในการคิดอย่างรอบคอบ โดยสาเหตุที่อารมณ์ขันช่วยให้เราทำงานได้ดี เป็นเพราะ cognitive flexibility หรือ ความสามารถในการรับข้อมูลใหม่ และนำมาปรับใช้กับสิ่งที่เราอยู่แล้ว ได้รับการพัฒนามากขึ้น หลังจากที่เราได้ชมสิ่งที่ตลก หรือ เรียนรู้ที่จะเล่นมุกตลก กิจกรรมเหล่านี้ช่วยฝึกสมองให้รู้จักคิดไว (nimble thinking) ซึ่งก็สมเหตุสมผลอยู่ เพราะทักษะอย่างหนึ่งอย่างการรับส่งมุกตลก ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้ไหวพริบพอสมควร นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่น
ถ้ารู้สึกว่า ตัวเองยังขยัน เก่ง ฉลาด หรือ ยังตามคนอื่นไม่ทัน และมักรู้สึกผิดเมื่อเอาเวลาว่างมาพักผ่อนทำเรื่องไร้สาระไปวัน ๆ บางทีคุณอาจกำลังเป็น Internalized Capitalism อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งอาการนี้ไม่ได้ถูกอธิบายในพจนานุกรมใด ๆ แต่เป็นคำที่ใช้อย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ เพื่ออธิบายถึงปัญหาของการใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยม (Capitalism) ที่บีบบังคับให้คนต้องแสดงความโปรดักทีฟ และพยายามเอาชนะคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้คนเอาความโปรดักทีฟมาเป็นตัวประเมินคุณค่าของตัวเอง ดังนั้น พอคนที่ออกอาการ Internalized Capitalism ใช้เวลาทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยโปรดักทีฟ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวเล่น หรือว่า กิจกรรมพักผ่อนจิตใจอื่น ๆ พวกเขาเลยมักรู้สึกเครียด หรือ รู้สึกแย่จากการทำสิ่งเหล่านั้นอยู่เสมอ แถมบางคนที่มีอาการนี้ยังมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพตัวเองด้วย เช่น อ่านหนังสือจนดึกดื่น กดดันตัวเองอย่างหนัก กินข้าวไม่เหมาะสม ฯลฯ มันจึงเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง และควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วยิ่งดี ซึ่งในบทความนี้ เราได้นำวิธีในการฟื้นฟูตัวเองมาฝากทุกคนด้วย จะมีวิธีอะไรบ้าง ลองไปดูกันเลย ใส่ใจกับตัวเองมากขึ้น บางทีพอเราโฟกัสกับงานมากเกินไป จนเกิดความไม่สบายใจ หรือ ความเครียดในระหว่างการทำงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเป็นอุปสรรค์ต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตของเราด้วย ดังนั้น
เวลาทำงานร่วมกับคนอื่น เรามีโอกาสเจอปัญหาได้สารพัดอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ปัญหาเรื่องระยะเวลาในการทำงาน ปัญหาเรื่องบัดเจท ไปจนถึง ปัญหาเรื่องความสะอาดของที่ทำงาน และเมื่อปัญหามีจำนวนมากอย่างที่บอกไป ‘การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า’ คงเป็นเรื่องที่ทำให้เหนื่อยพอสมควร ดังนั้น PROACTIVE MINDSET (แนวคิดการทำงานเชิงรุก) เลยเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนทำงาน เพราะมันจะช่วยให้เรา handle ปัญหาเหล่านั้นได้ล่วงหน้า และปลดล็อกประสิทธิภาพในการทำงานของเราด้วย PROACTIVE MINDSET คือ แนวคิดในการทำงานอย่างมีเป้าหมายและการวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยคนที่มี PROACTVE MINDSET มักจะมองการณ์ไกล และพยายามทำอะไรบางอย่าง เพื่อควบคุมสถานการณ์ให้เป็นไปดั่งที่หวัง ต่างจากคนที่มี REACTIVE MINDSET ที่มักรอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยลงมือแก้ แต่คนกลุ่มนี้ก็มีข้อดีตรงที่ว่ามีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม คนที่มี REACTIVE MINDSET มักจะสะดุดเมื่อ ‘ปัญหาจำนวนมาก’ เข้ามารุมเร้าต่อเนื่อง ทำให้พวกเขาเหมือนต้องเล่นวิ่งไล่จับกับปัญหาอยู่ตลอดเวลา และเกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจได้ เราอยากแนะนำให้ทุกคนนำ PROACTIVE MINDSET มาปรับใช้ เพราะมันจะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาได้ล่วงหน้า และมีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาเหล่านั้นมากขึ้น แถมงานวิจัยบางชิ้นยังบอกว่าคนที่มีลักษณะ PROACTIVE จะทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย สำหรับใครที่อยากพัฒนา
ในยุคนี้ ความสุขดูเป็นเรื่องที่ไขว่คว้าได้ยากเหมือนกัน เพราะมองไปทางไหนก็เจอแต่ข่าวร้ายมากกว่าข่าวดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่อง COVID-19 ที่น่าจะทำให้หลายคนจิตตกกันมากที่สุดในช่วงนี้ เราเลยอยากมาแนะนำทฤษฎีสร้าง well-being (สุขภาวะ) ที่เรียกว่า PERMA เพื่อให้ทุกคนสามารถ survive ช่วงนี้ไปได้อย่างราบรื่นกันถ้วนหน้า อะไร คือ PERMA THEORY PERMA Theory เป็นทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) ที่พัฒนาโดย Martin Seligman นักจิตวิทยาชาวสหรัฐฯ และเจ้าของหนังสือแนว Self-Help ยอดนิยม Flourish (2011) ซึ่งทฤษฎีนี้อธิบายสิ่งที่ทำให้มนุษย์เจริญรุ่งเรือง (human flourishing) หรือ มีความสุข (well-being) ทั้งหมด 5 อย่าง สามารถแบ่งได้ตามตัวอักษร PERMA ได้แก่ Postive Emotion (อารมณ์บวก) , Engagement (การมีส่วนร่วม) , Relationships (ความสัมพันธ์), Meaning (ความหมาย)
การระบาดของ COVID-19 คงทำให้หลายคนเกิดความทุกข์ใจกับหลายเรื่อง รวมถึง เรื่องงาน บางคนอาจต้องทำงานหนักขึ้น มีเวลาส่วนตัวน้อยลง เพราะพิษเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก pandemic ดังนั้น UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการบริหารชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพที่ชื่อว่า Work/Life Integration ให้ทุกคนรู้จัก และบอกเลยว่า มันจะช่วยให้ชีวิตของคนทำงานทุกคนดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน !! WHAT IS WORK/LIFE INTEGRATION ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราคงได้ยินกันบ่อยเรื่อง Work/Life Balance หรือ การสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นสกิลที่ว่ากันว่าสำคัญต่อคนทำงาน เพราะถ้าเราสามารถบริหารเวลาได้ดี เราก็จะใช้ชีวิตได้ราบรื่น แต่ Work/Life Balance มีปัญหาตรงที่ว่า มันทำให้เรื่อง งาน กับ ชีวิต ถูกแยกออกเป็น 2 ขั้ว ไม่สามารถหลอมหลวมกันได้ เหมือนกับว่า ถ้าเราต้องใช้เวลาทำงาน เราต้องเสียเวลาในการใช้ชีวิตส่วนตัว ในทางตรงข้าม ถ้าเราใช้เวลาส่วนตัว เราต้องเสียเวลาในการทำงาน ซึ่งอีกแนวคิดหนึ่งบอกเราว่า เราไม่จำเป็นต้องแยก 2 เรื่องนี้ออกจากกันก็ได้ กล่าว คือ
ต้องบอกเลยว่า การ Work From Home ช่วงนี้ไม่ธรรมดา ใครจะคิดว่าการทำงานที่บ้าน จะทำให้รู้สึกว่าทำงานหนัก ทำงานเยอะกว่าปกติ หลายสิ่งมาพร้อมกัน ทำให้การทำงานไม่เสร็จสักที จะทำงานนี้ก่อน หรืองานนู้นก่อน คิดไปคิดมายังไม่ได้เริ่ม เรื่องนี้เราเข้าใจดี UNLOCKMEN จึงขอเปิดสูตรการทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น Overclock ตัวเองโดยไม่ลดคุณภาพงานภายในบทความสั้น ๆ ไม่เกิน 5 นาที ใครพร้อมแล้วตั้งสติอ่านทุกบรรทัดแล้วเอาไปทำตาม ปีนี้แม้เราจะไม่มีน้ำให้เล่นแต่จะหันมาตะลุยงานให้หมดกองจนโต๊ะโล่งรวดเดียวจนจบ ทำเสร็จเวลาที่เหลือจะได้เอาไปใช้สร้างความบันเทิงเป็นของขวัญให้ตัวเอง POMODORO Technique นี่คือเทคนิคการสร้างประสิทธิภาพการเคลียร์งานระดับนาทีขั้นเทพที่ได้แรงบันดาลใจจากเครื่องจับเวลาตอนทำกับข้าวรูปมะเขือเทศ (คำว่า Pomodoro เป็นภาษาอิตาเลียนแปลว่ามะเขือเทศ) ที่นักศึกษาคนหนึ่งคิดขึ้น แต่หลายคนในโลกทำแล้วได้ผล เขาใช้เวลาแค่ 25 นาทีจับเวลาเพื่อสะสางงานนั้นตาม 6 ขั้นตอนต่อไปนี้ เลือกงานที่ตั้งใจทำให้เสร็จ ตั้งนาฬิกาให้เตือนใน 25 นาที ทำงานจนกว่านาฬิกาจะดัง จบ 1 รอบให้จดและนับไว้ เบรกไปพักสักสมองสัก 5-10 นาที ครบ 4 รอบ เพิ่มเวลาพักเป็น 20-30
ชีวิตผู้ชายวัยทำงานไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไหนจะต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องหาคนเลี้ยงในครอบครัว และบางคนอาจต้องทำงานหนักกว่าคนอื่นหลายเท่าด้วย เมื่อเราหมดเวลาและพลังงานไปกับงานที่เคร่งเครียด สิ่งที่เรามักทำกัน คือ เอาตอนดึกมาใช้ในการ ‘พักผ่อน’ เช่น ดู Netflix หรือ ทำในสิ่งที่เราสนใจ เพื่อเยียวยาจิตใจตัวเองจากความเหนื่อยล้า แทนที่จะ ‘นอนหลับ’ ปรากฎการณ์นี้มีชื่อว่า ‘Revenge Bedtime Procrastination’ และสามารถกระทบชีวิตของคนทำงานอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น เราต้องรู้จักวิธีการรับมือกับมัน เพื่อป้องกันสุขภาพกายและใจไม่ให้พังไปซะก่อน !! Revenge Bedtime Procrastination เกิดขึ้นได้อย่างไร ? Revenge Bedtime Procrastination มักเกิดกับคนที่เครียดกับการทำงานทั้งวัน วันละหลายชั่วโมง จนแทบไม่มีเวลาเหลือสำหรับการทำอย่างอื่น ส่งผลให้ต้องสละเวลานอนในตอนกลางคืน มาทำกิจกรรมผ่อนคลายตัวเอง เหมือนเป็นการแก้แค้นเวลา Daytime ที่ทำให้เราต้องเหน็ดเหนื่อยกับความเครียดและภาระต่าง ๆ ซึ่งคนที่ Revenge Bedtime Procrastination มักมีอาการเหล่านี้ ได้แก่ ตั้งใจเข้านอนช้าเพื่อเอาเวลามาทำกิจกรรมผ่อนคลายจิตใจ ไม่มีเหตุผลที่ดีในการนอนดึก รวมถึง รู้ตัวว่านอนดึกจะส่งผลเสียแต่ก็ยังทำ แม้การสละเวลานอน
สมัยเรียนเคยกันไหม ? ทั้ง ๆ ที่พยายามอ่านหนังสือและตั้งใจเรียนมาตลอด แต่พอถึง 1 วันก่อนสอบ เรากลับเลือกที่จะนอนดึก วันสอบเลยไม่ค่อยพร้อมทำข้อสอบเท่าไหร่ หรือ ตอนทำงาน เคยมีช่วงที่ต้องนำเสนอโปรเจ็กต์ใหญ่ แต่พยายามทำตัวเองให้ไม่พร้อมนำเสนอไหม ? พฤติกรรมทำลายตัวเองเหล่านี้เรียกว่า “Self-handicapping” ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อเราต้องการป้องกันความเจ็บปวดจากความล้มเหลวหรือผิดหวัง มันจะเปิดช่องให้เราโทษอย่างอื่นได้ เช่น เมื่อผลการสอบแย่ เราสามารถโทษเพื่อนที่ชวนนอนดึกได้ โดยไม่ต้องโทษตัวเองที่ไม่ยอมเตรียมพร้อม หรือว่า ตอนที่ทำงานได้ไม่ดี เราจะสามารถโทษบรรยากาศที่ไม่เป็นใจแทนที่จะโทษตัวเองที่ไม่ยอมตั้งใจทำงานได้เหมือนกัน แม้ Self-handicapping จะปกป้องใจเราได้จริง แต่มันก็ทำให้เราทำงานได้แย่ลง ตัดสินใจได้แย่ลง และใช้ชีวิตได้แย่ลงเหมือนกัน เราเลยอยากให้ทุกคนรู้ทันอาการ Self-handicapping พร้อมแนะนำวิธีที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถผ่านมันไปได้ดีด้วย Self-handicapping เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ถ้าพูดกันตาม common sense ใคร ๆ ก็อยากประสบความสำเร็จ และก้าวหน้าในสิ่งที่ตัวเองทำกันทั้งนั้น Self-handicapping จึงไม่น่าจะเป็นพฤติกรรมของคนปกติสักเท่าไหร่ แต่ความเป็นจริง Self-handicapping เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักรับความผิดหวังไม่ได้ พอทำพลาดขึ้นมา มักรู้สึกไม่สบายใจ เครียด ซึมเศร้า